กรุงเทพ--5 มิ.ย.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
นายสุจิต บุญบงการ โฆษกคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ แถลงถึงการประชุมคณะกรรมาธิการว่า ในวันนี้ (5 มิ.ย.) ได้มีการหารือกันถึงข้อเสนอแนะของบรรดานักการเมืองที่ให้ความเห็นในระหว่างการสัมมนาเมื่อวานนี้ โดยเฉพาะในประเด็นที่ตัวแทนพรรคการเมืองต่าง ๆ ไม่เห็นด้วยกับการที่ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้รัฐมนตรีต้องพ้นจากการเป็น ส.ส. ซึ่งในคณะกรรมาธิการฯ ได้ให้ความสนใจและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันมาก โดยที่กรรมาธิการฯ ซึ่งเคยทำหน้าที่ในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้หยิบยกเหตุผลในการร่างรัฐธรรมนูญ ประเด็นดังกล่าวขึ้นมาเตือนความจำ ว่าเหตุผลที่สำคัญที่กำหนดให้รัฐมนตรีต้องพ้นจากการเป็น ส.ส. ก็เพื่อให้มีการแบ่งแยกหน้าที่ระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งไม่ได้เป็นการแบ่งแยกอำนาจแต่อย่างใด ส่วนเหตุผลที่ช่วยให้การซื้อเสียงลดลงถือว่าเป็นประเด็นรองเท่านั้น อย่างไรก็ตามได้มีกรรมาธิการฯ บางคนเสนอว่า ถ้าเช่นนั้นร่างรัฐธรรมนูญก็ควรให้อำนาจกับ ส.ส. ในการเสนอกฎหมายได้มากยิ่งขึ้น เพื่อจะสามารถทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติได้อย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังมีกรรมาธิการฯ เสนอแนวทางอื่น อาทิ ควรกำหนดให้รัฐมนตรีมาจาก ส.ส. แบบสัดส่วนรายชื่อพรรคการเมือง (Partly list) เพียงอย่างเดียว หรือกำหนดให้รัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งแล้วสามารถกลับมาเป็น ส.ส. ได้อีก ซึ่งข้อเสนอนี้ทั้งประเทศสวีเดน และนอร์เวย์ ใช้ระบบนี้อยู่ ทั้งนี้โฆษกคณะกรรมาธิการฯ เปิดเผยว่า ที่ประชุมยังไม่ได้หาข้อสรุปในประเด็นนี้ เพียงแต่เปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เพราะขณะนี้เพิ่มอยู่ในช่วงที่คณะกรรมาธิการฯ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงถ้อยคำในร่างรัฐธรรมนูญเท่านั้น ส่วนผลสรุปเบื้องต้นจะสามารถนำเข้าหารือในสัปดาห์หน้าเป็นต้นไป ซึ่งในช่วงวันที่ 9-27 มิถุนายน เป็นขั้นตอนการแปรญัตติ ภายในคณะกรรมาธิการฯ โดยที่กรรมาธิการฯ จะร่วมกันแปรญัตติถึง 7 วันต่อสัปดาห์--จบ--
นายสุจิต บุญบงการ โฆษกคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ แถลงถึงการประชุมคณะกรรมาธิการว่า ในวันนี้ (5 มิ.ย.) ได้มีการหารือกันถึงข้อเสนอแนะของบรรดานักการเมืองที่ให้ความเห็นในระหว่างการสัมมนาเมื่อวานนี้ โดยเฉพาะในประเด็นที่ตัวแทนพรรคการเมืองต่าง ๆ ไม่เห็นด้วยกับการที่ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้รัฐมนตรีต้องพ้นจากการเป็น ส.ส. ซึ่งในคณะกรรมาธิการฯ ได้ให้ความสนใจและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันมาก โดยที่กรรมาธิการฯ ซึ่งเคยทำหน้าที่ในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้หยิบยกเหตุผลในการร่างรัฐธรรมนูญ ประเด็นดังกล่าวขึ้นมาเตือนความจำ ว่าเหตุผลที่สำคัญที่กำหนดให้รัฐมนตรีต้องพ้นจากการเป็น ส.ส. ก็เพื่อให้มีการแบ่งแยกหน้าที่ระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งไม่ได้เป็นการแบ่งแยกอำนาจแต่อย่างใด ส่วนเหตุผลที่ช่วยให้การซื้อเสียงลดลงถือว่าเป็นประเด็นรองเท่านั้น อย่างไรก็ตามได้มีกรรมาธิการฯ บางคนเสนอว่า ถ้าเช่นนั้นร่างรัฐธรรมนูญก็ควรให้อำนาจกับ ส.ส. ในการเสนอกฎหมายได้มากยิ่งขึ้น เพื่อจะสามารถทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติได้อย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังมีกรรมาธิการฯ เสนอแนวทางอื่น อาทิ ควรกำหนดให้รัฐมนตรีมาจาก ส.ส. แบบสัดส่วนรายชื่อพรรคการเมือง (Partly list) เพียงอย่างเดียว หรือกำหนดให้รัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งแล้วสามารถกลับมาเป็น ส.ส. ได้อีก ซึ่งข้อเสนอนี้ทั้งประเทศสวีเดน และนอร์เวย์ ใช้ระบบนี้อยู่ ทั้งนี้โฆษกคณะกรรมาธิการฯ เปิดเผยว่า ที่ประชุมยังไม่ได้หาข้อสรุปในประเด็นนี้ เพียงแต่เปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เพราะขณะนี้เพิ่มอยู่ในช่วงที่คณะกรรมาธิการฯ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงถ้อยคำในร่างรัฐธรรมนูญเท่านั้น ส่วนผลสรุปเบื้องต้นจะสามารถนำเข้าหารือในสัปดาห์หน้าเป็นต้นไป ซึ่งในช่วงวันที่ 9-27 มิถุนายน เป็นขั้นตอนการแปรญัตติ ภายในคณะกรรมาธิการฯ โดยที่กรรมาธิการฯ จะร่วมกันแปรญัตติถึง 7 วันต่อสัปดาห์--จบ--