กรุงเทพ--4 มิ.ย.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
ตัวแทน 30 องค์กรประชาธิปไตย นำโดย นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ นายอุทัย พิมพ์ใจชน ถึงข้อสรุปจากการประชุมร่วมกัน ซึ่ง 30 องค์กรประชาธิปไตยสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญของ ส.ส.ร. อย่างไรก็ตามได้เสนอความเห็นเพิ่มเติมต่อร่างรัฐธรรมนูญ 9 ประเด็น ซึ่งหวังว่าจะเป็นร่างรัฐธรรมนูญที่รองรับความต้องการของประชาชนมากขึ้น
- องค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกองค์กรที่บัญญัติในร่างรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการในทุกองค์กรจะต้องมีสัดส่วนตัวแทนของประชาชน และจะต้องไม่เป็นอดีตข้าราชการประจำและนักการเมือง
- จะต้องบัญญัติให้มีการปกครองท้องถิ่นและให้ผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่นทุกระดับต้องมาจากการเลือกตั้ง และให้มีผลบังคับใช้ทันทีภายหลัง จากที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
- ให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา และข้าราชการประจำระดับสูง จะต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อสาธารณชน
- ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง
- นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีให้มาจาก ส.ส. แบบสัดส่วนรายชื่อพรรคการเมือง (Party List)
- ให้ยกเลิกสมาชิกวุฒิสภา
- มาตรา 3 คำว่า อำนาจอธิปไตยมาจากประชาชนชาวไทยให้แก้ไขเป็น อำนาจอธิปไตย "เป็นของ" ปวงชนชาวไทย
- ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งจำนวน หนึ่งแสนคนขึ้นไป มีสิทธิเข้าชื่อเพื่อเสนอให้มีการลงประชามติ ในเรื่องอันเป็นกิจกรรมสำคัญของประเทศ หรือมีผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนส่วนใหญ่
- ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง จำนวนหนึ่งแสนคนขึ้นไป มีสิทธิเข้าชื่อกัน เพื่อให้มีการลงประชามติตัดสินว่าจะให้มีการแก้ไข หรือร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับหรือไม่
นอกจากนี้ 30 องค์กรประชาธิปไตย ยังเรียกร้องให้มีการถ่ายทอดการประชุมคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ทางวิทยุและโทรทัศน์ ซึ่งนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาร่างฯ ชี้แจงว่าในช่วงของการเสนอการแปรญัตติในชั้นกรรมาธิการคงไม่อาจถ่ายทอดการประชุมได้ เพราะเกรงว่าการรายงานอาจจะไม่ต่อเนื่องอย่างไรก็ตาม ขั้นแปรญัตติในวาระ 2 จะเปิดให้มีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์และวิทยุอย่างแน่นอน
ส่วนที่มีนักการเมืองออกมาวิจารณ์เรื่องส่วนตัว นายอุทัย เห็นว่าไม่ใช่สาระสำคัญ ซึ่งควรเอาเหตุผลมาคุยกันมากกว่า ซึ่งน่าเสียดายที่นักการเมืองไม่เอาสาระไปวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งที่ผ่านมามีการเขียนการ์ตูนล้อเลียน ส.ส.ร. ซึ่งถือว่าน่าเศร้าใจ--จบ--
ตัวแทน 30 องค์กรประชาธิปไตย นำโดย นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ นายอุทัย พิมพ์ใจชน ถึงข้อสรุปจากการประชุมร่วมกัน ซึ่ง 30 องค์กรประชาธิปไตยสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญของ ส.ส.ร. อย่างไรก็ตามได้เสนอความเห็นเพิ่มเติมต่อร่างรัฐธรรมนูญ 9 ประเด็น ซึ่งหวังว่าจะเป็นร่างรัฐธรรมนูญที่รองรับความต้องการของประชาชนมากขึ้น
- องค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกองค์กรที่บัญญัติในร่างรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการในทุกองค์กรจะต้องมีสัดส่วนตัวแทนของประชาชน และจะต้องไม่เป็นอดีตข้าราชการประจำและนักการเมือง
- จะต้องบัญญัติให้มีการปกครองท้องถิ่นและให้ผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่นทุกระดับต้องมาจากการเลือกตั้ง และให้มีผลบังคับใช้ทันทีภายหลัง จากที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
- ให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา และข้าราชการประจำระดับสูง จะต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อสาธารณชน
- ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง
- นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีให้มาจาก ส.ส. แบบสัดส่วนรายชื่อพรรคการเมือง (Party List)
- ให้ยกเลิกสมาชิกวุฒิสภา
- มาตรา 3 คำว่า อำนาจอธิปไตยมาจากประชาชนชาวไทยให้แก้ไขเป็น อำนาจอธิปไตย "เป็นของ" ปวงชนชาวไทย
- ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งจำนวน หนึ่งแสนคนขึ้นไป มีสิทธิเข้าชื่อเพื่อเสนอให้มีการลงประชามติ ในเรื่องอันเป็นกิจกรรมสำคัญของประเทศ หรือมีผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนส่วนใหญ่
- ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง จำนวนหนึ่งแสนคนขึ้นไป มีสิทธิเข้าชื่อกัน เพื่อให้มีการลงประชามติตัดสินว่าจะให้มีการแก้ไข หรือร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับหรือไม่
นอกจากนี้ 30 องค์กรประชาธิปไตย ยังเรียกร้องให้มีการถ่ายทอดการประชุมคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ทางวิทยุและโทรทัศน์ ซึ่งนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาร่างฯ ชี้แจงว่าในช่วงของการเสนอการแปรญัตติในชั้นกรรมาธิการคงไม่อาจถ่ายทอดการประชุมได้ เพราะเกรงว่าการรายงานอาจจะไม่ต่อเนื่องอย่างไรก็ตาม ขั้นแปรญัตติในวาระ 2 จะเปิดให้มีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์และวิทยุอย่างแน่นอน
ส่วนที่มีนักการเมืองออกมาวิจารณ์เรื่องส่วนตัว นายอุทัย เห็นว่าไม่ใช่สาระสำคัญ ซึ่งควรเอาเหตุผลมาคุยกันมากกว่า ซึ่งน่าเสียดายที่นักการเมืองไม่เอาสาระไปวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งที่ผ่านมามีการเขียนการ์ตูนล้อเลียน ส.ส.ร. ซึ่งถือว่าน่าเศร้าใจ--จบ--