กรุงเทพ--11 เม.ย.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
นายอนันต์ บูรณวนิช รองประธานคณะกรรมาธิการวิชาการ ข้อมูลและศึกษาแนวทางการ
ร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญและส.ส.ร.สระบุรี กล่าวถึงร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งกำลังอยู่ระ
หว่างการจัดทำของสภาร่างรัฐธรรมนูญเวลานี้ว่า ยังมีน้ำหนักไม่เพียงพอ โดยเฉพาะเรื่องแนวนโยบาย
แห่งรัฐ ควรกำหนดให้ชัดเจนถึงแนวทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจ เพราะเท่าที่รับฟังความคิดเห็นมาประชาชน
ส่วนใหญ่จะซักถามเสมอว่าทำไมไม่ร่างรัฐธรรมนูญที่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ เพราะประชาชนเดือด
ร้อนและมีความเป็นอยู่ที่ลำบาก ซึ่งส่วนตัวเป็นห่วงมากว่าร่างรัฐธรรมนูญอาจไม่ผ่านรัฐสภาหลายประเด็น
เพราะไม่เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยตรง จึงเห็นว่าควรกำหนดประเด็น เพิ่มเติมในรัฐธรรมนูญเพื่อให้
เศรษฐกิจเสรีนิยมอย่างแท้จริง ซึ่งในฐานะส.ส.ร.คนหนึ่งอาจขอแปรญัตติในช่วงหลังขั้นตอนประชาพิ
จารณ์แล้ว เพื่อให้มีการพิจารณาเรื่องนี้ด้วย
ทั้งนี้นายอนันต์เห็นว่าการจัดการเนื้อหาเพื่อกำหนดทิศทางให้เศรษฐกิจเสรี สามารถกำหนด
ไว้ในแนวนโยบายแห่งรัฐได้ และต้องระบุให้ชัดเจนเพื่อป้องกันการผูกขาดกิจการบางประเภทจากเอกชน
เช่น ธุรกิจธนาคารมีเอกชนผูกขาดไม่กี่ราย โดยไทยซี่งเป็นประเทศเสรีนิยมได้พูดกันแต่ที่มาที่ไปของเนื้อ
หา ขณะที่ระบบตรวจสอบองค์กรของรัฐไม่เกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจเลย ทั้งที่ระบบเศรษฐกิจควรเป็น
ประชาธิปไตยเช่นกันเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางพัฒนาประเทศ นอกจากนี้ยังต้องหาทางให้รายได้กระ
จายไปยังท้องถิ่นเพื่อกระจายความสุขไปทั่วประเทศ ซึ่งการแก้ปัฐหาเหล่านี้ต้องให้นักวิชาการมาร่วมหารือ
กันไม่ใช่รอให้ชาวบ้านเรียกร้องเพราะชาวบ้านส่วนหนึ่งไม่มีความรู้ แต่ทุกคนบอกได้ว่ายากจน ไม่มีงานทำ
และเป็นหนี้ธนาคารหรือถ้าอายุมากใครจะช่วยเหลือกรณีต้องรักษาพยาบาล ฯลฯ แต่ส.ส.ร.ซึ่งมีทั้งนัก
วิชาการและผู้มีความรู้น่าจะกำหนดแนวทางแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ไม่ใช่ย้ำอยู่กับที่หรือร่างรัฐธรรมนูญล่าสมัย
แต่ต้องสามารถสร้างความก้าวหน้าให้ประเทศ
สำหรับผลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนจ.สระบุรีนั้น นายอนันต์กล่าวว่าในฐานะส.ส.
ร.สระบุรีได้รับความร่วมมืออย่างดี และการทำงานสามารถปฎิบัติได้เรียบร้อย เพราะมีการจัดกลุ่มและชั่ง
น้ำหนักผลของการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย เช่นประชาชนส่วนใหญ่ต้องการให้การไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง
เป็นเพียงสิทธิไม่ใช่หน้าที่ตามกรอบร่างรัฐธรรมนูญ, หากมีการนิรโทษกรรม ส่วนเรื่องที่มานายกรัฐมนตรี
หลายคนยังไม่มีความชัดเจนถึงข้อดีและเสีย ซี่งส่วนตัวเห็นว่าทุกประเด็นจะชัดเจนขึ้นเมื่อมีการจัดประชา
พิจารณ์ เพราะถือเป็นช่วงที่ต้องใช้หูฟัง สมองคิดและปากพูด จะไม่ใช่การตอบแบบสอบถามหรือผิดแล้ว
--จบ--
นายอนันต์ บูรณวนิช รองประธานคณะกรรมาธิการวิชาการ ข้อมูลและศึกษาแนวทางการ
ร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญและส.ส.ร.สระบุรี กล่าวถึงร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งกำลังอยู่ระ
หว่างการจัดทำของสภาร่างรัฐธรรมนูญเวลานี้ว่า ยังมีน้ำหนักไม่เพียงพอ โดยเฉพาะเรื่องแนวนโยบาย
แห่งรัฐ ควรกำหนดให้ชัดเจนถึงแนวทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจ เพราะเท่าที่รับฟังความคิดเห็นมาประชาชน
ส่วนใหญ่จะซักถามเสมอว่าทำไมไม่ร่างรัฐธรรมนูญที่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ เพราะประชาชนเดือด
ร้อนและมีความเป็นอยู่ที่ลำบาก ซึ่งส่วนตัวเป็นห่วงมากว่าร่างรัฐธรรมนูญอาจไม่ผ่านรัฐสภาหลายประเด็น
เพราะไม่เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยตรง จึงเห็นว่าควรกำหนดประเด็น เพิ่มเติมในรัฐธรรมนูญเพื่อให้
เศรษฐกิจเสรีนิยมอย่างแท้จริง ซึ่งในฐานะส.ส.ร.คนหนึ่งอาจขอแปรญัตติในช่วงหลังขั้นตอนประชาพิ
จารณ์แล้ว เพื่อให้มีการพิจารณาเรื่องนี้ด้วย
ทั้งนี้นายอนันต์เห็นว่าการจัดการเนื้อหาเพื่อกำหนดทิศทางให้เศรษฐกิจเสรี สามารถกำหนด
ไว้ในแนวนโยบายแห่งรัฐได้ และต้องระบุให้ชัดเจนเพื่อป้องกันการผูกขาดกิจการบางประเภทจากเอกชน
เช่น ธุรกิจธนาคารมีเอกชนผูกขาดไม่กี่ราย โดยไทยซี่งเป็นประเทศเสรีนิยมได้พูดกันแต่ที่มาที่ไปของเนื้อ
หา ขณะที่ระบบตรวจสอบองค์กรของรัฐไม่เกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจเลย ทั้งที่ระบบเศรษฐกิจควรเป็น
ประชาธิปไตยเช่นกันเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางพัฒนาประเทศ นอกจากนี้ยังต้องหาทางให้รายได้กระ
จายไปยังท้องถิ่นเพื่อกระจายความสุขไปทั่วประเทศ ซึ่งการแก้ปัฐหาเหล่านี้ต้องให้นักวิชาการมาร่วมหารือ
กันไม่ใช่รอให้ชาวบ้านเรียกร้องเพราะชาวบ้านส่วนหนึ่งไม่มีความรู้ แต่ทุกคนบอกได้ว่ายากจน ไม่มีงานทำ
และเป็นหนี้ธนาคารหรือถ้าอายุมากใครจะช่วยเหลือกรณีต้องรักษาพยาบาล ฯลฯ แต่ส.ส.ร.ซึ่งมีทั้งนัก
วิชาการและผู้มีความรู้น่าจะกำหนดแนวทางแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ไม่ใช่ย้ำอยู่กับที่หรือร่างรัฐธรรมนูญล่าสมัย
แต่ต้องสามารถสร้างความก้าวหน้าให้ประเทศ
สำหรับผลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนจ.สระบุรีนั้น นายอนันต์กล่าวว่าในฐานะส.ส.
ร.สระบุรีได้รับความร่วมมืออย่างดี และการทำงานสามารถปฎิบัติได้เรียบร้อย เพราะมีการจัดกลุ่มและชั่ง
น้ำหนักผลของการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย เช่นประชาชนส่วนใหญ่ต้องการให้การไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง
เป็นเพียงสิทธิไม่ใช่หน้าที่ตามกรอบร่างรัฐธรรมนูญ, หากมีการนิรโทษกรรม ส่วนเรื่องที่มานายกรัฐมนตรี
หลายคนยังไม่มีความชัดเจนถึงข้อดีและเสีย ซี่งส่วนตัวเห็นว่าทุกประเด็นจะชัดเจนขึ้นเมื่อมีการจัดประชา
พิจารณ์ เพราะถือเป็นช่วงที่ต้องใช้หูฟัง สมองคิดและปากพูด จะไม่ใช่การตอบแบบสอบถามหรือผิดแล้ว
--จบ--