กรุงเทพ--8 เม.ย.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ยืนยันว่ารัฐธรรมนูญมาตรา 211 กำหนดให้สภาร่างรัฐธรรมนูญ "คำนึง" ถึงความคิดเห็นของประชาชนเป็นหลัก คือ ต้องรับฟังความต้องการของประชาชน และพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติควบคู่กันไป ดังนั้น การที่ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธิ นายกรัฐมนตรี ออกมาแสดงความคิดเห็นต่อที่มาของนายกรัฐมนตรี ว่า ควรมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนทั้งประเทศนั้น เชื่อว่า จะไม่กระทบต่อการทำงานของสภาร่างฯ แม้จะยอมรับว่าอาจเสี่ยงกับการถูกมองว่า สภาร่างฯ ไม่รับฟังการแสดงความต้องการของประชาชนก็ตาม
ทั้งนี้นายอุทัยกล่าวว่าจำเป็นที่สภาร่างฯ จะต้องจัดกระบวนการชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนอย่างเป็นระบบ ซึ่งการแสดงความคิดเห็นของประชาชนจะต้องพิจารณาด้วยว่ามีจำนวนมากน้อยเพียงใด อีกทั้งมีความเข้าใจประเด็นที่เสนอความเห็นเข้ามาอย่างถ่องแท้หรือไม่ อย่างไรก็ตามสำหรับกระแสข่าวที่ว่า นายกรัฐมนตรี อาจนัดหารือในประเด็นการยกร่างรัฐธรรมนูญนั้น ประธานสภาร่างฯ กลับเชื่อมั่นว่านายกรัฐมนตรี คงไม่เข้ามาก้าวก่ายการทำงานของสภาร่างฯ ซึ่งการนัดหารืออาจเป็นเพียงเพื่อเตรียมอำนวยความสะดวกให้กับสภาร่างฯ ก็เป็นได้
ส่วนที่ นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโสบอกว่าการหยิบยกประเด็นที่มาของนายกรัฐมนตรีจากการการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ขึ้นมาอาจเป็นการสร้างกระแสเพื่อหวังล้มร่างรัฐธรรมนูญนั้น ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญกลับเห็นว่า เป็นการแสดงความห่วงใยไปก่อนล่วงหน้า ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เชื่อว่าหากชี้แจงทำความเข้าใจให้ชัดเจน คำตอบในประเด็นดังกล่าวก็อาจเปลี่ยนไปได้--จบ--
นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ยืนยันว่ารัฐธรรมนูญมาตรา 211 กำหนดให้สภาร่างรัฐธรรมนูญ "คำนึง" ถึงความคิดเห็นของประชาชนเป็นหลัก คือ ต้องรับฟังความต้องการของประชาชน และพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติควบคู่กันไป ดังนั้น การที่ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธิ นายกรัฐมนตรี ออกมาแสดงความคิดเห็นต่อที่มาของนายกรัฐมนตรี ว่า ควรมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนทั้งประเทศนั้น เชื่อว่า จะไม่กระทบต่อการทำงานของสภาร่างฯ แม้จะยอมรับว่าอาจเสี่ยงกับการถูกมองว่า สภาร่างฯ ไม่รับฟังการแสดงความต้องการของประชาชนก็ตาม
ทั้งนี้นายอุทัยกล่าวว่าจำเป็นที่สภาร่างฯ จะต้องจัดกระบวนการชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนอย่างเป็นระบบ ซึ่งการแสดงความคิดเห็นของประชาชนจะต้องพิจารณาด้วยว่ามีจำนวนมากน้อยเพียงใด อีกทั้งมีความเข้าใจประเด็นที่เสนอความเห็นเข้ามาอย่างถ่องแท้หรือไม่ อย่างไรก็ตามสำหรับกระแสข่าวที่ว่า นายกรัฐมนตรี อาจนัดหารือในประเด็นการยกร่างรัฐธรรมนูญนั้น ประธานสภาร่างฯ กลับเชื่อมั่นว่านายกรัฐมนตรี คงไม่เข้ามาก้าวก่ายการทำงานของสภาร่างฯ ซึ่งการนัดหารืออาจเป็นเพียงเพื่อเตรียมอำนวยความสะดวกให้กับสภาร่างฯ ก็เป็นได้
ส่วนที่ นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโสบอกว่าการหยิบยกประเด็นที่มาของนายกรัฐมนตรีจากการการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ขึ้นมาอาจเป็นการสร้างกระแสเพื่อหวังล้มร่างรัฐธรรมนูญนั้น ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญกลับเห็นว่า เป็นการแสดงความห่วงใยไปก่อนล่วงหน้า ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เชื่อว่าหากชี้แจงทำความเข้าใจให้ชัดเจน คำตอบในประเด็นดังกล่าวก็อาจเปลี่ยนไปได้--จบ--