กรุงเทพ--9 มิ.ย.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
นายรุ่ง แก้วแดง เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้ยื่นเอกสาร "เสนอคำแปรญัตติร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน" ต่อประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ นายอุทัย พิมพ์ใจชน เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาประกอบการแปรญัตติของ ส.ส.ร. ทั้งนี้ ข้อเสนอที่ให้มีการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญมีทั้งสิ้น 12 มาตราด้วยกัน โดยเป็นความเห็นร่วมกันของประชาชนจากหลายสาขาอาชีพ ที่เข้าร่วมสัมมนาประชาพิจารณ์ ในวันที่ 24 พฤษภาคม 2540 ที่ผ่านมา ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ทั้งนี้ข้อเสนอในด้านการศึกษาที่ขอให้ ส.ส.ร. แปรญัตติมีดังต่อไปนี้
มาตรา 39 ซึ่งว่าด้วยทรัพยากรสื่อสารสาธารณะ จากเดิมที่ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้ "คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชน" เสนอให้ระบุชัดเจนว่า "ต้องคำนึงถึงประโยชน์ด้านการศึกษาของประชาชนและผลกระทบต่อวัฒนธรรม ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น" เพื่อเป็นการส่งเสริมการค้นคว้าวิจัย และการศึกษาตลอดชีวิต ขณะเดียวกันในมาตรา 42 ที่กล่าวถึงสิทธิเสมอภาคในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพไม่น้อยกว่า 12 ปีนั้น เสนอว่าน่าจะระบุให้ชัดเจนว่าเป็นแบบให้เปล่า และรัฐต้องให้การสนับสนุนเป็นพิเศษแก่ผู้เรียนที่เป็นกลุ่มด้อยโอกาส อีกทั้งควรกำหนดให้บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกัน ในการเลือกรับการศึกษาอบรมที่สูงกว่าขั้นพื้นฐานตามความสามารถของแต่ละคนด้วย โดยให้เหตุผลว่าเพื่อให้สอดคล้องกับปฎิญญาโลกที่ว่าด้วยการศึกษาเพื่อปวงชน (Jomthien Declaration) ซึ่งมนุษย์ทุกคนพึงมีโอกาสได้รับการศึกษาที่จัดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการการเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้ ยังเห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญควรบัญญัติให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน องค์การปกครองท้องถิ่น และเอกชน มีสิทธิในการจัดการศึกษาอบรม และเข้ามีส่วนร่วมในระบบการศึกษาอบรมของรัฐ ตามที่กฎหมายว่าด้วย การศึกษาแห่งชาติบัญญัติ
ในส่วนหน้าที่ของชนชาวไทย มีการเสนอว่าบุคคลควรมีหน้าที่ ปกป้องคุ้มครอง และสืบสานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วย แทนที่จะใช้คำว่า "รักษา" เช่นเดิมเพื่อเป็นการสะท้อนถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันในหมวดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ เสนอให้กำหนดว่า "รัฐต้องสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนมีอิสระในการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ และมีเสรีภาพทางวิชาการที่ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดี" และรัฐต้องดำเนินการให้มีการประกาศใช้ "กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ" โดยอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญเกี่ยกับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาอบรมที่สูงกว่าขั้นพื้นฐาน การปฏิรูปการศึกษา การกระจายอำนาจ การบริหารมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาไว้ด้วย ทั้งนี้ กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ จะเป็นกฎหมายแม่บทหรือกฎหมายหลัก ในการจัดระบบการศึกษาของประเทศ ตลอดจนเป็นการวางเครือข่ายการบริหาร และการจัดการเกี่ยวกับการศึกษาอบรม การศาสนา และการวัฒนธรรม ให้มีความเป็นเอกภาพ ทั้งในด้านนโยบายและแผนด้านการดำเนิน และกำกับการ และด้านการให้หลักประกันคุณภาพและมาตรการการศึกษา--จบ--
นายรุ่ง แก้วแดง เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้ยื่นเอกสาร "เสนอคำแปรญัตติร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน" ต่อประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ นายอุทัย พิมพ์ใจชน เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาประกอบการแปรญัตติของ ส.ส.ร. ทั้งนี้ ข้อเสนอที่ให้มีการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญมีทั้งสิ้น 12 มาตราด้วยกัน โดยเป็นความเห็นร่วมกันของประชาชนจากหลายสาขาอาชีพ ที่เข้าร่วมสัมมนาประชาพิจารณ์ ในวันที่ 24 พฤษภาคม 2540 ที่ผ่านมา ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ทั้งนี้ข้อเสนอในด้านการศึกษาที่ขอให้ ส.ส.ร. แปรญัตติมีดังต่อไปนี้
มาตรา 39 ซึ่งว่าด้วยทรัพยากรสื่อสารสาธารณะ จากเดิมที่ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้ "คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชน" เสนอให้ระบุชัดเจนว่า "ต้องคำนึงถึงประโยชน์ด้านการศึกษาของประชาชนและผลกระทบต่อวัฒนธรรม ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น" เพื่อเป็นการส่งเสริมการค้นคว้าวิจัย และการศึกษาตลอดชีวิต ขณะเดียวกันในมาตรา 42 ที่กล่าวถึงสิทธิเสมอภาคในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพไม่น้อยกว่า 12 ปีนั้น เสนอว่าน่าจะระบุให้ชัดเจนว่าเป็นแบบให้เปล่า และรัฐต้องให้การสนับสนุนเป็นพิเศษแก่ผู้เรียนที่เป็นกลุ่มด้อยโอกาส อีกทั้งควรกำหนดให้บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกัน ในการเลือกรับการศึกษาอบรมที่สูงกว่าขั้นพื้นฐานตามความสามารถของแต่ละคนด้วย โดยให้เหตุผลว่าเพื่อให้สอดคล้องกับปฎิญญาโลกที่ว่าด้วยการศึกษาเพื่อปวงชน (Jomthien Declaration) ซึ่งมนุษย์ทุกคนพึงมีโอกาสได้รับการศึกษาที่จัดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการการเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้ ยังเห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญควรบัญญัติให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน องค์การปกครองท้องถิ่น และเอกชน มีสิทธิในการจัดการศึกษาอบรม และเข้ามีส่วนร่วมในระบบการศึกษาอบรมของรัฐ ตามที่กฎหมายว่าด้วย การศึกษาแห่งชาติบัญญัติ
ในส่วนหน้าที่ของชนชาวไทย มีการเสนอว่าบุคคลควรมีหน้าที่ ปกป้องคุ้มครอง และสืบสานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วย แทนที่จะใช้คำว่า "รักษา" เช่นเดิมเพื่อเป็นการสะท้อนถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันในหมวดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ เสนอให้กำหนดว่า "รัฐต้องสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนมีอิสระในการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ และมีเสรีภาพทางวิชาการที่ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดี" และรัฐต้องดำเนินการให้มีการประกาศใช้ "กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ" โดยอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญเกี่ยกับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาอบรมที่สูงกว่าขั้นพื้นฐาน การปฏิรูปการศึกษา การกระจายอำนาจ การบริหารมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาไว้ด้วย ทั้งนี้ กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ จะเป็นกฎหมายแม่บทหรือกฎหมายหลัก ในการจัดระบบการศึกษาของประเทศ ตลอดจนเป็นการวางเครือข่ายการบริหาร และการจัดการเกี่ยวกับการศึกษาอบรม การศาสนา และการวัฒนธรรม ให้มีความเป็นเอกภาพ ทั้งในด้านนโยบายและแผนด้านการดำเนิน และกำกับการ และด้านการให้หลักประกันคุณภาพและมาตรการการศึกษา--จบ--