กรุงเทพ--26 มิ.ย.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
การประชุมคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ มีการแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง ถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการออกเสียงลงประชามติ ในโครงการสำคัญ ๆ ของรัฐว่าควรกำหนดให้เป็น "หน้าที่" หรือให้เป็นเพียง "สิทธิ" ที่ประชาชนจะออกเสียงได้อย่างอิสระ ทั้งนี้กรรมาธิการตั้งข้อสังเกตถึงผลผูกพันของการออกเสียงลงประชามติว่าต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนเสียก่อนว่าต้องการให้มีผลต่อการออกกฎหมาย หรือเป็นการลงประชามติเพียงเพื่อรับฟังความคิดเห็นประกอบการตัดสินใจ จึงจะสามารถชี้ขาดได้ว่าควรกำหนดให้เป็นสิทธิ หรือ หน้าที่ ของประชาชนทางด้านนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขานุการในฐานะกรรมาธิการ กล่าวว่าถึงแม้การออกเสียงประชามติในโครงการสำคัญ ๆ ของรัฐ จะเป็นการขอความเห็นของประชาชนซึ่งจะไม่มีผลผูกพันทางกฎหมายเพียงแต่เป็นผลทางการเมืองเท่านั้นก็ตาม แต่บางโครงที่มีรายละเอียดซับซ้อน ต้องอาศัยความเข้าใจที่ลึกซึ้ง อาจเป็นการยากที่จะบังคับให้ประชนชนทุกคนออกเสียงลงประชามติได้ซึ่งจะต่างกับการให้ประชาชนมีหน้าที่ไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
ด้านนายเดโช สวนานนท์ กรรมาธิการ เห็นว่าจำเป็นต้องกำหนดจำนวนพื้นฐานของผู้ที่มาออกเสียงลงประชามติไว้ด้วย เพราะหากมีประชาชนลงมติเพียงเล็กน้อย ก็ไม่อาจอ้างว่าเป็นความเห็นของคนทั้งประเทศอย่างแท้จริง ซึ่ง ศ.สุจิต บุญบงการ เห็นด้วยแต่มีข้อเสนอเพิ่มเติมว่าไม่ควรกำหนดสัดส่วนพื้นฐานที่ตายตัว แต่ได้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมเป็นกรณี ๆ ไป
ท้ายที่สุดที่ประชุมเห็นควรให้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการลงมติ ว่าให้กระทำได้เฉพาะประเด็นที่สำคัญ ๆ เท่านั้น และจะต้องไม่ขัดกับรัฐธรรมนุญ นอกจากนี้ในการขอประชามติไม่จำเป็นต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกาแต่อย่างใด แต่ให้คณะรัฐมนตรีหารือร่วมกันกับประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานวุฒิสภา เพื่อขอทำประชามติ ส่วนการควบคุมดูแลการลงประชามติให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยที่การออกเสียงลงประชามติจะเป็นเพียงสิทธิของประชาชน
ในช่วงบ่าย ที่ประชุมได้มีการหารือถึงการจัดตั้งกระทรวง ทบวง กรม ขึ้นใหม่ โดยมีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราของข้าราชการเพิ่มขึ้นว่าควรให้ตราเป็นพระราชบัญญัติหรือไม่ ขณะที่ไม่ว่าจะเป็นการรวมหรือโอนกระทรวง ทบวง กรม เพื่อจัดตั้งเป็นกระทรวง ทบวง กรม ขึ้นใหม่ หรือการรวมหรือโอนกระทรวง ทบวง กรม โดยไม่ได้มีการจัดตั้งเป็น กระทรวง ทบวง กรม ขึ้นใหม่ก็ตาม แต่ถ้าไม่ได้มีการกำหนดตำแหน่ง หรือ อัตราของข้าราชการเพิ่มขึ้น ตลอดจนไม่มีการยุบกระทรวง ทบวง กรม ควรให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาก็สมควรที่จะระบุถึงการโอนอำนาจหน้าที่ของหน่วยราชการหรือเจ้าพนักงานที่มีอยู่เดิม ตลอดจนการโอนที่ราชการและงบประมาณรายจ่ายรวมทั้ง ทรัพย์สินและหนี้สิน (ถ้ามี) เอาไว้ด้วยหรือไม่ ทั้งนี้ภายหลังการหารือกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะการใช้ถ้อยคำเพื่อให้เกิดความรัดกุมแล้ว ที่ประชุมเห็นด้วยกับข้อเสนอต่าง ๆ ข้างต้น
ส่วนข้อเสนอที่ให้มีการตั้งสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นอกเหนือจากที่เคยกำหนดไว้ในหมวดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ที่ให้รัฐต้องจัดตั้งแผนพัฒนาการเมืองนั้น ที่ประชุมเห็นควรให้สภาดังกล่าวทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่รัฐในการวางแผนกิจกรรมใด ๆ โดยที่อยู่ในฐานะของหน่วยงานที่ต้องขึ้นตรงต่อรัฐบาล แต่จะผูกโยงกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งจะต่างจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำหรับการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญในหมวดการตรวจเงินแผ่นดินนั้น ที่ประชุมเห็นควรให้การตรวจเงินแผ่นดิน กระทำโดยคณะกรรมการที่เป็นอิสระและเป็นกลางปฎิบัติงานควบคู่กับผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และเป็นหัวหน้าผู้บริหารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินจะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา โดยให้มีอำนาจหน้าที่เพียงตรวจสอบ ซึ่งจะไม่ซ้ำซ้อนกับการทำงานของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่เป็นหน่วยงานของรัฐแต่อย่างใด เพราะจะไม่มีอำนาจในการลงโทษ กรณีการทุจริต เว้นแต่จะเป็นความผิดทางวินัยงบประมาณสำหรับผู้สั่งจ่ายเท่านั้นที่สามารถลงโทษได้ (รายละเอียดสำหรับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน จะบัญญัติในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ)
ร่างรัฐธรรมนูญในหมวด "การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ" ซึ่งเป็นหมวดที่บัญญัติถึงแนวทางในการเสนอของแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้น ได้มีกรรมาธิการตั้งข้อสังเกตถึงผู้ที่สามารถยื่นญัตติ ซึ่งตามร่างฯ กำหนดให้คณะรัฐมนตรี ส.ส. สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกรัฐสภา จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 สามารถเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้นั้น อาจเกิดปัญหาในส่วนของสมาชิกวุฒิสภา เพราะในอนาคตหากจำนวนของสมาชิกวุฒิสภามีเพียง 200 คน การรวบรวมขึ้นเพียง 1 ใน 5 เพื่อยื่นญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญอาจกระทำได้ง่ายจนเกินไป
ขณะที่นายเดโช สวนานนท์ เห็นว่าเมื่อมีการกำหนดให้ประชาชนจำนวน 5 หมื่นคน มีสิทธิ์เข้าชื่อเพื่อเสนอกฎหมายต่อสภาได้ ก็น่าจะเปิดโอกาสให้สามารถเข้าชื่อเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้ด้วย ซึ่งก็มีกรรมาธิการหลายคนสนับสนุนในหลักการดังกล่าว เพราะเห็นว่าเป็นการเปิดกว้างให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมโดยมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ภายหลังหารือกันอย่างกว้างขวางถึงจำนวนประชาชนที่จะสามารถเข้าชื่อ ว่าควรกำหนดไว้เท่าใด เพื่อให้เหมาะสมกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ที่ประชุมยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน โดยให้ฝ่ายเลขานุการกลับไปร่างสาระสำคัญและรายละเอียดก่อนจะนำเข้าหารือกันอีกครั้งในที่ประชุม
ส่วนการยื่นญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเฉพาะสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งถูกกรรมาธิการทักท้วงนั้น ที่ประชุมเห็นควรให้มีการปรับเปลี่ยน โดยให้สมาชิกวุฒิสภาสามารถเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้ ก็ต่อเมื่อเป็นการยื่นญัตติร่วมกับ ส.ส.เท่านั้น
บทเฉพาะกาล ซึ่งเป็นส่วนท้ายสุดของร่างรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดเกี่ยวกับกรอบระยะเวลาในการบังคับใช้กฏหมาย ภายหลังที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ประกาศใช้แล้ว ทั้งนี้ในส่วนของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งร่างฯ กำหนดว่าหากจะเข้ามาเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นก็จะต้องมาจากการเลือกตั้งนั้น จะยังไม่บังคับใช้โดยทันที แต่จะใช้บังคับภายหลังพ้น 10 ปี นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ เพื่อทิ้งช่วงไว้สำหรับการเปลี่ยนผ่าน นอกจากนี้มีกรรมาธิการเสนอว่า น่าจะกำหนดเพิ่มเติมไว้ในบทเฉพาะกาลด้วยว่า ในการที่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จะลงสมัครรับเลือกตั้งในองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นไม่จำเป็นต้องกำหนดให้ลาออกตำแหน่งก่อนลงสมัครแต่อย่างใด ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบตามข้อเสนอดังกล่าว
นอกจากนี้ในส่วนที่กำหนดว่า ภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญให้มีการตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญขึ้น 4 ฉบับ ซึ่งว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ว่าด้วยการได้มาของสมาชิกวุฒิสภา ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง และ ว่าด้วยพรรคการเมืองให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน ซึ่งระยะเวลาดังกล่าว นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขานุการ เห็นว่าไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงในทางปฎิบัติ จึงเสนอให้ปรับเปลี่ยนเป็นระยะเวลา 240 วันแทน ซึ่งที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นชอบตามนั้น อย่างไรก็ตามหากดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ก็ให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาถูกยุบไป และภายหลังที่มีการเลือกตั้งใหม่ ก็ให้ย้อนกลับมา ตรากฎหมายในลักษณะเดิมจนกว่าจะเสร็จสมบูรณ์--จบ--
การประชุมคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ มีการแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง ถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการออกเสียงลงประชามติ ในโครงการสำคัญ ๆ ของรัฐว่าควรกำหนดให้เป็น "หน้าที่" หรือให้เป็นเพียง "สิทธิ" ที่ประชาชนจะออกเสียงได้อย่างอิสระ ทั้งนี้กรรมาธิการตั้งข้อสังเกตถึงผลผูกพันของการออกเสียงลงประชามติว่าต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนเสียก่อนว่าต้องการให้มีผลต่อการออกกฎหมาย หรือเป็นการลงประชามติเพียงเพื่อรับฟังความคิดเห็นประกอบการตัดสินใจ จึงจะสามารถชี้ขาดได้ว่าควรกำหนดให้เป็นสิทธิ หรือ หน้าที่ ของประชาชนทางด้านนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขานุการในฐานะกรรมาธิการ กล่าวว่าถึงแม้การออกเสียงประชามติในโครงการสำคัญ ๆ ของรัฐ จะเป็นการขอความเห็นของประชาชนซึ่งจะไม่มีผลผูกพันทางกฎหมายเพียงแต่เป็นผลทางการเมืองเท่านั้นก็ตาม แต่บางโครงที่มีรายละเอียดซับซ้อน ต้องอาศัยความเข้าใจที่ลึกซึ้ง อาจเป็นการยากที่จะบังคับให้ประชนชนทุกคนออกเสียงลงประชามติได้ซึ่งจะต่างกับการให้ประชาชนมีหน้าที่ไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
ด้านนายเดโช สวนานนท์ กรรมาธิการ เห็นว่าจำเป็นต้องกำหนดจำนวนพื้นฐานของผู้ที่มาออกเสียงลงประชามติไว้ด้วย เพราะหากมีประชาชนลงมติเพียงเล็กน้อย ก็ไม่อาจอ้างว่าเป็นความเห็นของคนทั้งประเทศอย่างแท้จริง ซึ่ง ศ.สุจิต บุญบงการ เห็นด้วยแต่มีข้อเสนอเพิ่มเติมว่าไม่ควรกำหนดสัดส่วนพื้นฐานที่ตายตัว แต่ได้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมเป็นกรณี ๆ ไป
ท้ายที่สุดที่ประชุมเห็นควรให้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการลงมติ ว่าให้กระทำได้เฉพาะประเด็นที่สำคัญ ๆ เท่านั้น และจะต้องไม่ขัดกับรัฐธรรมนุญ นอกจากนี้ในการขอประชามติไม่จำเป็นต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกาแต่อย่างใด แต่ให้คณะรัฐมนตรีหารือร่วมกันกับประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานวุฒิสภา เพื่อขอทำประชามติ ส่วนการควบคุมดูแลการลงประชามติให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยที่การออกเสียงลงประชามติจะเป็นเพียงสิทธิของประชาชน
ในช่วงบ่าย ที่ประชุมได้มีการหารือถึงการจัดตั้งกระทรวง ทบวง กรม ขึ้นใหม่ โดยมีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราของข้าราชการเพิ่มขึ้นว่าควรให้ตราเป็นพระราชบัญญัติหรือไม่ ขณะที่ไม่ว่าจะเป็นการรวมหรือโอนกระทรวง ทบวง กรม เพื่อจัดตั้งเป็นกระทรวง ทบวง กรม ขึ้นใหม่ หรือการรวมหรือโอนกระทรวง ทบวง กรม โดยไม่ได้มีการจัดตั้งเป็น กระทรวง ทบวง กรม ขึ้นใหม่ก็ตาม แต่ถ้าไม่ได้มีการกำหนดตำแหน่ง หรือ อัตราของข้าราชการเพิ่มขึ้น ตลอดจนไม่มีการยุบกระทรวง ทบวง กรม ควรให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาก็สมควรที่จะระบุถึงการโอนอำนาจหน้าที่ของหน่วยราชการหรือเจ้าพนักงานที่มีอยู่เดิม ตลอดจนการโอนที่ราชการและงบประมาณรายจ่ายรวมทั้ง ทรัพย์สินและหนี้สิน (ถ้ามี) เอาไว้ด้วยหรือไม่ ทั้งนี้ภายหลังการหารือกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะการใช้ถ้อยคำเพื่อให้เกิดความรัดกุมแล้ว ที่ประชุมเห็นด้วยกับข้อเสนอต่าง ๆ ข้างต้น
ส่วนข้อเสนอที่ให้มีการตั้งสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นอกเหนือจากที่เคยกำหนดไว้ในหมวดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ที่ให้รัฐต้องจัดตั้งแผนพัฒนาการเมืองนั้น ที่ประชุมเห็นควรให้สภาดังกล่าวทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่รัฐในการวางแผนกิจกรรมใด ๆ โดยที่อยู่ในฐานะของหน่วยงานที่ต้องขึ้นตรงต่อรัฐบาล แต่จะผูกโยงกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งจะต่างจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำหรับการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญในหมวดการตรวจเงินแผ่นดินนั้น ที่ประชุมเห็นควรให้การตรวจเงินแผ่นดิน กระทำโดยคณะกรรมการที่เป็นอิสระและเป็นกลางปฎิบัติงานควบคู่กับผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และเป็นหัวหน้าผู้บริหารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินจะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา โดยให้มีอำนาจหน้าที่เพียงตรวจสอบ ซึ่งจะไม่ซ้ำซ้อนกับการทำงานของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่เป็นหน่วยงานของรัฐแต่อย่างใด เพราะจะไม่มีอำนาจในการลงโทษ กรณีการทุจริต เว้นแต่จะเป็นความผิดทางวินัยงบประมาณสำหรับผู้สั่งจ่ายเท่านั้นที่สามารถลงโทษได้ (รายละเอียดสำหรับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน จะบัญญัติในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ)
ร่างรัฐธรรมนูญในหมวด "การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ" ซึ่งเป็นหมวดที่บัญญัติถึงแนวทางในการเสนอของแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้น ได้มีกรรมาธิการตั้งข้อสังเกตถึงผู้ที่สามารถยื่นญัตติ ซึ่งตามร่างฯ กำหนดให้คณะรัฐมนตรี ส.ส. สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกรัฐสภา จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 สามารถเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้นั้น อาจเกิดปัญหาในส่วนของสมาชิกวุฒิสภา เพราะในอนาคตหากจำนวนของสมาชิกวุฒิสภามีเพียง 200 คน การรวบรวมขึ้นเพียง 1 ใน 5 เพื่อยื่นญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญอาจกระทำได้ง่ายจนเกินไป
ขณะที่นายเดโช สวนานนท์ เห็นว่าเมื่อมีการกำหนดให้ประชาชนจำนวน 5 หมื่นคน มีสิทธิ์เข้าชื่อเพื่อเสนอกฎหมายต่อสภาได้ ก็น่าจะเปิดโอกาสให้สามารถเข้าชื่อเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้ด้วย ซึ่งก็มีกรรมาธิการหลายคนสนับสนุนในหลักการดังกล่าว เพราะเห็นว่าเป็นการเปิดกว้างให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมโดยมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ภายหลังหารือกันอย่างกว้างขวางถึงจำนวนประชาชนที่จะสามารถเข้าชื่อ ว่าควรกำหนดไว้เท่าใด เพื่อให้เหมาะสมกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ที่ประชุมยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน โดยให้ฝ่ายเลขานุการกลับไปร่างสาระสำคัญและรายละเอียดก่อนจะนำเข้าหารือกันอีกครั้งในที่ประชุม
ส่วนการยื่นญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเฉพาะสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งถูกกรรมาธิการทักท้วงนั้น ที่ประชุมเห็นควรให้มีการปรับเปลี่ยน โดยให้สมาชิกวุฒิสภาสามารถเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้ ก็ต่อเมื่อเป็นการยื่นญัตติร่วมกับ ส.ส.เท่านั้น
บทเฉพาะกาล ซึ่งเป็นส่วนท้ายสุดของร่างรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดเกี่ยวกับกรอบระยะเวลาในการบังคับใช้กฏหมาย ภายหลังที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ประกาศใช้แล้ว ทั้งนี้ในส่วนของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งร่างฯ กำหนดว่าหากจะเข้ามาเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นก็จะต้องมาจากการเลือกตั้งนั้น จะยังไม่บังคับใช้โดยทันที แต่จะใช้บังคับภายหลังพ้น 10 ปี นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ เพื่อทิ้งช่วงไว้สำหรับการเปลี่ยนผ่าน นอกจากนี้มีกรรมาธิการเสนอว่า น่าจะกำหนดเพิ่มเติมไว้ในบทเฉพาะกาลด้วยว่า ในการที่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จะลงสมัครรับเลือกตั้งในองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นไม่จำเป็นต้องกำหนดให้ลาออกตำแหน่งก่อนลงสมัครแต่อย่างใด ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบตามข้อเสนอดังกล่าว
นอกจากนี้ในส่วนที่กำหนดว่า ภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญให้มีการตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญขึ้น 4 ฉบับ ซึ่งว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ว่าด้วยการได้มาของสมาชิกวุฒิสภา ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง และ ว่าด้วยพรรคการเมืองให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน ซึ่งระยะเวลาดังกล่าว นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขานุการ เห็นว่าไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงในทางปฎิบัติ จึงเสนอให้ปรับเปลี่ยนเป็นระยะเวลา 240 วันแทน ซึ่งที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นชอบตามนั้น อย่างไรก็ตามหากดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ก็ให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาถูกยุบไป และภายหลังที่มีการเลือกตั้งใหม่ ก็ให้ย้อนกลับมา ตรากฎหมายในลักษณะเดิมจนกว่าจะเสร็จสมบูรณ์--จบ--