กรุงเทพ--14 ก.ค.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
ตัวแทนคณะกรรมการญาติวีรชน และ 30 องค์กรเพื่อประชาธิปไตย นำโดย นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ เดินทางเข้าพบนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญวันนี้ (14 ก.ค. 2540) เพื่อยื่นหนังสือคัดค้านมติของที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ที่เสียงส่วนใหญ่ลงมติให้ตัดร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 66 ออกไป เนื่องจากเห็นว่าเป็นบทบัญญัติที่จะช่วยปกป้องคุ้มครองการชุมนุมร่วมกันอย่างสันติของประชาชน ในอันที่จะร้องเรียนสิทธิและเสรีภาพที่ประชาชนพึงได้รับ ซึ่งบทบัญญัติมาตรา 66 จะเป็นเกราะป้องกันกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงจากเหตุการณ์รุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นได้เพื่อไม่ให้ซ้ำร้อยกับบทเรียนในอดีตที่ผ่านมา ที่มีการใช้กำลังเข้าปราบปรามประชาชน ตลอดจนมีการก่อรัฐประหารล้มล้างรัฐธรรมนูญมานับสิบฉบับ ซึ่งสร้างความสูญเสียจนไม่อาจประเมินค่าเป็นตัวเงินได้
สำหรับมาตรา 66 ตามร่างฯ เดิม กำหนดให้ "การนิรโทษกรรม การกระทำล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์หรือรัฐธรรมนูญมิได้"
นอกจากนี้ยังได้เรียกร้องให้สภาร่างรัฐธรรมนูญ แสดงจุดยืนของตนเองให้ชัดเจน โดยไม่อยากให้การพิจารณาร่างฯ เป็นไปเพื่อให้เกิดการประนีประนอม แต่ควรจะยึดมั่นในหลักการที่สำคัญไว้ ด้านนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญกล่าวแสดงความขอบคุณที่ทางคณะกรรมการญาติวีรชน และ 30 องค์กรเพื่อประชาธิปไตย ติดตามการร่างรัฐธรรมนูญของสภาร่างรัฐธรรมนูญโดยตลอด แต่ยอมรับว่าขณะนี้สมาชิกบางคนอาจจะยังสับสนอยู่บ้าง ซึ่งตนได้ย้ำต่อบรรดาสมาชิกว่าต้องหนักแน่นในหลักการที่วางไว้ และยึดถือเป้าหมายที่สำคัญของการร่างรัฐธรรมนูญว่า เพื่อให้เกิดการปฎิรูปการเมือง วางอนาคตทางการเมือง ตลอดจนตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยที่ไม่จำเป็นต้องห่วงกังวลว่าร่างฯ จะผ่านหรือไม่ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐสภา--จบ--
ตัวแทนคณะกรรมการญาติวีรชน และ 30 องค์กรเพื่อประชาธิปไตย นำโดย นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ เดินทางเข้าพบนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญวันนี้ (14 ก.ค. 2540) เพื่อยื่นหนังสือคัดค้านมติของที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ที่เสียงส่วนใหญ่ลงมติให้ตัดร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 66 ออกไป เนื่องจากเห็นว่าเป็นบทบัญญัติที่จะช่วยปกป้องคุ้มครองการชุมนุมร่วมกันอย่างสันติของประชาชน ในอันที่จะร้องเรียนสิทธิและเสรีภาพที่ประชาชนพึงได้รับ ซึ่งบทบัญญัติมาตรา 66 จะเป็นเกราะป้องกันกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงจากเหตุการณ์รุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นได้เพื่อไม่ให้ซ้ำร้อยกับบทเรียนในอดีตที่ผ่านมา ที่มีการใช้กำลังเข้าปราบปรามประชาชน ตลอดจนมีการก่อรัฐประหารล้มล้างรัฐธรรมนูญมานับสิบฉบับ ซึ่งสร้างความสูญเสียจนไม่อาจประเมินค่าเป็นตัวเงินได้
สำหรับมาตรา 66 ตามร่างฯ เดิม กำหนดให้ "การนิรโทษกรรม การกระทำล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์หรือรัฐธรรมนูญมิได้"
นอกจากนี้ยังได้เรียกร้องให้สภาร่างรัฐธรรมนูญ แสดงจุดยืนของตนเองให้ชัดเจน โดยไม่อยากให้การพิจารณาร่างฯ เป็นไปเพื่อให้เกิดการประนีประนอม แต่ควรจะยึดมั่นในหลักการที่สำคัญไว้ ด้านนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญกล่าวแสดงความขอบคุณที่ทางคณะกรรมการญาติวีรชน และ 30 องค์กรเพื่อประชาธิปไตย ติดตามการร่างรัฐธรรมนูญของสภาร่างรัฐธรรมนูญโดยตลอด แต่ยอมรับว่าขณะนี้สมาชิกบางคนอาจจะยังสับสนอยู่บ้าง ซึ่งตนได้ย้ำต่อบรรดาสมาชิกว่าต้องหนักแน่นในหลักการที่วางไว้ และยึดถือเป้าหมายที่สำคัญของการร่างรัฐธรรมนูญว่า เพื่อให้เกิดการปฎิรูปการเมือง วางอนาคตทางการเมือง ตลอดจนตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยที่ไม่จำเป็นต้องห่วงกังวลว่าร่างฯ จะผ่านหรือไม่ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐสภา--จบ--