กรุงเทพ--10 ก.ค.--ส.ส.ร.
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญวันนี้ (10 กรกฎาคม 2540) เริ่มด้วยการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 33 ซึ่งต่อเนื่องจากเมื่อวานนี้ โดยนายบุญเลิศ คชายุทธเดช ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ชี้แจงถึงความจำเป็นในการร่างรัฐธรรมนูญมาตราดังกล่าว ซึ่งระบุถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียงหรือความเป็นอยู่ส่วนตัว จะต้องได้รับความคุ้มครองจากการถูกกล่าวถึงหรือไขข่าวเผยแพร่ ด้วยการใช้ข้อความหรือภาพไปยังสาธารณชนจะกระทำไม่ได้ถ้าเป็นการกระทบถึงสิทธิ เว้นแต่ว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชน โดยในส่วนที่เป็นข้อยกเว้นดังกล่าวนี้ หากตัดออกไปตามข้อเสนอของสมาชิกก็จะเป็นการขัดขวางการทำงานของสื่อมวลชนหรือแม้แต่บุคคลทั่วไป ในการรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและถูกต้องไปยังสาธารณชนที่ไม่อาจกระทำได้เลย เพราะอาจถูกตีความได้ว่าเป็นเรื่องส่วนตัวทั้งหมด
ขณะเดียวกันทางด้านสื่อมวนชนได้ร่วมกันลงสัตยาบัน ก่อตั้งสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ โดยมีบุคคลภายนอกเข้าร่วมเป็นกรรมการ เพื่อร่วมตรวจสอบจริยธรรมของสื่อมวลชนอีกทั้งตามกระบวนการยุติธรรมแก่บุคคลหรือครอบครัวที่ตกเป็นข่าวได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้ภายหลังการลงมติ ที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นควรให้คงไว้ตามร่างฯเดิม แต่ได้เพิ่มถ้อยคำเพื่อให้รัดกุมยิ่งขึ้นโดยที่ การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย ซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชน นอกจากจะ "กระทบ" ถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัว ที่จะกระทำมิได้แล้ว ยังระบุเพิ่มเติมว่าจะต้อง "ไม่ละเมิด" ถึงสิทธิดังกล่าวด้วย เว้นแต่เป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชน
ส่วนในมาตรา 38 ซึ่งบัญญัติเกี่ยวเนื่องกันถึงเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณาหรือการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น โดยเฉพาะการสั่งปิดโรงพิมพ์ สถานีวิทยุกระจายเสียงหรือสถานีวิทยุโทรทัศน์ เพื่อบั่นทอนเสรีภาพจะกระทำไม่ได้นั้น นายบุญเลิศ คชายุทธเดช ผู้ช่วยเลขานุการฯ ในฐานะกรรมาธิการเสียงข้างน้อยที่ขอสงวนความเห็นไว้ได้เสนอว่า น่าจะระบุเพิ่มเติมให้ชัดเจนด้วยว่า การห้ามทำการพิมพ์จะต้องกระทำมิได้เช่นกัน นอกจากนี้ในส่วนที่ร่างรัฐธรรมนูญกล่าวถึงการให้เสนอข่าวหรือบทความไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจก่อนโฆษณาในหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ ที่กำหนดไว้ว่าจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะกระทำในระหว่างเวลาที่ประกาศอยู่ในภาวะการสงครามหรือการรบนั้น นายบุญเลิศ เห็นว่า ควรตัดคำว่า "การรบ" ออกไป เพราะเป็นข้อจำกัดที่กว้างจนเกินไปและอาจเป็นข้ออ้างในการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนได้
ขณะที่นายประวิทย์ เจนวีระนนท์ ส.ส.ร. จังหวัดกาญจนบุรี ในฐานะกรรมาธิการเสียงส่วนน้อยที่ขอสงวนความเห็นไว้เช่นกันระบุว่า ร่างฯ มาตราเดียวกันนี้ในส่วนที่กล่าวถึง การห้ามทำการพิมพ์ การห้ามเสนอข่าวทางหนังสือพิมพ์ สถานีวิทยุกระจายเสียงหรือสถานีวิทยุโทรทัศน์หรือโดยทางอื่น จะกระทำมิได้เว้นแต่จะมีพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ที่ก่อนหน้านี้ทางคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญได้ตัดออกทั้งหมดนั้นเห็นว่าจะส่งผลเสียต่อสื่อมวลชนเอง เพราะถ้ายังคงระบุไว้ในร่างฯ อำนาจในการห้ามทำการพิมพ์หรือการห้ามเสนอข่าวจะกระทำได้ แต่โดยคำสั่งของศาล แต่เมื่อตัดออกไปก็จะเปิดช่องให้ฝ่ายบริหารใช้อำนาจเข้าควบคุมตรวจสอบสื่อมวลชนได้เพราะไม่ได้มีรัฐธรรมนูญบัญญัติห้ามไว้
ทางด้าน นายสมเกียรติ อ่อนวิมล ส.ส.ร. จังหวัดสุพรรณบุรี เสนอว่าเพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่กว้างขวางมากขึ้น ทั้งการสื่อสารผ่านทางอินเตอร์เนต หรือคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ดังนั้นในส่วนที่กำหนดถึงการสั่งปิดโรงพิมพ์ สถานีวิทยุกระจายเสียงหรือสถานีวิทยุโทรทัศน์ เพื่อบั่นทอนเสรีภาพ ซึ่งจะกระทำมิได้นั้น น่าจะครอบคลุมเทคโนโลยีดังกล่าวด้วย โดยระบุเพิ่มเติมให้เป็น "กิจการสื่อมวลชนอื่นใด" จะถูกสั่งปิดไม่ได้เช่นกัน และจากศักยภาพที่ไร้ขีดจำกัดของสื่อปัจจุบัน นายสมเกียรติจึงเห็นว่าไม่จำเป็นที่ร่างรัฐธรรมนูญจะระบุถึงการให้เสนอข่าวหรือบทความไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบก่อนโฆษณาซึ่งเป็นเรื่องของการเซ็นเซอร์ข่าวว่าไม่น่าจำเป็นต้องบัญญัติไว้อีกต่อไป เพราะไม่เกิดผลในทางปฏิบัติ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ของรัฐคงไม่อาจห้ามการส่งข้อความผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้
อย่างไรก็ตาม นายสุจิต บุญบงการ ได้ชี้แจงในนามคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ถึงการที่ทางคณะกรรมาธิการได้ตัดข้อความเกี่ยวกับการห้ามทำการพิมพ์ การเสนอข่าวจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะมีคำพิพากษาของศาลนั้น ก็เพื่อเปิดกว้างให้สื่อมวลชนมีเสรีภาพอย่างเต็มที่โดยที่ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อเปิดช่องให้ฝ่ายบริหารเข้ามาควบคุมสื่อมวลชนได้แต่อย่างใด เนื่องจากได้ระบุข้อความถึงการห้ามเซ็นเซอร์ข่าวโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐไว้แล้วในร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 38 นี้ ขณะเดียวกันเสรีภาพในการบริโภคข่าวของประชาชน ก็ควรผ่านการกลั่นกรองด้วยเช่นกัน ดังนั้นในร่างรัฐธรรมนูญมาตราเดียวกันนี้ จึงได้บัญญัติไว้ว่า การจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่นให้กระทำมิได้ เว้นแต่เพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัวหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน
ทั้งนี้ภายหลังการลงมติ สมาชิกส่วนใหญ่เห็นควรให้คงไว้ตามร่างรัฐธรรมนูญเดิม ที่คณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญได้ขัดเกลาถ้อยคำแล้ว--จบ--
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญวันนี้ (10 กรกฎาคม 2540) เริ่มด้วยการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 33 ซึ่งต่อเนื่องจากเมื่อวานนี้ โดยนายบุญเลิศ คชายุทธเดช ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ชี้แจงถึงความจำเป็นในการร่างรัฐธรรมนูญมาตราดังกล่าว ซึ่งระบุถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียงหรือความเป็นอยู่ส่วนตัว จะต้องได้รับความคุ้มครองจากการถูกกล่าวถึงหรือไขข่าวเผยแพร่ ด้วยการใช้ข้อความหรือภาพไปยังสาธารณชนจะกระทำไม่ได้ถ้าเป็นการกระทบถึงสิทธิ เว้นแต่ว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชน โดยในส่วนที่เป็นข้อยกเว้นดังกล่าวนี้ หากตัดออกไปตามข้อเสนอของสมาชิกก็จะเป็นการขัดขวางการทำงานของสื่อมวลชนหรือแม้แต่บุคคลทั่วไป ในการรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและถูกต้องไปยังสาธารณชนที่ไม่อาจกระทำได้เลย เพราะอาจถูกตีความได้ว่าเป็นเรื่องส่วนตัวทั้งหมด
ขณะเดียวกันทางด้านสื่อมวนชนได้ร่วมกันลงสัตยาบัน ก่อตั้งสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ โดยมีบุคคลภายนอกเข้าร่วมเป็นกรรมการ เพื่อร่วมตรวจสอบจริยธรรมของสื่อมวลชนอีกทั้งตามกระบวนการยุติธรรมแก่บุคคลหรือครอบครัวที่ตกเป็นข่าวได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้ภายหลังการลงมติ ที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นควรให้คงไว้ตามร่างฯเดิม แต่ได้เพิ่มถ้อยคำเพื่อให้รัดกุมยิ่งขึ้นโดยที่ การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย ซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชน นอกจากจะ "กระทบ" ถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัว ที่จะกระทำมิได้แล้ว ยังระบุเพิ่มเติมว่าจะต้อง "ไม่ละเมิด" ถึงสิทธิดังกล่าวด้วย เว้นแต่เป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชน
ส่วนในมาตรา 38 ซึ่งบัญญัติเกี่ยวเนื่องกันถึงเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณาหรือการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น โดยเฉพาะการสั่งปิดโรงพิมพ์ สถานีวิทยุกระจายเสียงหรือสถานีวิทยุโทรทัศน์ เพื่อบั่นทอนเสรีภาพจะกระทำไม่ได้นั้น นายบุญเลิศ คชายุทธเดช ผู้ช่วยเลขานุการฯ ในฐานะกรรมาธิการเสียงข้างน้อยที่ขอสงวนความเห็นไว้ได้เสนอว่า น่าจะระบุเพิ่มเติมให้ชัดเจนด้วยว่า การห้ามทำการพิมพ์จะต้องกระทำมิได้เช่นกัน นอกจากนี้ในส่วนที่ร่างรัฐธรรมนูญกล่าวถึงการให้เสนอข่าวหรือบทความไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจก่อนโฆษณาในหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ ที่กำหนดไว้ว่าจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะกระทำในระหว่างเวลาที่ประกาศอยู่ในภาวะการสงครามหรือการรบนั้น นายบุญเลิศ เห็นว่า ควรตัดคำว่า "การรบ" ออกไป เพราะเป็นข้อจำกัดที่กว้างจนเกินไปและอาจเป็นข้ออ้างในการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนได้
ขณะที่นายประวิทย์ เจนวีระนนท์ ส.ส.ร. จังหวัดกาญจนบุรี ในฐานะกรรมาธิการเสียงส่วนน้อยที่ขอสงวนความเห็นไว้เช่นกันระบุว่า ร่างฯ มาตราเดียวกันนี้ในส่วนที่กล่าวถึง การห้ามทำการพิมพ์ การห้ามเสนอข่าวทางหนังสือพิมพ์ สถานีวิทยุกระจายเสียงหรือสถานีวิทยุโทรทัศน์หรือโดยทางอื่น จะกระทำมิได้เว้นแต่จะมีพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ที่ก่อนหน้านี้ทางคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญได้ตัดออกทั้งหมดนั้นเห็นว่าจะส่งผลเสียต่อสื่อมวลชนเอง เพราะถ้ายังคงระบุไว้ในร่างฯ อำนาจในการห้ามทำการพิมพ์หรือการห้ามเสนอข่าวจะกระทำได้ แต่โดยคำสั่งของศาล แต่เมื่อตัดออกไปก็จะเปิดช่องให้ฝ่ายบริหารใช้อำนาจเข้าควบคุมตรวจสอบสื่อมวลชนได้เพราะไม่ได้มีรัฐธรรมนูญบัญญัติห้ามไว้
ทางด้าน นายสมเกียรติ อ่อนวิมล ส.ส.ร. จังหวัดสุพรรณบุรี เสนอว่าเพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่กว้างขวางมากขึ้น ทั้งการสื่อสารผ่านทางอินเตอร์เนต หรือคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ดังนั้นในส่วนที่กำหนดถึงการสั่งปิดโรงพิมพ์ สถานีวิทยุกระจายเสียงหรือสถานีวิทยุโทรทัศน์ เพื่อบั่นทอนเสรีภาพ ซึ่งจะกระทำมิได้นั้น น่าจะครอบคลุมเทคโนโลยีดังกล่าวด้วย โดยระบุเพิ่มเติมให้เป็น "กิจการสื่อมวลชนอื่นใด" จะถูกสั่งปิดไม่ได้เช่นกัน และจากศักยภาพที่ไร้ขีดจำกัดของสื่อปัจจุบัน นายสมเกียรติจึงเห็นว่าไม่จำเป็นที่ร่างรัฐธรรมนูญจะระบุถึงการให้เสนอข่าวหรือบทความไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบก่อนโฆษณาซึ่งเป็นเรื่องของการเซ็นเซอร์ข่าวว่าไม่น่าจำเป็นต้องบัญญัติไว้อีกต่อไป เพราะไม่เกิดผลในทางปฏิบัติ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ของรัฐคงไม่อาจห้ามการส่งข้อความผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้
อย่างไรก็ตาม นายสุจิต บุญบงการ ได้ชี้แจงในนามคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ถึงการที่ทางคณะกรรมาธิการได้ตัดข้อความเกี่ยวกับการห้ามทำการพิมพ์ การเสนอข่าวจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะมีคำพิพากษาของศาลนั้น ก็เพื่อเปิดกว้างให้สื่อมวลชนมีเสรีภาพอย่างเต็มที่โดยที่ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อเปิดช่องให้ฝ่ายบริหารเข้ามาควบคุมสื่อมวลชนได้แต่อย่างใด เนื่องจากได้ระบุข้อความถึงการห้ามเซ็นเซอร์ข่าวโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐไว้แล้วในร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 38 นี้ ขณะเดียวกันเสรีภาพในการบริโภคข่าวของประชาชน ก็ควรผ่านการกลั่นกรองด้วยเช่นกัน ดังนั้นในร่างรัฐธรรมนูญมาตราเดียวกันนี้ จึงได้บัญญัติไว้ว่า การจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่นให้กระทำมิได้ เว้นแต่เพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัวหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน
ทั้งนี้ภายหลังการลงมติ สมาชิกส่วนใหญ่เห็นควรให้คงไว้ตามร่างรัฐธรรมนูญเดิม ที่คณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญได้ขัดเกลาถ้อยคำแล้ว--จบ--