กรุงเทพ--26 มี.ค.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
กรรมาธิการวิชาการ ข้อมูล และศึกษาแนวทางการร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญร่วมกับ คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขารัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการซึ่งเป็นวันที่ 2 ในหัวข้อ "แนวนโยบายแห่งรัฐ สถาบันการเมือง และความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมือง" โดยเชิญตัวแทนจากหลายพรรคการเมืองร่วมแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง วันนี้ (26 มีนาคม 2540)
นายจำลอง ครุฑขุนทด รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการศึกษาธิการ จากพรรคชาติพัฒนาได้แสดงความคิดเห็นในระหว่างการอภิปรายเกี่ยวกับผลกระทบทางการเมือง ของระบบการถ่วงดุลอำนาจ การแยกหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับรัฐมนตรีออกจากกัน รวมถึงที่มาและโครงสร้างของคณะรัฐมนตรีตามข้อเสนอของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ว่าไม่เห็นด้วยหากจะมีการเปลี่ยนระบบการเลือกตั้งจากเดิม เป็นการเลือกตั้ง ส.ส. แบบเขตเดียวเบอร์เดียว เพราะถึงแม้วิธีการดังกล่าว จะสามารถสร้างความยุติธรรมให้ประชาชนได้มีสิทธิเลือก ส.ส.เท่าเทียมกันทั่วประเทส แต่การแบ่งเขตที่เล็กลงอาจทำให้การต่อสู้รุนแรงยิ่งขึ้น การซื้อเสียงมีราคาค่าหัวที่สูงขึ้น อีกทั้งอิทธิพลท้องถิ่นจะเกิดขึ้น นอกจากนี้ยังไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้ง ส.ส. ตามสัดส่วนรายชื่อพรรคการเมือง เพราะจะเปิดโอกาสให้กลุ่มนายทุนของพรรค เข้ามาเป็นรัฐมนตรีได้มากกว่าผู้ที่มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง เนื่องจากมีชื่ออยู่ลำดับต้น ๆ ในบัญชีรายชื่อ ทั้งนี้ได้เสนอทางออกว่า ควรคงการเลือกตั้งในรูปแบบเดิม แต่ปรับให้เป็นการเลือกทั้งพรรค เพื่อให้ระบบพรรคการเมืองมีเสถียรภาพ
ส่วนความเห็นเรื่องที่มาของวุฒิสมาชิกนั้น นายจำลองกล่าวว่าหากมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ก็ไม่เห็นด้วยเช่นกัน เพราะการเลือกตั้งโดยตรง จะปิดโอกาสผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการทำหน้าที่กลั่นกรองกฎหมาย แต่ไม่อาจเข้ามาเป็นวุฒิสมาชิกได้ เนื่องจากการเลือกตั้ง ต้องใช้เงินมหาศาลจนผู้มีความรู้อย่างแท้จริงไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง ฉะนั้นที่มาของวุฒิสมาชิกควรมาจากการคัดเลือกของคณะกรรมการสรรหาวุฒิสมาชิก ซึ่งปราศจากการครอบงำโดยอำนาจทางการเมือง
ด้านชุมพล ศิลปอาชา รองหัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวว่าแม้จะยอมรับในประเด็นปัญหา และหลักการสำคัญ ๆ ทั้ง 3 กรอบ ของสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะนำไปสู่อนาคตทางการเมืองที่ก้าวไกล และที่สำคัญการทำงานของสภาร่างฯ ต้องหนักแน่น ไม่ควรมีความเห็นแตกแยกกัน โดยเฉพาะในรายละเอียดปลีกย่อย ควรคำนึงถึงโครงสร้างทั้งระบบเป็นหลัก พร้อมเห็นด้วยกับการเลือกตั้งในระบบสัดส่วนตามรายชื่อพรรคการเมือง เพราะแต่ละพรรคจะต้องเสนอผู้ที่มีคุณสมบัติโดดเด่น เพื่อให้ได้รับคะแนนเสียงจากประชาชน ส่วนข้อกังวลที่ว่าอาจมีกลุ่มนายทุนเข้ามาอยู่ในบัญชีรายชื่อ ก็เห็นว่า เป็นธรรมดาในช่วงแรกอาจเกิดเหตุการณ์เช่นนี้แต่ในที่สุดสังคมจะเป็นผู้ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ที่อยู่ในบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง นอกจากนี้ยังเห็นด้วยกับที่มาของวุฒิสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง เนื่องจากเชื่อว่าเป็นวิธีการที่โปร่งใสที่สุด และการมองว่าอาจมีอิทธิพลท้องถิ่นเข้ามาเกี่ยวข้องนั้นถือเป็นการดูถูกประชาชน
ส่วนนายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง จากพรรคความหวังใหม่ ซึ่งเห็นด้วยกับระบบการเลือกตั้ง ส.ส. แบบเขตเดียวเบอร์เดียว และสัดส่วนรายชื่อพรรคการเมืองที่จะช่วยลดปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง เพราะการถอนทุนคืน ตลอดจนบีบบังคับให้แต่ละพรรคการเมืองวางนโยบายของพรรคที่ชัดเจนได้ก็ตาม แต่ไม่เห็นด้วยกับการแบ่งแยกอำนาจนิติบัญญัติ กับฝ่ายบริหารด้วยการบังคับให้ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรี ต้องการลาออกจากการเป็น ส.ส. ก่อน เพราะเท่ากับเป็นการปิดกั้น ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ไม่ให้มีโอกาสเข้ามาเป็นรัฐธรรมนูญได้ เนื่องจากในทางปฏิบัติ หาก ส.ส. จากเขตเลือกตั้งขึ้นเป็นรัฐมนตรี ก็จะต้องมีการเลือกตั้งซ่อมจึงเป็นไปได้สูงที่ผู้สมัครพรรคคู่แข่งจะก้าวขึ้นมาเป็น ส.ส. ในเขตนั้นแทน ซึ่งจะเกิดปัญหาตามมา จนในที่สุดรัฐบาลกลายเป็นเสียงข้างน้อยในสภา ขณะเดียวกัน หากรัฐมนตรีมาจาก ส.ส.ในสัดส่วนรายชื่อพรรคการเมือง ก็อาจไม่สนใจแก้ไขปัญหาระดับท้องถิ่นอย่างจริงจัง
ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ยืนยันว่าพรรคประชาธิปัตย์พร้อมที่จะสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญของ ส.ส.ร. หากแต่สภาร่างฯ เองควรจะยกร่างรัฐธรรมนูญในแนวทางที่เห็นว่าดีที่สุด โดยไม่พะวงว่า ร่างฯจะผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐสภาหรือไม่ แต่ควรปล่อยให้สังคม เป็นผู้ตรวจสอบการตัดสินใจของสมาชิกรัฐสภา น่าจะเหมาะสมกว่า สำหรับความเห็นต่อการเลือกตั้ง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วยที่จะเพิ่มจำนวนและยังเห็นว่า ไม่ควรแบ่งเขตเลือกตั้งให้เล็กเกินไป แต่เห็นด้วยหากรัฐมนตรีจะมาจาก ส.ส. ตามสัดส่วนรายชื่อพรรคการเมืองเพื่อเป็นการประกาศทีมผู้บริหารก่อนการเลือกตั้ง และเป็นการสกัดกั้นกลุ่มธุรกิจที่อาจจะแฝงตัวเข้ามาอย่างไม่เปิดเผย
แต่สำหรับข้อเสนอที่ว่า รัฐมนตรีจะต้องลาออกจากการเป็น ส.ส.นั้น โฆษกพรรคประชาธิปัตย์มองว่าอาจเกิดปัญหาในการคานอำนาจกันภายในคณะรัฐมนตรี และรัฐมนตรีจะไม่กล้าทักท้วงการบริหารประเทศที่เห็นว่าไม่เหมาะสม เนื่องจากหากถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งแล้ว ก็ไม่อาจกลับมาเป็นส.ส.ได้อีก ซึ่งเท่ากับไม่มีตำแหน่งใด ๆ ทางการเมืองรองรับ ส่งผลให้การปรับคณะรัฐมนตรีกลายเป็นเรื่องใหญ่และเป็นไปไม่ได้ที่นายกฯ จะแสดงมารยาททางการเมืองด้วยการลาออก หากเกิดปัญหามีทางออกเดียวที่นายกฯ จะเลือกได้ คือ ประกาศยุบสภาฯ เช่นเดียวกับพวกที่อยากขึ้นมามีอำนาจทางการเมือง ก็จะต้องพยายามสร้างสถานการณ์ให้เกิดความตรึงเครียด เพื่อมีโอกาสเป็นรัฐบาลแทน
นอกจากนี้ในประเด็นที่มาของวุฒิสมาชิก โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ยอมรับว่า การเลือกตั้งทางตรงถือว่าชอบธรรมที่สุด แต่วุฒิสมาชิกควรสังกัดพรรคการเมือง เพราะในความเป็นจริง การทำงานของวุฒิสมาชิกย่อมมีการแทรกแซงโดยพรรคการเมืองอยู่แล้ว แต่ก็ยังเห็นว่าวุฒิสมาชิกควรเป็นตัวแทนกลุ่มสาขาอาชีพ มากกว่าเป็นตัวแทนเขตเลือกตั้ง
และศ.กระมล ทองธรรมชาติ ประธานคณะกรรมาธิการวิชาการฯ กล่าวปิดประชุมเชิงปฏิบัติการว่า จะนำความเห็นของตัวแทนพรรคการเมืองต่าง ๆ ไปประกอบการร่างรัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกับ ศ.อมร รักษาสัตย์ ประธานคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นฯ ก็ยืนยันว่าทุกความเห็นจะถูกนำมาประมวลผลในเชิงปริมาณด้วย ซึ่งได้มีการกำหนดให้คะแนน 1 คะแนน สำหรับความเห็น 1 ข้อของประชาชนทั่วไป และ 2 คะแนนสำหรับความเห็นของกลุ่มองค์กร โดยล่าสุดความคิดเห็นที่เข้ามาเป็นจำนวนมากนั้นมีนับแสนรายแล้ว--จบ--
กรรมาธิการวิชาการ ข้อมูล และศึกษาแนวทางการร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญร่วมกับ คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขารัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการซึ่งเป็นวันที่ 2 ในหัวข้อ "แนวนโยบายแห่งรัฐ สถาบันการเมือง และความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมือง" โดยเชิญตัวแทนจากหลายพรรคการเมืองร่วมแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง วันนี้ (26 มีนาคม 2540)
นายจำลอง ครุฑขุนทด รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการศึกษาธิการ จากพรรคชาติพัฒนาได้แสดงความคิดเห็นในระหว่างการอภิปรายเกี่ยวกับผลกระทบทางการเมือง ของระบบการถ่วงดุลอำนาจ การแยกหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับรัฐมนตรีออกจากกัน รวมถึงที่มาและโครงสร้างของคณะรัฐมนตรีตามข้อเสนอของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ว่าไม่เห็นด้วยหากจะมีการเปลี่ยนระบบการเลือกตั้งจากเดิม เป็นการเลือกตั้ง ส.ส. แบบเขตเดียวเบอร์เดียว เพราะถึงแม้วิธีการดังกล่าว จะสามารถสร้างความยุติธรรมให้ประชาชนได้มีสิทธิเลือก ส.ส.เท่าเทียมกันทั่วประเทส แต่การแบ่งเขตที่เล็กลงอาจทำให้การต่อสู้รุนแรงยิ่งขึ้น การซื้อเสียงมีราคาค่าหัวที่สูงขึ้น อีกทั้งอิทธิพลท้องถิ่นจะเกิดขึ้น นอกจากนี้ยังไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้ง ส.ส. ตามสัดส่วนรายชื่อพรรคการเมือง เพราะจะเปิดโอกาสให้กลุ่มนายทุนของพรรค เข้ามาเป็นรัฐมนตรีได้มากกว่าผู้ที่มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง เนื่องจากมีชื่ออยู่ลำดับต้น ๆ ในบัญชีรายชื่อ ทั้งนี้ได้เสนอทางออกว่า ควรคงการเลือกตั้งในรูปแบบเดิม แต่ปรับให้เป็นการเลือกทั้งพรรค เพื่อให้ระบบพรรคการเมืองมีเสถียรภาพ
ส่วนความเห็นเรื่องที่มาของวุฒิสมาชิกนั้น นายจำลองกล่าวว่าหากมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ก็ไม่เห็นด้วยเช่นกัน เพราะการเลือกตั้งโดยตรง จะปิดโอกาสผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการทำหน้าที่กลั่นกรองกฎหมาย แต่ไม่อาจเข้ามาเป็นวุฒิสมาชิกได้ เนื่องจากการเลือกตั้ง ต้องใช้เงินมหาศาลจนผู้มีความรู้อย่างแท้จริงไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง ฉะนั้นที่มาของวุฒิสมาชิกควรมาจากการคัดเลือกของคณะกรรมการสรรหาวุฒิสมาชิก ซึ่งปราศจากการครอบงำโดยอำนาจทางการเมือง
ด้านชุมพล ศิลปอาชา รองหัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวว่าแม้จะยอมรับในประเด็นปัญหา และหลักการสำคัญ ๆ ทั้ง 3 กรอบ ของสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะนำไปสู่อนาคตทางการเมืองที่ก้าวไกล และที่สำคัญการทำงานของสภาร่างฯ ต้องหนักแน่น ไม่ควรมีความเห็นแตกแยกกัน โดยเฉพาะในรายละเอียดปลีกย่อย ควรคำนึงถึงโครงสร้างทั้งระบบเป็นหลัก พร้อมเห็นด้วยกับการเลือกตั้งในระบบสัดส่วนตามรายชื่อพรรคการเมือง เพราะแต่ละพรรคจะต้องเสนอผู้ที่มีคุณสมบัติโดดเด่น เพื่อให้ได้รับคะแนนเสียงจากประชาชน ส่วนข้อกังวลที่ว่าอาจมีกลุ่มนายทุนเข้ามาอยู่ในบัญชีรายชื่อ ก็เห็นว่า เป็นธรรมดาในช่วงแรกอาจเกิดเหตุการณ์เช่นนี้แต่ในที่สุดสังคมจะเป็นผู้ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ที่อยู่ในบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง นอกจากนี้ยังเห็นด้วยกับที่มาของวุฒิสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง เนื่องจากเชื่อว่าเป็นวิธีการที่โปร่งใสที่สุด และการมองว่าอาจมีอิทธิพลท้องถิ่นเข้ามาเกี่ยวข้องนั้นถือเป็นการดูถูกประชาชน
ส่วนนายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง จากพรรคความหวังใหม่ ซึ่งเห็นด้วยกับระบบการเลือกตั้ง ส.ส. แบบเขตเดียวเบอร์เดียว และสัดส่วนรายชื่อพรรคการเมืองที่จะช่วยลดปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง เพราะการถอนทุนคืน ตลอดจนบีบบังคับให้แต่ละพรรคการเมืองวางนโยบายของพรรคที่ชัดเจนได้ก็ตาม แต่ไม่เห็นด้วยกับการแบ่งแยกอำนาจนิติบัญญัติ กับฝ่ายบริหารด้วยการบังคับให้ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรี ต้องการลาออกจากการเป็น ส.ส. ก่อน เพราะเท่ากับเป็นการปิดกั้น ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ไม่ให้มีโอกาสเข้ามาเป็นรัฐธรรมนูญได้ เนื่องจากในทางปฏิบัติ หาก ส.ส. จากเขตเลือกตั้งขึ้นเป็นรัฐมนตรี ก็จะต้องมีการเลือกตั้งซ่อมจึงเป็นไปได้สูงที่ผู้สมัครพรรคคู่แข่งจะก้าวขึ้นมาเป็น ส.ส. ในเขตนั้นแทน ซึ่งจะเกิดปัญหาตามมา จนในที่สุดรัฐบาลกลายเป็นเสียงข้างน้อยในสภา ขณะเดียวกัน หากรัฐมนตรีมาจาก ส.ส.ในสัดส่วนรายชื่อพรรคการเมือง ก็อาจไม่สนใจแก้ไขปัญหาระดับท้องถิ่นอย่างจริงจัง
ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ยืนยันว่าพรรคประชาธิปัตย์พร้อมที่จะสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญของ ส.ส.ร. หากแต่สภาร่างฯ เองควรจะยกร่างรัฐธรรมนูญในแนวทางที่เห็นว่าดีที่สุด โดยไม่พะวงว่า ร่างฯจะผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐสภาหรือไม่ แต่ควรปล่อยให้สังคม เป็นผู้ตรวจสอบการตัดสินใจของสมาชิกรัฐสภา น่าจะเหมาะสมกว่า สำหรับความเห็นต่อการเลือกตั้ง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วยที่จะเพิ่มจำนวนและยังเห็นว่า ไม่ควรแบ่งเขตเลือกตั้งให้เล็กเกินไป แต่เห็นด้วยหากรัฐมนตรีจะมาจาก ส.ส. ตามสัดส่วนรายชื่อพรรคการเมืองเพื่อเป็นการประกาศทีมผู้บริหารก่อนการเลือกตั้ง และเป็นการสกัดกั้นกลุ่มธุรกิจที่อาจจะแฝงตัวเข้ามาอย่างไม่เปิดเผย
แต่สำหรับข้อเสนอที่ว่า รัฐมนตรีจะต้องลาออกจากการเป็น ส.ส.นั้น โฆษกพรรคประชาธิปัตย์มองว่าอาจเกิดปัญหาในการคานอำนาจกันภายในคณะรัฐมนตรี และรัฐมนตรีจะไม่กล้าทักท้วงการบริหารประเทศที่เห็นว่าไม่เหมาะสม เนื่องจากหากถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งแล้ว ก็ไม่อาจกลับมาเป็นส.ส.ได้อีก ซึ่งเท่ากับไม่มีตำแหน่งใด ๆ ทางการเมืองรองรับ ส่งผลให้การปรับคณะรัฐมนตรีกลายเป็นเรื่องใหญ่และเป็นไปไม่ได้ที่นายกฯ จะแสดงมารยาททางการเมืองด้วยการลาออก หากเกิดปัญหามีทางออกเดียวที่นายกฯ จะเลือกได้ คือ ประกาศยุบสภาฯ เช่นเดียวกับพวกที่อยากขึ้นมามีอำนาจทางการเมือง ก็จะต้องพยายามสร้างสถานการณ์ให้เกิดความตรึงเครียด เพื่อมีโอกาสเป็นรัฐบาลแทน
นอกจากนี้ในประเด็นที่มาของวุฒิสมาชิก โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ยอมรับว่า การเลือกตั้งทางตรงถือว่าชอบธรรมที่สุด แต่วุฒิสมาชิกควรสังกัดพรรคการเมือง เพราะในความเป็นจริง การทำงานของวุฒิสมาชิกย่อมมีการแทรกแซงโดยพรรคการเมืองอยู่แล้ว แต่ก็ยังเห็นว่าวุฒิสมาชิกควรเป็นตัวแทนกลุ่มสาขาอาชีพ มากกว่าเป็นตัวแทนเขตเลือกตั้ง
และศ.กระมล ทองธรรมชาติ ประธานคณะกรรมาธิการวิชาการฯ กล่าวปิดประชุมเชิงปฏิบัติการว่า จะนำความเห็นของตัวแทนพรรคการเมืองต่าง ๆ ไปประกอบการร่างรัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกับ ศ.อมร รักษาสัตย์ ประธานคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นฯ ก็ยืนยันว่าทุกความเห็นจะถูกนำมาประมวลผลในเชิงปริมาณด้วย ซึ่งได้มีการกำหนดให้คะแนน 1 คะแนน สำหรับความเห็น 1 ข้อของประชาชนทั่วไป และ 2 คะแนนสำหรับความเห็นของกลุ่มองค์กร โดยล่าสุดความคิดเห็นที่เข้ามาเป็นจำนวนมากนั้นมีนับแสนรายแล้ว--จบ--