กรุงเทพ--17 เม.ย.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
นายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานวุฒิสภา กล่าวถึงการติดตามการร่างรัฐธรรมนูญของส.ส.ร.วันนี้ (17 เมษายน 2540) ว่า ในส่วนของวุฒิสมาชิกยังไม่ได้พูดคุยกัน เพราะต้องขอดูร่างรัฐธรรมนูญก่อนว่าหน้าตาออกมาอย่างไร ซึ่งหลังจากได้รับร่างรัฐธรรมนูญแล้วตนจะนัดสมาชิกวุฒิสภามาพูดคุยกันว่ามีความคิดเห็นอย่างไร โดยจะดำเนินการให้เสร็จก่อนที่จะถึงขั้นตอนการแปรญัตติและนำเสนอให้ส.ส.ร.พิจารณา ส่วนจะรับข้อเสนอหรือไม่ก็เป็นสิทธิ์ของส.ส.ร. เรื่องนี้ถือเป็นความร่วมมือของกันและกัน สำหรับคณะทำงานติดตามการร่างรัฐธรรมนูญของสมาชิกวุฒิสภานั้น เป็นเรื่องพูดคุยกันในกลุ่ม ตนยังไม่ได้รับรายงาน แต่เชื่อว่าในการสัมมนา ซึ่งคาดว่าจะจัดประมาณ วันที่ 9-10 พฤษภาคม 2540 คงจะนำมาเล่าสู่กันฟัง
นายมีชัย กล่าวว่าในส่วนที่มีการเสนอในส.ส.ร.พิจารณาร่างกฎหมายลูกนั้น ตนว่าหากเป็นจริงอยากรู้ว่าอำนาจการออกกฎหมายเป็นของส.ส.ร.อย่างนั้นหรือ เพราะการเสนอแบบนี้จะเป็นการผิดฝาผิดตัว ในเมื่อเรามีรัฐสภาอยู่ก็ไม่ควรทำอะไรที่นอกเหนือไปจากเดิม ผู้สื่อข่าวถามว่า สภาฯมักไม่เร่งรัดในการออกกฎหมายลูก นายมีชัย กล่าวว่า หากจะทำเช่นนั้นจริงก็ให้เขียนไว้เป็นข้อห้ามว่า สภาฯ ชุดปัจจุบันอย่าเพิ่งออกกฎหมายให้รอชุดใหม่ก่อน เพราะถ้าสภาใหม่ไม่ดีแสดงว่ารัฐธรรมนูญไม่ดีด้วย ดังนั้นเมื่ออยากให้กฎหมายออกมาดีก็ต้องรอให้สภาใหม่เป็นรูปร่าง แต่ ส.ส.ร.จะออกมาบอกว่า ส.ส.ร.เท่านั้นที่ควรออกร่างกฎหมายลูกเป็นเรื่องไม่ถูกต้องจะยิ่งไปกันใหญ่ ส.ส.ร.ควรกำหนดบทบาทของตัวเอง ถ้าไปทำเรื่องอื่นนอกเหนือจากหน้าที่ก็จะทำให้เกิดข้อโต้แย้งไม่มีที่สิ้นสุด ตัว ส.ส.ร.เองจะลำบาก หากไปร่างกฎหมายอะไรขึ้นมาแล้วมีคนไม่เห็นด้วย ก็จะมีคนพาลพาโลไปถึงแนวคิดการร่างรัฐธรรมนูญ และปัจจุบันคนส่วนใหญ่ก็รับแนวคิดของ ส.ส.ร.พอสมควรแล้ว ฉะนั้นการไปทำอะไรที่ไม่ใช่หน้าที่ อาจกระทบต่อสถานภาพของส.ส.ร.ได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะสามารถเขียนหลักการในกฎหมายลูกไว้ในรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่าสามารถทำได้แต่ต้องมั่นใจว่าแนวคิดของ ส.ส.ร.จะถูกต้องทั้งหมด หากแน่ใจก็สามารถเขียนเป็นบทบัญญัติชั่วคราวไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ แต่จะเกิดปัญหาหากบทบาทดังกล่าวไม่ถูกต้องแล้วจะทำอย่างไร แต่ถ้าไม่แน่ใจก็ต้องปล่อยทั้งประเทศเป็นผู้ร่าง อย่างไรก็ตาม เราต้องมาคิดว่าจะให้สภาฯ ชุดปัจจุบันเป็นกฎหมายลูก หรือจะให้สภาฯ ใหม่เป็นคนร่าง การที่จะให้สภาฯ ปัจจุบันเป็นคนร่างก็จะเกิดปัญหาความไม่ไว้วางใจ แต่หากจะให้ส.ส.ร.ร่างก็ยิ่งจะยุ่งยากขึ้นไปอีก ทั้งนี้ ตนเห็นว่าในส่วนของกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ (กฎหมายลูก) ที่เร่งด่วนอย่างเช่นกฎหมายเลือกตั้ง ควรกำหนดกรองเวลาไว้ให้ชัดเจน ไม่เช่นนั้นอาจเกิดความล่าช้า
ผู้สื่อข่าวถามถึงสาเหตุที่ไม่กำหนดระยะเวลาที่รัฐสภาจะต้องพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จนายมีชัย กล่าวว่า ภาระหน้าที่ที่กำหนดมีเพียงรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญเท่านั้น ฉะนั้นจะเสร็จเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้นรัฐสภาจะยืดเวลาไปทำไม เพราะทั้งรัฐสภาและรัฐบาลก็มีอายุยืน 4 ปี แม้ประชาชนจะต้องการให้เลือกตั้งใหม่ เมื่อรัฐธรรมนูญเสร็จก็ยังมีปัญหาว่าใครจะมาร่างกฎหมายลูก
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีวุฒิฯบางคนไม่เห็นด้วยกับที่มาของวุฒิฯที่ให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ประธานวุฒิกล่าวว่า หากเขาไม่เห็นด้วยก็ไม่รับหลักการถือเป็นเรื่องธรรมดา ในเมื่อไม่ให้เขาร่างแล้วจะทำอย่างไร ก็ต้องชั่งน้ำหนักว่า สิ่งที่เขาไม่เห็นด้วยมีน้ำหนักขนาดไหน อย่าไปคิดเพียงว่าประเด็นใดประเด็นหนึ่งแล้วเป็นเรื่องน่าเสียดาย เพราะเพียงประโยคเดียวสมาชิกรัฐสภาบางคนอาจไม่รับก็ได้ เช่นกำหนดว่าประเทศไทยจะมีการปกครองแบบประธานาธิบดีใครก็คงไม่รับ ดังนั้นอย่าไปคิดว่าประโยคเพียงประโยคเดียวหรือเรื่องเดียวจะทำให้เกิดปัญหา เพราะความจริงแล้วอยู่ที่ว่าเป็นเรื่องอะไร และเมื่อเขาไม่รับก็ไปทำประชามติดูว่าประชาชนรับหรือไม่ เป็นการทดสอบว่าเป็นความจริงหรือไม่ที่ประชาชนไม่เห็นด้วย อย่างไรก็ตาม เท่าที่ได้คุยก็พอจะรับได้ไม่มีปัญหาในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
เมื่อถามว่า ข้อเสนอให้นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจะกระทบต่อสถาบันหรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า ที่บอกว่าประชาชนเรียกร้องนั้น ต้องถามว่าการตั้งคำถามต่อประชาชนเป็นอย่างไร ถ้าการตั้งคำถามไม่ดีผลก็ออกมาเป็นอย่างหนึ่ง การไปตั้งคำถามว่าต้องการให้นายกฯ มาจากการเลือกตั้งโดยตรงหรือไม่ ทุกคนก็ต้องตอบว่าเห็นด้วย แต่เมื่อนำคำถามทุกคำถามมารวมกันก็จะเกิดความขัดแย้งกันเอง เช่นนายกฯมาจากการเลือกตั้งโดยตรง แล้วส.ส.จะเอานายกฯออกได้อย่างไร หากไม่ตั้งคำถามเรียงลำดับคำตอบที่ได้ก็จะบิดพลิ้ว ในเรื่องที่มาของนายกฯ ประธานสภาของประเทศอิสราเอลได้พบกับตนและระบุว่า หากย้อนกลับไปได้อิสราเอลก็คงจะไม่นำระบบเลือกตั้งนายกฯโดยตรงมาใช้ เพราะแทนที่จะมีเสถียรภาพ กลับกลายเป็นว่าเสถียรภาพไม่เหลือเลย ถูกอภิปรายทุกสัปดาห์ ไม่รู้อนาคตตัวเองว่าในสัปดาห์ต่อไปจะเป็นฝ่ายค้านหรือรัฐบาล ขนาดไม่มีเรื่องเกี่ยวกับสถาบันก็ยังเกิดปัญหา ความสัมพันธ์ของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารจะเปลี่ยนโฉมไป ถ้าติดสูตรออกมาใหม่ก็พอจะเป็นไปได้ แต่ก็จะเกิดปัญหาในอนาคต ขอให้เราคิดกันให้หนักอย่าผลีผลาม อย่านึกว่านายกฯมาจากการเลือกตั้งแล้วมีเสถียรภาพ
นายมีชัยยังกล่าวถึงข้อเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่าควรเปิดช่อง ไม่ให้มีรูปแบบของส.ส.ร.อีกต่อไปในมาตรา 211 ว่า ก็ต้องดูว่าการร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ดีหรือไม่ ถ้ายังไม่แน่ใจก็ควรจะมีการแก้ไขรธน.ได้อีก แต่ไม่รู้ว่าจะใช้วิธีใด ที่ออกมาพูดว่า รธน.ฉบับนี้เป็นของประชาชนและเป็นรธน.ฉบับที่ดีที่สุด เพราะร่างจากประชาชน แล้วควรจะยกเลิกมาตรา 211 ไปนั้น ก็ถือว่าเป็นอีกความคิดหนึ่งต้องไปชั่งน้ำหนักดู ทั้งนี้ต้องดูร่างฯ รธน.ก่อน อย่าเพิ่งใจร้อน เพราะอาจเกิดความไขว้เขวได้ เวลาที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าสมาชิกทั้ง 2 สภาไม่เคยออกมาวิจารณ์
ผู้สื่อข่าวถามว่า แสดงความมั่นใจว่าการร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้มาจากความคิดประชาชนอย่างแท้จริง นายมีชัยกล่าวย้อนว่า ทำไมการร่างรัฐธรรมนูญโดยส.ส.ร.เป็นการร่างรัฐธรรมนูญโดยประชาชน การร่างรัฐธรรมนูญโดยรัฐสภาไม่ใช่การร่างโดยประชาชนอย่างนั้นหรือ ทั้ง ๆ ที่ ส.ส.ร.ไม่ได้เป็นผู้แทนจากประชาชน ทำไมถึงคิดกันเช่นนั้น เท่ากับเรากำลังเปลี่ยนระบบ ในการร่างรัฐธรรมนูญครั้งที่ผ่านมา รัฐสภาร่างก็บอกว่าไม่ดี ถือว่าไม่ใช่ประชาชนร่าง และในคราวนี้ก็จะเห็นว่า นักวิชาการเขียนร่างรัฐธรรมนูญทั้งนั้น ขณะที่วางกรอบรัฐธรรมนูญ ประชาชนก็ไม่พร้อมที่จะแสดงความคิดเห็นเลย
"โดยหลักแล้วเป็นไปไม่ได้ที่จะให้คน 60 ล้านคนมาร่างรัฐธรรมนูญ ต้องให้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมายกร่างแล้วไปถามประชาชนทีละประเด็นว่าจะเอาหรือไม่ แต่ถ้าความเห็นของประชาชนไม่สอดคล้องเขาไม่เอาก็ต้องยอมรับ อย่าไปคิดว่าเมื่อร่างรัฐธรรมนูญโดยส.ส.ร.แล้ว รัฐธรรมนูญจะดีเลิศหรือจะแย่ ต้องคิดว่าเมื่อขบวนการเขาให้ทำอย่างนี้ ก็ต้องดูที่เนื้อหาว่าใช้ได้หรือไม่กับบ้านเมืองของเรา ถ้าดีก็รับไว้ อย่าไปคิดว่าเมื่อประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญแล้วจะแก้ไขไม่ได้ จะยิ่งแยกกันไปใหญ่ ผิดฝาผิดตัวไปหมด เปลี่ยนระบบเขาไปหมดคงไม่ได้" นายมีชัยกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงเช้าวันนี้ได้มีการประชุมเตรียมงานสัมมนาทิศทางรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของวุฒิสภา โดยมีนายอาสา เมฆสวรรค์ รองประธานวุฒิสภาเป็นประธานที่ประชุม ซึ่งนายดำรง พุฒตาล โฆษกคณะกรรมาธิการเตรียมงานฯ เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติให้จัดสัมมนาดังกล่าวในวันที่ 9-11 พฤษภาคมนี้ ที่รัฐสภาเพื่อให้วุฒิสมาชิกได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เนื่องจากวุฒิสมาชิกส่วนใหญ่มาจากสาขาอาชีพต่าง ๆ จึงควรที่จะรับทราบการจักทำรัฐธรรมนูญอย่างใกล้ชิด แต่ที่ผ่านมาวุฒิสมาชิกไม่เคยแสดงความคิดเห็น ในเมื่อจำเป็นต้องยกมือให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ควรจะได้พิจารณากันอย่างรอบคอบ จึงได้จัดสัมมนาขึ้น
นายดำรง กล่าวด้วยว่า การสัมมนาครั้งนี้จะไม่มีข้อสรุปออกมาว่า วุฒิสมาชิกมีความคิดเห็นอย่างไรเพียงแต่มาวิเคราะห์ถึงข้อดีข้อเสีย เมื่อถึงวันลงมติทุกคนจะมีอิสระ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป วุฒิสมาชิกทุกคนจะเผยแพร่ความรู้เรื่องรัฐธรรมนูญให้ประชาชน เพราะคิดว่าการพูดในช่วงนี้จะไม่มีผลอะไรต่อการร่างรัฐธรรมนูญ--จบ--
นายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานวุฒิสภา กล่าวถึงการติดตามการร่างรัฐธรรมนูญของส.ส.ร.วันนี้ (17 เมษายน 2540) ว่า ในส่วนของวุฒิสมาชิกยังไม่ได้พูดคุยกัน เพราะต้องขอดูร่างรัฐธรรมนูญก่อนว่าหน้าตาออกมาอย่างไร ซึ่งหลังจากได้รับร่างรัฐธรรมนูญแล้วตนจะนัดสมาชิกวุฒิสภามาพูดคุยกันว่ามีความคิดเห็นอย่างไร โดยจะดำเนินการให้เสร็จก่อนที่จะถึงขั้นตอนการแปรญัตติและนำเสนอให้ส.ส.ร.พิจารณา ส่วนจะรับข้อเสนอหรือไม่ก็เป็นสิทธิ์ของส.ส.ร. เรื่องนี้ถือเป็นความร่วมมือของกันและกัน สำหรับคณะทำงานติดตามการร่างรัฐธรรมนูญของสมาชิกวุฒิสภานั้น เป็นเรื่องพูดคุยกันในกลุ่ม ตนยังไม่ได้รับรายงาน แต่เชื่อว่าในการสัมมนา ซึ่งคาดว่าจะจัดประมาณ วันที่ 9-10 พฤษภาคม 2540 คงจะนำมาเล่าสู่กันฟัง
นายมีชัย กล่าวว่าในส่วนที่มีการเสนอในส.ส.ร.พิจารณาร่างกฎหมายลูกนั้น ตนว่าหากเป็นจริงอยากรู้ว่าอำนาจการออกกฎหมายเป็นของส.ส.ร.อย่างนั้นหรือ เพราะการเสนอแบบนี้จะเป็นการผิดฝาผิดตัว ในเมื่อเรามีรัฐสภาอยู่ก็ไม่ควรทำอะไรที่นอกเหนือไปจากเดิม ผู้สื่อข่าวถามว่า สภาฯมักไม่เร่งรัดในการออกกฎหมายลูก นายมีชัย กล่าวว่า หากจะทำเช่นนั้นจริงก็ให้เขียนไว้เป็นข้อห้ามว่า สภาฯ ชุดปัจจุบันอย่าเพิ่งออกกฎหมายให้รอชุดใหม่ก่อน เพราะถ้าสภาใหม่ไม่ดีแสดงว่ารัฐธรรมนูญไม่ดีด้วย ดังนั้นเมื่ออยากให้กฎหมายออกมาดีก็ต้องรอให้สภาใหม่เป็นรูปร่าง แต่ ส.ส.ร.จะออกมาบอกว่า ส.ส.ร.เท่านั้นที่ควรออกร่างกฎหมายลูกเป็นเรื่องไม่ถูกต้องจะยิ่งไปกันใหญ่ ส.ส.ร.ควรกำหนดบทบาทของตัวเอง ถ้าไปทำเรื่องอื่นนอกเหนือจากหน้าที่ก็จะทำให้เกิดข้อโต้แย้งไม่มีที่สิ้นสุด ตัว ส.ส.ร.เองจะลำบาก หากไปร่างกฎหมายอะไรขึ้นมาแล้วมีคนไม่เห็นด้วย ก็จะมีคนพาลพาโลไปถึงแนวคิดการร่างรัฐธรรมนูญ และปัจจุบันคนส่วนใหญ่ก็รับแนวคิดของ ส.ส.ร.พอสมควรแล้ว ฉะนั้นการไปทำอะไรที่ไม่ใช่หน้าที่ อาจกระทบต่อสถานภาพของส.ส.ร.ได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะสามารถเขียนหลักการในกฎหมายลูกไว้ในรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่าสามารถทำได้แต่ต้องมั่นใจว่าแนวคิดของ ส.ส.ร.จะถูกต้องทั้งหมด หากแน่ใจก็สามารถเขียนเป็นบทบัญญัติชั่วคราวไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ แต่จะเกิดปัญหาหากบทบาทดังกล่าวไม่ถูกต้องแล้วจะทำอย่างไร แต่ถ้าไม่แน่ใจก็ต้องปล่อยทั้งประเทศเป็นผู้ร่าง อย่างไรก็ตาม เราต้องมาคิดว่าจะให้สภาฯ ชุดปัจจุบันเป็นกฎหมายลูก หรือจะให้สภาฯ ใหม่เป็นคนร่าง การที่จะให้สภาฯ ปัจจุบันเป็นคนร่างก็จะเกิดปัญหาความไม่ไว้วางใจ แต่หากจะให้ส.ส.ร.ร่างก็ยิ่งจะยุ่งยากขึ้นไปอีก ทั้งนี้ ตนเห็นว่าในส่วนของกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ (กฎหมายลูก) ที่เร่งด่วนอย่างเช่นกฎหมายเลือกตั้ง ควรกำหนดกรองเวลาไว้ให้ชัดเจน ไม่เช่นนั้นอาจเกิดความล่าช้า
ผู้สื่อข่าวถามถึงสาเหตุที่ไม่กำหนดระยะเวลาที่รัฐสภาจะต้องพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จนายมีชัย กล่าวว่า ภาระหน้าที่ที่กำหนดมีเพียงรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญเท่านั้น ฉะนั้นจะเสร็จเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้นรัฐสภาจะยืดเวลาไปทำไม เพราะทั้งรัฐสภาและรัฐบาลก็มีอายุยืน 4 ปี แม้ประชาชนจะต้องการให้เลือกตั้งใหม่ เมื่อรัฐธรรมนูญเสร็จก็ยังมีปัญหาว่าใครจะมาร่างกฎหมายลูก
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีวุฒิฯบางคนไม่เห็นด้วยกับที่มาของวุฒิฯที่ให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ประธานวุฒิกล่าวว่า หากเขาไม่เห็นด้วยก็ไม่รับหลักการถือเป็นเรื่องธรรมดา ในเมื่อไม่ให้เขาร่างแล้วจะทำอย่างไร ก็ต้องชั่งน้ำหนักว่า สิ่งที่เขาไม่เห็นด้วยมีน้ำหนักขนาดไหน อย่าไปคิดเพียงว่าประเด็นใดประเด็นหนึ่งแล้วเป็นเรื่องน่าเสียดาย เพราะเพียงประโยคเดียวสมาชิกรัฐสภาบางคนอาจไม่รับก็ได้ เช่นกำหนดว่าประเทศไทยจะมีการปกครองแบบประธานาธิบดีใครก็คงไม่รับ ดังนั้นอย่าไปคิดว่าประโยคเพียงประโยคเดียวหรือเรื่องเดียวจะทำให้เกิดปัญหา เพราะความจริงแล้วอยู่ที่ว่าเป็นเรื่องอะไร และเมื่อเขาไม่รับก็ไปทำประชามติดูว่าประชาชนรับหรือไม่ เป็นการทดสอบว่าเป็นความจริงหรือไม่ที่ประชาชนไม่เห็นด้วย อย่างไรก็ตาม เท่าที่ได้คุยก็พอจะรับได้ไม่มีปัญหาในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
เมื่อถามว่า ข้อเสนอให้นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจะกระทบต่อสถาบันหรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า ที่บอกว่าประชาชนเรียกร้องนั้น ต้องถามว่าการตั้งคำถามต่อประชาชนเป็นอย่างไร ถ้าการตั้งคำถามไม่ดีผลก็ออกมาเป็นอย่างหนึ่ง การไปตั้งคำถามว่าต้องการให้นายกฯ มาจากการเลือกตั้งโดยตรงหรือไม่ ทุกคนก็ต้องตอบว่าเห็นด้วย แต่เมื่อนำคำถามทุกคำถามมารวมกันก็จะเกิดความขัดแย้งกันเอง เช่นนายกฯมาจากการเลือกตั้งโดยตรง แล้วส.ส.จะเอานายกฯออกได้อย่างไร หากไม่ตั้งคำถามเรียงลำดับคำตอบที่ได้ก็จะบิดพลิ้ว ในเรื่องที่มาของนายกฯ ประธานสภาของประเทศอิสราเอลได้พบกับตนและระบุว่า หากย้อนกลับไปได้อิสราเอลก็คงจะไม่นำระบบเลือกตั้งนายกฯโดยตรงมาใช้ เพราะแทนที่จะมีเสถียรภาพ กลับกลายเป็นว่าเสถียรภาพไม่เหลือเลย ถูกอภิปรายทุกสัปดาห์ ไม่รู้อนาคตตัวเองว่าในสัปดาห์ต่อไปจะเป็นฝ่ายค้านหรือรัฐบาล ขนาดไม่มีเรื่องเกี่ยวกับสถาบันก็ยังเกิดปัญหา ความสัมพันธ์ของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารจะเปลี่ยนโฉมไป ถ้าติดสูตรออกมาใหม่ก็พอจะเป็นไปได้ แต่ก็จะเกิดปัญหาในอนาคต ขอให้เราคิดกันให้หนักอย่าผลีผลาม อย่านึกว่านายกฯมาจากการเลือกตั้งแล้วมีเสถียรภาพ
นายมีชัยยังกล่าวถึงข้อเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่าควรเปิดช่อง ไม่ให้มีรูปแบบของส.ส.ร.อีกต่อไปในมาตรา 211 ว่า ก็ต้องดูว่าการร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ดีหรือไม่ ถ้ายังไม่แน่ใจก็ควรจะมีการแก้ไขรธน.ได้อีก แต่ไม่รู้ว่าจะใช้วิธีใด ที่ออกมาพูดว่า รธน.ฉบับนี้เป็นของประชาชนและเป็นรธน.ฉบับที่ดีที่สุด เพราะร่างจากประชาชน แล้วควรจะยกเลิกมาตรา 211 ไปนั้น ก็ถือว่าเป็นอีกความคิดหนึ่งต้องไปชั่งน้ำหนักดู ทั้งนี้ต้องดูร่างฯ รธน.ก่อน อย่าเพิ่งใจร้อน เพราะอาจเกิดความไขว้เขวได้ เวลาที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าสมาชิกทั้ง 2 สภาไม่เคยออกมาวิจารณ์
ผู้สื่อข่าวถามว่า แสดงความมั่นใจว่าการร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้มาจากความคิดประชาชนอย่างแท้จริง นายมีชัยกล่าวย้อนว่า ทำไมการร่างรัฐธรรมนูญโดยส.ส.ร.เป็นการร่างรัฐธรรมนูญโดยประชาชน การร่างรัฐธรรมนูญโดยรัฐสภาไม่ใช่การร่างโดยประชาชนอย่างนั้นหรือ ทั้ง ๆ ที่ ส.ส.ร.ไม่ได้เป็นผู้แทนจากประชาชน ทำไมถึงคิดกันเช่นนั้น เท่ากับเรากำลังเปลี่ยนระบบ ในการร่างรัฐธรรมนูญครั้งที่ผ่านมา รัฐสภาร่างก็บอกว่าไม่ดี ถือว่าไม่ใช่ประชาชนร่าง และในคราวนี้ก็จะเห็นว่า นักวิชาการเขียนร่างรัฐธรรมนูญทั้งนั้น ขณะที่วางกรอบรัฐธรรมนูญ ประชาชนก็ไม่พร้อมที่จะแสดงความคิดเห็นเลย
"โดยหลักแล้วเป็นไปไม่ได้ที่จะให้คน 60 ล้านคนมาร่างรัฐธรรมนูญ ต้องให้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมายกร่างแล้วไปถามประชาชนทีละประเด็นว่าจะเอาหรือไม่ แต่ถ้าความเห็นของประชาชนไม่สอดคล้องเขาไม่เอาก็ต้องยอมรับ อย่าไปคิดว่าเมื่อร่างรัฐธรรมนูญโดยส.ส.ร.แล้ว รัฐธรรมนูญจะดีเลิศหรือจะแย่ ต้องคิดว่าเมื่อขบวนการเขาให้ทำอย่างนี้ ก็ต้องดูที่เนื้อหาว่าใช้ได้หรือไม่กับบ้านเมืองของเรา ถ้าดีก็รับไว้ อย่าไปคิดว่าเมื่อประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญแล้วจะแก้ไขไม่ได้ จะยิ่งแยกกันไปใหญ่ ผิดฝาผิดตัวไปหมด เปลี่ยนระบบเขาไปหมดคงไม่ได้" นายมีชัยกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงเช้าวันนี้ได้มีการประชุมเตรียมงานสัมมนาทิศทางรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของวุฒิสภา โดยมีนายอาสา เมฆสวรรค์ รองประธานวุฒิสภาเป็นประธานที่ประชุม ซึ่งนายดำรง พุฒตาล โฆษกคณะกรรมาธิการเตรียมงานฯ เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติให้จัดสัมมนาดังกล่าวในวันที่ 9-11 พฤษภาคมนี้ ที่รัฐสภาเพื่อให้วุฒิสมาชิกได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เนื่องจากวุฒิสมาชิกส่วนใหญ่มาจากสาขาอาชีพต่าง ๆ จึงควรที่จะรับทราบการจักทำรัฐธรรมนูญอย่างใกล้ชิด แต่ที่ผ่านมาวุฒิสมาชิกไม่เคยแสดงความคิดเห็น ในเมื่อจำเป็นต้องยกมือให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ควรจะได้พิจารณากันอย่างรอบคอบ จึงได้จัดสัมมนาขึ้น
นายดำรง กล่าวด้วยว่า การสัมมนาครั้งนี้จะไม่มีข้อสรุปออกมาว่า วุฒิสมาชิกมีความคิดเห็นอย่างไรเพียงแต่มาวิเคราะห์ถึงข้อดีข้อเสีย เมื่อถึงวันลงมติทุกคนจะมีอิสระ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป วุฒิสมาชิกทุกคนจะเผยแพร่ความรู้เรื่องรัฐธรรมนูญให้ประชาชน เพราะคิดว่าการพูดในช่วงนี้จะไม่มีผลอะไรต่อการร่างรัฐธรรมนูญ--จบ--