กรุงเทพ--9 เม.ย.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
นายสุทัศน์ เงินหมื่น ประธานคณะกรรมาธิการการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎรพร้อมคณะ ยื่นหนังสือต่อประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อเสนอความเห็นต่อหลักการและเหตุผลในการประชุมโครงสร้างกระบวนการยุติธรรม ตลอดจนประเด็นสิทธิเสรีภาพที่ควรบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยเห็นว่า ที่ผ่านมากระบวนการยุติธรรม ซึ่งประกอบไปด้วยตำรวจ อัยการ ศาลและราชทัณฑ์ ดำเนินงานไม่มีความเป็นเอกภาพ ขาดผู้รับผิดชอบเชิงนโยบาย รวมทั้งไม่มีการกำหนดมาตรฐานบุคลากรในทางวิชาการและจริยธรรม ทำให้กระบวนการยุติธรรมไม่เป็นกระบวนการอย่างแท้จริง
ทั้งนี้ นายสุทัศน์มองว่าปัญหาสำคัญเกิดจากกระบวนการยุติธรรมที่เป็นอยู่ในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ดังจะเห็นได้จากประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมและไม่อาจตรวจสอบการทำงานของกระบวนการยุติธรรมได้ ขณะที่สภาพปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นล้วนส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยตรง จึงเห็นว่า จำเป็นต้องมีการปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างกระบวนการยุติธรรมขึ้นใหม่ โดยต้องเชื่อมโยงองค์กรภายในกระบวนการยุติธรรมเอง และองค์กรภายนอก ตลอดจนต้องจัดระบบตุลาการให้เป็นเอกภาพ เพื่อให้การทำงานที่ประสิทธิภาพ
ทางด้านนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภารัฐธรรมนูญ ก็รับปากที่จะนำข้อเสนอต่าง ๆ ที่ได้รับส่งมอบให้กับคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและประชาพิจารณ์ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญต่อไป--จบ--
นายสุทัศน์ เงินหมื่น ประธานคณะกรรมาธิการการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎรพร้อมคณะ ยื่นหนังสือต่อประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อเสนอความเห็นต่อหลักการและเหตุผลในการประชุมโครงสร้างกระบวนการยุติธรรม ตลอดจนประเด็นสิทธิเสรีภาพที่ควรบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยเห็นว่า ที่ผ่านมากระบวนการยุติธรรม ซึ่งประกอบไปด้วยตำรวจ อัยการ ศาลและราชทัณฑ์ ดำเนินงานไม่มีความเป็นเอกภาพ ขาดผู้รับผิดชอบเชิงนโยบาย รวมทั้งไม่มีการกำหนดมาตรฐานบุคลากรในทางวิชาการและจริยธรรม ทำให้กระบวนการยุติธรรมไม่เป็นกระบวนการอย่างแท้จริง
ทั้งนี้ นายสุทัศน์มองว่าปัญหาสำคัญเกิดจากกระบวนการยุติธรรมที่เป็นอยู่ในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ดังจะเห็นได้จากประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมและไม่อาจตรวจสอบการทำงานของกระบวนการยุติธรรมได้ ขณะที่สภาพปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นล้วนส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยตรง จึงเห็นว่า จำเป็นต้องมีการปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างกระบวนการยุติธรรมขึ้นใหม่ โดยต้องเชื่อมโยงองค์กรภายในกระบวนการยุติธรรมเอง และองค์กรภายนอก ตลอดจนต้องจัดระบบตุลาการให้เป็นเอกภาพ เพื่อให้การทำงานที่ประสิทธิภาพ
ทางด้านนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภารัฐธรรมนูญ ก็รับปากที่จะนำข้อเสนอต่าง ๆ ที่ได้รับส่งมอบให้กับคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและประชาพิจารณ์ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญต่อไป--จบ--