กรุงเทพ-- 4 มิ.ย.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
คณะกรรมาธิการกิจการผู้แทนราษฎร จัดการสัมมนาทางวิชาการ "ความคิดเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่" โดยนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภาเปิดปาฐกถานำว่า การปฎิรูปการเมืองที่ยิ่งใหญ่ คือการคืนสิทธิ์ให้กับประชาชนมากที่สุด ตั้งอยู่ในความพอดี ไม่ตึงหรือหย่อนเกินไป ซึ่งการสัมมนาในครั้งนี้ จะเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจ ด้วยเจตนารมย์อันบริสุทธิ์เมื่อสะท้อนถึงความเห็นทุกฝ่าย ให้ ส.ส.ร. นำไปเป็นข้อคิดในการแปรญัตติ ทั้งนี้มั่นใจว่าจะไม่เป็นการสร้างความขัดแย้ง ในคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ แม้ว่าจะมีการวิพากษ์วิจารณ์ในบางมาตรา เพราะต้องยอมรับว่า คงไม่มีอะไรในโลกนี้ที่สมบูรณ์ที่สุดหรือเลวที่สุด โดยกล่าวว่า "ถ้ามีใจเป็นกลาง ตัดอัตตาออกจากความคิดในการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็จะสามารถมองภาพของประเทศชาติและประชาชนได้อย่างชัดเจน โดยหยิบยกคำกล่าวของนักวิชาการผู้หนึ่ง ที่ว่า นักเลือกตั้งจะคิดเฉพาะเลือกตั้งนักการเมืองจะคิดแต่เรื่องเลือกตั้ง แต่รัฐบุรุษคิดถึงเรื่องสี่วรรณะเป็นหลัก จึงอยากให้สมาชิกรัฐสภาคิดแบบรัฐบุรุษเช่นกัน"
ทางด้าน นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่าในช่วงเวลานี้ถือเป็นขั้นตอนสำคัญ ซึ่งจะเห็นได้ว่าองค์กรประชาชนออกมาร่วมเสนอความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา หรือแม้เสนอข้อแก้ไขถ้อยคำกันอย่างกว้างขวางจึงอยากเรียกร้องให้บรรดาพรรคการเมืองต่าง ๆ ที่เคยวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญอย่างกว้าง ๆ ให้ออกมาระบุชี้ชัดว่าส่วนใดบ้างที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยพร้อมทั้งเหตุผล เพื่อให้คณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญน่ากลับไปพิจารณาร่วมกัน ทั้งนี้จะรอให้ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสมบูรณ์ก่อนแล้วจึงออกมาวิพากษ์วิจารณ์ ก็อาจไม่เกิดผลในการเปลี่ยนแปลงร่างฯ แต่อย่างใด
ในระหว่างการอภิปราย นายโภคิน พลกุล รองหัวหน้าพรรคความหวังใหม่กล่าวว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ คงไม่ใช่ยาวิเศษ หรืออัศวินม้าขาวที่จะแก้ปัญหาได้ทั้งหมด จึงไม่อยากให้การร่างรัฐธรรมนูญตั้งอยู่บนทัศนคติของการไม่ยอมรับ ไม่ไว้วางใจกัน พร้อมทั้งยืนยันว่า พรรคความหวังใหม่ไม่อยากให้เกิดบรรยากาศการเผชิญหน้า ระหว่างความรู้สึกไม่ไว้วางใจรัฐสภา กับองค์กรต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการใช้ร่างรัฐธรรมนูญสร้างผลกระทบต่อตนเอง ขณะเดียวกันก็ได้ตั้งข้อสังเกตในหลายประเด็นที่ทางพรรคความหวังใหม่ ไม่เห็นด้วยต่อรัฐธรรมนูญ อาทิ การกำหนดให้การใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของประชาชน, การกำหนดการเลือกตั้งแบบผสมที่ใช้การเลือกตั้ง ส.ส. แบบสัดส่วนรายชื่อพรรคการเมือง (Party list) อาศัยทั้งประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง โดยเสนอว่าน่าจะจัดการเลือกตั้ง ส.ส. Party list โดยแบ่งพื้นที่เป็นโซนแทน นอกจากนี้ยังไม่เห็นด้วยที่กำหนดให้รัฐมนตรีต้องพ้นจากการเป็น ส.ส.ตลอดจนการที่ให้อำนาจแก่คณะกรรมการการเลือกตั้งมากจนเกินไป โดยเฉพาะที่กำหนดให้สามารถจัดการเลือกตั้งขึ้นใหม่ได้ หากมีเหตุ "อันควรเชื่อ" ว่ามีการทุจริตในการเลือกตั้ง ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายที่อาจเกิดผลเสียได้
ทางด้าน นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ยั้งว่า โดยภาพรวมของร่างรัฐธรรมนูญ ทางพรรคประชาธิปัตย์ยอมรับได้ แต่ยังมีข้อสังเกตถึงการตั้งสมมติฐานะในเบื้องต้นของ ส.ส.ร.กับที่เขียนไว้ในร่างรัฐธรรมนูญมีความขัดแย้งกันเองในหลายประเด็นไม่ว่าจะเป็นข้อสังเกตในเรื่องของการเลือกตั้งซึ่งมองว่าที่ผ่านมามีการซื้อสิทธิขายเสียง แต่ในร่างรัฐธรรมนูญกลับช่วยให้การซื้อเสียงมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ด้วยการกำหนดเขตเลือกตั้งให้เล็กลง นอกจากนี้ตามร่างรัฐธรรมนูญในหลักการเบื้องต้นต้องการสร้างกลไกใช้นายก รัฐมนตรีเป็นผู้นำที่เข้มแข็ง ด้วยการกำหนดให้การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีกระทำได้ยากขึ้น แต่เกิดข้อสังเกตว่าหากปรากฏว่าได้นายกรัฐมนตรีที่เลว ก็จะกลายเป็นกลไกปกป้องคนเลว ให้ถูกตรวจสอบได้ยากขึ้น
อย่างไรก็ตาม นายจุรินทร์ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ เห็นด้วยที่ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้ส.ส. แบบสัดส่วนรายชื่อพรรคการเมือง ใช้พื้นที่ทั่วประเทศเป็นเขตเลือกตั้งและเห็นว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งควรมีอำนาจในการฟ้องร้องดำเนินการคดีกับการกระทำผิดกฏหมายเลือกตั้งได้ด้วย พร้อมทั้งเสนอว่าร่างรัฐธรรมนูญน่าจะกำหนดให้พรรคการเมืองที่ได้จำนวนเสียง ส.ส. มากที่สุดเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล แต่ในส่วนที่ให้รัฐมนตรีต้องลาออกจากการเป็นส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วย เพราะจะเกิดผลกระทบตามมามากมาย
ส่วนนายปองพล อดิเรกสาร เลขาธิการพรรคชาติไทย กล่าวว่าไม่เห็นด้วยที่ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้การใช้สิทธิตั้งเป็นหน้าที่ของประชาชนและได้ตั้งข้อสังเกตว่า การเลือกตั้งส.ส. แบบเขตเดียวคนเดียวและแบบ Party list นั้นทางปฏิบัติจะดำเนินการอย่างไร นอกจากนี้ยังไม่เห็นด้วยที่กำหนดให้รัฐมนตรีต้องพ้นจากการเป็นส.ส. เพราะอาจส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาลได้ ขณะเดียวกันก็ไม่เห็นด้วยที่ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีคณะตุลาการคดีอาญาสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทั้งนี้โดยภาพรวมมองว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีหลายตราจนเกินไป อันจะเปิดช่องให้เกิดการคัดค้านได้ง่าย
นายประสบ บุศราคัม ตัวแทนจากพรรคชาติพัฒนา ไม่เห็นด้วยอย่างชัดเจนต่อการกำหนดให้มี ส.ส. แบบสัดส่วนรายชื่อพรรคการเมือง โดยกล่าวว่าประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปัตย์ทั่วโลก มีเพียงเยอรมันและญี่ปุ่นเท่านั้นที่ใช้วิธีการเลือกตั้งส.ส. ในแบบดังกล่าวและไม่เห็นด้วยที่ร่างรัฐธรรมนูญเปิดโอกาสให้ประชาชน 5 หมื่นคน สามารถเข้าชื่อเสนอถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตลอดจนเสนอกฏหมายได้เพราะต้องยอมรับว่าในความเป็นจริงแล้วการเกณฑ์คนจำนวน 5 หมื่นคนนั้นไม่ใช่เรื่องยาก ขณะที่นายประสงค์ ประคุณสุขใจ ตัวแทนจากพรรคกิจสังคม ซึ่งเข้าร่วมอภิปรายด้วย แต่ปฏิเสธที่จะแสดงท่าที่ที่ชัดเจนของพรรคต่อร่างรัฐธรรมนูญ โดยจะรอให้การแปรญัตติของ ส.ส.ร. เสร็จสิ้นลงก่อน
ส่วนนายมณฑล ชาติสุวรรณ รองเลขาธิการพรรคมวลชน ฝ่ายการเมือง ยืนยันว่า ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง หัวหน้าพรรคไม่ได้ต้านร่างรัฐธรรมนูญของ ส.ส.ร. แต่ก็ยอมรับว่าอยากให้ร่างรัฐธรรมนูญมีการแก้ไขในหลายประเด็น อีกทั้งมองว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีขนาดยาวเกินไป ขณะที่นายปรีชา เดชทองจัน ที่คงเป็นเรื่องยาก หากจะดึงอำนาจจากกลุ่มใด อย่างไรก็ตามยืนยันว่า พรรคพลังธรรมรับหลักการในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
ทางด้านนายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญกล่าวภายหลังการสัมมนาว่า จะนำข้อเสนอแนะของพรรคการเมืองต่าง ๆ ไปพิจารณาประกอบการแปรญัตติต่อไป ซึ่งการสัมมนาในวันนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นที่จะสร้างกระบวนการทำความเข้าใจระหว่างส.ส.ร.และพรรคการเมือง ทั้งนี้หากเป็นไปได้ช่วงปลายเดือนมิถุนายนนี้อาจขอความร่วมมือจากคณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎรให้จัดสัมมนาขึ้นอีกครั้ง เพื่อจับเข่าคุยกันระหว่างส.ส.ร.กับตัวแทนจากทุกพรรคการเมือง เพื่อหาจุดร่วมและหาทางออกสำหรับประเด็นที่ยังเห็นขัดแย้งกัน โดยยืนยันว่าไม่ได้เป็นการจัดสัมมนาขึ้นเพื่อประชาสัมพันธ์หรือสร้างภาพแต่อย่างใด ซึ่งภายหลังจากการหารือถ้าปรากฏว่า ยังมีคงมีความเห็นไม่ตรงกัน ก็เชื่อว่าจะไม่เกิดปัญหา ตราบใดที่ตั้งอยู่บนมูลฐานของความเข้าใจ--จบ--
คณะกรรมาธิการกิจการผู้แทนราษฎร จัดการสัมมนาทางวิชาการ "ความคิดเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่" โดยนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภาเปิดปาฐกถานำว่า การปฎิรูปการเมืองที่ยิ่งใหญ่ คือการคืนสิทธิ์ให้กับประชาชนมากที่สุด ตั้งอยู่ในความพอดี ไม่ตึงหรือหย่อนเกินไป ซึ่งการสัมมนาในครั้งนี้ จะเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจ ด้วยเจตนารมย์อันบริสุทธิ์เมื่อสะท้อนถึงความเห็นทุกฝ่าย ให้ ส.ส.ร. นำไปเป็นข้อคิดในการแปรญัตติ ทั้งนี้มั่นใจว่าจะไม่เป็นการสร้างความขัดแย้ง ในคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ แม้ว่าจะมีการวิพากษ์วิจารณ์ในบางมาตรา เพราะต้องยอมรับว่า คงไม่มีอะไรในโลกนี้ที่สมบูรณ์ที่สุดหรือเลวที่สุด โดยกล่าวว่า "ถ้ามีใจเป็นกลาง ตัดอัตตาออกจากความคิดในการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็จะสามารถมองภาพของประเทศชาติและประชาชนได้อย่างชัดเจน โดยหยิบยกคำกล่าวของนักวิชาการผู้หนึ่ง ที่ว่า นักเลือกตั้งจะคิดเฉพาะเลือกตั้งนักการเมืองจะคิดแต่เรื่องเลือกตั้ง แต่รัฐบุรุษคิดถึงเรื่องสี่วรรณะเป็นหลัก จึงอยากให้สมาชิกรัฐสภาคิดแบบรัฐบุรุษเช่นกัน"
ทางด้าน นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่าในช่วงเวลานี้ถือเป็นขั้นตอนสำคัญ ซึ่งจะเห็นได้ว่าองค์กรประชาชนออกมาร่วมเสนอความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา หรือแม้เสนอข้อแก้ไขถ้อยคำกันอย่างกว้างขวางจึงอยากเรียกร้องให้บรรดาพรรคการเมืองต่าง ๆ ที่เคยวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญอย่างกว้าง ๆ ให้ออกมาระบุชี้ชัดว่าส่วนใดบ้างที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยพร้อมทั้งเหตุผล เพื่อให้คณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญน่ากลับไปพิจารณาร่วมกัน ทั้งนี้จะรอให้ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสมบูรณ์ก่อนแล้วจึงออกมาวิพากษ์วิจารณ์ ก็อาจไม่เกิดผลในการเปลี่ยนแปลงร่างฯ แต่อย่างใด
ในระหว่างการอภิปราย นายโภคิน พลกุล รองหัวหน้าพรรคความหวังใหม่กล่าวว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ คงไม่ใช่ยาวิเศษ หรืออัศวินม้าขาวที่จะแก้ปัญหาได้ทั้งหมด จึงไม่อยากให้การร่างรัฐธรรมนูญตั้งอยู่บนทัศนคติของการไม่ยอมรับ ไม่ไว้วางใจกัน พร้อมทั้งยืนยันว่า พรรคความหวังใหม่ไม่อยากให้เกิดบรรยากาศการเผชิญหน้า ระหว่างความรู้สึกไม่ไว้วางใจรัฐสภา กับองค์กรต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการใช้ร่างรัฐธรรมนูญสร้างผลกระทบต่อตนเอง ขณะเดียวกันก็ได้ตั้งข้อสังเกตในหลายประเด็นที่ทางพรรคความหวังใหม่ ไม่เห็นด้วยต่อรัฐธรรมนูญ อาทิ การกำหนดให้การใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของประชาชน, การกำหนดการเลือกตั้งแบบผสมที่ใช้การเลือกตั้ง ส.ส. แบบสัดส่วนรายชื่อพรรคการเมือง (Party list) อาศัยทั้งประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง โดยเสนอว่าน่าจะจัดการเลือกตั้ง ส.ส. Party list โดยแบ่งพื้นที่เป็นโซนแทน นอกจากนี้ยังไม่เห็นด้วยที่กำหนดให้รัฐมนตรีต้องพ้นจากการเป็น ส.ส.ตลอดจนการที่ให้อำนาจแก่คณะกรรมการการเลือกตั้งมากจนเกินไป โดยเฉพาะที่กำหนดให้สามารถจัดการเลือกตั้งขึ้นใหม่ได้ หากมีเหตุ "อันควรเชื่อ" ว่ามีการทุจริตในการเลือกตั้ง ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายที่อาจเกิดผลเสียได้
ทางด้าน นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ยั้งว่า โดยภาพรวมของร่างรัฐธรรมนูญ ทางพรรคประชาธิปัตย์ยอมรับได้ แต่ยังมีข้อสังเกตถึงการตั้งสมมติฐานะในเบื้องต้นของ ส.ส.ร.กับที่เขียนไว้ในร่างรัฐธรรมนูญมีความขัดแย้งกันเองในหลายประเด็นไม่ว่าจะเป็นข้อสังเกตในเรื่องของการเลือกตั้งซึ่งมองว่าที่ผ่านมามีการซื้อสิทธิขายเสียง แต่ในร่างรัฐธรรมนูญกลับช่วยให้การซื้อเสียงมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ด้วยการกำหนดเขตเลือกตั้งให้เล็กลง นอกจากนี้ตามร่างรัฐธรรมนูญในหลักการเบื้องต้นต้องการสร้างกลไกใช้นายก รัฐมนตรีเป็นผู้นำที่เข้มแข็ง ด้วยการกำหนดให้การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีกระทำได้ยากขึ้น แต่เกิดข้อสังเกตว่าหากปรากฏว่าได้นายกรัฐมนตรีที่เลว ก็จะกลายเป็นกลไกปกป้องคนเลว ให้ถูกตรวจสอบได้ยากขึ้น
อย่างไรก็ตาม นายจุรินทร์ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ เห็นด้วยที่ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้ส.ส. แบบสัดส่วนรายชื่อพรรคการเมือง ใช้พื้นที่ทั่วประเทศเป็นเขตเลือกตั้งและเห็นว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งควรมีอำนาจในการฟ้องร้องดำเนินการคดีกับการกระทำผิดกฏหมายเลือกตั้งได้ด้วย พร้อมทั้งเสนอว่าร่างรัฐธรรมนูญน่าจะกำหนดให้พรรคการเมืองที่ได้จำนวนเสียง ส.ส. มากที่สุดเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล แต่ในส่วนที่ให้รัฐมนตรีต้องลาออกจากการเป็นส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วย เพราะจะเกิดผลกระทบตามมามากมาย
ส่วนนายปองพล อดิเรกสาร เลขาธิการพรรคชาติไทย กล่าวว่าไม่เห็นด้วยที่ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้การใช้สิทธิตั้งเป็นหน้าที่ของประชาชนและได้ตั้งข้อสังเกตว่า การเลือกตั้งส.ส. แบบเขตเดียวคนเดียวและแบบ Party list นั้นทางปฏิบัติจะดำเนินการอย่างไร นอกจากนี้ยังไม่เห็นด้วยที่กำหนดให้รัฐมนตรีต้องพ้นจากการเป็นส.ส. เพราะอาจส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาลได้ ขณะเดียวกันก็ไม่เห็นด้วยที่ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีคณะตุลาการคดีอาญาสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทั้งนี้โดยภาพรวมมองว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีหลายตราจนเกินไป อันจะเปิดช่องให้เกิดการคัดค้านได้ง่าย
นายประสบ บุศราคัม ตัวแทนจากพรรคชาติพัฒนา ไม่เห็นด้วยอย่างชัดเจนต่อการกำหนดให้มี ส.ส. แบบสัดส่วนรายชื่อพรรคการเมือง โดยกล่าวว่าประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปัตย์ทั่วโลก มีเพียงเยอรมันและญี่ปุ่นเท่านั้นที่ใช้วิธีการเลือกตั้งส.ส. ในแบบดังกล่าวและไม่เห็นด้วยที่ร่างรัฐธรรมนูญเปิดโอกาสให้ประชาชน 5 หมื่นคน สามารถเข้าชื่อเสนอถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตลอดจนเสนอกฏหมายได้เพราะต้องยอมรับว่าในความเป็นจริงแล้วการเกณฑ์คนจำนวน 5 หมื่นคนนั้นไม่ใช่เรื่องยาก ขณะที่นายประสงค์ ประคุณสุขใจ ตัวแทนจากพรรคกิจสังคม ซึ่งเข้าร่วมอภิปรายด้วย แต่ปฏิเสธที่จะแสดงท่าที่ที่ชัดเจนของพรรคต่อร่างรัฐธรรมนูญ โดยจะรอให้การแปรญัตติของ ส.ส.ร. เสร็จสิ้นลงก่อน
ส่วนนายมณฑล ชาติสุวรรณ รองเลขาธิการพรรคมวลชน ฝ่ายการเมือง ยืนยันว่า ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง หัวหน้าพรรคไม่ได้ต้านร่างรัฐธรรมนูญของ ส.ส.ร. แต่ก็ยอมรับว่าอยากให้ร่างรัฐธรรมนูญมีการแก้ไขในหลายประเด็น อีกทั้งมองว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีขนาดยาวเกินไป ขณะที่นายปรีชา เดชทองจัน ที่คงเป็นเรื่องยาก หากจะดึงอำนาจจากกลุ่มใด อย่างไรก็ตามยืนยันว่า พรรคพลังธรรมรับหลักการในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
ทางด้านนายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญกล่าวภายหลังการสัมมนาว่า จะนำข้อเสนอแนะของพรรคการเมืองต่าง ๆ ไปพิจารณาประกอบการแปรญัตติต่อไป ซึ่งการสัมมนาในวันนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นที่จะสร้างกระบวนการทำความเข้าใจระหว่างส.ส.ร.และพรรคการเมือง ทั้งนี้หากเป็นไปได้ช่วงปลายเดือนมิถุนายนนี้อาจขอความร่วมมือจากคณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎรให้จัดสัมมนาขึ้นอีกครั้ง เพื่อจับเข่าคุยกันระหว่างส.ส.ร.กับตัวแทนจากทุกพรรคการเมือง เพื่อหาจุดร่วมและหาทางออกสำหรับประเด็นที่ยังเห็นขัดแย้งกัน โดยยืนยันว่าไม่ได้เป็นการจัดสัมมนาขึ้นเพื่อประชาสัมพันธ์หรือสร้างภาพแต่อย่างใด ซึ่งภายหลังจากการหารือถ้าปรากฏว่า ยังมีคงมีความเห็นไม่ตรงกัน ก็เชื่อว่าจะไม่เกิดปัญหา ตราบใดที่ตั้งอยู่บนมูลฐานของความเข้าใจ--จบ--