กรุงเทพ--22 เม.ย.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
นายคณิต ณ นคร รองประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในฐานะอัยการสูงสุด ชี้แจงวันนี้ (22 เมษายน 2540) ที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับต้นร่างในหมวดศาลและเจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรม เพิ่มบทบัญญัติในส่วนของ "อัยการ" ไว้ว่า การที่ระบุให้คณะกรรมการอัยการมีบางส่วนได้รับเลือกจากรัฐสภา โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ก็เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงกับฝ่ายการเมือง ซึ่งถือเป็นหลักการที่ถูกต้อง เนื่องจากฝ่ายการเมืองนั้นก็มาจากประชาชน ทั้งนี้ไม่อยากให้มองในแง่ลบเพราะสังคมยุคนี้จะต้องเปิดกว้าง ไม่ใช่กลัวแต่ว่าคนอื่นจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับงานของตนจนปฏิบัติงานไม่ได้ โดยเชื่อมั่นว่ารัฐสภาจะไม่ไปก้าวก่ายการทำงานของอัยการ
ส่วนร่างรัฐธรรมนูญฉบับต้นร่าง ที่บัญญัติให้คนนอกมีโอกาสเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกาได้นั้น รองประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญชี้แจงว่า เพื่อให้การตรวจสอบมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้จากการตรวจสอบภายในองค์กรของศาลยุติธรรม โดยผ่านกระบวนการตรวจสอบตามลำดับขั้นการบังคับบัญชาแล้ว ยังเปิดโอกาสให้องค์กรภายนอกได้ร่วมตรวจสอบด้วย เช่นเดียวกับฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ ที่มีการตรวจสอบซึ่งกันและกัน ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าบุคคลภายนอก ซึ่งกำหนดให้เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านกฏหมายอาจขาดประสบการณ์ในการพิพากษาคดีอย่างเพียงพอนั้น รองประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญยืนยันว่า ศาลฏีกาจะพิจารณาเฉพาะข้อกฏหมายเป็นหลักจึงไม่กระทบต่อการวินิจฉัยคดี เพราะข้อเท็จจริงมีอยู่แล้ว เพียงแต่เป็นการปรับข้อกฏหมาย ซึ่งจะทำให้การทำงานสะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ถือเป็นการตัดทอนอำนาจของศาลยุติธรรมแต่อย่างใด--จบ--
นายคณิต ณ นคร รองประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในฐานะอัยการสูงสุด ชี้แจงวันนี้ (22 เมษายน 2540) ที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับต้นร่างในหมวดศาลและเจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรม เพิ่มบทบัญญัติในส่วนของ "อัยการ" ไว้ว่า การที่ระบุให้คณะกรรมการอัยการมีบางส่วนได้รับเลือกจากรัฐสภา โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ก็เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงกับฝ่ายการเมือง ซึ่งถือเป็นหลักการที่ถูกต้อง เนื่องจากฝ่ายการเมืองนั้นก็มาจากประชาชน ทั้งนี้ไม่อยากให้มองในแง่ลบเพราะสังคมยุคนี้จะต้องเปิดกว้าง ไม่ใช่กลัวแต่ว่าคนอื่นจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับงานของตนจนปฏิบัติงานไม่ได้ โดยเชื่อมั่นว่ารัฐสภาจะไม่ไปก้าวก่ายการทำงานของอัยการ
ส่วนร่างรัฐธรรมนูญฉบับต้นร่าง ที่บัญญัติให้คนนอกมีโอกาสเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกาได้นั้น รองประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญชี้แจงว่า เพื่อให้การตรวจสอบมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้จากการตรวจสอบภายในองค์กรของศาลยุติธรรม โดยผ่านกระบวนการตรวจสอบตามลำดับขั้นการบังคับบัญชาแล้ว ยังเปิดโอกาสให้องค์กรภายนอกได้ร่วมตรวจสอบด้วย เช่นเดียวกับฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ ที่มีการตรวจสอบซึ่งกันและกัน ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าบุคคลภายนอก ซึ่งกำหนดให้เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านกฏหมายอาจขาดประสบการณ์ในการพิพากษาคดีอย่างเพียงพอนั้น รองประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญยืนยันว่า ศาลฏีกาจะพิจารณาเฉพาะข้อกฏหมายเป็นหลักจึงไม่กระทบต่อการวินิจฉัยคดี เพราะข้อเท็จจริงมีอยู่แล้ว เพียงแต่เป็นการปรับข้อกฏหมาย ซึ่งจะทำให้การทำงานสะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ถือเป็นการตัดทอนอำนาจของศาลยุติธรรมแต่อย่างใด--จบ--