กรุงเทพ--6 พ.ค.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวภายหลังการประชุมสภาร่างฯ เป็นการภายในวันนี้ (6 พ.ค. 2540) ว่า จากนี้จำเป็นต้องมีการทำประชาพิจารณ์ซี่งเท่าที่รับฟังมา ส่วนใหญ่ประชาชนเห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แต่ยังคงมีบางส่วนที่อยากให้เพิ่มเติม หรือปรับปรุงในรายละเอียดเช่น องค์กรเอกชน ซี่งนายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ส.ร.กรุงเทพฯ เปิดเวทีประชาพิจารณ์ไปเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2540 ที่ผ่านมา ก็ได้หารือกันว่าจำเป็นต้องชี้แจงถึงร่างรัฐธรรมนูญให้ประชาชนเข้าใจอีก และการที่ประชาชนวิจารณ์ว่าควรเพิ่มหรือตัดในส่วนใด ก็ไม่ได้หมายความสรุปรวมว่าไม่เห็นชอบต่อร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ไม่ว่าสมาชิกวุฒิสภา ส.ส.หรือพรรคการเมืองต่างก็ถือเป็นประชาชน ที่มีสิทธิแสดงความคิดเห็นได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามสำหรับความคาดหวังของคนหมู่มากกับความหวั่นไหวของคนที่อยู่ในสถานะ และอำนาจ ก็จะต้องนำมาชั่งน้ำหนักให้ดี เพื่อนำแต่ส่วนที่พอเหมาะ ซึ่งน่าจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุด โดยยึดถือประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ
"ทุกคนมีหัวโขนทั้งนั้น แต่ถ้าทุกคนถอดหัวโขนออก ไม่ว่าจะเป็น ส.ส.ร. ส.ส. สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการ ผู้พิพากษา ทุกคนต้องเกษียณ ต้องพ้นจากตำแหน่งจึงอยากถามว่า ถ้าหัวโขนออกแล้วกลับมาเป็นประชาชนธรรมดา ที่ไม่มีอำนาจ ไม่มีตำแหน่ง ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จะทำอะไรให้คนธรรมดา จะพบคำตอบทุกอย่างที่ชัดเจน"
ส่วนที่ พล.ต.อ.สล้าง บุญนาค รองอธิบดีกรมตำรวจฝ่ายปราบปราม ทักท้วงถึงบทบัญญัติในร่างรัฐธรรมนูญที่ระบุให้คุมขังผู้ต้องหาได้เพียง 24 ชั่วโมงนั้น นายบวรศักดิ์ ชี้แจงว่าข้อเสนอดังกล่าวไม่ถือเป็นเรื่องแปลกใหม่ เพราะรัฐบาลเองก็กำลังพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับแก้ไขเพิ่มเติม วิธีพิจารณาคดีในศาลแขวง ให้ควบคุมตัวผู้ต้องหาได้เพียง 24 ชั่วโมงเช่นกัน ซึ่งโดยหลักการที่รัฐบาลเสนอ ก็ผ่านคณะกรรมการกระบวนการยุติธรรมมาแล้ว ทั้งนี้ ส.ส.ร.จำเป็นต้องยึดถือสิทธิส่วนบุคคลควบคู่ไปกับประโยชน์ของสาธารณะชนซึ่งต้องมีดุลยภาพซึ่งกันและกัน
ทางด้านนายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ยังคงย้ำว่า ในการวิพากษ์วิจารณ์ ถ้าร่างรัฐธรรมนูญควรพิจารณาจากภาพรวม ต้องดูถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นหลักใหญ่ แม้จะยอมรับว่า โดยส่วนตัว ยังมีหลายประเด็น หลายมาตรา ที่ไม่เห็นด้วย แต่ก็ไม่ได้นำไปบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะการพิจารณาไม่อาจแยกประเด็น แต่ต้องดูโดยรวม เพราะถ้าดูแต่ละบุคคล แต่ละมาตราแล้วต่างก็มีข้อแม้ทั้งนั้น อย่างไรก็ตามปฎิเสธที่จะแสดงความเห็นต่อเสียงคัดค้านจากรองอธิบดีกรมตำรวจ ถึงการควบคุมตัวผู้ต้องหาได้เพียง 24 ชั่วโมง โดยบอกแต่เพียงว่า ไม่นิยมการวิสามัญฆาตกรรม
ส่วน พล.ต.อ.สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ กรรมาธิการยกร่างฯในฐานะอดีตอธิบดีกรมตำรวจกลับมีความเห็นที่สวนทาง โดยเห็นว่าการบัญญัติให้ควบคุมตัวผู้ต้องหาได้เพียง 24 ชั่วโมง จะเกิดปัญหาในทางปฎิบัติ เพราะในปัจจุบัน แม้ตำรวจจะมีอำนาจควบคุมผู้ต้องหาได้ 3 วัน แต่ก็ยังมีปัญหาอยู่ซึ่งจะต้องขออำนาจจากศาล เพื่อนำไปคุมขังยังสถานีตำรวจอีก นอกจากนี้ต้องยอมรับว่าเทคโนโลยีในการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจยังล่าช้าต่อการพิสูจน์การกระทำผิด ซึ่งตามสถิติมีผู้ต้องหาประมาณแสนเศษ ขณะที่ผู้เสียหายมีจำนวนถึงกว่า 60 ล้านคน ในคดีใหญ่ ๆ เช่น การปล้นธนาคาร หรือลักทรัพย์ ซี่งมีผู้กระทำผิดหลายคน ภายในเวลาเพียง 24 ชั่วโมง ไม่สามารถสอบสวนได้หมดทุกคน รวมทั้งไม่อาจติดตามของกลางได้ ซี่งผลเสียหายจะตกอยู่กับประชาชน ทั้งนี้ภายหลังจากร่วมประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ที่พัทยา พล.ต.อ.สวัสดิ์ ได้นำบันทึกส่งไปให้อธิบดีกรมตำรวจพิจารณาซึ่งคาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงกันขึ้น โดยเฉพาะการประชุมของกรมตำรวจที่ อ.ปากช่องคงจะหยิบยกขึ้นมาหารือกัน
สำหรับเนื้อหาในหมวด 8 ศาล ส่วนที่ 1 บททั่วไประบุไว้ว่า
มาตรา 236 ในคดีอาญา การจับกุมและคุมขังบุคคลใด จะกระทำมิได้เว้นแต่ผู้นั้นได้กระทำผิดซึ่งหน้า หรือมีคำสั่ง หรือหมายของศาลตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยผู้ถูกจับกุมจะต้องได้รับการแจ้งข้อกล่าวหา และรายละเอียดแห่งการจับกุม โดยไม่ชักช้า กับต้องได้รับโอกาสแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งถูกจับกุมไว้วางใจทราบในโอกาสแรก และเจ้าพนักงานจับกุมต้องนำผู้ถูกจับไปศาลภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ผู้ถูกจับกุมถูกนำตัวไปถึงที่ทำการของเจ้าพนักงาน เพื่อศาลพิจารณาว่ามีเหตุที่จะคุมขังผู้ถูกจับกุมไว้หรือไม่--จบ--
นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวภายหลังการประชุมสภาร่างฯ เป็นการภายในวันนี้ (6 พ.ค. 2540) ว่า จากนี้จำเป็นต้องมีการทำประชาพิจารณ์ซี่งเท่าที่รับฟังมา ส่วนใหญ่ประชาชนเห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แต่ยังคงมีบางส่วนที่อยากให้เพิ่มเติม หรือปรับปรุงในรายละเอียดเช่น องค์กรเอกชน ซี่งนายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ส.ร.กรุงเทพฯ เปิดเวทีประชาพิจารณ์ไปเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2540 ที่ผ่านมา ก็ได้หารือกันว่าจำเป็นต้องชี้แจงถึงร่างรัฐธรรมนูญให้ประชาชนเข้าใจอีก และการที่ประชาชนวิจารณ์ว่าควรเพิ่มหรือตัดในส่วนใด ก็ไม่ได้หมายความสรุปรวมว่าไม่เห็นชอบต่อร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ไม่ว่าสมาชิกวุฒิสภา ส.ส.หรือพรรคการเมืองต่างก็ถือเป็นประชาชน ที่มีสิทธิแสดงความคิดเห็นได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามสำหรับความคาดหวังของคนหมู่มากกับความหวั่นไหวของคนที่อยู่ในสถานะ และอำนาจ ก็จะต้องนำมาชั่งน้ำหนักให้ดี เพื่อนำแต่ส่วนที่พอเหมาะ ซึ่งน่าจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุด โดยยึดถือประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ
"ทุกคนมีหัวโขนทั้งนั้น แต่ถ้าทุกคนถอดหัวโขนออก ไม่ว่าจะเป็น ส.ส.ร. ส.ส. สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการ ผู้พิพากษา ทุกคนต้องเกษียณ ต้องพ้นจากตำแหน่งจึงอยากถามว่า ถ้าหัวโขนออกแล้วกลับมาเป็นประชาชนธรรมดา ที่ไม่มีอำนาจ ไม่มีตำแหน่ง ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จะทำอะไรให้คนธรรมดา จะพบคำตอบทุกอย่างที่ชัดเจน"
ส่วนที่ พล.ต.อ.สล้าง บุญนาค รองอธิบดีกรมตำรวจฝ่ายปราบปราม ทักท้วงถึงบทบัญญัติในร่างรัฐธรรมนูญที่ระบุให้คุมขังผู้ต้องหาได้เพียง 24 ชั่วโมงนั้น นายบวรศักดิ์ ชี้แจงว่าข้อเสนอดังกล่าวไม่ถือเป็นเรื่องแปลกใหม่ เพราะรัฐบาลเองก็กำลังพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับแก้ไขเพิ่มเติม วิธีพิจารณาคดีในศาลแขวง ให้ควบคุมตัวผู้ต้องหาได้เพียง 24 ชั่วโมงเช่นกัน ซึ่งโดยหลักการที่รัฐบาลเสนอ ก็ผ่านคณะกรรมการกระบวนการยุติธรรมมาแล้ว ทั้งนี้ ส.ส.ร.จำเป็นต้องยึดถือสิทธิส่วนบุคคลควบคู่ไปกับประโยชน์ของสาธารณะชนซึ่งต้องมีดุลยภาพซึ่งกันและกัน
ทางด้านนายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ยังคงย้ำว่า ในการวิพากษ์วิจารณ์ ถ้าร่างรัฐธรรมนูญควรพิจารณาจากภาพรวม ต้องดูถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นหลักใหญ่ แม้จะยอมรับว่า โดยส่วนตัว ยังมีหลายประเด็น หลายมาตรา ที่ไม่เห็นด้วย แต่ก็ไม่ได้นำไปบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะการพิจารณาไม่อาจแยกประเด็น แต่ต้องดูโดยรวม เพราะถ้าดูแต่ละบุคคล แต่ละมาตราแล้วต่างก็มีข้อแม้ทั้งนั้น อย่างไรก็ตามปฎิเสธที่จะแสดงความเห็นต่อเสียงคัดค้านจากรองอธิบดีกรมตำรวจ ถึงการควบคุมตัวผู้ต้องหาได้เพียง 24 ชั่วโมง โดยบอกแต่เพียงว่า ไม่นิยมการวิสามัญฆาตกรรม
ส่วน พล.ต.อ.สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ กรรมาธิการยกร่างฯในฐานะอดีตอธิบดีกรมตำรวจกลับมีความเห็นที่สวนทาง โดยเห็นว่าการบัญญัติให้ควบคุมตัวผู้ต้องหาได้เพียง 24 ชั่วโมง จะเกิดปัญหาในทางปฎิบัติ เพราะในปัจจุบัน แม้ตำรวจจะมีอำนาจควบคุมผู้ต้องหาได้ 3 วัน แต่ก็ยังมีปัญหาอยู่ซึ่งจะต้องขออำนาจจากศาล เพื่อนำไปคุมขังยังสถานีตำรวจอีก นอกจากนี้ต้องยอมรับว่าเทคโนโลยีในการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจยังล่าช้าต่อการพิสูจน์การกระทำผิด ซึ่งตามสถิติมีผู้ต้องหาประมาณแสนเศษ ขณะที่ผู้เสียหายมีจำนวนถึงกว่า 60 ล้านคน ในคดีใหญ่ ๆ เช่น การปล้นธนาคาร หรือลักทรัพย์ ซี่งมีผู้กระทำผิดหลายคน ภายในเวลาเพียง 24 ชั่วโมง ไม่สามารถสอบสวนได้หมดทุกคน รวมทั้งไม่อาจติดตามของกลางได้ ซี่งผลเสียหายจะตกอยู่กับประชาชน ทั้งนี้ภายหลังจากร่วมประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ที่พัทยา พล.ต.อ.สวัสดิ์ ได้นำบันทึกส่งไปให้อธิบดีกรมตำรวจพิจารณาซึ่งคาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงกันขึ้น โดยเฉพาะการประชุมของกรมตำรวจที่ อ.ปากช่องคงจะหยิบยกขึ้นมาหารือกัน
สำหรับเนื้อหาในหมวด 8 ศาล ส่วนที่ 1 บททั่วไประบุไว้ว่า
มาตรา 236 ในคดีอาญา การจับกุมและคุมขังบุคคลใด จะกระทำมิได้เว้นแต่ผู้นั้นได้กระทำผิดซึ่งหน้า หรือมีคำสั่ง หรือหมายของศาลตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยผู้ถูกจับกุมจะต้องได้รับการแจ้งข้อกล่าวหา และรายละเอียดแห่งการจับกุม โดยไม่ชักช้า กับต้องได้รับโอกาสแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งถูกจับกุมไว้วางใจทราบในโอกาสแรก และเจ้าพนักงานจับกุมต้องนำผู้ถูกจับไปศาลภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ผู้ถูกจับกุมถูกนำตัวไปถึงที่ทำการของเจ้าพนักงาน เพื่อศาลพิจารณาว่ามีเหตุที่จะคุมขังผู้ถูกจับกุมไว้หรือไม่--จบ--