กรุงเทพ--15 ก.ค.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญในวันนี้ (15 กรกฎาคม) นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญแจ้งต่อที่ประชุมว่า เนื่องจากในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญวาระ 2 ขั้นแปรญัตติเหลือเวลาอีกเพียงไม่กี่วัน ดังนั้นประเด็นที่อาจมีการถกเถียงกันมาก ก็จำเป็นต้องนัดหารือเป็นการภายในเป็นระยะ ๆ ซึ่งที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นการภายใน ช่วยให้การพิจารณาร่างฯ ดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและรวดเร็ว
สำหรับการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญขั้นแปรญัตติ ในวันนี้เริ่มต้นการพิจารณาร่างฯ หมวดรัฐสภาโดยมีการหารือกันถึงผู้ดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา ว่าจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องบัญญัติอย่างชัดเจนไว้ในร่างฯ ว่า ประธานรัฐสภาต้องวางตนเป็นกลางทางการเมือง ทั้งที่ในทางปฏิบัติผู้ดำรงตำแหน่ง ประธานรัฐสภายังคงสังกัดพรรคการเมืองอยู่ แต่ทางด้านคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญชี้แจงว่า จำเป็นต้องระบุไว้ อย่างไรก็ตามได้ขอปรับปรุงถ้อยคำ ว่า "ประธานรัฐสภาต้องวางตนเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่" ซึ่งบรรดาสมาชิกเห็นชอบด้วยตามนั้น
ในส่วนของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งทางคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญได้แก้ไขจำนวนของสมาชิก โดยให้ประกอบไปด้วย ส.ส. ซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อผู้สมัครที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้น (Party list) จำนวน 100 คน และมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน 400 คน จากที่เดิมกำหนดสัดสวนไว้ 150 กับ 350 คน ทั้งนี้ภายหลังการลงมติที่ประชุมเห็นควรให้เป็นไปตามข้อเสนอของคณะกรรมาธิการฯ
อย่างไรก็ตามประเด็นการเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ (Partly list) นั้น บรรดาสมาชิกยังคงมีความคิดเห็นที่หลากหลายว่าควรจะกำหนดให้เขตประเทศ เป็นเขตเลือกตั้ง หรือควรกำหนดให้แบ่งเขตเลือกตั้งเป็นภาคหรือเป็นโซน จึงจะเหมาะสมกว่ากัน นอกจากนี้ยังมีอีกข้อเสนอที่เห็นว่า หากจะกำหนดให้แบ่งเขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้งแล้ว ควรจะกำหนดการจัดทำบัญชีรายชื่อโดยยึดโยงกับภาค ด้วยการจัดสรรรายชื่อในแต่ละภาคให้ชัดเจนหรือไม่ (ประชาชนทั้งประเทศเป็นผู้เลือก แต่ส.ส.ผู้นั้นจะเป็นส.ส.ในนามของภาค) ขณะเดียวกันก็มีสมาชิกเสนอว่า ในบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองควรจะกำหนดให้หัวหน้าพรรคซึ่งถือว่า เป็นผู้ที่พร้อมจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นบุคคลในอันดับแรกของบัญชีรายชื่อพรรคการเมืองนั้น ๆ
ทางด้านนายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงการกำหนดในร่างฯ ที่เดิมแม้จะระบุไว้เพียงให้รายชื่อของบุคคลในบัญชีรายชื่อ จะต้องไม่ซ้ำกับรายชื่อในบัญชีที่พรรคการเมืองอื่นจัดทำขึ้น และไม่ซ้ำกับรายชื่อของผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ตลอดจนให้จัดทำรายชื่อเรียงตามลำดับเลขหมาย ก็ตาม แต่จากที่รับฟังข้อสังเกตของบรรดาสมาชิกที่เสนอว่า ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ควรเป็นตัวแทนของภูมิภาคนั้น เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่ขัดกับหลักการเดิม ที่มีเป้าหมายเพื่อให้คนดีมีความรู้ความสามารถ ได้เข้ามาสู่เวทีการเมืองโดยการเป็นตัวแทนระดับชาติ ทางคณะกรรมาธิการจึงขอเพิ่มเติมถ้อยคำ โดยระบุให้รายชื่อบุคคลในบัญชีรายชื่อ ประกอบด้วยรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง จากภูมิภาคต่าง ๆ อย่างเป็นธรรม โดยที่กระบวนการเลือกตั้งยังคงให้ประชาชนทั้งประเทศเป็นผู้เลือก และนับคะแนนเสียงรวมทั้งประเทศ (เขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง) เช่นเดิม ทั้งนี้ผลปรากฎว่า เสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยตามข้อเสนอปรับปรุงแก้ไขดังกล่าวของคณะกรรมาธิการฯ
สำหรับการจัดสัดส่วนของผู้ที่ได้รับเลือกเป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อพรรคการเมืองนั้นที่ประชุมเห็นควรให้กลับไปใช้ร่างเดิม คือบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองที่ได้คะแนนเสียงน้อยกว่าร้อยละ 5 ของจำนวน คะแนนเสียงรวมทั้งประเทศ ถือว่าไม่มีผู้ในบัญชีรายชื่อนั้นได้รับเลือกตั้ง ให้ใช้วิธีคำนวณสัดส่วนคะแนนเสียง โดยให้ถือว่าผู้สมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งมีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองแต่ละพรรค ได้รับเลือกตั้งเรียงตามลำดับจากหมายเลขต้นบัญชีลงไปตามจำนวนสัดส่วนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่คำนวณ ได้สำหรับบัญชีรายชื่อนั้น
สำหรับมาตรา 103 "ในการเลือกตั้งทั่วไป ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกบัญชีรายชื่อพรรค..." ซึ่งที่ประชุมส่วนใหญ่ถกเถียงในวรรค 4 "การนับคะแนนและการประกาศผลการนับคะแนนในเขตเลือกตั้งต้องกระทำโดยเปิดเผย ณ ที่ว่าการอำเภอ" โดยนายบัวพรม ธีรกัลยาณพงษ์ ส.ส.ร.ชัยภูมิ กล่าวว่าการที่ให้มีการนับคะแนนและประกาศผลที่ว่าการอำเภอ ทำให้มีการซื้อเสียงมากยิ่งขึ้นและการโกงมากขึ้น รวมทั้งจะทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ เนื่องจากการไปนับคะแนนที่อำเภอจะต้องเดินทางไกล และระหว่างการเดินทางก็อาจจะทำให้มีการเปลี่ยนหีบได้
อย่างไรก็ตามในประเด็นนี้ ฝ่ายกรรมาธิการได้ชี้แจงว่า การนับคะแนนที่หน่วยเลือกตั้งสามารถป้องกันการซื้อหน่วยเลือกตั้งได้ ส่วนที่บอกว่าการนับคะแนนที่อำเภอไม่สามารถทำได้ เพราะคับแคบเกินไป ในเรื่องนี้ทั้งกรรมาธิการได้ปรับปรุงแก้ไขข้อความใหม่ว่า "ในแต่ละเขตเลือกตั้งให้ดำเนินการนับคะแนนทุกหน่วยเลือกตั้งรวมกัน และประกาศผลการนับคะแนนโดยเปิดเผย ทั้งนี้ ณ สถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งแต่เพียงแห่งเดียวในเขตเลือกตั้งตามที่คณะกรรมาธิการเลือกตั้งกำหนด" จากนั้นที่ประชุมเห็นด้วยกับร่างที่กรรมาธิการเปลี่ยนแปลงด้วยคะแนนเสียง 58 ต่อ 11
ตัวแทนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จากจังหวัดนครปฐม นำโดย นายชูชัย ฤดีสุขสกุล ผู้ประสานงานกรรมการกลางสมัชชา จ.นครปฐม ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสื่อต่อประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อเรียกร้องให้สภาร่างรัฐธรรมนูญผลักดันร่างฯ ให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชน โดยยืนยันว่าที่ผ่านมาจากการทำประชาพิจารณ์ ประชาชนจังหวัดนครปฐมกว่าร้อยละ 60 เห็นด้วยกับการแยกอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ ออกจากอำนาจฝ่ายบริหาร และหากเป็นไปได้ประชาชนต้องการมีส่วนร่วมในการเลือกบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ตามกระบวนการเลือกตั้ง
ทางด้านนายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงการพิจารณาร่างฯ ในวาระที่ 2 ขั้นแปรญัตติโดยมั่นใจว่า ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญจะสามารถควบคุมการประชุมได้ แม้จะมีปัญหาบ้างจากที่สมาชิกบางคน อภิปรายโดยไม่คำนึงถึงเวลา อย่างไรก็ตามสำหรับการประชุมเป็นการภายในนั้น คาดว่าคงใช้เวลาไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง ซึ่งจะเป็นการหารือเฉพาะบางมาตราที่สมาชิกยังคงติดใจ แต่สำหรับร่างรัฐธรรมนูญบางมาตราที่สมาชิกต้องการให้นำกลับมาทบทวนใหม่นั้น จะสามารถกระทำได้หากเสียงส่วนใหญ่ของที่ประชุมเห็นสมควร
ขณะที่นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกรณีเดียวกันนี้ว่า หากสมาชิกจะขอนำร่างฯ บางมาตรา ที่ผ่านการลงมติไปแล้วกลับมาทบทวนใหม่อีกครั้ง ก็จะต้องอาศัยเสียงส่วนใหญ่ของที่ประชุม ทั้งนี้ตามระเบียบข้อบังคับการประชุมสามารถกระทำได้ เพราะการพิจารณาร่างฯ ในวาระ 2 ขั้นแปรญัตติ ที่กำลังดำเนินอยู่นี้ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในบางประเด็นของร่างฯ สมาชิกยังคงมีเสียงที่ก้ำกึ่งกันอยู่--จบ--
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญในวันนี้ (15 กรกฎาคม) นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญแจ้งต่อที่ประชุมว่า เนื่องจากในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญวาระ 2 ขั้นแปรญัตติเหลือเวลาอีกเพียงไม่กี่วัน ดังนั้นประเด็นที่อาจมีการถกเถียงกันมาก ก็จำเป็นต้องนัดหารือเป็นการภายในเป็นระยะ ๆ ซึ่งที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นการภายใน ช่วยให้การพิจารณาร่างฯ ดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและรวดเร็ว
สำหรับการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญขั้นแปรญัตติ ในวันนี้เริ่มต้นการพิจารณาร่างฯ หมวดรัฐสภาโดยมีการหารือกันถึงผู้ดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา ว่าจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องบัญญัติอย่างชัดเจนไว้ในร่างฯ ว่า ประธานรัฐสภาต้องวางตนเป็นกลางทางการเมือง ทั้งที่ในทางปฏิบัติผู้ดำรงตำแหน่ง ประธานรัฐสภายังคงสังกัดพรรคการเมืองอยู่ แต่ทางด้านคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญชี้แจงว่า จำเป็นต้องระบุไว้ อย่างไรก็ตามได้ขอปรับปรุงถ้อยคำ ว่า "ประธานรัฐสภาต้องวางตนเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่" ซึ่งบรรดาสมาชิกเห็นชอบด้วยตามนั้น
ในส่วนของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งทางคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญได้แก้ไขจำนวนของสมาชิก โดยให้ประกอบไปด้วย ส.ส. ซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อผู้สมัครที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้น (Party list) จำนวน 100 คน และมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน 400 คน จากที่เดิมกำหนดสัดสวนไว้ 150 กับ 350 คน ทั้งนี้ภายหลังการลงมติที่ประชุมเห็นควรให้เป็นไปตามข้อเสนอของคณะกรรมาธิการฯ
อย่างไรก็ตามประเด็นการเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ (Partly list) นั้น บรรดาสมาชิกยังคงมีความคิดเห็นที่หลากหลายว่าควรจะกำหนดให้เขตประเทศ เป็นเขตเลือกตั้ง หรือควรกำหนดให้แบ่งเขตเลือกตั้งเป็นภาคหรือเป็นโซน จึงจะเหมาะสมกว่ากัน นอกจากนี้ยังมีอีกข้อเสนอที่เห็นว่า หากจะกำหนดให้แบ่งเขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้งแล้ว ควรจะกำหนดการจัดทำบัญชีรายชื่อโดยยึดโยงกับภาค ด้วยการจัดสรรรายชื่อในแต่ละภาคให้ชัดเจนหรือไม่ (ประชาชนทั้งประเทศเป็นผู้เลือก แต่ส.ส.ผู้นั้นจะเป็นส.ส.ในนามของภาค) ขณะเดียวกันก็มีสมาชิกเสนอว่า ในบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองควรจะกำหนดให้หัวหน้าพรรคซึ่งถือว่า เป็นผู้ที่พร้อมจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นบุคคลในอันดับแรกของบัญชีรายชื่อพรรคการเมืองนั้น ๆ
ทางด้านนายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงการกำหนดในร่างฯ ที่เดิมแม้จะระบุไว้เพียงให้รายชื่อของบุคคลในบัญชีรายชื่อ จะต้องไม่ซ้ำกับรายชื่อในบัญชีที่พรรคการเมืองอื่นจัดทำขึ้น และไม่ซ้ำกับรายชื่อของผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ตลอดจนให้จัดทำรายชื่อเรียงตามลำดับเลขหมาย ก็ตาม แต่จากที่รับฟังข้อสังเกตของบรรดาสมาชิกที่เสนอว่า ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ควรเป็นตัวแทนของภูมิภาคนั้น เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่ขัดกับหลักการเดิม ที่มีเป้าหมายเพื่อให้คนดีมีความรู้ความสามารถ ได้เข้ามาสู่เวทีการเมืองโดยการเป็นตัวแทนระดับชาติ ทางคณะกรรมาธิการจึงขอเพิ่มเติมถ้อยคำ โดยระบุให้รายชื่อบุคคลในบัญชีรายชื่อ ประกอบด้วยรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง จากภูมิภาคต่าง ๆ อย่างเป็นธรรม โดยที่กระบวนการเลือกตั้งยังคงให้ประชาชนทั้งประเทศเป็นผู้เลือก และนับคะแนนเสียงรวมทั้งประเทศ (เขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง) เช่นเดิม ทั้งนี้ผลปรากฎว่า เสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยตามข้อเสนอปรับปรุงแก้ไขดังกล่าวของคณะกรรมาธิการฯ
สำหรับการจัดสัดส่วนของผู้ที่ได้รับเลือกเป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อพรรคการเมืองนั้นที่ประชุมเห็นควรให้กลับไปใช้ร่างเดิม คือบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองที่ได้คะแนนเสียงน้อยกว่าร้อยละ 5 ของจำนวน คะแนนเสียงรวมทั้งประเทศ ถือว่าไม่มีผู้ในบัญชีรายชื่อนั้นได้รับเลือกตั้ง ให้ใช้วิธีคำนวณสัดส่วนคะแนนเสียง โดยให้ถือว่าผู้สมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งมีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองแต่ละพรรค ได้รับเลือกตั้งเรียงตามลำดับจากหมายเลขต้นบัญชีลงไปตามจำนวนสัดส่วนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่คำนวณ ได้สำหรับบัญชีรายชื่อนั้น
สำหรับมาตรา 103 "ในการเลือกตั้งทั่วไป ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกบัญชีรายชื่อพรรค..." ซึ่งที่ประชุมส่วนใหญ่ถกเถียงในวรรค 4 "การนับคะแนนและการประกาศผลการนับคะแนนในเขตเลือกตั้งต้องกระทำโดยเปิดเผย ณ ที่ว่าการอำเภอ" โดยนายบัวพรม ธีรกัลยาณพงษ์ ส.ส.ร.ชัยภูมิ กล่าวว่าการที่ให้มีการนับคะแนนและประกาศผลที่ว่าการอำเภอ ทำให้มีการซื้อเสียงมากยิ่งขึ้นและการโกงมากขึ้น รวมทั้งจะทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ เนื่องจากการไปนับคะแนนที่อำเภอจะต้องเดินทางไกล และระหว่างการเดินทางก็อาจจะทำให้มีการเปลี่ยนหีบได้
อย่างไรก็ตามในประเด็นนี้ ฝ่ายกรรมาธิการได้ชี้แจงว่า การนับคะแนนที่หน่วยเลือกตั้งสามารถป้องกันการซื้อหน่วยเลือกตั้งได้ ส่วนที่บอกว่าการนับคะแนนที่อำเภอไม่สามารถทำได้ เพราะคับแคบเกินไป ในเรื่องนี้ทั้งกรรมาธิการได้ปรับปรุงแก้ไขข้อความใหม่ว่า "ในแต่ละเขตเลือกตั้งให้ดำเนินการนับคะแนนทุกหน่วยเลือกตั้งรวมกัน และประกาศผลการนับคะแนนโดยเปิดเผย ทั้งนี้ ณ สถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งแต่เพียงแห่งเดียวในเขตเลือกตั้งตามที่คณะกรรมาธิการเลือกตั้งกำหนด" จากนั้นที่ประชุมเห็นด้วยกับร่างที่กรรมาธิการเปลี่ยนแปลงด้วยคะแนนเสียง 58 ต่อ 11
ตัวแทนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จากจังหวัดนครปฐม นำโดย นายชูชัย ฤดีสุขสกุล ผู้ประสานงานกรรมการกลางสมัชชา จ.นครปฐม ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสื่อต่อประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อเรียกร้องให้สภาร่างรัฐธรรมนูญผลักดันร่างฯ ให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชน โดยยืนยันว่าที่ผ่านมาจากการทำประชาพิจารณ์ ประชาชนจังหวัดนครปฐมกว่าร้อยละ 60 เห็นด้วยกับการแยกอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ ออกจากอำนาจฝ่ายบริหาร และหากเป็นไปได้ประชาชนต้องการมีส่วนร่วมในการเลือกบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ตามกระบวนการเลือกตั้ง
ทางด้านนายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงการพิจารณาร่างฯ ในวาระที่ 2 ขั้นแปรญัตติโดยมั่นใจว่า ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญจะสามารถควบคุมการประชุมได้ แม้จะมีปัญหาบ้างจากที่สมาชิกบางคน อภิปรายโดยไม่คำนึงถึงเวลา อย่างไรก็ตามสำหรับการประชุมเป็นการภายในนั้น คาดว่าคงใช้เวลาไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง ซึ่งจะเป็นการหารือเฉพาะบางมาตราที่สมาชิกยังคงติดใจ แต่สำหรับร่างรัฐธรรมนูญบางมาตราที่สมาชิกต้องการให้นำกลับมาทบทวนใหม่นั้น จะสามารถกระทำได้หากเสียงส่วนใหญ่ของที่ประชุมเห็นสมควร
ขณะที่นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกรณีเดียวกันนี้ว่า หากสมาชิกจะขอนำร่างฯ บางมาตรา ที่ผ่านการลงมติไปแล้วกลับมาทบทวนใหม่อีกครั้ง ก็จะต้องอาศัยเสียงส่วนใหญ่ของที่ประชุม ทั้งนี้ตามระเบียบข้อบังคับการประชุมสามารถกระทำได้ เพราะการพิจารณาร่างฯ ในวาระ 2 ขั้นแปรญัตติ ที่กำลังดำเนินอยู่นี้ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในบางประเด็นของร่างฯ สมาชิกยังคงมีเสียงที่ก้ำกึ่งกันอยู่--จบ--