กรุงเทพ--12 พ.ค.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2540 เวลา 9.00 น. ได้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ "ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกระบวนการทำประชาพิจารณ์" ของสภาร่างรัฐธรรมนูญและคณะกรรมาธิการทุกคณะ รวมทั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ทั่วประเทศกว่า 1,200 คน ได้เริ่มประชุมโดยบรรยากาศเป็นไปอย่าคึกคัก โดยมีนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานเปิดการประชุม จากนั้นนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้กล่าวชี้แจงถึงการทำงานของคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ว่า ส.ส.ร. มีเจตจำนงที่จะปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองให้มีประสิทธิภาพและเสรีภาพยิ่งขึ้น ขณะนี้ถือว่ากรรมาธิการวิสามัญแต่ละจังหวัดมีความสำคัญในกระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
นายอานันท์ กล่าวอีกว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไม่ใช่ยาวิเศษหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่ยังมีข้อบกพร่องและจุดอ่อนหรือมีการหลงลืมบ้าง แต่วันนี้สภาร่างฯ ก็ได้เทคะแนนอย่างท่วมท้นเพื่อร่างจะได้ผ่านหลักการไว้พิจารณา ซึ่งขั้นต่อไปคือการทำประชาพิจารณ์และแปรญัตติ ทั้งนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงแก้ไขได้
"ผมถูกวิจารณ์มาก แต่ผมจำคำกล่าวของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ท่านเคยกล่าวไว้ว่า คนที่ถูกเลือกให้เป็นประธาน เหตุผลเดียวคือไม่อยากฟังความเห็นของประธาน เป็นเพียงผู้ทำหน้าที่ในการประชุม ไม่มีโอกาสพูด แม้แต่ลงคะแนน จะให้ผมปลาบปลื้มหรือเกลียดกับตำแหน่งนี้ แต่ ส.ส.ร.ส่วนใหญ่อยากปิดปากผม ดังนั้น ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ใช่ร่างของคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นร่างที่มาจากสภาพข้อเท็จจริง แต่อาจมีการมองต่างมุมกันบ้าง แต่ผมยืนยันว่าเป็นร่างที่มีเหตุผล แม้บางครั้งผมรู้สึกว่าบางมาตรายังเฝื่อน ๆ อยู่ แต่อย่าไปตกใจอะไร เพราะร่างนี้ไม่ใช่เป็นร่างสุดท้าย ทุกคนยังมีสิทธิ์วิพากษ์วิจารณ์ ยังมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็น แต่ขอร้องว่าอย่าใช้อารมณ์หรืออคติ สังคมไทยเป็นสังคมที่ไม่ยอมรับความจริง มักเอาแต่อารมณ์" นายอานันท์ กล่าว
นอกจากนี้ตนยังเห็นว่าความเป็นผู้ใหญ่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอายุ แต่ขึ้นอยู่กับความมีสติ และมองประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ขอให้พูดก่อนคิด คิดก่อนทำ ขณะนี้เรากำลังอยู่ระหว่างหัวเลี้ยวหัวต่อของสังคม จะมัวทำเล่น ๆ กันไม่ได้ อย่ามองดูแต่เพียงปลีกย่อย ต้องดูทิศทางและโครงสร้างเป็นหลัก ขอให้ตั้งสติให้ดีว่า การแปรญัตติอะไรจะทำให้กระบวนการทั้งหมดเสียไปด้วยหรือเปล่า เท่าที่ตนรับฟังมาก็รู้สึกว่าทุกคนก็เห็นว่าร่างนี้ใช้ได้ และมีความก้าวหน้า ตนอยากให้ก้าวหน้าเช่นนี้ แต่ไม่ใช่ก้าวหน้าของผลประโยชน์ส่วนตัว สภาร่างฯ เป็นสภาที่ไม่มีพรรคไม่มีพวก มีแต่เจตนารมณ์เดียวกัน ที่ต้องการให้เกิดรัฐธรมนูญที่สมบูรณ์ สภาร่างฯ ไม่เหมือนกับสภาผู้แทนฯ หรือสภาวุฒิ ที่มีแพ้มีชนะ และสภาร่างฯ ไม่ใช่เวทีหาเสียง มีส่วนเดียวคือให้รัฐธรรมนูญดีกว่าเก่า แต่ก็ขึ้นอยู่ที่ว่ารัฐสภาจะรับหรือไม่ ตนยืนยันว่าการเมืองไม่มีในสภาร่างฯ และไม่มีสิทธิ์ที่จะเข้ามาด้วย
"สภาร่างฯ เปรียบเสมือนหญิงสาวที่ผ่านการแต่งงาน และได้ตั้งครรภ์ ส่วนตายายนั้นก็คือรัฐสภา การที่ผู้หญิงคนนั้นตั้งครรภ์แล้ว เขาก็ยังไม่แน่ใจว่าจะแท้งหรือเปล่า ซึ่งก็โชคดีที่ 12 เดือนแรกหมอบอกว่าไปได้ตอนนี้ผ่านมา 4-5 เดือนแล้ว เห็นรูปร่างเพศ เหมือนกับสภาร่างฯ ได้ยกร่างเบื้องต้นขึ้นมาซึ่งอาจมีการวิพากษ์วิจารณ์และแปรญัตติกัน อะไรไม่ดีก็อาจท้องร่วงได้ ระยะเวลาการทำประชาพิจารณ์และแปรญัตติจะต้องปรับปรุงให้ดีและถูกต้อง ถ้าไม่ดีอาจตกเลือดได้ แต่เด็กคนนี้โชคไม่ดี เพราะต้องคลอดภายใน 240 วัน เด็กธรรมดาต้องคลอด 9 เดือน ถ้าเด็กออกมาครบ 32 ประการ ทำไมคุณตายายที่เป็นรัฐสภาจะไม่ชอบตามวิธีการธรรมชาติ ตายายต้องรักต้องเอ็นดู ใหม่ ๆ อาจจะท้วงติงว่าทำไมไม่เป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างนี้ ดีไม่ดีตายายอาจทะเลาะกันเอง ดังนั้นการแปรญัตติหรือการบำรุงอาหารไม่ดี อาจทำให้ตกเลือดหรือตายทั้งกลม คือ ทั้งสภาร่างฯ และรัฐธรรมนูญ" อดีตประธานสภาร่างฯ กล่าว
สำหรับบรรยากาศในช่วงบ่ายนั้น เริ่มตั้งแต่เวลา 13.30-16.30 น. ผู้ที่เข้าร่วมประชุมอภิปรายและแสดงความคิดเห็น โดยมีคณะผู้ชี้แจงคือ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ นายคณิน บุญสุวรรณ และนายโกเมศ ขวัญเมือง ทั้งนี้กรรมาธิการวิสามัญฯ แต่ละจังหวัดได้แสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อย่างกว้างขวาง ซึ่งที่ประชุมให้แสดงความคิดเห็นกันคนละ 3 นาที
ด้านนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานส.ส.ร.กล่าวก่อนร่วมประชุมในช่วงเช้าว่า กรณีวุฒิสมาชิกวิพากษ์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้น ต้องการให้ชี้แจงทั้งข้อดีและเสียเพื่อให้ประชาชนทั่วไปทราบด้วย เนื่องจากถือเป็นบุคคลที่ประชาชนนับถือ ส่วนตำแหน่งต่าง ๆ ในกรรมาธิการแปรญัตติร่างรัฐธรรมนูญ 33 คนนั้นนายอุทัย กล่าวว่าขณะนี้ยังไม่ลงตัว พร้อมยืนยันไม่มีความขัดแย้งเกิดขึ้น
"ผมคิดว่าการทำงานต่อไปนี้จะดีขึ้น เพราะจากการทำงานร่วมกัน 3 เดือน ก้าวแรกเราผูกขากันเดิน อาจมีปัญหาก้าวไม่ทันและไม่ถนัด แต่จาก 3 เดือนก็เริ่มรู้ เริ่มเข้าขากัน ซึ่งเชื่อว่าไม่น่ามีปัญหา" นายอุทัยกล่าว
ส่วนนายอนันท์ ปันยารชุน ก็เห็นว่าไม่เป็นอะไร ที่วุฒิสมาชิกวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญใหม่อิงร่างฯ ของต่างประเทศมากเกินไป เพราะถ้ามีเหตุผลก็ไม่น่ามีปัญหา และการประชุมสรรหาคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญนั้นได้กำหนดไว้ในวันที่ 13 พ.ค. 2540 นี้ เวลา 15.00 น.--จบ--
เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2540 เวลา 9.00 น. ได้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ "ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกระบวนการทำประชาพิจารณ์" ของสภาร่างรัฐธรรมนูญและคณะกรรมาธิการทุกคณะ รวมทั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ทั่วประเทศกว่า 1,200 คน ได้เริ่มประชุมโดยบรรยากาศเป็นไปอย่าคึกคัก โดยมีนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานเปิดการประชุม จากนั้นนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้กล่าวชี้แจงถึงการทำงานของคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ว่า ส.ส.ร. มีเจตจำนงที่จะปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองให้มีประสิทธิภาพและเสรีภาพยิ่งขึ้น ขณะนี้ถือว่ากรรมาธิการวิสามัญแต่ละจังหวัดมีความสำคัญในกระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
นายอานันท์ กล่าวอีกว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไม่ใช่ยาวิเศษหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่ยังมีข้อบกพร่องและจุดอ่อนหรือมีการหลงลืมบ้าง แต่วันนี้สภาร่างฯ ก็ได้เทคะแนนอย่างท่วมท้นเพื่อร่างจะได้ผ่านหลักการไว้พิจารณา ซึ่งขั้นต่อไปคือการทำประชาพิจารณ์และแปรญัตติ ทั้งนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงแก้ไขได้
"ผมถูกวิจารณ์มาก แต่ผมจำคำกล่าวของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ท่านเคยกล่าวไว้ว่า คนที่ถูกเลือกให้เป็นประธาน เหตุผลเดียวคือไม่อยากฟังความเห็นของประธาน เป็นเพียงผู้ทำหน้าที่ในการประชุม ไม่มีโอกาสพูด แม้แต่ลงคะแนน จะให้ผมปลาบปลื้มหรือเกลียดกับตำแหน่งนี้ แต่ ส.ส.ร.ส่วนใหญ่อยากปิดปากผม ดังนั้น ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ใช่ร่างของคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นร่างที่มาจากสภาพข้อเท็จจริง แต่อาจมีการมองต่างมุมกันบ้าง แต่ผมยืนยันว่าเป็นร่างที่มีเหตุผล แม้บางครั้งผมรู้สึกว่าบางมาตรายังเฝื่อน ๆ อยู่ แต่อย่าไปตกใจอะไร เพราะร่างนี้ไม่ใช่เป็นร่างสุดท้าย ทุกคนยังมีสิทธิ์วิพากษ์วิจารณ์ ยังมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็น แต่ขอร้องว่าอย่าใช้อารมณ์หรืออคติ สังคมไทยเป็นสังคมที่ไม่ยอมรับความจริง มักเอาแต่อารมณ์" นายอานันท์ กล่าว
นอกจากนี้ตนยังเห็นว่าความเป็นผู้ใหญ่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอายุ แต่ขึ้นอยู่กับความมีสติ และมองประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ขอให้พูดก่อนคิด คิดก่อนทำ ขณะนี้เรากำลังอยู่ระหว่างหัวเลี้ยวหัวต่อของสังคม จะมัวทำเล่น ๆ กันไม่ได้ อย่ามองดูแต่เพียงปลีกย่อย ต้องดูทิศทางและโครงสร้างเป็นหลัก ขอให้ตั้งสติให้ดีว่า การแปรญัตติอะไรจะทำให้กระบวนการทั้งหมดเสียไปด้วยหรือเปล่า เท่าที่ตนรับฟังมาก็รู้สึกว่าทุกคนก็เห็นว่าร่างนี้ใช้ได้ และมีความก้าวหน้า ตนอยากให้ก้าวหน้าเช่นนี้ แต่ไม่ใช่ก้าวหน้าของผลประโยชน์ส่วนตัว สภาร่างฯ เป็นสภาที่ไม่มีพรรคไม่มีพวก มีแต่เจตนารมณ์เดียวกัน ที่ต้องการให้เกิดรัฐธรมนูญที่สมบูรณ์ สภาร่างฯ ไม่เหมือนกับสภาผู้แทนฯ หรือสภาวุฒิ ที่มีแพ้มีชนะ และสภาร่างฯ ไม่ใช่เวทีหาเสียง มีส่วนเดียวคือให้รัฐธรรมนูญดีกว่าเก่า แต่ก็ขึ้นอยู่ที่ว่ารัฐสภาจะรับหรือไม่ ตนยืนยันว่าการเมืองไม่มีในสภาร่างฯ และไม่มีสิทธิ์ที่จะเข้ามาด้วย
"สภาร่างฯ เปรียบเสมือนหญิงสาวที่ผ่านการแต่งงาน และได้ตั้งครรภ์ ส่วนตายายนั้นก็คือรัฐสภา การที่ผู้หญิงคนนั้นตั้งครรภ์แล้ว เขาก็ยังไม่แน่ใจว่าจะแท้งหรือเปล่า ซึ่งก็โชคดีที่ 12 เดือนแรกหมอบอกว่าไปได้ตอนนี้ผ่านมา 4-5 เดือนแล้ว เห็นรูปร่างเพศ เหมือนกับสภาร่างฯ ได้ยกร่างเบื้องต้นขึ้นมาซึ่งอาจมีการวิพากษ์วิจารณ์และแปรญัตติกัน อะไรไม่ดีก็อาจท้องร่วงได้ ระยะเวลาการทำประชาพิจารณ์และแปรญัตติจะต้องปรับปรุงให้ดีและถูกต้อง ถ้าไม่ดีอาจตกเลือดได้ แต่เด็กคนนี้โชคไม่ดี เพราะต้องคลอดภายใน 240 วัน เด็กธรรมดาต้องคลอด 9 เดือน ถ้าเด็กออกมาครบ 32 ประการ ทำไมคุณตายายที่เป็นรัฐสภาจะไม่ชอบตามวิธีการธรรมชาติ ตายายต้องรักต้องเอ็นดู ใหม่ ๆ อาจจะท้วงติงว่าทำไมไม่เป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างนี้ ดีไม่ดีตายายอาจทะเลาะกันเอง ดังนั้นการแปรญัตติหรือการบำรุงอาหารไม่ดี อาจทำให้ตกเลือดหรือตายทั้งกลม คือ ทั้งสภาร่างฯ และรัฐธรรมนูญ" อดีตประธานสภาร่างฯ กล่าว
สำหรับบรรยากาศในช่วงบ่ายนั้น เริ่มตั้งแต่เวลา 13.30-16.30 น. ผู้ที่เข้าร่วมประชุมอภิปรายและแสดงความคิดเห็น โดยมีคณะผู้ชี้แจงคือ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ นายคณิน บุญสุวรรณ และนายโกเมศ ขวัญเมือง ทั้งนี้กรรมาธิการวิสามัญฯ แต่ละจังหวัดได้แสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อย่างกว้างขวาง ซึ่งที่ประชุมให้แสดงความคิดเห็นกันคนละ 3 นาที
ด้านนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานส.ส.ร.กล่าวก่อนร่วมประชุมในช่วงเช้าว่า กรณีวุฒิสมาชิกวิพากษ์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้น ต้องการให้ชี้แจงทั้งข้อดีและเสียเพื่อให้ประชาชนทั่วไปทราบด้วย เนื่องจากถือเป็นบุคคลที่ประชาชนนับถือ ส่วนตำแหน่งต่าง ๆ ในกรรมาธิการแปรญัตติร่างรัฐธรรมนูญ 33 คนนั้นนายอุทัย กล่าวว่าขณะนี้ยังไม่ลงตัว พร้อมยืนยันไม่มีความขัดแย้งเกิดขึ้น
"ผมคิดว่าการทำงานต่อไปนี้จะดีขึ้น เพราะจากการทำงานร่วมกัน 3 เดือน ก้าวแรกเราผูกขากันเดิน อาจมีปัญหาก้าวไม่ทันและไม่ถนัด แต่จาก 3 เดือนก็เริ่มรู้ เริ่มเข้าขากัน ซึ่งเชื่อว่าไม่น่ามีปัญหา" นายอุทัยกล่าว
ส่วนนายอนันท์ ปันยารชุน ก็เห็นว่าไม่เป็นอะไร ที่วุฒิสมาชิกวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญใหม่อิงร่างฯ ของต่างประเทศมากเกินไป เพราะถ้ามีเหตุผลก็ไม่น่ามีปัญหา และการประชุมสรรหาคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญนั้นได้กำหนดไว้ในวันที่ 13 พ.ค. 2540 นี้ เวลา 15.00 น.--จบ--