บันทึกการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ครั้งที่ ๓
วันอังคารที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๔๐
ณ ตึกรัฐสภา
-----------------------
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา
มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญลงชื่อเข้าประชุม ๙๗ คน
เมื่อสมาชิกฯ มาครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญศาสตราจารย์กระมล ทองธรรมชาติ รองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ คนที่หนึ่ง และนางยุพา อุดมศักดิ์ รองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ คนที่สอง ขึ้นบัลลังก์ประธานสภาร่าง รัฐธรรมนูญกล่าวเปิดประชุม และดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระการประชุม ดังนี้
ระเบียบวาระที่ ๑. เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม
ระยะเวลาการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญของสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ประธานฯ ได้แจ้งระยะเวลาการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญของสภาร่างรัฐธรรมนูญว่า นับจากวันอังคารที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๔๐ สภาร่างรัฐธรรมนูญมีเวลาจัดทำร่างรัฐธรรมนูญอีก ๒๑๔ วัน
ที่ประชุมรับทราบ
ระเบียบวาระที่ ๒. พิจารณาแนวทางการดำเนินงานของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ประธานฯ ได้ขอปรึกษาที่ประชุมเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับการตั้งกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นการเพิ่มเติมและกรรมาธิการวิสามัญ รับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัด แต่ละจังหวัด ที่สืบเนื่องจากการประชุมคราวที่แล้ว
ที่ประชุมเห็นชอบด้วยกับข้อปรึกษาดังกล่าว ปรากฏดังนี้
๒.๑ การตั้งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเพิ่มเติม
ที่ประชุมได้มีมติตั้งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมอีก ๔ คน อันเป็นผลให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ มีกรรมาธิการรวมทั้งสิ้น ๒๑ คน เพื่อให้เป็นไปตามหลักการที่ได้เคยหารือไว้ว่าให้ประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาร่างรัฐธรรมนูญ ๔ คณะ ไปดำรงตำแหน่งกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญภายหลังจากที่คณะกรรมาธิการทั้ง ๔ คณะได้เลือกประธาน และตำแหน่งอื่นเรียบร้อยแล้ว โดยกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่เพิ่มขึ้น จำนวน ๔ คน ประกอบด้วย
๑. ศาสตราจารย์กระมล ทองธรรมชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิชาการข้อมูลและศึกษาแนวทางการร่าง กฎหมาย ประกอบรัฐธรรมนูญ
๒. นายเดโช สวนานนท์ ในฐานะประธานกรรมาธิการจดหมายเหตุ ตรวจรายงานการประชุมและกิจการสภา
๓. นายสมเกียรติ อ่อนวิมล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์
๔. ศาสตราจารย์อมร รักษาสัตย์ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและประชาพิจารณ์
๒.๒ การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำจังหวัด
ที่ประชุมได้มีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดแต่ละจังหวัด เพื่อให้เป็นไปตามหลักการที่ที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญได้เห็นชอบเมื่อคราวประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๒ วันอังคารที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๔๐ ที่กำหนดให้คณะกรรมาธิการวิสามัญของแต่ละจังหวัดมีกรรมาธิการคณะละ ๑๕ คน โดยให้สมาชิกสภาร่าง รัฐธรรมนูญจากจังหวัดนั้น ๆ เป็นประธานกรรมาธิการโดยตำแหน่ง และให้บุคคลผู้สมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาร่าง รัฐธรรมนูญ ในจังหวัดนั้นตาม บัญชีรายชื่อ ที่รัฐสภาจัดทำเข้ามาดำรงตำแหน่งกรรมาธิการ ด้วยความสมัครใจโดยให้ยืนยันเป็นหนังสือไว้ และให้บุคคลดังกล่าวข้างต้นไปคัดเลือก ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้ม ีประสบการณ์ในจังหวัดนั้น ๆ จนครบ ๑๕ คน ประกอบกันเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ของจังหวัดนั้น เพื่อให้สภามีมติตั้งต่อไปต่อจากนั้นที่ประชุมได้มีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัด ที่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญของจังหวัดนั้นได้ไปดำเนินการให้สอดคล้องกับมติของที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญและมีกรรมาธิการครบตามจำนวนแล้ว รวม ๖ คณะ โดยสมาชิก สภาร่างรัฐธรรมนูญจังหวัดหนองบัวลำภู สุราษฎร์ธานี พิจิตร สมุทรสาคร ตรัง และสุรินทร์ ได้เสนอรายชื่อกรรมาธิการวิสามัญ โดยมีผู้รับ รองครบถ้วนตามลำดับ ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดหนองบัวลำภู
๑. นางสุนี ไชยรส เป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ ฯ
๒. นายกัญญา สุขแสน
๓. นายเฉลิม อัฒจักร
๔. นายถวัลย์ศักดิ์ เปรยะโพธิเดชะ
๕. นายถาวร มงคลเคหา
๖. นายบุญเรือง จรรยาศรี
๗. นายประมาณ จุ้ยประเสริฐ
๘. นายประไว คงอาษา
๙. นายประสิทธิ์ เพ็งนรินทร์
๑๐. นายพิชัย พ้นภัย
๑๑. นายไพฑูรย์ สมบูรณ์
๑๒. นายวีรพล กราบไกรแก้ว
๑๓. นายสามารถ รัตนประทีปพร
๑๔. นายสุวิทย์ โพธิราชา
๑๕ .นางหนูไกร เพ็งธรรม
๒. คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
๑. นายเดโช สวนานนท์ เป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ
๒. นายโกมล นกวิเชียร
๓. นางจินดา กุลยเทพย์
๔. นายบรรจบ มานะกุล
๕. นายประกิจ เพชรรัตน์
๖. นายพรเลิศ สุทธิรักษ์
๗. นายพิศิษฐ์ ไชยแจ่มจันทร์
๘. นายมนู วนิชชานนท์
๙. นายยุทธกิจ เจนปรมกิจ
๑๐. นายละออ บุญสา
๑๑. นายวราวุธ วุฒิ
๑๒. นายสถิตย์ แก้วเชื้อ
๑๓. นางสลวย ลาภชูรัต
๑๔. นายสวัสดิ์ ปิยะกาญจน์
๑๕. นายสอรัฐ มากบุญ
๓. คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดพิจิตร
๑. นางยุพา อุดมศักดิ์ เป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ ฯ
๒. นายโกเมศ แดงทองดี
๓. นายจาตุรนต์ น้อยอ่ำ
๔. นายชะนะ ศรีสุเทพ
๕. นางเตือนใจ บุรพรัตน์
๖. นางปราณี ไกรเดช
๗. นายผิน ต่วนชะเอม
๘. นายพิชัย นวลนภาศรี
๙. นายดิเรก เพ็ญสุภา
๑๐. นายมวลชน สุขแสง
๑๑. นายวิโรจน์ อภิสิทธิ์วิทยา
๑๒. นายวิวัฒน์ ประเสริฐชัย
๑๓. นายสมชาย พฤกษะวัน
๑๔. นางสุมิตรา ฉัตรศรีวงศ์
๑๕. นายอุดม ศรีชัวชุม
๔. คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดสมุทรสาคร
๑. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา เป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ
๒. นายชุมพล จันทร์จรัสวัฒนา
๓. นายฐิติ มณีประเสริฐ
๔. นายนิพนธ์ กาญจนวิสุทธิ์
๕. นายนิวัฒน์ ขวัญบุญ
๖. ร้อยตรี ประเทศ นุตสติ
๗. นายเป้า งามสุวัฒน์
๘. นายวรวุฒิ บุญเพ็ญ
๙. นายวิเชียร เจียระธรรม
๑๐. นายวิริยะ เลิศวนางกูร
๑๑. นายศุภพรพงศ์ ชวนบุญ
๑๒. ร้อยตรี สมพร กุลวานิช
๑๓. นายสุชาติ ใบสมุทร
๑๔. นายสุวัฒน์ จันทะยาสาคร
๑๕. นายอนนท์ พฤกษ์ศรีสาคร
๕. คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดตรัง
๑. นายสุบิน สินไชย เป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ
๒. นายกมล เด่นยุกต์
๓. นายกิจ หลีกภัย
๔. นายขอม นวนนิ่ม
๕. นายจำรัส สรพิพัฒน์
๖. นายไชยันต์ กุลบุญ
๗. นายประกิจ รัตตมณี
๘. ว่าที่ร้อยโท ภักดี เมืองพูล
๙. นายมานิต วงษ์สุรีย์รัตน์
๑๐. นายลือพงษ์ อ๋องเจริญ
๑๑. นายวิว ศรีจันทร์ทอง
๑๒. นายสนอง เพ็ชรวิจิตร
๑๓. นายสมเกียรติ สุธีรศานต์
๑๔. นายสุประวัติ ใจสมุทร
๑๕. นายเสรี ศรีไตรรัตน์
๖. คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดสุรินทร์
๑. นายเหลื่อม พันธ์ฤกษ ์เป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ ฯ
๒. นายจรัส หนูพันธ์
๓. นายชัยรัตน์ มาประนีต
๔. นายธีรกุล หาญบาง
๕. นายประสิทธิ์ มากวงศ์
๖. นายภูวเนตร สุจินพรัพภ์
๗. นายเลิศชาย รัตนสูรย์
๘. นายศิริ จันทร์แดง
๙. นายสมัย ยอดพรหม
๑๐. นายสวิน นิลเพชร
๑๑. นายสุทัศน์ เจริญรัตน์
๑๒. นายสุวัฒน์ โล้กูลประกิจ
๑๓. นายสุวิช บูรณ์เจริญ
๑๔. นายออมสิน วัฒนะรัตน์
๑๕. นายอิศรา จรัญญานนท์
อนึ่งที่ประชุมได้มีข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีการในการให้บุคคลผู้สมัครเป็น สสร. ประจำจังหวัดตามบัญชีรายชื่อที่รัฐสภา จัดทำยืนยันเป็นหนังสือว่ามีความสมัครใจจะดำรงตำแหน่งในคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำจังหวัดของตนเองหรือไม่ โดยให้สมาชิก สภาร่าง รัฐธรรมนูญในแต่ละจังหวัดทำหนังสือสอบถามถึงบุคคลดังกล่าว โดยให้มีระยะเวลาในการตอบรับตามสมควร ถ้าไม่ได้รับหนังสือตอบรับยืนยันตามกำหนดเวลาดังกล่าวให้ถือว่าไม่สมัครใจที่จะเป็นกรรมาธิการวิสามัญในจังหวัดนั้น ทั้งนี้เพื่อให้สภาร่างรัฐธรรมนูญตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็น และประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดได้ครบทุกจังหวัด เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญโดยเร็ว
ระเบียบวาระที่ ๓. เรื่องอื่น ๆ
การอภิปรายทั่วไปเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และหลักการในสาระสำคัญที่ควรนำไปบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
ประธานฯ ได้ขอปรึกษาที่ประชุมว่า จะสมควรประการใดที่จะให้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้มีการอภิปรายทั่วไปเกี่ยวกับปัญหา และแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ รวมทั้งหลักการในสาระสำคัญที่ควรนำไปบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้เพื่อเสนอประเด็นปัญหา ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่จะเป็นการเปิดประเด็นให้ประชาชน และสังคมโดยรวมได้รับฟังแนวความคิด ในประเด็นต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วแสดงความคิดเห็นสะท้อนกลับมายังสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญแต่ละท่าน อันจะยังประโยชน์ต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญของสภาร่างรัฐธรรมนูญที่จะนำความคิดเห็นของประชาชนมาประกอบการพิจารณาต่อไป โดยในเบื้องต้นเห็นสมควรกำหนดเวลาการ อภิปรายของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญแต่ละท่าน ๑๕ นาที
ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วย
ต่อจากนั้นได้มีสมาชิกอภิปรายในประเด็นดังกล่าวตามลำดับอย่างกว้างขวาง จนได้เวลาตามสมควรก่อนที่จะเลิกประชุม ประธานได้สั่ง นัดประชุมเพื่อพิจารณาประเด็นปัญหาต่อใน วันจันทร์ที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๔๐ เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา
เลขาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญ
สำนักงานเลขาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญ
โทร. ๒๔๔๑๘๐๘
โทรสาร ๒๔๔๑๖๒๕-๖
--คณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์สภาร่างรัฐธรรมนูญ--
ครั้งที่ ๓
วันอังคารที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๔๐
ณ ตึกรัฐสภา
-----------------------
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา
มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญลงชื่อเข้าประชุม ๙๗ คน
เมื่อสมาชิกฯ มาครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญศาสตราจารย์กระมล ทองธรรมชาติ รองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ คนที่หนึ่ง และนางยุพา อุดมศักดิ์ รองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ คนที่สอง ขึ้นบัลลังก์ประธานสภาร่าง รัฐธรรมนูญกล่าวเปิดประชุม และดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระการประชุม ดังนี้
ระเบียบวาระที่ ๑. เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม
ระยะเวลาการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญของสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ประธานฯ ได้แจ้งระยะเวลาการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญของสภาร่างรัฐธรรมนูญว่า นับจากวันอังคารที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๔๐ สภาร่างรัฐธรรมนูญมีเวลาจัดทำร่างรัฐธรรมนูญอีก ๒๑๔ วัน
ที่ประชุมรับทราบ
ระเบียบวาระที่ ๒. พิจารณาแนวทางการดำเนินงานของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ประธานฯ ได้ขอปรึกษาที่ประชุมเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับการตั้งกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นการเพิ่มเติมและกรรมาธิการวิสามัญ รับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัด แต่ละจังหวัด ที่สืบเนื่องจากการประชุมคราวที่แล้ว
ที่ประชุมเห็นชอบด้วยกับข้อปรึกษาดังกล่าว ปรากฏดังนี้
๒.๑ การตั้งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเพิ่มเติม
ที่ประชุมได้มีมติตั้งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมอีก ๔ คน อันเป็นผลให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ มีกรรมาธิการรวมทั้งสิ้น ๒๑ คน เพื่อให้เป็นไปตามหลักการที่ได้เคยหารือไว้ว่าให้ประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาร่างรัฐธรรมนูญ ๔ คณะ ไปดำรงตำแหน่งกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญภายหลังจากที่คณะกรรมาธิการทั้ง ๔ คณะได้เลือกประธาน และตำแหน่งอื่นเรียบร้อยแล้ว โดยกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่เพิ่มขึ้น จำนวน ๔ คน ประกอบด้วย
๑. ศาสตราจารย์กระมล ทองธรรมชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิชาการข้อมูลและศึกษาแนวทางการร่าง กฎหมาย ประกอบรัฐธรรมนูญ
๒. นายเดโช สวนานนท์ ในฐานะประธานกรรมาธิการจดหมายเหตุ ตรวจรายงานการประชุมและกิจการสภา
๓. นายสมเกียรติ อ่อนวิมล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์
๔. ศาสตราจารย์อมร รักษาสัตย์ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและประชาพิจารณ์
๒.๒ การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำจังหวัด
ที่ประชุมได้มีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดแต่ละจังหวัด เพื่อให้เป็นไปตามหลักการที่ที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญได้เห็นชอบเมื่อคราวประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๒ วันอังคารที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๔๐ ที่กำหนดให้คณะกรรมาธิการวิสามัญของแต่ละจังหวัดมีกรรมาธิการคณะละ ๑๕ คน โดยให้สมาชิกสภาร่าง รัฐธรรมนูญจากจังหวัดนั้น ๆ เป็นประธานกรรมาธิการโดยตำแหน่ง และให้บุคคลผู้สมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาร่าง รัฐธรรมนูญ ในจังหวัดนั้นตาม บัญชีรายชื่อ ที่รัฐสภาจัดทำเข้ามาดำรงตำแหน่งกรรมาธิการ ด้วยความสมัครใจโดยให้ยืนยันเป็นหนังสือไว้ และให้บุคคลดังกล่าวข้างต้นไปคัดเลือก ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้ม ีประสบการณ์ในจังหวัดนั้น ๆ จนครบ ๑๕ คน ประกอบกันเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ของจังหวัดนั้น เพื่อให้สภามีมติตั้งต่อไปต่อจากนั้นที่ประชุมได้มีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัด ที่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญของจังหวัดนั้นได้ไปดำเนินการให้สอดคล้องกับมติของที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญและมีกรรมาธิการครบตามจำนวนแล้ว รวม ๖ คณะ โดยสมาชิก สภาร่างรัฐธรรมนูญจังหวัดหนองบัวลำภู สุราษฎร์ธานี พิจิตร สมุทรสาคร ตรัง และสุรินทร์ ได้เสนอรายชื่อกรรมาธิการวิสามัญ โดยมีผู้รับ รองครบถ้วนตามลำดับ ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดหนองบัวลำภู
๑. นางสุนี ไชยรส เป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ ฯ
๒. นายกัญญา สุขแสน
๓. นายเฉลิม อัฒจักร
๔. นายถวัลย์ศักดิ์ เปรยะโพธิเดชะ
๕. นายถาวร มงคลเคหา
๖. นายบุญเรือง จรรยาศรี
๗. นายประมาณ จุ้ยประเสริฐ
๘. นายประไว คงอาษา
๙. นายประสิทธิ์ เพ็งนรินทร์
๑๐. นายพิชัย พ้นภัย
๑๑. นายไพฑูรย์ สมบูรณ์
๑๒. นายวีรพล กราบไกรแก้ว
๑๓. นายสามารถ รัตนประทีปพร
๑๔. นายสุวิทย์ โพธิราชา
๑๕ .นางหนูไกร เพ็งธรรม
๒. คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
๑. นายเดโช สวนานนท์ เป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ
๒. นายโกมล นกวิเชียร
๓. นางจินดา กุลยเทพย์
๔. นายบรรจบ มานะกุล
๕. นายประกิจ เพชรรัตน์
๖. นายพรเลิศ สุทธิรักษ์
๗. นายพิศิษฐ์ ไชยแจ่มจันทร์
๘. นายมนู วนิชชานนท์
๙. นายยุทธกิจ เจนปรมกิจ
๑๐. นายละออ บุญสา
๑๑. นายวราวุธ วุฒิ
๑๒. นายสถิตย์ แก้วเชื้อ
๑๓. นางสลวย ลาภชูรัต
๑๔. นายสวัสดิ์ ปิยะกาญจน์
๑๕. นายสอรัฐ มากบุญ
๓. คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดพิจิตร
๑. นางยุพา อุดมศักดิ์ เป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ ฯ
๒. นายโกเมศ แดงทองดี
๓. นายจาตุรนต์ น้อยอ่ำ
๔. นายชะนะ ศรีสุเทพ
๕. นางเตือนใจ บุรพรัตน์
๖. นางปราณี ไกรเดช
๗. นายผิน ต่วนชะเอม
๘. นายพิชัย นวลนภาศรี
๙. นายดิเรก เพ็ญสุภา
๑๐. นายมวลชน สุขแสง
๑๑. นายวิโรจน์ อภิสิทธิ์วิทยา
๑๒. นายวิวัฒน์ ประเสริฐชัย
๑๓. นายสมชาย พฤกษะวัน
๑๔. นางสุมิตรา ฉัตรศรีวงศ์
๑๕. นายอุดม ศรีชัวชุม
๔. คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดสมุทรสาคร
๑. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา เป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ
๒. นายชุมพล จันทร์จรัสวัฒนา
๓. นายฐิติ มณีประเสริฐ
๔. นายนิพนธ์ กาญจนวิสุทธิ์
๕. นายนิวัฒน์ ขวัญบุญ
๖. ร้อยตรี ประเทศ นุตสติ
๗. นายเป้า งามสุวัฒน์
๘. นายวรวุฒิ บุญเพ็ญ
๙. นายวิเชียร เจียระธรรม
๑๐. นายวิริยะ เลิศวนางกูร
๑๑. นายศุภพรพงศ์ ชวนบุญ
๑๒. ร้อยตรี สมพร กุลวานิช
๑๓. นายสุชาติ ใบสมุทร
๑๔. นายสุวัฒน์ จันทะยาสาคร
๑๕. นายอนนท์ พฤกษ์ศรีสาคร
๕. คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดตรัง
๑. นายสุบิน สินไชย เป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ
๒. นายกมล เด่นยุกต์
๓. นายกิจ หลีกภัย
๔. นายขอม นวนนิ่ม
๕. นายจำรัส สรพิพัฒน์
๖. นายไชยันต์ กุลบุญ
๗. นายประกิจ รัตตมณี
๘. ว่าที่ร้อยโท ภักดี เมืองพูล
๙. นายมานิต วงษ์สุรีย์รัตน์
๑๐. นายลือพงษ์ อ๋องเจริญ
๑๑. นายวิว ศรีจันทร์ทอง
๑๒. นายสนอง เพ็ชรวิจิตร
๑๓. นายสมเกียรติ สุธีรศานต์
๑๔. นายสุประวัติ ใจสมุทร
๑๕. นายเสรี ศรีไตรรัตน์
๖. คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดสุรินทร์
๑. นายเหลื่อม พันธ์ฤกษ ์เป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ ฯ
๒. นายจรัส หนูพันธ์
๓. นายชัยรัตน์ มาประนีต
๔. นายธีรกุล หาญบาง
๕. นายประสิทธิ์ มากวงศ์
๖. นายภูวเนตร สุจินพรัพภ์
๗. นายเลิศชาย รัตนสูรย์
๘. นายศิริ จันทร์แดง
๙. นายสมัย ยอดพรหม
๑๐. นายสวิน นิลเพชร
๑๑. นายสุทัศน์ เจริญรัตน์
๑๒. นายสุวัฒน์ โล้กูลประกิจ
๑๓. นายสุวิช บูรณ์เจริญ
๑๔. นายออมสิน วัฒนะรัตน์
๑๕. นายอิศรา จรัญญานนท์
อนึ่งที่ประชุมได้มีข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีการในการให้บุคคลผู้สมัครเป็น สสร. ประจำจังหวัดตามบัญชีรายชื่อที่รัฐสภา จัดทำยืนยันเป็นหนังสือว่ามีความสมัครใจจะดำรงตำแหน่งในคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำจังหวัดของตนเองหรือไม่ โดยให้สมาชิก สภาร่าง รัฐธรรมนูญในแต่ละจังหวัดทำหนังสือสอบถามถึงบุคคลดังกล่าว โดยให้มีระยะเวลาในการตอบรับตามสมควร ถ้าไม่ได้รับหนังสือตอบรับยืนยันตามกำหนดเวลาดังกล่าวให้ถือว่าไม่สมัครใจที่จะเป็นกรรมาธิการวิสามัญในจังหวัดนั้น ทั้งนี้เพื่อให้สภาร่างรัฐธรรมนูญตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็น และประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดได้ครบทุกจังหวัด เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญโดยเร็ว
ระเบียบวาระที่ ๓. เรื่องอื่น ๆ
การอภิปรายทั่วไปเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และหลักการในสาระสำคัญที่ควรนำไปบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
ประธานฯ ได้ขอปรึกษาที่ประชุมว่า จะสมควรประการใดที่จะให้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้มีการอภิปรายทั่วไปเกี่ยวกับปัญหา และแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ รวมทั้งหลักการในสาระสำคัญที่ควรนำไปบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้เพื่อเสนอประเด็นปัญหา ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่จะเป็นการเปิดประเด็นให้ประชาชน และสังคมโดยรวมได้รับฟังแนวความคิด ในประเด็นต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วแสดงความคิดเห็นสะท้อนกลับมายังสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญแต่ละท่าน อันจะยังประโยชน์ต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญของสภาร่างรัฐธรรมนูญที่จะนำความคิดเห็นของประชาชนมาประกอบการพิจารณาต่อไป โดยในเบื้องต้นเห็นสมควรกำหนดเวลาการ อภิปรายของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญแต่ละท่าน ๑๕ นาที
ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วย
ต่อจากนั้นได้มีสมาชิกอภิปรายในประเด็นดังกล่าวตามลำดับอย่างกว้างขวาง จนได้เวลาตามสมควรก่อนที่จะเลิกประชุม ประธานได้สั่ง นัดประชุมเพื่อพิจารณาประเด็นปัญหาต่อใน วันจันทร์ที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๔๐ เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา
เลขาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญ
สำนักงานเลขาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญ
โทร. ๒๔๔๑๘๐๘
โทรสาร ๒๔๔๑๖๒๕-๖
--คณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์สภาร่างรัฐธรรมนูญ--