กรุงเทพ--1 ส.ค.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เชื่อว่ารัฐธรรมนูญน่าจะผ่านรัฐสภาเนื่องจากต้องยอมรับว่าการปฏิรูปการเมืองเกิดจากเสียงเรียกร้องของประชาชน หากไม่รับก็จะกลับไปเป็นแบบเดิม และเป็นการทวนกระแสประชาชน ส่วนการอภิปรายรายหมวด ก็จะทำให้การอภิปรายในรัฐสภาไม่ยืดเยื้อ และประเด็นปัญหาที่ ส.ส. จะพูดก็คงไม่แตกต่าง จากที่ ส.ส.ร. เคยอภิปรายมาแล้ว ซึ่งจะทำให้การชี้แจงของ ส.ส.ร. ง่ายขึ้นด้วย
ประธานสภาร่างฯ กล่าวต่อว่า ส่วน ส.ส. บางคนที่ออกมาพูดไม่เห็นด้วยกับบางประเด็นนั้น อาจเกิดจากยังไม่ได้รับเหตุผลและร่างฯ จริง ๆ ของ ส.ส.ร.แต่ถ้าได้ฟังเหตุผลแล้ว เชื่อว่าคงไม่มีอคติหรือดื้อรั้น และคงจะใช้วิจารณญาณพอสมควรในการไต่รตรอง ทั้งนี้คิดว่าช่วงที่ร่างเข้าสู่รัฐสภา ส.ส.ร. ไม่จำเป็นต้องเข้าไปหาพรรคการเมือง เพราะจะต้องพบกันอยู่แล้วในรัฐสภา ซึ่งคิดว่า ส.ส.คงจะเตรียมคำถามไว้แล้ว
สำหรับภารกิจของ ส.ส.ร.นั้น ยังไม่เสร็จสิ้นเพราะจะต้องไปอธิบายให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของร่างรัฐธรรมนูญด้วย ส่วนงบกลางของ ส.ส.ร. ในขณะนี้เหลือประมาณ 17 ล้านบาท และยังมีงบของ สสร. แต่ละจังหวัดที่เหลือจากการรับฟังความคิดเห็นเมื่อครั้งที่แล้วเพราะตระหนักดีว่าสภาร่างฯมีเงินไม่เพียงพอ ส่วนงบประมาณที่เหลือนั้นจะใช้ในการประชาสัมพันธ์เป็นหลัก โดยเฉพาะในทางพิมพ์หนังสือร่างรัฐธรรมนูญฉบับสมบูรณ์ ซึ่งเล่มหนึ่งราคาประมาณเล่มละ 15 บาท
ส่วนการเตรียมโครงการในกรณีที่หากไม่ผ่านรัฐสภานั้นนายอุทัยกล่าวว่า ไม่ได้เตรียมการไว้ เพราะถือว่าในช่วงนี้จะต้องทำความเข้าใจกับชาวบ้านให้ดีที่สุด ส่วนในช่วงการทำประชามติถือว่าเป็นการตกผลึกไปแล้ว และขณะนี้ฝ่ายค้านก็แสดงตัวชัดเจน เช่น ประชาธิปัตย์กับชาติไทย รวมถึงพรรคฝ่ายค้านอื่น ๆ ว่าจะรับร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนรัฐบาลยังมีท่าทีไม่ชัดเจน ซึ่งหากรัฐธรรมนูญไม่ผ่านรัฐสภา ก็แสดงว่ารัฐบาลไม่เห็นด้วย และหวังยากที่จะได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลในการทำประชามติ เพราะเป็นฝ่ายที่กุมองค์กรของรัฐไว้
"หากรัฐธรรมนูญไม่ผ่านรัฐสภา เราก็หวังยาก เหมือนกับที่คุณธีรยุทธบอกว่า ถ้าทำประชามติอาจจะแพ้ได้ หากรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ตกไปฝ่ายที่แสดงว่าไม่รับหรือไม่ให้คำตอบ ซึ่งก็คือฝ่ายที่มีอำนาจรัฐอยู่ เพราะฉะนั้นโอกาสที่จะสู้รบตบมือ กับคนเหล่านี้คงยาก" นายอุทัยกล่าว--จบ--
นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เชื่อว่ารัฐธรรมนูญน่าจะผ่านรัฐสภาเนื่องจากต้องยอมรับว่าการปฏิรูปการเมืองเกิดจากเสียงเรียกร้องของประชาชน หากไม่รับก็จะกลับไปเป็นแบบเดิม และเป็นการทวนกระแสประชาชน ส่วนการอภิปรายรายหมวด ก็จะทำให้การอภิปรายในรัฐสภาไม่ยืดเยื้อ และประเด็นปัญหาที่ ส.ส. จะพูดก็คงไม่แตกต่าง จากที่ ส.ส.ร. เคยอภิปรายมาแล้ว ซึ่งจะทำให้การชี้แจงของ ส.ส.ร. ง่ายขึ้นด้วย
ประธานสภาร่างฯ กล่าวต่อว่า ส่วน ส.ส. บางคนที่ออกมาพูดไม่เห็นด้วยกับบางประเด็นนั้น อาจเกิดจากยังไม่ได้รับเหตุผลและร่างฯ จริง ๆ ของ ส.ส.ร.แต่ถ้าได้ฟังเหตุผลแล้ว เชื่อว่าคงไม่มีอคติหรือดื้อรั้น และคงจะใช้วิจารณญาณพอสมควรในการไต่รตรอง ทั้งนี้คิดว่าช่วงที่ร่างเข้าสู่รัฐสภา ส.ส.ร. ไม่จำเป็นต้องเข้าไปหาพรรคการเมือง เพราะจะต้องพบกันอยู่แล้วในรัฐสภา ซึ่งคิดว่า ส.ส.คงจะเตรียมคำถามไว้แล้ว
สำหรับภารกิจของ ส.ส.ร.นั้น ยังไม่เสร็จสิ้นเพราะจะต้องไปอธิบายให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของร่างรัฐธรรมนูญด้วย ส่วนงบกลางของ ส.ส.ร. ในขณะนี้เหลือประมาณ 17 ล้านบาท และยังมีงบของ สสร. แต่ละจังหวัดที่เหลือจากการรับฟังความคิดเห็นเมื่อครั้งที่แล้วเพราะตระหนักดีว่าสภาร่างฯมีเงินไม่เพียงพอ ส่วนงบประมาณที่เหลือนั้นจะใช้ในการประชาสัมพันธ์เป็นหลัก โดยเฉพาะในทางพิมพ์หนังสือร่างรัฐธรรมนูญฉบับสมบูรณ์ ซึ่งเล่มหนึ่งราคาประมาณเล่มละ 15 บาท
ส่วนการเตรียมโครงการในกรณีที่หากไม่ผ่านรัฐสภานั้นนายอุทัยกล่าวว่า ไม่ได้เตรียมการไว้ เพราะถือว่าในช่วงนี้จะต้องทำความเข้าใจกับชาวบ้านให้ดีที่สุด ส่วนในช่วงการทำประชามติถือว่าเป็นการตกผลึกไปแล้ว และขณะนี้ฝ่ายค้านก็แสดงตัวชัดเจน เช่น ประชาธิปัตย์กับชาติไทย รวมถึงพรรคฝ่ายค้านอื่น ๆ ว่าจะรับร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนรัฐบาลยังมีท่าทีไม่ชัดเจน ซึ่งหากรัฐธรรมนูญไม่ผ่านรัฐสภา ก็แสดงว่ารัฐบาลไม่เห็นด้วย และหวังยากที่จะได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลในการทำประชามติ เพราะเป็นฝ่ายที่กุมองค์กรของรัฐไว้
"หากรัฐธรรมนูญไม่ผ่านรัฐสภา เราก็หวังยาก เหมือนกับที่คุณธีรยุทธบอกว่า ถ้าทำประชามติอาจจะแพ้ได้ หากรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ตกไปฝ่ายที่แสดงว่าไม่รับหรือไม่ให้คำตอบ ซึ่งก็คือฝ่ายที่มีอำนาจรัฐอยู่ เพราะฉะนั้นโอกาสที่จะสู้รบตบมือ กับคนเหล่านี้คงยาก" นายอุทัยกล่าว--จบ--