กรุงเทพ--12 มิ.ย.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
การประชุมคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ วันนี้ (12 มิถุนายน 2540) เริ่มต้นการพิจารณาร่างฯ ในหมวด 6 รัฐสภา ที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันว่า รัฐสภาควรประกอบไปด้วย สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา โดยที่ร่างฯ ควรกำหนดให้ ประธานรัฐสภา ต้องเป็นกลางทางการเมือง แม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีการแลกเปลี่ยนความเห็นกันอย่างกว้างขวาง ว่าน่าจะตัดข้อความดังกล่าวหรือเปลี่ยนไปใช้คำว่า "เป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่" แทน ด้วยเหตุผลว่าในทางปฏิบัติ ประธานรัฐสภา ยังคงสังกัดพรรคการเมืองอยู่ แต่ท้ายที่สุดเสียงส่วนใหญ่ลงมติให้คงข้อความดังกล่าวไว้ แต่ปรับปรุงถ้อยคำเป็น "วางตนเป็นกลางทางการเมือง" แทน
มาตรา 91 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการตรากฎหมาย กรรมาธิการมีความเห็นที่หลากหลาย โดยส่วนใหญ่เห็นว่าควรแก้ไข จากที่กำหนดให้ ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ภายใน 30 วันนั้น ให้ลดลงเหลือเพียง 20 วัน ด้านนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ ยังคงยืนยันความเห็นเดิมว่า ควรทูลเกล้าฯ ภายใน 30 วันเช่นเดิม จึงได้ขอสงวนคำแปรญัตติไว้
สำหรับร่างฯ มาตรา 95 ที่กล่าวถึงการออกจากตำแหน่งของ ส.ส. และสมาชิกวุฒิสภา (ถ้ามาจากการเลือกตั้ง) เพราะเหตุที่ผู้นั้น ได้รับเลือกตั้งมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้คืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่ผู้นั้นได้รับ เนื่องจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าว แม้ที่ประชุมจะมีมติให้คงไว้ตามร่างฯ แต่ยังมีกรรมาธิการฯ ขอสงวนคำแปรญัตติไว้ เพราะเห็นว่าในทางปฏิบัติอาจมีการกลั่นแกล้งกันทางการเมือง ด้วยการกล่าวหากันอย่างไม่เป็นธรรมได้
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสภาผู้แทนราษฎร กรรมาธิการฯ ได้แสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง ถึงจำนวนของ ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง กับ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้น (Party list) โดยที่นายเดโช สวนานนท์ ส.ส.ร.จังหวัดสุราษฎร์ธานี เสนอว่า น่าจะมีจำนวน 400 ต่อ 100 คน เพื่อไม่ให้ ส.ส.แบบ Party list มีจำนวนมากจนสร้างความสับสนให้กับประชาชน พร้อมกันนี้ยังได้อ้างอิงว่าเป็นข้อเสนอที่ได้รับฟังจากประชาชนมาประกอบการแปรญัตติด้วย ขณะที่นายคณิน บุญสุวรรณ ส.ส.ร. จังหวัดชลบุรี เสนอว่า น่าจะมีจำนวน ส.ส. 350 ต่อ 100 คน เพื่อให้ สัดส่วน ส.ส. Party list สามารถคานอำนาจในสภาได้
ขณะที่นายวิสุทธิ์ โพธิแท่น กรรมาธิการฯ เสนอว่า น่าจะกำหนดจำนวน ส.ส.ทั้ง 2 แบบให้รวมกัน แล้วมี 449 คน นอกจากนี้ยังมีกรรมาธิการอีกหลายคน เสนอว่าไม่ควรกำหนด ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งในจำนวนที่ตายตัว แต่ให้ขึ้นอยู่กับจำนวนประชากร ที่คำนวณจาก 150,000 คน ต่อ ส.ส.หนึ่งคน อย่างไรก็ตามหลังการลงมติเสียงส่วนใหญ่เห็นควรให้เปลี่ยนแปลง จำนวน ส.ส.จากร่างฯ เดิมกำหนดไว้ 350 ต่อ 150 คน เป็นจำนวน 400 ต่อ 100 คน โดยที่กรรมาธิการฯ ในส่วนเสียงข้างน้อยขอสงวนคำแปรญัตติไว้
ด้านประเด็นที่มาของ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ซึ่งเดิมร่างฯ กำหนดให้มาจาก ส.ส.นั้น ได้มีกรรมาธิการฯ เสนอให้คณะรัฐมนตรี มาจาก ส.ส. บัญชีรายชื่อพรรคการเมือง (Party list) เพียงอย่างเดียว โดยเห็นว่าตามเจตนารมณ์ของร่างฯ ก็มีการบังคับอยู่แล้ว เพื่อให้เกิดการแยกหน้าที่ระหว่างฝ่ายบริหาร กับฝ่ายนิติบัญญัติ และเท่ากับเป็นการจัดระบบพรรคการเมืองที่ชัดเจน ก่อนลงนามเลือกตั้ง ซึ่งจะเกิดผลพลอยได้ในการลดปัญหาการทุ่มเงินซื้อเสียงไปด้วยในตัว ขณะเดียวกันก็มีกรรมาธิการฯ เสนอว่าร่างฯ ควรเปิดช่องให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีช่วยว่าการฯ มาจาก ส.ส. ได้ทั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และแบบบัญชีรายชื่อพรรคการเมือง ทั้งนี้ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมาธิการฯ มีความเห็นสอดคล้องกับข้อเสนอต่าง ๆ ดังกล่าวว่า จะช่วยให้ประชาชนได้เห็นคณะรัฐมนตรีอย่างโปร่งใส และเป็นการส่งเสริมให้ระบบพรรคการเมืองมีความเข้มแข็ง รวมทั้งช่วยขจัดระบบโควต้า
อย่างไรก็ตามมีกรรมาธิการบางส่วน เห็นว่าอาจทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ระหว่าง ส.ส.แบบแบ่งเขต และแบบบัญชีรายชื่อพรรคการเมืองได้ จึงเสนอว่าคณะรัฐมนตรีควรมาจาก ส.ส.ทั้ง 2 แบบ ตามร่างฯ เดิมเพียงแต่ทุกพรรคการเมืองควรเสนอรายชื่อคณะรัฐมนตรีไว้ล่วงหน้า ก่อนการเลือกตั้งเพื่อเป็นทางเลือกให้กับประชาชน ทั้งนี้ภายหลังการลงมติปรากฎว่า เสียงส่วนใหญ่ให้คงไว้ตามร่างฯ เดิม คือไม่จำเป็นต้องระบุไว้ในรัฐธรรมนูญว่าคณะรัฐมนตรีจะต้องมาจาก ส.ส. แบบ Party list เพียงอย่างเดียว และยังให้ถือเขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง สำหรับ ส.ส. แบบ Party list และในประเด็นที่มาของ คณะรัฐมนตรี มีกรรมาธิการฯ หลายคนด้วยกัน ขอสงวนคำแปรญัตติไว้--จบ--
การประชุมคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ วันนี้ (12 มิถุนายน 2540) เริ่มต้นการพิจารณาร่างฯ ในหมวด 6 รัฐสภา ที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันว่า รัฐสภาควรประกอบไปด้วย สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา โดยที่ร่างฯ ควรกำหนดให้ ประธานรัฐสภา ต้องเป็นกลางทางการเมือง แม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีการแลกเปลี่ยนความเห็นกันอย่างกว้างขวาง ว่าน่าจะตัดข้อความดังกล่าวหรือเปลี่ยนไปใช้คำว่า "เป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่" แทน ด้วยเหตุผลว่าในทางปฏิบัติ ประธานรัฐสภา ยังคงสังกัดพรรคการเมืองอยู่ แต่ท้ายที่สุดเสียงส่วนใหญ่ลงมติให้คงข้อความดังกล่าวไว้ แต่ปรับปรุงถ้อยคำเป็น "วางตนเป็นกลางทางการเมือง" แทน
มาตรา 91 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการตรากฎหมาย กรรมาธิการมีความเห็นที่หลากหลาย โดยส่วนใหญ่เห็นว่าควรแก้ไข จากที่กำหนดให้ ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ภายใน 30 วันนั้น ให้ลดลงเหลือเพียง 20 วัน ด้านนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ ยังคงยืนยันความเห็นเดิมว่า ควรทูลเกล้าฯ ภายใน 30 วันเช่นเดิม จึงได้ขอสงวนคำแปรญัตติไว้
สำหรับร่างฯ มาตรา 95 ที่กล่าวถึงการออกจากตำแหน่งของ ส.ส. และสมาชิกวุฒิสภา (ถ้ามาจากการเลือกตั้ง) เพราะเหตุที่ผู้นั้น ได้รับเลือกตั้งมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้คืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่ผู้นั้นได้รับ เนื่องจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าว แม้ที่ประชุมจะมีมติให้คงไว้ตามร่างฯ แต่ยังมีกรรมาธิการฯ ขอสงวนคำแปรญัตติไว้ เพราะเห็นว่าในทางปฏิบัติอาจมีการกลั่นแกล้งกันทางการเมือง ด้วยการกล่าวหากันอย่างไม่เป็นธรรมได้
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสภาผู้แทนราษฎร กรรมาธิการฯ ได้แสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง ถึงจำนวนของ ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง กับ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้น (Party list) โดยที่นายเดโช สวนานนท์ ส.ส.ร.จังหวัดสุราษฎร์ธานี เสนอว่า น่าจะมีจำนวน 400 ต่อ 100 คน เพื่อไม่ให้ ส.ส.แบบ Party list มีจำนวนมากจนสร้างความสับสนให้กับประชาชน พร้อมกันนี้ยังได้อ้างอิงว่าเป็นข้อเสนอที่ได้รับฟังจากประชาชนมาประกอบการแปรญัตติด้วย ขณะที่นายคณิน บุญสุวรรณ ส.ส.ร. จังหวัดชลบุรี เสนอว่า น่าจะมีจำนวน ส.ส. 350 ต่อ 100 คน เพื่อให้ สัดส่วน ส.ส. Party list สามารถคานอำนาจในสภาได้
ขณะที่นายวิสุทธิ์ โพธิแท่น กรรมาธิการฯ เสนอว่า น่าจะกำหนดจำนวน ส.ส.ทั้ง 2 แบบให้รวมกัน แล้วมี 449 คน นอกจากนี้ยังมีกรรมาธิการอีกหลายคน เสนอว่าไม่ควรกำหนด ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งในจำนวนที่ตายตัว แต่ให้ขึ้นอยู่กับจำนวนประชากร ที่คำนวณจาก 150,000 คน ต่อ ส.ส.หนึ่งคน อย่างไรก็ตามหลังการลงมติเสียงส่วนใหญ่เห็นควรให้เปลี่ยนแปลง จำนวน ส.ส.จากร่างฯ เดิมกำหนดไว้ 350 ต่อ 150 คน เป็นจำนวน 400 ต่อ 100 คน โดยที่กรรมาธิการฯ ในส่วนเสียงข้างน้อยขอสงวนคำแปรญัตติไว้
ด้านประเด็นที่มาของ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ซึ่งเดิมร่างฯ กำหนดให้มาจาก ส.ส.นั้น ได้มีกรรมาธิการฯ เสนอให้คณะรัฐมนตรี มาจาก ส.ส. บัญชีรายชื่อพรรคการเมือง (Party list) เพียงอย่างเดียว โดยเห็นว่าตามเจตนารมณ์ของร่างฯ ก็มีการบังคับอยู่แล้ว เพื่อให้เกิดการแยกหน้าที่ระหว่างฝ่ายบริหาร กับฝ่ายนิติบัญญัติ และเท่ากับเป็นการจัดระบบพรรคการเมืองที่ชัดเจน ก่อนลงนามเลือกตั้ง ซึ่งจะเกิดผลพลอยได้ในการลดปัญหาการทุ่มเงินซื้อเสียงไปด้วยในตัว ขณะเดียวกันก็มีกรรมาธิการฯ เสนอว่าร่างฯ ควรเปิดช่องให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีช่วยว่าการฯ มาจาก ส.ส. ได้ทั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และแบบบัญชีรายชื่อพรรคการเมือง ทั้งนี้ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมาธิการฯ มีความเห็นสอดคล้องกับข้อเสนอต่าง ๆ ดังกล่าวว่า จะช่วยให้ประชาชนได้เห็นคณะรัฐมนตรีอย่างโปร่งใส และเป็นการส่งเสริมให้ระบบพรรคการเมืองมีความเข้มแข็ง รวมทั้งช่วยขจัดระบบโควต้า
อย่างไรก็ตามมีกรรมาธิการบางส่วน เห็นว่าอาจทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ระหว่าง ส.ส.แบบแบ่งเขต และแบบบัญชีรายชื่อพรรคการเมืองได้ จึงเสนอว่าคณะรัฐมนตรีควรมาจาก ส.ส.ทั้ง 2 แบบ ตามร่างฯ เดิมเพียงแต่ทุกพรรคการเมืองควรเสนอรายชื่อคณะรัฐมนตรีไว้ล่วงหน้า ก่อนการเลือกตั้งเพื่อเป็นทางเลือกให้กับประชาชน ทั้งนี้ภายหลังการลงมติปรากฎว่า เสียงส่วนใหญ่ให้คงไว้ตามร่างฯ เดิม คือไม่จำเป็นต้องระบุไว้ในรัฐธรรมนูญว่าคณะรัฐมนตรีจะต้องมาจาก ส.ส. แบบ Party list เพียงอย่างเดียว และยังให้ถือเขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง สำหรับ ส.ส. แบบ Party list และในประเด็นที่มาของ คณะรัฐมนตรี มีกรรมาธิการฯ หลายคนด้วยกัน ขอสงวนคำแปรญัตติไว้--จบ--