กรุงเทพ--9 เม.ย.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
ดร.รุ่ง แก้วแดง เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนวันนี้ (9 เม.ย. 40) ว่าในขณะที่ประเทศไทยกำลังร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อยู่นั้น ปรากฎว่าในแบบสำรวจครั้งแรกของทาง ส.ส.ร. ไม่มีในคำถามที่เกี่ยวกับการศึกษา ฉะนั้นทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ จึงได้ร่วมกับหน่วยงานหลายแห่ง เพื่อสรุปความคิดเห็นในเรื่องการปฏิรูปการศึกษาจากประชาชนว่าควรมีบทบัญญัติว่าด้วยการศึกษาในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่โดยทางสถาบันเอแบคได้จัดแบบสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนจำนวน 1,776 คน ซึ่งผลสรุปคือประชาชนร้อยละ 98.9 เปอร์เซนต์เห็นว่า รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรจะมีข้อบัญญัติทางการศึกษาด้วย ขณะเดียวกันด้านสวนดุสิตโพลก็สำรวจจากประชากร 14,352 คน ผลสรุปคือ ประชาชนร้อยละ 95.8 เปอร์เซนต์ ต้องการให้มีข้อบัญญัติเรื่องการศึกษาไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เช่นกัน ทั้งนี้เอแบคโพลจะเน้นเฉพาะคนใน กทม. โดยสวนดุสิตโพลจะเน้นคนทั้งประเทศ ดังนั้นสรุปได้ว่าชาว กทม. เน้นให้ความสำคัญกับเรื่องการปฏิรูปการศึกษาเป็นอันดับหนึ่ง
ดร.รุ่ง กล่าวต่อว่าหลังทำแบบสำรวจดังกล่าว ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้มีการร่างบทบัญญัติว่าด้วยการศึกษาในรัฐธรรมนูญเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งมีด้วยกัน 6 มาตรา เพื่อให้มีการศึกษาเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาคน และพัฒนาสังคมในประเทศชาติ ซึ่งทางสำนักงานได้ส่งร่างนี้ให้กับ ส.ส.ร. ไปแล้ว เข้าใจว่าจะมี ส.ส.ร. บางท่านนำเสนอต่อที่ประชุมด้วย
สำหรับ มาตรา 1 บุคคลมีสิทธิเสมอภาคกันในการรับการศึกษาพื้นฐาน คือบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการเรียนรู้เลือกรับ และจัดการศึกษาอบรม โดยไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีและหน้าที่พลเมืองตามรัฐธรรมนูญ และไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ มาตรา 2 บุคคลมีหน้าที่เข้ารับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไข และวิธีการที่กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติกำหนด อีกทั้งให้ครอบครัว ชุมชน สถาบันศาสนา สื่อมวลชน และหน่วยงานอื่น ๆ มีส่วนร่วมรับผิดชอบในการส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษา มาตรา 3 บุคคล ครอบครัว ชุมชน สถาบันศาสนา สื่อมวลชน และหน่วยงานอื่น ๆ มีหน้าที่ให้การส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างสมานฉันท์ในทางศาสนา การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งการสืบสานวัฒนธรรมพื้นบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ส่วน มาตรา 4 รัฐต้องจัดการศึกษาพื้นฐานในสถานศึกษาของรัฐอย่างมีคุณภาพ และมาตรฐานแบบให้เปล่า สำหรับกลุ่มด้อยโอกาสต้องให้การสนับสนุนเป็นพิเศษ และรัฐต้องสนับสนุนบุคคล ชุมชน สถาบันศาสนา สื่อมวลชน องค์กรเอกชน และเอกชนเข้าร่วมรับภาระในการจัดการศึกษาให้ทัดเทียมกับการศึกษาโดยรัฐ โดยให้การอุดหนุนและให้ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกของรัฐได้ นอกจากนี้รัฐมีหน้าที่ให้หลักประกันการกำหนดมาตรฐาน และการประกันคุณภาพการศึกษา รวมทั้งประกันสิทธิในการได้รับการศึกษาของผู้ด้อยโอกาสทุกกลุ่ม รัฐต้องกระจายอำนาจการบริหารและจัดการศึกษาอย่างมีเอกภาพเชิงนโยบาย โดยมีหน้าที่เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ ท้องถิ่น ครอบครัว สถาบันศาสนา องค์กรชุมชน สถานศึกษา และเอกชน ให้สามารถร่วมรับผิดชอบในการจัดการศึกษา มาตรา 5 รัฐสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน มีอิสระในการจัดการศึกษาและมีเสรีภาพทางวิชาการที่ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดี มาตรา 6 รัฐพึงส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินการเพื่อพัฒนาระบอบการศึกษา และปรับปรุงคุณภาพการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท เพื่อให้การจัดการศึกษาของประเทศเป็นการศึกษาตลอดชีวิต ที่จัดอย่างทั่วถึง มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพสูง ทั้งนี้เพื่อทันต่อวิวัฒนาการของโลกอยู่ตลอดเวลา--จบ--
ดร.รุ่ง แก้วแดง เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนวันนี้ (9 เม.ย. 40) ว่าในขณะที่ประเทศไทยกำลังร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อยู่นั้น ปรากฎว่าในแบบสำรวจครั้งแรกของทาง ส.ส.ร. ไม่มีในคำถามที่เกี่ยวกับการศึกษา ฉะนั้นทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ จึงได้ร่วมกับหน่วยงานหลายแห่ง เพื่อสรุปความคิดเห็นในเรื่องการปฏิรูปการศึกษาจากประชาชนว่าควรมีบทบัญญัติว่าด้วยการศึกษาในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่โดยทางสถาบันเอแบคได้จัดแบบสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนจำนวน 1,776 คน ซึ่งผลสรุปคือประชาชนร้อยละ 98.9 เปอร์เซนต์เห็นว่า รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรจะมีข้อบัญญัติทางการศึกษาด้วย ขณะเดียวกันด้านสวนดุสิตโพลก็สำรวจจากประชากร 14,352 คน ผลสรุปคือ ประชาชนร้อยละ 95.8 เปอร์เซนต์ ต้องการให้มีข้อบัญญัติเรื่องการศึกษาไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เช่นกัน ทั้งนี้เอแบคโพลจะเน้นเฉพาะคนใน กทม. โดยสวนดุสิตโพลจะเน้นคนทั้งประเทศ ดังนั้นสรุปได้ว่าชาว กทม. เน้นให้ความสำคัญกับเรื่องการปฏิรูปการศึกษาเป็นอันดับหนึ่ง
ดร.รุ่ง กล่าวต่อว่าหลังทำแบบสำรวจดังกล่าว ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้มีการร่างบทบัญญัติว่าด้วยการศึกษาในรัฐธรรมนูญเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งมีด้วยกัน 6 มาตรา เพื่อให้มีการศึกษาเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาคน และพัฒนาสังคมในประเทศชาติ ซึ่งทางสำนักงานได้ส่งร่างนี้ให้กับ ส.ส.ร. ไปแล้ว เข้าใจว่าจะมี ส.ส.ร. บางท่านนำเสนอต่อที่ประชุมด้วย
สำหรับ มาตรา 1 บุคคลมีสิทธิเสมอภาคกันในการรับการศึกษาพื้นฐาน คือบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการเรียนรู้เลือกรับ และจัดการศึกษาอบรม โดยไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีและหน้าที่พลเมืองตามรัฐธรรมนูญ และไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ มาตรา 2 บุคคลมีหน้าที่เข้ารับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไข และวิธีการที่กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติกำหนด อีกทั้งให้ครอบครัว ชุมชน สถาบันศาสนา สื่อมวลชน และหน่วยงานอื่น ๆ มีส่วนร่วมรับผิดชอบในการส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษา มาตรา 3 บุคคล ครอบครัว ชุมชน สถาบันศาสนา สื่อมวลชน และหน่วยงานอื่น ๆ มีหน้าที่ให้การส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างสมานฉันท์ในทางศาสนา การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งการสืบสานวัฒนธรรมพื้นบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ส่วน มาตรา 4 รัฐต้องจัดการศึกษาพื้นฐานในสถานศึกษาของรัฐอย่างมีคุณภาพ และมาตรฐานแบบให้เปล่า สำหรับกลุ่มด้อยโอกาสต้องให้การสนับสนุนเป็นพิเศษ และรัฐต้องสนับสนุนบุคคล ชุมชน สถาบันศาสนา สื่อมวลชน องค์กรเอกชน และเอกชนเข้าร่วมรับภาระในการจัดการศึกษาให้ทัดเทียมกับการศึกษาโดยรัฐ โดยให้การอุดหนุนและให้ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกของรัฐได้ นอกจากนี้รัฐมีหน้าที่ให้หลักประกันการกำหนดมาตรฐาน และการประกันคุณภาพการศึกษา รวมทั้งประกันสิทธิในการได้รับการศึกษาของผู้ด้อยโอกาสทุกกลุ่ม รัฐต้องกระจายอำนาจการบริหารและจัดการศึกษาอย่างมีเอกภาพเชิงนโยบาย โดยมีหน้าที่เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ ท้องถิ่น ครอบครัว สถาบันศาสนา องค์กรชุมชน สถานศึกษา และเอกชน ให้สามารถร่วมรับผิดชอบในการจัดการศึกษา มาตรา 5 รัฐสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน มีอิสระในการจัดการศึกษาและมีเสรีภาพทางวิชาการที่ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดี มาตรา 6 รัฐพึงส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินการเพื่อพัฒนาระบอบการศึกษา และปรับปรุงคุณภาพการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท เพื่อให้การจัดการศึกษาของประเทศเป็นการศึกษาตลอดชีวิต ที่จัดอย่างทั่วถึง มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพสูง ทั้งนี้เพื่อทันต่อวิวัฒนาการของโลกอยู่ตลอดเวลา--จบ--