กรุงเทพ--17 ก.ค.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
การประชุมนอกรอบของสภาร่างรัฐธรรมนูญวันนี้ (17 ก.ค. 2540) ได้มีการพิจารณาถึงประเด็นที่มาวุฒิสมาชิกต่อจากเมื่อวาน โดยหลังจากให้คณะทำงาน 9 คน ไปหาวิธีปฎิบัติในการเลือกตั้งวุฒิสภาโดยตรงจากประชาชน ปรากฎว่าที่ประชุมรับหลักการเบื้องต้น โดย กำหนดจำนวนวุฒิสมาชิกคงที่ 200 คน เพื่อให้มีน้ำหนักเพียงพอต่อการถ่วงดุลย์กับส.ส.ส่วนการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนนั้น ให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง กรณีจังหวัดใดมีสมาชิกวุฒิสภามากกว่า 1 คน ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ได้คะแนนสูงสุดเรียงตามลำดับจนครบจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่พึงจะมีได้ในจังหวัดนั้น เป็นผู้ได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา ขณะที่การหาเสียงของวุฒิสภาให้รัฐเป็นผู้ดำเนินการสนับสนุน โดยให้มีค่าใช้จ่ายในการแนะนำตัวของผู้สมัครรับเลือกตั้ง กำหนดไว้ในกฎหมาย มีวาระ 6 ปี และอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา สมาชิกจำนวนหนึ่งในสี่มีสิทธิเสนอแนะร่างกฎหมายต่อรัฐสภา (เดิมเป็นมาตรา 72 ทวิ) และกลั่นกรองยับยั้งร่างกฎหมาย (ตามร่างฯกรรมาธิการ) รวมทั้งพิจารณาให้ความเห็นชอบโดยลำพัง ซึ่งตำแหน่งระดับสูงที่ปรากฎในมาตรา 193 เช่น กรรมการการเลือกตั้ง, ผู้ตรวจการแผ่นดิน, คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน, ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ฯลฯ
สำหรับคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งวุฒิสมาชิกนั้น ที่ประชุมกำหนดให้เป็นไปตามมาตรา 129 (เดิม) ได้แก่ มีสัญชาติไทยโดยการเกิด อายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ต้องไม่เป็นสมาชิกวุฒิสภาติอต่อกัน 2 สมัย เป็นต้น ขณะที่ตำแหน่งรัฐมนตรีหรือข้าราชการการเมืองอื่นนั้น น่าจะห้ามมิให้สมาชิกวุฒิสภาเข้าดำรงตำแหน่งเลย
จากนั้นเวลาประมาณ 19.00 น. ได้มีการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาร่างฯ ได้แจ้งมติของคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญที่ได้หารือถึงประเด็นที่มาวุฒิสมาชิก โดยกล่าวว่า คณะกรรมาธิการพิจารณาร่างฯให้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาร่างฯประเด็นที่มาวุฒิสมาชิก ประกอบด้วยกรรมาธิการและผู้แปรญัตติมี นายประชุม ทองมี, นายสุจิต บุญบงการ, นายอมร รักษาสัตย์, นายมนตรี รูปสุวรรณ, นายแก้วสรร อดิโพธิ, นายประวิทย์ เจนวีระนนท์, นายเดโช สวนานนท์, นายบุญเลิศ คชายุทธเดช, นายโกเมศ ขวัญเมือง, นายสามารถ แก้วมีชัย และนายวุฒิพงศ์ ฉายแสง ร่วมพิจารณาและหากกรรมาธิการคนใดไม่เห็นด้วยก็สามารถสงวนคำแปรญัตติได้ และหลังจากนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแล้วก็จะนำเสนอต่อที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญต่อไป--จบ--
การประชุมนอกรอบของสภาร่างรัฐธรรมนูญวันนี้ (17 ก.ค. 2540) ได้มีการพิจารณาถึงประเด็นที่มาวุฒิสมาชิกต่อจากเมื่อวาน โดยหลังจากให้คณะทำงาน 9 คน ไปหาวิธีปฎิบัติในการเลือกตั้งวุฒิสภาโดยตรงจากประชาชน ปรากฎว่าที่ประชุมรับหลักการเบื้องต้น โดย กำหนดจำนวนวุฒิสมาชิกคงที่ 200 คน เพื่อให้มีน้ำหนักเพียงพอต่อการถ่วงดุลย์กับส.ส.ส่วนการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนนั้น ให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง กรณีจังหวัดใดมีสมาชิกวุฒิสภามากกว่า 1 คน ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ได้คะแนนสูงสุดเรียงตามลำดับจนครบจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่พึงจะมีได้ในจังหวัดนั้น เป็นผู้ได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา ขณะที่การหาเสียงของวุฒิสภาให้รัฐเป็นผู้ดำเนินการสนับสนุน โดยให้มีค่าใช้จ่ายในการแนะนำตัวของผู้สมัครรับเลือกตั้ง กำหนดไว้ในกฎหมาย มีวาระ 6 ปี และอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา สมาชิกจำนวนหนึ่งในสี่มีสิทธิเสนอแนะร่างกฎหมายต่อรัฐสภา (เดิมเป็นมาตรา 72 ทวิ) และกลั่นกรองยับยั้งร่างกฎหมาย (ตามร่างฯกรรมาธิการ) รวมทั้งพิจารณาให้ความเห็นชอบโดยลำพัง ซึ่งตำแหน่งระดับสูงที่ปรากฎในมาตรา 193 เช่น กรรมการการเลือกตั้ง, ผู้ตรวจการแผ่นดิน, คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน, ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ฯลฯ
สำหรับคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งวุฒิสมาชิกนั้น ที่ประชุมกำหนดให้เป็นไปตามมาตรา 129 (เดิม) ได้แก่ มีสัญชาติไทยโดยการเกิด อายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ต้องไม่เป็นสมาชิกวุฒิสภาติอต่อกัน 2 สมัย เป็นต้น ขณะที่ตำแหน่งรัฐมนตรีหรือข้าราชการการเมืองอื่นนั้น น่าจะห้ามมิให้สมาชิกวุฒิสภาเข้าดำรงตำแหน่งเลย
จากนั้นเวลาประมาณ 19.00 น. ได้มีการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาร่างฯ ได้แจ้งมติของคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญที่ได้หารือถึงประเด็นที่มาวุฒิสมาชิก โดยกล่าวว่า คณะกรรมาธิการพิจารณาร่างฯให้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาร่างฯประเด็นที่มาวุฒิสมาชิก ประกอบด้วยกรรมาธิการและผู้แปรญัตติมี นายประชุม ทองมี, นายสุจิต บุญบงการ, นายอมร รักษาสัตย์, นายมนตรี รูปสุวรรณ, นายแก้วสรร อดิโพธิ, นายประวิทย์ เจนวีระนนท์, นายเดโช สวนานนท์, นายบุญเลิศ คชายุทธเดช, นายโกเมศ ขวัญเมือง, นายสามารถ แก้วมีชัย และนายวุฒิพงศ์ ฉายแสง ร่วมพิจารณาและหากกรรมาธิการคนใดไม่เห็นด้วยก็สามารถสงวนคำแปรญัตติได้ และหลังจากนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแล้วก็จะนำเสนอต่อที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญต่อไป--จบ--