กรุงเทพ--25 เม.ย.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
ตัวแทนสมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย นำโดยนายโพยม วรรณศิริ รองเลขาธิการสมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย ได้ทำหนังสือถึงนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญวันนี้ (25 เมษายน 2540) โดยตัวแทนรับเรื่องได้ส่งโทรสารหนังสือข้อเสนอฉบับดังกล่าวไปให้นายกระมล ทองธรรมชาติ รองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ที่พัทยา จ.ชลบุรี ซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญกำลังดำเนินการยกร่างอยู่แล้ว เพื่อให้มีการพิจารณาบรรจุบทบัญญัติวาด้วยระบบราชการในร่างรัฐธรรมนูญใหม่ต่อไป
สำหรับข้อเสนอที่สมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทยได้สรุปขึ้นครั้งนี้ เป็นผลมาจากการประชุมร่วมเมื่อวาน (24 เมษายน 2540) ซึ่งมีนายขจัดภัย บุรุษพัฒน์ นายกสมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทยเป็นประธาน พร้อมตัวแทนข้าราชการส่วนต่าง ๆ ทั้งฝ่ายนิติบัญญติ, บริหารและตุลาการ ซึ่งอยู่ในฐานะสมาคมวิชาชีพของข้าราชการฝ่ายพลเรือนและลูกจ้างส่วนราชการ โดยสาระสำคัญที่ต้องการให้พิจารณาและบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนมีอยู่ 2 ประเด็น ได้แก่
1. รัฐต้องจัดระบบราชการให้เหมาะสมและสนองตอบต่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญต่อการกระจายอำนาจ และการมีส่วนร่วมขององค์กรเอกชนและประชาชน
2. เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องได้รับหลักประกันความเป็นอิสระและได้รับการคุ้มครองในการปฎิบัติตามอำนาจหน้าที่ และมีความเป็นกลางทางการเมืองตามจรรยาบรรณวิชาชีพและตามกฎหมาย--จบ--
ตัวแทนสมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย นำโดยนายโพยม วรรณศิริ รองเลขาธิการสมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย ได้ทำหนังสือถึงนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญวันนี้ (25 เมษายน 2540) โดยตัวแทนรับเรื่องได้ส่งโทรสารหนังสือข้อเสนอฉบับดังกล่าวไปให้นายกระมล ทองธรรมชาติ รองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ที่พัทยา จ.ชลบุรี ซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญกำลังดำเนินการยกร่างอยู่แล้ว เพื่อให้มีการพิจารณาบรรจุบทบัญญัติวาด้วยระบบราชการในร่างรัฐธรรมนูญใหม่ต่อไป
สำหรับข้อเสนอที่สมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทยได้สรุปขึ้นครั้งนี้ เป็นผลมาจากการประชุมร่วมเมื่อวาน (24 เมษายน 2540) ซึ่งมีนายขจัดภัย บุรุษพัฒน์ นายกสมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทยเป็นประธาน พร้อมตัวแทนข้าราชการส่วนต่าง ๆ ทั้งฝ่ายนิติบัญญติ, บริหารและตุลาการ ซึ่งอยู่ในฐานะสมาคมวิชาชีพของข้าราชการฝ่ายพลเรือนและลูกจ้างส่วนราชการ โดยสาระสำคัญที่ต้องการให้พิจารณาและบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนมีอยู่ 2 ประเด็น ได้แก่
1. รัฐต้องจัดระบบราชการให้เหมาะสมและสนองตอบต่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญต่อการกระจายอำนาจ และการมีส่วนร่วมขององค์กรเอกชนและประชาชน
2. เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องได้รับหลักประกันความเป็นอิสระและได้รับการคุ้มครองในการปฎิบัติตามอำนาจหน้าที่ และมีความเป็นกลางทางการเมืองตามจรรยาบรรณวิชาชีพและตามกฎหมาย--จบ--