กรุงเทพ--18 เม.ย.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
นายโกเมศ ขวัญเมือง รองโฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงวันนี้ (18 เม.ย.
2540) ว่า ความคืบหน้าในการร่างรัฐธรรมนูญขณะนี้ นอกจากบททั่วไปและศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ที่ประชุม
คณะทำงานได้พิจารณาศาลอื่น ๆ ประกอบด้วย ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร และอัยการ โดย
* ศาลยุติธรรม มีการเปลี่ยนแปลงโดย ให้มีหน่วยงานธุรการของศาลยุติธรรมเป็นอิสระ มี
สำนักงานเลขาธิการศาลยุติธรรมเป็นผู้บังคับบัญชา ขึ้นตรงกับประธานศาลฎีกา และมี
อิสระในการบริหารงานบุคคล งบประมาณ และดำเนินการอื่น ๆ ได้ ซึ่งเท่ากับศาลยุติ
ธรรมเป็นอิสระกับจากกระทรวงยุติธรรม
- การแต่งตั้ง และให้ผู้พิพากษาศาลฎีกาพ้นจากตำแหน่งต้องได้รับความเห็นชอบจาก
คณะกรรมการตุลาการ ก่อนนำความขึ้นกราบบังคมทูลฯ
- เปิดโอกาสให้คนนอกซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์เข้ารับตำแหน่งผู้พิพากษา
ศาลฎีกาได้ ในจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนผู้พิพากษาศาลฎีกาทั้งหมด
ในปัจจุบัน โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตุลาการรัฐสภา ก่อนนำ
ขึ้นกราบบังคมทูลฯ
- คณะกรรมการตุลาการของศาลยุติธรรม ประกอบด้วย
- ประธานศาลฎีกา เป็นประธาน
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 12 คน จากศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา
อย่างละ 4 คน โดยเลือกจากข้าราชการตุลาการด้วยกันเอง เพื่อความ
โปร่งใสในการถ่วงดุล และแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตุลาการ
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่ไม่ใช่นิติศาสตร์ และไม่เคยดำรงตำแหน่งข้า
ราชการตุลาการ โดยเลือกจากรัฐสภา 2 คน และคณะรัฐมนตรีอีก 2 คน
(มีอนุกรรมการในทุกชั้นศาลช่วยงานกลั่นกรองให้คณะกรรมการตุลาการชุด
ใหญ่)
* ศาลปกครอง มีหน้าที่พิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของ
รัฐ ที่อยู่ในบังคับบัญชา หรือ อยู่ในการกำกับดูแลระหว่างรัฐบาลและเอกชนหรือระหว่าง
หน่วยงานของรัฐด้วยกัน หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรืออยู่ในกำกับดูแล
ของรัฐด้วยกันเอง ซึ่งเป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการกระทำ หรือละเว้นการกระทำซึ่ง
หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หรืออยู่ในความรับผิดชอบ
ตามกฎหมาย ทั้งนี้ศาลปกครองจะเป็นอิสระจากศาลปกครองเช่นเดียวกัน โดยหน่วยงาน
ธุรการของศาลปกครองเป็นอิสระ มีเลขาธิการ สำนักงานศาลปกครองเป็นผู้บังคับบัญชา
ขึ้นตรงต่อศาลปกครอง
- องค์ประกอบของคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง มี
- ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธาน
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คน ซึ่งเป็นตุลาการในศาลปกครอง โดยได้รับ
เลือกจากตุลาการศาลปกครองด้วยกันเอง
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คนซึ่งได้รับเลือกจากรัฐสภา และอีก 1 คน ได้รับ
เลือกจากคณะรัฐมนตรี
- การแต่งตั้งตุลาการในศาลปกครองให้ดำรงตำแหน่งตุลาการในศาลปกครอง ต้อง
ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองและรัฐสภาแล้ว ให้
นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลฯ ต่อไป
* ศาลทหาร มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีความที่กฎหมายบัญญัติ การแต่งตั้งและให้ตุลาการ
ศาลทหารพ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
* อัยการ ซึ่งในรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมาไม่เคยบัญญัติไว้ ให้กำหนดว่า อัยการมีอำนาจหน้าที่
รับผิดชอบกำกับดูแล และดำเนินคดีอาญาทั้งปวงแทนรัฐ พิทักษ์ประโยชน์ของรัฐในคดีแพ่ง
และคุ้มครองประโยชน์ของสาธารณะตามกฎหมาย นอกจากนี้ เพื่อให้องค์กรอัยการมีความ
รับผิดชอบที่ชัดเจนต่อประชาชน ฉะนั้นการแต่งตั้งอัยการสูงสุดต้องได้รับความเห็นชอบจาก
รัฐสภา และผู้แทนคณะกรรมการอัยการต้องมาจากฝ่ายนิติบัญญัติและบริหาร เพื่อให้เกิด
ความหลากหลายและยึดโยงให้ฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติเข้ามาอยู่ในองค์การสูงสุดของคณะ
กรรมการอัยการ ซึ่งอัยการสูงสุดจะเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ อย่างไรก็ตาม หาก
อัยการสูงสุดประพฤติมิชอบ สามารถใช้กระบวนการถอดถอนตำแหน่งโดยรัฐสภาได้
- องค์ประกอบของคณะกรรมการอัยการ ให้นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มี กรรมการ
ในตำแหน่ง 4 คน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 8 คน โดยเลือกจากข้าราชการอัยการ
ด้วยกันเอง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเลือกจากรัฐสภา 2 คน
ขณะเดียวกัน นายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงชี้
แจงกรณีที่มีข่าวว่า การประชุมเชิงปฏิบัติการของคณะทำงาน และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐูธรรมนูญเต็ม
คณะ ทั้งที่โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์พาร์ค และที่รอยัล คลิฟบีช พัทยา ระบุใช้งบประมาณฟุ่มเฟือยนั้น ข้อ
เท็จจริงแล้วเป็นเพราะมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน เนื่องจากการประชุมทั้ง 2 ครั้งนี้ใช้เงินไม่เกิน
1,500,000 บาท ถือว่าเหมาะสมกับการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่ต้องใช้เวลายืดเยื้อ และต้องประชุมตั้งแต่
9 นาฬิกา วันนี้ ถึง 1 นาฬิกาวันรุ่งขึ้น และต้องยกร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายในวันเสาร์นี้ (19
เม.ย. 2540) เพื่อรวบรวมเอกสารให้ทันการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐูรรมนูญทั้งคณะ และ
ส.ส.ร.ที่พัทยา ก่อนนำเข้าที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญให้พิจารณาต่อไป และที่สำคัญในการประชุมร่วม
ที่พัทยาต้องใช้เวลา 7 วัน 7 คืน ซึ่งหากใช้ห้องประชุมที่รัฐสภาอาจมีปัญหาด้านเทคนิค เพราะไม่มี
ห้องประชุม--จบ--
นายโกเมศ ขวัญเมือง รองโฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงวันนี้ (18 เม.ย.
2540) ว่า ความคืบหน้าในการร่างรัฐธรรมนูญขณะนี้ นอกจากบททั่วไปและศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ที่ประชุม
คณะทำงานได้พิจารณาศาลอื่น ๆ ประกอบด้วย ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร และอัยการ โดย
* ศาลยุติธรรม มีการเปลี่ยนแปลงโดย ให้มีหน่วยงานธุรการของศาลยุติธรรมเป็นอิสระ มี
สำนักงานเลขาธิการศาลยุติธรรมเป็นผู้บังคับบัญชา ขึ้นตรงกับประธานศาลฎีกา และมี
อิสระในการบริหารงานบุคคล งบประมาณ และดำเนินการอื่น ๆ ได้ ซึ่งเท่ากับศาลยุติ
ธรรมเป็นอิสระกับจากกระทรวงยุติธรรม
- การแต่งตั้ง และให้ผู้พิพากษาศาลฎีกาพ้นจากตำแหน่งต้องได้รับความเห็นชอบจาก
คณะกรรมการตุลาการ ก่อนนำความขึ้นกราบบังคมทูลฯ
- เปิดโอกาสให้คนนอกซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์เข้ารับตำแหน่งผู้พิพากษา
ศาลฎีกาได้ ในจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนผู้พิพากษาศาลฎีกาทั้งหมด
ในปัจจุบัน โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตุลาการรัฐสภา ก่อนนำ
ขึ้นกราบบังคมทูลฯ
- คณะกรรมการตุลาการของศาลยุติธรรม ประกอบด้วย
- ประธานศาลฎีกา เป็นประธาน
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 12 คน จากศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา
อย่างละ 4 คน โดยเลือกจากข้าราชการตุลาการด้วยกันเอง เพื่อความ
โปร่งใสในการถ่วงดุล และแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตุลาการ
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่ไม่ใช่นิติศาสตร์ และไม่เคยดำรงตำแหน่งข้า
ราชการตุลาการ โดยเลือกจากรัฐสภา 2 คน และคณะรัฐมนตรีอีก 2 คน
(มีอนุกรรมการในทุกชั้นศาลช่วยงานกลั่นกรองให้คณะกรรมการตุลาการชุด
ใหญ่)
* ศาลปกครอง มีหน้าที่พิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของ
รัฐ ที่อยู่ในบังคับบัญชา หรือ อยู่ในการกำกับดูแลระหว่างรัฐบาลและเอกชนหรือระหว่าง
หน่วยงานของรัฐด้วยกัน หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรืออยู่ในกำกับดูแล
ของรัฐด้วยกันเอง ซึ่งเป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการกระทำ หรือละเว้นการกระทำซึ่ง
หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หรืออยู่ในความรับผิดชอบ
ตามกฎหมาย ทั้งนี้ศาลปกครองจะเป็นอิสระจากศาลปกครองเช่นเดียวกัน โดยหน่วยงาน
ธุรการของศาลปกครองเป็นอิสระ มีเลขาธิการ สำนักงานศาลปกครองเป็นผู้บังคับบัญชา
ขึ้นตรงต่อศาลปกครอง
- องค์ประกอบของคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง มี
- ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธาน
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คน ซึ่งเป็นตุลาการในศาลปกครอง โดยได้รับ
เลือกจากตุลาการศาลปกครองด้วยกันเอง
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คนซึ่งได้รับเลือกจากรัฐสภา และอีก 1 คน ได้รับ
เลือกจากคณะรัฐมนตรี
- การแต่งตั้งตุลาการในศาลปกครองให้ดำรงตำแหน่งตุลาการในศาลปกครอง ต้อง
ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองและรัฐสภาแล้ว ให้
นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลฯ ต่อไป
* ศาลทหาร มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีความที่กฎหมายบัญญัติ การแต่งตั้งและให้ตุลาการ
ศาลทหารพ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
* อัยการ ซึ่งในรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมาไม่เคยบัญญัติไว้ ให้กำหนดว่า อัยการมีอำนาจหน้าที่
รับผิดชอบกำกับดูแล และดำเนินคดีอาญาทั้งปวงแทนรัฐ พิทักษ์ประโยชน์ของรัฐในคดีแพ่ง
และคุ้มครองประโยชน์ของสาธารณะตามกฎหมาย นอกจากนี้ เพื่อให้องค์กรอัยการมีความ
รับผิดชอบที่ชัดเจนต่อประชาชน ฉะนั้นการแต่งตั้งอัยการสูงสุดต้องได้รับความเห็นชอบจาก
รัฐสภา และผู้แทนคณะกรรมการอัยการต้องมาจากฝ่ายนิติบัญญัติและบริหาร เพื่อให้เกิด
ความหลากหลายและยึดโยงให้ฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติเข้ามาอยู่ในองค์การสูงสุดของคณะ
กรรมการอัยการ ซึ่งอัยการสูงสุดจะเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ อย่างไรก็ตาม หาก
อัยการสูงสุดประพฤติมิชอบ สามารถใช้กระบวนการถอดถอนตำแหน่งโดยรัฐสภาได้
- องค์ประกอบของคณะกรรมการอัยการ ให้นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มี กรรมการ
ในตำแหน่ง 4 คน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 8 คน โดยเลือกจากข้าราชการอัยการ
ด้วยกันเอง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเลือกจากรัฐสภา 2 คน
ขณะเดียวกัน นายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงชี้
แจงกรณีที่มีข่าวว่า การประชุมเชิงปฏิบัติการของคณะทำงาน และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐูธรรมนูญเต็ม
คณะ ทั้งที่โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์พาร์ค และที่รอยัล คลิฟบีช พัทยา ระบุใช้งบประมาณฟุ่มเฟือยนั้น ข้อ
เท็จจริงแล้วเป็นเพราะมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน เนื่องจากการประชุมทั้ง 2 ครั้งนี้ใช้เงินไม่เกิน
1,500,000 บาท ถือว่าเหมาะสมกับการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่ต้องใช้เวลายืดเยื้อ และต้องประชุมตั้งแต่
9 นาฬิกา วันนี้ ถึง 1 นาฬิกาวันรุ่งขึ้น และต้องยกร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายในวันเสาร์นี้ (19
เม.ย. 2540) เพื่อรวบรวมเอกสารให้ทันการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐูรรมนูญทั้งคณะ และ
ส.ส.ร.ที่พัทยา ก่อนนำเข้าที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญให้พิจารณาต่อไป และที่สำคัญในการประชุมร่วม
ที่พัทยาต้องใช้เวลา 7 วัน 7 คืน ซึ่งหากใช้ห้องประชุมที่รัฐสภาอาจมีปัญหาด้านเทคนิค เพราะไม่มี
ห้องประชุม--จบ--