กรุงเทพ--31 มี.ค.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
ที่ประชุมคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและประชาพิจารณ์วันนี้ (31 มีนาคม 2540) หารือร่วมกันกว่า 5 ชั่วโมงยังไม่ได้ข้อยุติว่าจะจัดทำโพลสำรวจความคิดเห็นประชาชนในช่วงจัดประชาพิจารณ์หรือไม่ หลังยกร่างรัฐธรรมนูญเบื้องต้นเสร็จเรียบร้อย โดยการจัดทำโพลซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการแสดงความคิดเห็นของคณะกรรมาธิการฯ วันนี้ เกิดขึ้นจากที่ประชุมเคยมีมติให้มหาวิทยาลัยบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสถาบันราชภัฏทั่วประเทศ เป็นผู้จัดทำโพลใช้งบประมาณ 18 ล้านบาท
ทั้งนี้ ศ.อมร รักษาสัตย์ ประธานคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นฯ ซึ่งเป็นประธานในที่ประชุม ยอมรับที่ประชุมวันนี้ (31 มีนาคม 2540) มีความเห็นหลากหลาย ซึ่งมีทั้งผู้เห็นด้วยและให้ชะลอโครงการหรือยกเลิกจึงไม่สามารถหาข้อยุติได้ ฉะนั้นต้องมีการพิจารณาใหม่อีกครั้งพรุ่งนี้ (1 เมษายน 2540) แต่ส่วนตัวมองว่าไม่ใช่เรื่องเสียหาย หากจะมีการจัดทำโพลพร้อมกับการทำประชาพิจารณ์ เพราะการจัดทำประชาพิจารณ์จะได้ความเห็นจากกลุ่มคนหลากหลาย ซึ่งจำแนกไปตามสาขาอาชีพ ขณะที่การจัดทำโพลจะช่วยให้สภาร่างรัฐธรรมนูญได้รับรู้ความเห็นของประชาชนต่อร่างรัฐธรรมนูญที่กว้างขวาง จากกลุ่มตัวอย่างจำนวนมาก กระจายไปแม้กระทั่งตำบลและหมู่บ้านอย่างทั่วถึง
นอกจากนี้หากผลของโพลสวนทางกับการทำประชาพิจารณ์ ศ.อมรก็เชื่อว่าไม่ใช่สิ่งน่ากังวล เพราะสามารถวิเคราะห์และตีความได้ด้วยเหตุผล และการนัดหารืออีกครั้งพรุ่งนี้ (1 เมษายน 2540) ก็จะเชิญคณะทำงานจากมหาวิทยลัยเกษตรศาสตร์และสถาบันราชภัฏต่าง ๆ มาร่วมเสนอแนว ทางการจัดสำรวจความคิดเห็นรูปแบบอื่นด้วย ซึ่งอาจพบทางออกของปัญหาขณะนี้
ด้านนายประชุม ทองมี รองประธานคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นฯ ได้ออกมาคัดค้านการสำรวจความคิดเห็นในรูปของการจัดทำโพล เพราะเห็นว่าตัวแทนจากนิด้า ไม่สามารถสร้างความกระจ่างถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำโพลตามข้อเสนอได้ ขณะที่สภาร่างรัฐธรรมนูญต้องสูญเสียงบประมาณเพื่อทำงานนี้ถึง 18 ล้านบาท และหากจะมีการจัดทำโพลจริงก็ควรเป็นช่วงที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญอยู่ระหว่างการแปรญัตติหรือจัดทำกรณีหากรัฐสภาไม่รับร่างรัฐธรรมนูญแล้ว
และท่ามกลางความคิดเห็นที่หลากหลายก็มีกระแสข่าวว่าผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการจัดทำโพลอาจมีการล่ารายชื่อ เพื่อรวบรวมชื่อคนที่คัดค้านเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและประชาพิจารณ์พรุ่งนี้ (1 เมษายน 2540) เพื่อล้มเลิกโครงการดังกล่าวไป--จบ--
ที่ประชุมคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและประชาพิจารณ์วันนี้ (31 มีนาคม 2540) หารือร่วมกันกว่า 5 ชั่วโมงยังไม่ได้ข้อยุติว่าจะจัดทำโพลสำรวจความคิดเห็นประชาชนในช่วงจัดประชาพิจารณ์หรือไม่ หลังยกร่างรัฐธรรมนูญเบื้องต้นเสร็จเรียบร้อย โดยการจัดทำโพลซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการแสดงความคิดเห็นของคณะกรรมาธิการฯ วันนี้ เกิดขึ้นจากที่ประชุมเคยมีมติให้มหาวิทยาลัยบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสถาบันราชภัฏทั่วประเทศ เป็นผู้จัดทำโพลใช้งบประมาณ 18 ล้านบาท
ทั้งนี้ ศ.อมร รักษาสัตย์ ประธานคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นฯ ซึ่งเป็นประธานในที่ประชุม ยอมรับที่ประชุมวันนี้ (31 มีนาคม 2540) มีความเห็นหลากหลาย ซึ่งมีทั้งผู้เห็นด้วยและให้ชะลอโครงการหรือยกเลิกจึงไม่สามารถหาข้อยุติได้ ฉะนั้นต้องมีการพิจารณาใหม่อีกครั้งพรุ่งนี้ (1 เมษายน 2540) แต่ส่วนตัวมองว่าไม่ใช่เรื่องเสียหาย หากจะมีการจัดทำโพลพร้อมกับการทำประชาพิจารณ์ เพราะการจัดทำประชาพิจารณ์จะได้ความเห็นจากกลุ่มคนหลากหลาย ซึ่งจำแนกไปตามสาขาอาชีพ ขณะที่การจัดทำโพลจะช่วยให้สภาร่างรัฐธรรมนูญได้รับรู้ความเห็นของประชาชนต่อร่างรัฐธรรมนูญที่กว้างขวาง จากกลุ่มตัวอย่างจำนวนมาก กระจายไปแม้กระทั่งตำบลและหมู่บ้านอย่างทั่วถึง
นอกจากนี้หากผลของโพลสวนทางกับการทำประชาพิจารณ์ ศ.อมรก็เชื่อว่าไม่ใช่สิ่งน่ากังวล เพราะสามารถวิเคราะห์และตีความได้ด้วยเหตุผล และการนัดหารืออีกครั้งพรุ่งนี้ (1 เมษายน 2540) ก็จะเชิญคณะทำงานจากมหาวิทยลัยเกษตรศาสตร์และสถาบันราชภัฏต่าง ๆ มาร่วมเสนอแนว ทางการจัดสำรวจความคิดเห็นรูปแบบอื่นด้วย ซึ่งอาจพบทางออกของปัญหาขณะนี้
ด้านนายประชุม ทองมี รองประธานคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นฯ ได้ออกมาคัดค้านการสำรวจความคิดเห็นในรูปของการจัดทำโพล เพราะเห็นว่าตัวแทนจากนิด้า ไม่สามารถสร้างความกระจ่างถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำโพลตามข้อเสนอได้ ขณะที่สภาร่างรัฐธรรมนูญต้องสูญเสียงบประมาณเพื่อทำงานนี้ถึง 18 ล้านบาท และหากจะมีการจัดทำโพลจริงก็ควรเป็นช่วงที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญอยู่ระหว่างการแปรญัตติหรือจัดทำกรณีหากรัฐสภาไม่รับร่างรัฐธรรมนูญแล้ว
และท่ามกลางความคิดเห็นที่หลากหลายก็มีกระแสข่าวว่าผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการจัดทำโพลอาจมีการล่ารายชื่อ เพื่อรวบรวมชื่อคนที่คัดค้านเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและประชาพิจารณ์พรุ่งนี้ (1 เมษายน 2540) เพื่อล้มเลิกโครงการดังกล่าวไป--จบ--