กรุงเทพ--19 พ.ค.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
นายบุญเลิศ คชายุทธเดช ส.ส.ร.นนทบุรี ในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชน เห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญในหมวดสิทธิเสรีภาพของบุคคลในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับสื่อสวลชนนั้น มีหลายมาตราที่ควรปรับปรุงแก้ไข ที่บางถ้อยคำอาจตีความคลาดเคลื่อนไปจากเจตนารมณ์ที่วางไว้ได้
มาตรา 38 วรรค 4 "การห้ามทำการพิมพ์ การห้ามเสนอข่าวทางหนังสือพิมพ์ สถานีวิทยุกระจายเสียงหรือสถานีวิทยุโทรทัศน์ หรือโดยทางอื่น จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นตามความในวรรคสอง" นายบุญเลิศ เสนอว่าควรตัดออกทั้งวรรค เพราะหากยังคงบัญญัติไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ อาจเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือผู้มีอำนาจ ดรอนสิทธิเสรีภาพในการเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนได้ แต่ในทางกลับกันสื่อมวลชนเองก็จะต้องไม่มีเสรีภาพจนล้นเหลือ โดยจะต้องไม่ก้าวล่วงในเรื่องส่วนตัวและครอบครัว ที่จะทำให้บุคคลเหล่านั้นเสื่อมเสียชื่อเสียง ที่ร่างรัฐธรรมนูญได้ระบุอย่างชัดเจนแล้วในมาตรา 33 ในอันที่จะคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคล อย่างไรก็ตามยอมรับว่าในการควบคุมจรรยาบรรณของสื่อมวลชน จำเป็นต้องมีองค์กรอิสระคอยตรวจสอบการทำงาน จึงเห็นด้วยตามร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 40 ที่ระบุว่า การเสนอข่าวสารและการแสดงความคิดเห็น จะต้องไม่ขัดต่อจรรยาบรรณการประกอบวิชาชีพ ภายใต้การควบคุมของ "องค์กรอิสระ" ตามที่กฎหมายบัญญัติ เพราะที่ผ่านมาการตรวจสอบกันเองของสื่อมวลชนในนามสมาคมนักหนังสือพิมพ์ฯ นั้น ยังไม่เข้มงวดในการตรวจสอบการเสนอข่าวอย่างเพียงพอ ซึ่งจะเห็นได้จากไม่เคยมีข่าวออกมาว่าสมาชิกฯ รายใดถูกลงโทษเลย แต่ทั้งนี้องค์กรอิสระดังกล่าว รัฐธรรมนูญควรจะกำหนดถึงที่มาให้ชัดเจน โดยส่วนตัวไม่เห็นด้วยหากจะมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้ามาทำหน้าที่ในองค์กรอิสระ โดยเสนอว่า องค์กรอิสระที่จะทำหน้าที่ควบคุมจรรยาบรรณของสื่อมวลชนควรจะประกอบไปด้วย
- บุคคลในวงการสื่อมวลชน
- ผู้ทรงคุณวุฒิในสถาบันการศึกษา อาทิ อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ หรือคณะสื่อสารมวลชน
- ตัวแทนประชาชนผู้บริโภคข่าวสาร
นอกจากนี้ในมาตรา 38 วรรค 5 ที่ระบุว่า "การให้เสนอข่าวหรือบทความในหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ ไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจก่อนโฆษณาจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะกระทำในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือการรบ..." นายบุญเลิศ เห็นว่าาควรตัดถ้อยคำ "การรบ" ออกไป เพราะการใช้คำว่า "ภาวะสงคราม" น่าจะเพียงพอแล้ว เพราะการประกาศภาวะสงครามจะต้องกระทำอย่างเป็นทางการ ส่วน "การรบ" ซึ่งมีความหมายกว้างขวางอาจตีความบิดเบือนว่าหมายถึง การรบตามแนวบริเวณชายแดน หรือการกวาดล้างผู้ก่อการร้าย แล้วอาศัยอำนาจแทรกแซงการเสนอข่าวของสื่อมวลชนได้ ทั้งนี้ในส่วนที่ไม่เห็นด้วยทั้งหมด นายบุญเลิศยืนยันว่าจะขอแปรญัตติต่อคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญอย่างแน่นอน--จบ--
นายบุญเลิศ คชายุทธเดช ส.ส.ร.นนทบุรี ในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชน เห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญในหมวดสิทธิเสรีภาพของบุคคลในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับสื่อสวลชนนั้น มีหลายมาตราที่ควรปรับปรุงแก้ไข ที่บางถ้อยคำอาจตีความคลาดเคลื่อนไปจากเจตนารมณ์ที่วางไว้ได้
มาตรา 38 วรรค 4 "การห้ามทำการพิมพ์ การห้ามเสนอข่าวทางหนังสือพิมพ์ สถานีวิทยุกระจายเสียงหรือสถานีวิทยุโทรทัศน์ หรือโดยทางอื่น จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นตามความในวรรคสอง" นายบุญเลิศ เสนอว่าควรตัดออกทั้งวรรค เพราะหากยังคงบัญญัติไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ อาจเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือผู้มีอำนาจ ดรอนสิทธิเสรีภาพในการเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนได้ แต่ในทางกลับกันสื่อมวลชนเองก็จะต้องไม่มีเสรีภาพจนล้นเหลือ โดยจะต้องไม่ก้าวล่วงในเรื่องส่วนตัวและครอบครัว ที่จะทำให้บุคคลเหล่านั้นเสื่อมเสียชื่อเสียง ที่ร่างรัฐธรรมนูญได้ระบุอย่างชัดเจนแล้วในมาตรา 33 ในอันที่จะคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคล อย่างไรก็ตามยอมรับว่าในการควบคุมจรรยาบรรณของสื่อมวลชน จำเป็นต้องมีองค์กรอิสระคอยตรวจสอบการทำงาน จึงเห็นด้วยตามร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 40 ที่ระบุว่า การเสนอข่าวสารและการแสดงความคิดเห็น จะต้องไม่ขัดต่อจรรยาบรรณการประกอบวิชาชีพ ภายใต้การควบคุมของ "องค์กรอิสระ" ตามที่กฎหมายบัญญัติ เพราะที่ผ่านมาการตรวจสอบกันเองของสื่อมวลชนในนามสมาคมนักหนังสือพิมพ์ฯ นั้น ยังไม่เข้มงวดในการตรวจสอบการเสนอข่าวอย่างเพียงพอ ซึ่งจะเห็นได้จากไม่เคยมีข่าวออกมาว่าสมาชิกฯ รายใดถูกลงโทษเลย แต่ทั้งนี้องค์กรอิสระดังกล่าว รัฐธรรมนูญควรจะกำหนดถึงที่มาให้ชัดเจน โดยส่วนตัวไม่เห็นด้วยหากจะมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้ามาทำหน้าที่ในองค์กรอิสระ โดยเสนอว่า องค์กรอิสระที่จะทำหน้าที่ควบคุมจรรยาบรรณของสื่อมวลชนควรจะประกอบไปด้วย
- บุคคลในวงการสื่อมวลชน
- ผู้ทรงคุณวุฒิในสถาบันการศึกษา อาทิ อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ หรือคณะสื่อสารมวลชน
- ตัวแทนประชาชนผู้บริโภคข่าวสาร
นอกจากนี้ในมาตรา 38 วรรค 5 ที่ระบุว่า "การให้เสนอข่าวหรือบทความในหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ ไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจก่อนโฆษณาจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะกระทำในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือการรบ..." นายบุญเลิศ เห็นว่าาควรตัดถ้อยคำ "การรบ" ออกไป เพราะการใช้คำว่า "ภาวะสงคราม" น่าจะเพียงพอแล้ว เพราะการประกาศภาวะสงครามจะต้องกระทำอย่างเป็นทางการ ส่วน "การรบ" ซึ่งมีความหมายกว้างขวางอาจตีความบิดเบือนว่าหมายถึง การรบตามแนวบริเวณชายแดน หรือการกวาดล้างผู้ก่อการร้าย แล้วอาศัยอำนาจแทรกแซงการเสนอข่าวของสื่อมวลชนได้ ทั้งนี้ในส่วนที่ไม่เห็นด้วยทั้งหมด นายบุญเลิศยืนยันว่าจะขอแปรญัตติต่อคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญอย่างแน่นอน--จบ--