กรุงเทพ--31 มี.ค.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
นายคณิน บุญสุวรรณ โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยหลังการประชุมคณะอนุกรรมาธิการยกร่างกรอบ "สถาบันการเมือง และความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมือง" ว่าขณะนี้ได้ข้อยุติถึงการวางตัวคณะทำงานแล้ว
โดยนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ และนายคณิน บุญสุวรรณ ร่วมกันยกร่างฯ ในประเด็น
- รัฐสภา (ระบบการเลือกตั้งของ ส.ส. และที่มาของสมาชิกวุฒิสภา)
- กระบวนการนิติบัญญัติ
นายวิษณุ วรัญญู และนายวรพจน์ วิศรุตพิชญ์ (จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ร่วมกันยกร่างในประเด็น
- คณะรัฐมนตรีและที่มาของนายกรัฐมนตรี
- ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสภา และคณะรัฐมนตรี (รัฐมนตรีต้องลาออกจากการเป็น ส.ส.) ส่วนหมวด "การแก้ไขรัฐธรรมนูญ" นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ จะเป็นผู้รับผิดชอบยกร่างฯ
อย่างไรก็ตามสำหรับประเด็นที่มาของคณะรัฐมนตรี ซึ่งถูกหยิบยกขึ้นวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหลากหลาย แม้จะมีประชาชนบางส่วนมองว่า นายกรัฐมนตรีควรมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนก็ตาม แต่ในขั้นตอนการยกร่างฯ มีแนวโน้มที่คณะอนุกรรมาธิการฯ จะยืดถือตามประเด็นปัญหา และหลักการสำคัญที่วางไว้เบื้องต้น โดยร่างให้นายกรัฐมนตรีมาจากการลงคะแนนเสียงของ ส.ส.ในสภาฯ เพราะหากแก้ไขประเด็นที่มาจากนายกรัฐมนตรีให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ก็อาจส่งผลกระทบต่อโครงสร้างทั้งระบบที่สภาร่างฯ เคยกำหนดแนวทางไว้ก่อนหน้านี้
ส่วนประเด็นที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ที่มีการเสนอความคิดเห็นออกมา 2 แนวทาง คือ สมาชิกวุฒิสภา มาจากการเลือกตั้งโดยตรง หรือมาจากคัดเลือกของคณะกรรมการสรรหาฯนั้นโฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างฯ เปิดเผยว่า คณะอนุกรรมาธิการฯ จะยกร่างไว้ทั้ง 2 แนวทาง ให้คณะกรรมาธิการยกร่างฯเต็มคณะผู้ตัดสินชี้ขาดว่าจะเลือกแนวทางใด
สำหรับหมวด "นโยบายแห่งรัฐ" คณะทำงานยกร่างฯ มีมติร่วมกันว่าจะไม่บรรจุไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ แต่จะสอดแทรกแนวนโยบายแห่งรัฐไว้ในคำปรารภ และหมวดสิทธิ หน้าที่ของพลเมืองแทน เพื่อให้รัฐธรรมนูญ กระชับและไม่เยิ่นเย้อจนเกินไป
และหากการยกร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ (2 พฤษภาคม 2540) โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างฯเห็นว่า จำเป็นต้องชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญทั้งระบบเพื่อป้องกันบุคคล กลุ่มหนึ่งกลุ่มใด จะหยิบยกเฉพาะบางประเด็นขึ้นโจมตีสภาร่างฯ จนประชาชนอาจเกิดความไขว้เขวได้--จบ--
นายคณิน บุญสุวรรณ โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยหลังการประชุมคณะอนุกรรมาธิการยกร่างกรอบ "สถาบันการเมือง และความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมือง" ว่าขณะนี้ได้ข้อยุติถึงการวางตัวคณะทำงานแล้ว
โดยนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ และนายคณิน บุญสุวรรณ ร่วมกันยกร่างฯ ในประเด็น
- รัฐสภา (ระบบการเลือกตั้งของ ส.ส. และที่มาของสมาชิกวุฒิสภา)
- กระบวนการนิติบัญญัติ
นายวิษณุ วรัญญู และนายวรพจน์ วิศรุตพิชญ์ (จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ร่วมกันยกร่างในประเด็น
- คณะรัฐมนตรีและที่มาของนายกรัฐมนตรี
- ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสภา และคณะรัฐมนตรี (รัฐมนตรีต้องลาออกจากการเป็น ส.ส.) ส่วนหมวด "การแก้ไขรัฐธรรมนูญ" นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ จะเป็นผู้รับผิดชอบยกร่างฯ
อย่างไรก็ตามสำหรับประเด็นที่มาของคณะรัฐมนตรี ซึ่งถูกหยิบยกขึ้นวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหลากหลาย แม้จะมีประชาชนบางส่วนมองว่า นายกรัฐมนตรีควรมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนก็ตาม แต่ในขั้นตอนการยกร่างฯ มีแนวโน้มที่คณะอนุกรรมาธิการฯ จะยืดถือตามประเด็นปัญหา และหลักการสำคัญที่วางไว้เบื้องต้น โดยร่างให้นายกรัฐมนตรีมาจากการลงคะแนนเสียงของ ส.ส.ในสภาฯ เพราะหากแก้ไขประเด็นที่มาจากนายกรัฐมนตรีให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ก็อาจส่งผลกระทบต่อโครงสร้างทั้งระบบที่สภาร่างฯ เคยกำหนดแนวทางไว้ก่อนหน้านี้
ส่วนประเด็นที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ที่มีการเสนอความคิดเห็นออกมา 2 แนวทาง คือ สมาชิกวุฒิสภา มาจากการเลือกตั้งโดยตรง หรือมาจากคัดเลือกของคณะกรรมการสรรหาฯนั้นโฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างฯ เปิดเผยว่า คณะอนุกรรมาธิการฯ จะยกร่างไว้ทั้ง 2 แนวทาง ให้คณะกรรมาธิการยกร่างฯเต็มคณะผู้ตัดสินชี้ขาดว่าจะเลือกแนวทางใด
สำหรับหมวด "นโยบายแห่งรัฐ" คณะทำงานยกร่างฯ มีมติร่วมกันว่าจะไม่บรรจุไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ แต่จะสอดแทรกแนวนโยบายแห่งรัฐไว้ในคำปรารภ และหมวดสิทธิ หน้าที่ของพลเมืองแทน เพื่อให้รัฐธรรมนูญ กระชับและไม่เยิ่นเย้อจนเกินไป
และหากการยกร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ (2 พฤษภาคม 2540) โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างฯเห็นว่า จำเป็นต้องชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญทั้งระบบเพื่อป้องกันบุคคล กลุ่มหนึ่งกลุ่มใด จะหยิบยกเฉพาะบางประเด็นขึ้นโจมตีสภาร่างฯ จนประชาชนอาจเกิดความไขว้เขวได้--จบ--