กรุงเทพ--28 เม.ย.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร .
นายประวิทย์ ทองศรีนุ่น ประธานคณะอนุกรรมาธิการจัดทำประชาพิจารณ์ เปิดเผยวันนี้ (28 เมษายน 2540) ถึงความคืบหน้าในแผนการจัดทำประชาพิจารณ์ ว่าที่ประชุมได้ข้อยุติให้ ส.ส.ร.ทุกจังหวัดจัดทำประชาพิจารณ์ในมาตรฐานเดียวกัน โดยเปิดโอกาสให้กลุ่มองค์กรประชาชนในแต่ละสาขาอาชีพได้ร่วมแสดงความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับต้นร่างใน 15 ประเด็น ดังต่อไปนี้
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ที่มา คุณสมบัติ จำนวน อำนาจหน้าที่ การพ้นจากตำแหน่ง ฯลฯ)
- วุฒิสภาชิก (มี/ไม่มี คุณสมบัติ จำนวน อำนาจหน้าที่ การพ้นจากตำแหน่ง ฯลฯ)
- คณะรัฐมนตรี (จำนวน คุณสมบัติ อำนาจหน้าที่ การพ้นจากตำแหน่ง ฯลฯ)
- การกระจายอำนาจ (การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ระบบการบริหารประชาชนที่มีประสิทธิภาพ)
- สิทธิพื้นฐานที่ประชาชนได้รับความคุ้มครองจากรัฐ
- นายกรัฐมนตรี (ที่มา คุณสมบัติ อำนาจหน้าที่ การพ้นจากตำแหน่ง)
- สิทธิของประชาชนเมื่อตกเป็นผู้ต้องหาหรือเป็นจำเลย (อำนาจของพนักงานสอบสวน อัยการ ผู้พิพากษา)
- ศาลและกระบวนการยุติธรรม (ศาล ผู้พิพากษา กระบวนการยุติธรรม)
- การเลือกควรเป็นสิทธิ หรือหน้าที่ของบุคคล
- คณะกรรมการเลือกตั้ง องค์ประกอบ คุณสมบัติ อำนาจหน้าที่ ฯลฯ
- คณะตุลาการคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (องค์ประกอบ ที่มา อำนาจ หน้าที่)
- การแสดงบัญชีทรัพย์สิน (ตำแหน่ง วิธีการ มาตรการควบคุมการลงโทษ)
- เรื่อง / ประเด็น / มาตราในร่างรัฐธรรมนูญที่ประชาชนเห็นด้วยมากที่สุด
- เรื่อง / ประเด็น / มาตราใดในร่างรัฐธรรมนูญที่ประชาชนไม่เห็นด้วยมากที่สุด
- ประชาชนให้การรับรองร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่
สำหรับรูปแบบในการทำประชาพิจารณ์นั้น ทุกจังหวัดทั่วประเทศจะดำเนินการในลักษณะเดียวกัน โดย ส.ส.ร.แต่ละจังหวัดจะส่งร่างรัฐธรรมนูญฉบับต้นร่างให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในแต่ละสาขาอาชีพ ได้นำไปถกเถียงหาข้อสรุปกันภายในแต่ละกลุ่ม ว่ามีประเด็นใดบ้างที่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยพร้อมทั้งเหตุผลประกอบ ก่อนที่จะเชิญตัวแทนจากแต่ละกลุ่มดังกล่าว มาแสดงความคิดเห็นร่วมกันในเวทีประชาพิจารณ์ เพื่อหาผลสรุปโดยรวมทั้งจังหวัดในความเห็นที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับต้นร่าง
ทั้งนี้ในประเด็นต่าง ๆ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยก็จะนำเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งหากผลปรากฎว่า ส.ส.ร.ส่วนใหญ่มีความเห็นสอดคล้องกับประชาชนด้วย ก็จะดำเนินการแก้ไขปรับปรุงร่างรัฐธรรมนูญตามข้อเสนอของประชาชนต่อไป แต่ในบางประเด็นถ้าไม่ได้ข้อยุติกันภายในที่ประชุม ส.ส.ร.ก็สามารถเสนอขอแปรญัตติได้อีก หากยังคงเห็นว่าเป็นเรื่องที่ต้องแก้ไขปรับปรุง
ทางด้าน นายสมเกียรติ อ่อนวิมล ประธานคณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์ กล่าวว่าหลังการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญฉบับต้นร่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะดำเนินการจัดพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญฉบับต้นร่างขึ้นประมาณ 1 ล้านฉบับเพื่อแจกจ่ายให้ประชาชนแต่ละกลุ่มทั่วประเทศ นำไปศึกษาและพิจารณาความคิดเห็นของแต่ละกลุ่มโดยผ่านส.ส.ร.แต่ละจังหวัด จากนั้นจะมีการกำหนดวันจัดประชาพิจารณ์ในวันใดวันหนึ่งพร้อมกันทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนร่วมแสดงจุดยืนและข้อเสนอของกลุ่ม ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายไว้แต่ละจังหวัดที่เป็นตัวแทนกลุ่มต่าง ๆ ประมาณ 2,000 คน และเมื่อได้ข้อสรุปต้องเสนอให้คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและประชาพิจารณ์ภายในวันที่ 10 มิ.ย. 2540 อย่างไรก็ตามในส่วนของคณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์ จะจัดพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญฉบับต้นร่างพร้อมทั้งคู่มือ ซึ่งอธิบายถึงเหตุผลในการยกร่างรัฐธรรมนูญในส่วนที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปจากรัฐธรรมนูญฉบับเดิม เพื่อเผยแพร่แก่ประชาชนทั่วประเทศ
และในฐานะส.ส.ร.จังหวัดสุพรรณบุรี นายสมเกียรติก็เห็นด้วยกับรูปแบบการจัดทำประชาพิจารณ์ โดยเฉพาะการเจาะกลุ่มประชาชนที่สนใจในเรื่องรัฐธรรมนูญ ซึ่งเชื่อว่าจะได้ข้อมูลที่มีน้ำหนัก และมีประโยชน์หากนำผลการประชาพิจารณ์ดังกล่าว ไปพิจารณาควบคู่กับการแปรญัตติในที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้หากมีบางประเด็นที่ประชุมเห็นว่าควรคงไว้ ตามร่างรัฐธรรมนูญเดิมก็ต้องอธิบายได้กระจ่างชัด ว่าเหตุใดจึงไม่แก้ไขตามข้อเสนอของประชาชน เพื่อสร้างความเข้าใจในระดับหนึ่ง--จบ--
นายประวิทย์ ทองศรีนุ่น ประธานคณะอนุกรรมาธิการจัดทำประชาพิจารณ์ เปิดเผยวันนี้ (28 เมษายน 2540) ถึงความคืบหน้าในแผนการจัดทำประชาพิจารณ์ ว่าที่ประชุมได้ข้อยุติให้ ส.ส.ร.ทุกจังหวัดจัดทำประชาพิจารณ์ในมาตรฐานเดียวกัน โดยเปิดโอกาสให้กลุ่มองค์กรประชาชนในแต่ละสาขาอาชีพได้ร่วมแสดงความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับต้นร่างใน 15 ประเด็น ดังต่อไปนี้
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ที่มา คุณสมบัติ จำนวน อำนาจหน้าที่ การพ้นจากตำแหน่ง ฯลฯ)
- วุฒิสภาชิก (มี/ไม่มี คุณสมบัติ จำนวน อำนาจหน้าที่ การพ้นจากตำแหน่ง ฯลฯ)
- คณะรัฐมนตรี (จำนวน คุณสมบัติ อำนาจหน้าที่ การพ้นจากตำแหน่ง ฯลฯ)
- การกระจายอำนาจ (การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ระบบการบริหารประชาชนที่มีประสิทธิภาพ)
- สิทธิพื้นฐานที่ประชาชนได้รับความคุ้มครองจากรัฐ
- นายกรัฐมนตรี (ที่มา คุณสมบัติ อำนาจหน้าที่ การพ้นจากตำแหน่ง)
- สิทธิของประชาชนเมื่อตกเป็นผู้ต้องหาหรือเป็นจำเลย (อำนาจของพนักงานสอบสวน อัยการ ผู้พิพากษา)
- ศาลและกระบวนการยุติธรรม (ศาล ผู้พิพากษา กระบวนการยุติธรรม)
- การเลือกควรเป็นสิทธิ หรือหน้าที่ของบุคคล
- คณะกรรมการเลือกตั้ง องค์ประกอบ คุณสมบัติ อำนาจหน้าที่ ฯลฯ
- คณะตุลาการคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (องค์ประกอบ ที่มา อำนาจ หน้าที่)
- การแสดงบัญชีทรัพย์สิน (ตำแหน่ง วิธีการ มาตรการควบคุมการลงโทษ)
- เรื่อง / ประเด็น / มาตราในร่างรัฐธรรมนูญที่ประชาชนเห็นด้วยมากที่สุด
- เรื่อง / ประเด็น / มาตราใดในร่างรัฐธรรมนูญที่ประชาชนไม่เห็นด้วยมากที่สุด
- ประชาชนให้การรับรองร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่
สำหรับรูปแบบในการทำประชาพิจารณ์นั้น ทุกจังหวัดทั่วประเทศจะดำเนินการในลักษณะเดียวกัน โดย ส.ส.ร.แต่ละจังหวัดจะส่งร่างรัฐธรรมนูญฉบับต้นร่างให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในแต่ละสาขาอาชีพ ได้นำไปถกเถียงหาข้อสรุปกันภายในแต่ละกลุ่ม ว่ามีประเด็นใดบ้างที่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยพร้อมทั้งเหตุผลประกอบ ก่อนที่จะเชิญตัวแทนจากแต่ละกลุ่มดังกล่าว มาแสดงความคิดเห็นร่วมกันในเวทีประชาพิจารณ์ เพื่อหาผลสรุปโดยรวมทั้งจังหวัดในความเห็นที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับต้นร่าง
ทั้งนี้ในประเด็นต่าง ๆ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยก็จะนำเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งหากผลปรากฎว่า ส.ส.ร.ส่วนใหญ่มีความเห็นสอดคล้องกับประชาชนด้วย ก็จะดำเนินการแก้ไขปรับปรุงร่างรัฐธรรมนูญตามข้อเสนอของประชาชนต่อไป แต่ในบางประเด็นถ้าไม่ได้ข้อยุติกันภายในที่ประชุม ส.ส.ร.ก็สามารถเสนอขอแปรญัตติได้อีก หากยังคงเห็นว่าเป็นเรื่องที่ต้องแก้ไขปรับปรุง
ทางด้าน นายสมเกียรติ อ่อนวิมล ประธานคณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์ กล่าวว่าหลังการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญฉบับต้นร่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะดำเนินการจัดพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญฉบับต้นร่างขึ้นประมาณ 1 ล้านฉบับเพื่อแจกจ่ายให้ประชาชนแต่ละกลุ่มทั่วประเทศ นำไปศึกษาและพิจารณาความคิดเห็นของแต่ละกลุ่มโดยผ่านส.ส.ร.แต่ละจังหวัด จากนั้นจะมีการกำหนดวันจัดประชาพิจารณ์ในวันใดวันหนึ่งพร้อมกันทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนร่วมแสดงจุดยืนและข้อเสนอของกลุ่ม ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายไว้แต่ละจังหวัดที่เป็นตัวแทนกลุ่มต่าง ๆ ประมาณ 2,000 คน และเมื่อได้ข้อสรุปต้องเสนอให้คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและประชาพิจารณ์ภายในวันที่ 10 มิ.ย. 2540 อย่างไรก็ตามในส่วนของคณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์ จะจัดพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญฉบับต้นร่างพร้อมทั้งคู่มือ ซึ่งอธิบายถึงเหตุผลในการยกร่างรัฐธรรมนูญในส่วนที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปจากรัฐธรรมนูญฉบับเดิม เพื่อเผยแพร่แก่ประชาชนทั่วประเทศ
และในฐานะส.ส.ร.จังหวัดสุพรรณบุรี นายสมเกียรติก็เห็นด้วยกับรูปแบบการจัดทำประชาพิจารณ์ โดยเฉพาะการเจาะกลุ่มประชาชนที่สนใจในเรื่องรัฐธรรมนูญ ซึ่งเชื่อว่าจะได้ข้อมูลที่มีน้ำหนัก และมีประโยชน์หากนำผลการประชาพิจารณ์ดังกล่าว ไปพิจารณาควบคู่กับการแปรญัตติในที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้หากมีบางประเด็นที่ประชุมเห็นว่าควรคงไว้ ตามร่างรัฐธรรมนูญเดิมก็ต้องอธิบายได้กระจ่างชัด ว่าเหตุใดจึงไม่แก้ไขตามข้อเสนอของประชาชน เพื่อสร้างความเข้าใจในระดับหนึ่ง--จบ--