ร่าง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
หมวด 8
ศาล
ส่วนที่ 2
ศาลรัฐธรรมนูญ
มาตรา 254 ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญอื่นอีกแปดคนซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิตามคำแนะนำของรัฐสภา โดยมีองค์ประ กอบดังต่อไปนี้
(1) ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ จำนวนหกคน
(2) ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ จำนวนสามคน
ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
มาตรา 255 ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องมีคุณสมบัติและ ไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
(2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบห้าปีบริบูรณ์
(3) เคยเป็นรัฐมนตรี ผู้พิพากษาศาลฎีกา ตุลาการศาลปกครองสูงสุด หรือเคยรับราชการใน ตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองอัยการสูงสุด อธิบดีหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าศาสตราจารย์
(4) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 105 หรือมาตรา 108 (1)(2)(4)(5)(6)(7)(13) หรือ (14)
(5) ไม่เป็นสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภา ท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
(6) ไม่เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกพรรคการเมือง กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการ เมือง หรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง ในระยะสามปีก่อนดำรงตำแหน่ง
(7) ไม่เป็นกรรมการการเลือกตั้ง กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
มาตรา 256 การสรรหาและการเลือกประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญ ให้ดำเนินการดังนี้
(1) ให้มีคณะกรรมการสรรหาและเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคณะหนึ่งประกอบด้วย ประ ธานศาลฎีกา คณบดีคณะนิติศาสตร์หรือเทียบเท่าของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐทุกแห่งซึ่งเลือกกันเองให้ เหลือสี่คน คณบดีคณะรัฐศาสตร์หรือเทียบเท่าของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐทุกแห่งซึ่งเลือกกันเองให้เหลือสี่ คน ผู้แทนพรรคการเมืองทุกพรรคที่มีสมาชิกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคละหนึ่งคน ซึ่งเลือกกันเอง ให้เหลือสี่คน สมาชิกวุฒิสภาจำนวนสี่คนซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภา เป็นกรรมการ คณะกรรมการดังกล่าวมี หน้าที่สรรหาและจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 254 (1) จำนวนสิบสองคน และผู้ทรงคุณวุฒิ ตามมาตรา 254 (2) จำนวนหกคนเสนอต่อประธานรัฐสภา โดยต้องเสนอพร้อมความยินยอมของผู้ได้รับ การเสนอชื่อนั้น ทั้งนี้ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุทำให้ต้องมีการเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งดัง กล่าว มติในการเสนอชื่อดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการทั้งหมดที่มี
(2) ให้ประธานรัฐสภาเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อลงมติเลือกบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อในบัญชี ตาม (1) ซึ่งต้องกระทำโดยวิธีลงคะแนนลับ ในการนี้ ให้บุคคลหกคนแรกในบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิตาม มาตรา 254 (1) และบุคคลสามคนแรกในบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 254 (2) ซึ่งได้รับคะ แนนสูงสุดและมีคะแนนเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของรัฐสภา เป็นผู้ได้รับเลือกเป็นตุ ลาการศาลรัฐธรรมนูญ แต่ถ้าจำนวนผู้ได้รับเลือกดังกล่าวจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 254 (1) มีไม่ครบหกคน หรือจากบัญชี รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 254 (2) มีไม่ครบสามคน ให้นำ รายชื่อผู้ไม่ได้รับเลือกในคราวแรกในบัญชีนั้นมาให้สมาชิกรัฐสภาออกเสียงลงคะแนนเลือกอีกครั้งหนึ่งต่อ เนื่องกันไป และในกรณีนี้ ให้ผู้ได้รับคะแนนสูงสุดเรียงลงไปตามลำดับจนครบจำนวนเป็นผู้ได้รับเลือกให้ เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ถ้ามีผู้ได้รับคะแนนเท่ากันในลำดับใดอันเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับเลือกเกินหกคน หรือสามคน แล้วแต่กรณี ให้ประธานรัฐสภาจับสลากว่าผู้ใดเป็นผู้ได้รับเลือก
(3) ให้ผู้ได้รับเลือกตาม (2) ประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญ แล้วแจ้งผลให้ประธานรัฐสภาทราบ
ให้ประธานรัฐสภานำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป
มาตรา 257 ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะต้อง
(1) ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
(2) ไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือไม่เป็นกรรมการหรือที่ปรึกษาของรัฐวิสาหกิจ ของคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจ หรือของหน่วย งานของรัฐ
(3) ไม่เป็นประธานกรรมการ กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ ที่ปรึกษา หรือดำรงตำแหน่งอื่น ใด้ในห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือองค์การใด ๆ ที่ดำเนินธุรกิจเพื่อค้ากำไรหรือลูกจ้างของบุคคลใด ๆ
(4) ไม่ประกอบวิชาชีพอิสระอื่นใด
ในกรณีที่รัฐสภาเลือกบุคคลตาม (1)(2)(3) หรือ (4) โดยได้รับความยินยอมของบุคคลนั้น ผู้ได้รับเลือกจะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ได้ต่อเมื่อตนได้ลาออกจากการเป็นบุคคลตาม (1)(2) หรือ (3) หรือ แสดงหลักฐานให้เป็นที่เชื่อได้ว่าตนได้เลิกประกอบวิชาชีพอิสระดังกล่าวแล้ว ซึ่งต้องกระทำภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้รับเลือก แต่ถ้าผู้นั้นมิได้ลาออกหรือเลิกประกอบวิชาชีพดังกล่าวภายในเวลาที่กำหนด ให้ถือว่า ผู้นั้นมิได้เคยรับเลือกให้เป็นประธานตุลาการหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และให้นำบทบัญญัติในมาตรา 261 มาใช้บังคับ
มาตรา 258 ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีวาระการดำรงตำ แหน่งเก้าปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้ ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่จะ เข้ารับหน้าที่
ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นเจ้าพนักงานในการยุติ ธรรมตามกฎหมาย
มาตรา 259 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและตุ ลาการศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(1) ตาย
(2) มีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์
(3) ลาออกต่อรัฐสภา
(4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 255
(5) กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 257
(6) รัฐสภามีมติให้พ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 260
(7) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ภายใต้บัง คับมาตรา 266
มาตรา 260 สมาชิกของทั้งสองสภารวมกันจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกเท่า ที่มีอยู่ของรัฐสภา ซึ่งเห็นว่าประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผู้ใดประพฤติตน หรือกระทำการในตำแหน่งหน้าที่ขัดต่อหลักกฎหมายในรัฐธรรมนูญ หรือระเบียบแบบแผนตามรัฐธรรมนูญนี้ มีสิทธิร้องขอให้รัฐสภามีมติให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่ง
มติตามวรรคหนึ่งให้ถือเอาเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ และ มติของพรรคการเมืองหรืออาณัติอื่นใดย่อมไม่ผูกพันสมาชิกรัฐสภา
มาตรา 261 ในกรณีที่ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตำ แหน่งตามวาระพร้อมกันทั้งหมด ให้เริ่มดำเนินการตามมาตรา 256 ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำ แหน่ง
ในกรณีที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 254 (1)
หรือ (2) พ้นจากตำแหน่งนอกจากกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้นำมาตรา 256 มาใช้บังคับกับการสรรหาและ การเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่างนั้น โดยอนุโลม ในกรณีนี้ให้เสนอชื่อผู้ สมควรเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 254 (1) หรือ (2) เป็นจำนวนสองเท่าของ ผู้ซึ่งพ้นจากตำแหน่งต่อประธานรัฐสภา และให้รัฐสภาลงมติเลือก ทั้งนี้ ให้ดำเนินการคัดเลือกให้แล้วเสร็จ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง
ในกรณีที่ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่งไม่ว่าทั้ง หมดหรือบางส่วนในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุ หรือถูกยุบหรืออยู่นอกสมัยประชุมของรัฐสภา ให้ดำ เนินการตามมาตรา 256 ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรกหลังการเลือกตั้งทั่ว ไป หรือนับแต่วันเปิดสมัยประชุมของรัฐสภา แล้วแต่กรณี
มาตรา 262 ร่างพระราชบัญญัติใดที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำ ร่างพระราชบัญญัติขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระประมาภิไธยตามมาตรา 91 หรือร่างพระราชบัญญัติใดที่รัฐสภาลงมติยืนยันตามมาตรา 92 ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำร่างพระราช บัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายอีกครั้งหนึ่ง
(1) หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันมีจำนวน ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติดัง กล่าวมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ให้ เสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภา แล้วแต่กรณี แล้วให้ประ ธานแห่งสภาที่ได้รับความเห็นดังกล่าว ส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้ นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า
(2) หากนายรัฐมนตรีเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ให้ส่งความเห็นเช่นว่านั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อ วินิจฉัย และแจ้งให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา ทราบโดยไม่ชักช้า
ในระหว่างที่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ให้นายกรัฐมนตรีระงับการดำเนินการเพื่อประ กาศใช้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไว้จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ร่างพระราชบัญญัตินั้นมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐ ธรรมนูญนี้ ให้ร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป
มาตรา 263 ในการที่ศาลจะใช้บทบัญญัติแห่งกฏหมายบังคับแก่คดีใดถ้าศาลเห็นเอง หรือคู่ ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 6 และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐ ธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ให้ศาลรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราว และส่งความเห็น เช่นว่านั้นตามทางการเพื่อศาลรัฐธรรมนูญจะได้พิจารณาวินิจฉัย
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าคำโต้แย้งของคู่ความตามวรรคหนึ่งไม่เป็นสาระอันควรได้รับ การวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาก็ได้
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ใช้ได้ในคดีทั้งปวง แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงคำพิพากษา ของศาลอันถึงที่สุดแล้ว
มาตรา 264 ในกรณีที่เรื่องใดไม่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ว่าเป็นอำนาจขององค์กรใดเป็นผู้ ให้ความเห็นหรือพิจารณาวินิจฉัย ให้ปฏิบัติตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระ มหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ให้ความเห็นหรือพิจารณาวินิจฉัย
ในการปฏิบัติหน้าที่ ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจเรียกเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากบุคคลใด
หรือเรียกบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำ ตลอดจนขอให้ศาล พนักงานสอบสวน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ดำ เนินการใด ๆ เพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาได้
ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่มอบหมาย
มาตรา 265 ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญว่าซ้ำ ซ้อนกัน ให้องค์การนั้นหรือประธานรัฐสภา เสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวิ นิจฉัย
มาตรา 266 องค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในการนั่งพิจารณาและในการทำคำวินิจฉัย ต้องประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่น้อยกว่าเจ็ดคน คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ถือเสียงข้าง มาก เว้นแต่จะมีบทบัญญัติเป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญนี้
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นองค์คณะทุกคนจะต้องทำคำวินิจฉัยในส่วนของตนพร้อมแถลงด้วย วาจาต่อที่ประชุมก่อนการลงมติ
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทุกคน ให้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญอย่างน้อยต้องประกอบด้วยความเป็นมาหรือคำกล่าวหา สรุปข้อ เท็จจริงที่ได้มาจากการพิจารณา เหตุผลในหารวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย และบทบัญญัติ ของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างอิง
มาตรา 267 คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐด้วย
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่วินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือร่างข้อบัง คัลการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาหรือร่างข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ใดมีข้อ ความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ให้ ร่างพระ ราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างข้อบังคับนั้นเป็นอันตกไป
มาตรา 268 วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามที่ศาลรัฐธรรมนูญกำหนด ซึ่ง ต้องกระทำโดยมติเอกฉันท์ของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญตามวรรคหนึ่ง อย่างน้อยต้องมีหลักประกันขั้นพื้นฐานเรื่อง การพิจารณาคดีโดยเปิดเผย การให้โอกาสคู่ความแสดงความเห็นของตนก่อนการวินิจฉัยคดี การให้สิทธิคู่ ความขอตรวจดูเอกสารที่เกี่ยวกับตน การเปิดโอกาสให้มีการคัดค้านตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และการให้ เหตุผลประกอบคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญด้วย
มาตรา 269 ให้มีสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญทำหน้าที่หน่วยธุรการของศาลรัฐธรรมนูญโดยมี เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
การแต่งตั้งเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญต้องได้รับความเห็นชอบของคณะตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญมีอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณและการดำเนิน การอื่น ทั้งนี้ ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
--คณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์สภาร่างรัฐธรรมนูญ--
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
หมวด 8
ศาล
ส่วนที่ 2
ศาลรัฐธรรมนูญ
มาตรา 254 ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญอื่นอีกแปดคนซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิตามคำแนะนำของรัฐสภา โดยมีองค์ประ กอบดังต่อไปนี้
(1) ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ จำนวนหกคน
(2) ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ จำนวนสามคน
ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
มาตรา 255 ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องมีคุณสมบัติและ ไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
(2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบห้าปีบริบูรณ์
(3) เคยเป็นรัฐมนตรี ผู้พิพากษาศาลฎีกา ตุลาการศาลปกครองสูงสุด หรือเคยรับราชการใน ตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองอัยการสูงสุด อธิบดีหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าศาสตราจารย์
(4) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 105 หรือมาตรา 108 (1)(2)(4)(5)(6)(7)(13) หรือ (14)
(5) ไม่เป็นสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภา ท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
(6) ไม่เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกพรรคการเมือง กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการ เมือง หรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง ในระยะสามปีก่อนดำรงตำแหน่ง
(7) ไม่เป็นกรรมการการเลือกตั้ง กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
มาตรา 256 การสรรหาและการเลือกประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญ ให้ดำเนินการดังนี้
(1) ให้มีคณะกรรมการสรรหาและเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคณะหนึ่งประกอบด้วย ประ ธานศาลฎีกา คณบดีคณะนิติศาสตร์หรือเทียบเท่าของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐทุกแห่งซึ่งเลือกกันเองให้ เหลือสี่คน คณบดีคณะรัฐศาสตร์หรือเทียบเท่าของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐทุกแห่งซึ่งเลือกกันเองให้เหลือสี่ คน ผู้แทนพรรคการเมืองทุกพรรคที่มีสมาชิกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคละหนึ่งคน ซึ่งเลือกกันเอง ให้เหลือสี่คน สมาชิกวุฒิสภาจำนวนสี่คนซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภา เป็นกรรมการ คณะกรรมการดังกล่าวมี หน้าที่สรรหาและจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 254 (1) จำนวนสิบสองคน และผู้ทรงคุณวุฒิ ตามมาตรา 254 (2) จำนวนหกคนเสนอต่อประธานรัฐสภา โดยต้องเสนอพร้อมความยินยอมของผู้ได้รับ การเสนอชื่อนั้น ทั้งนี้ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุทำให้ต้องมีการเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งดัง กล่าว มติในการเสนอชื่อดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการทั้งหมดที่มี
(2) ให้ประธานรัฐสภาเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อลงมติเลือกบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อในบัญชี ตาม (1) ซึ่งต้องกระทำโดยวิธีลงคะแนนลับ ในการนี้ ให้บุคคลหกคนแรกในบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิตาม มาตรา 254 (1) และบุคคลสามคนแรกในบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 254 (2) ซึ่งได้รับคะ แนนสูงสุดและมีคะแนนเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของรัฐสภา เป็นผู้ได้รับเลือกเป็นตุ ลาการศาลรัฐธรรมนูญ แต่ถ้าจำนวนผู้ได้รับเลือกดังกล่าวจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 254 (1) มีไม่ครบหกคน หรือจากบัญชี รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 254 (2) มีไม่ครบสามคน ให้นำ รายชื่อผู้ไม่ได้รับเลือกในคราวแรกในบัญชีนั้นมาให้สมาชิกรัฐสภาออกเสียงลงคะแนนเลือกอีกครั้งหนึ่งต่อ เนื่องกันไป และในกรณีนี้ ให้ผู้ได้รับคะแนนสูงสุดเรียงลงไปตามลำดับจนครบจำนวนเป็นผู้ได้รับเลือกให้ เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ถ้ามีผู้ได้รับคะแนนเท่ากันในลำดับใดอันเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับเลือกเกินหกคน หรือสามคน แล้วแต่กรณี ให้ประธานรัฐสภาจับสลากว่าผู้ใดเป็นผู้ได้รับเลือก
(3) ให้ผู้ได้รับเลือกตาม (2) ประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญ แล้วแจ้งผลให้ประธานรัฐสภาทราบ
ให้ประธานรัฐสภานำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป
มาตรา 257 ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะต้อง
(1) ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
(2) ไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือไม่เป็นกรรมการหรือที่ปรึกษาของรัฐวิสาหกิจ ของคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจ หรือของหน่วย งานของรัฐ
(3) ไม่เป็นประธานกรรมการ กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ ที่ปรึกษา หรือดำรงตำแหน่งอื่น ใด้ในห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือองค์การใด ๆ ที่ดำเนินธุรกิจเพื่อค้ากำไรหรือลูกจ้างของบุคคลใด ๆ
(4) ไม่ประกอบวิชาชีพอิสระอื่นใด
ในกรณีที่รัฐสภาเลือกบุคคลตาม (1)(2)(3) หรือ (4) โดยได้รับความยินยอมของบุคคลนั้น ผู้ได้รับเลือกจะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ได้ต่อเมื่อตนได้ลาออกจากการเป็นบุคคลตาม (1)(2) หรือ (3) หรือ แสดงหลักฐานให้เป็นที่เชื่อได้ว่าตนได้เลิกประกอบวิชาชีพอิสระดังกล่าวแล้ว ซึ่งต้องกระทำภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้รับเลือก แต่ถ้าผู้นั้นมิได้ลาออกหรือเลิกประกอบวิชาชีพดังกล่าวภายในเวลาที่กำหนด ให้ถือว่า ผู้นั้นมิได้เคยรับเลือกให้เป็นประธานตุลาการหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และให้นำบทบัญญัติในมาตรา 261 มาใช้บังคับ
มาตรา 258 ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีวาระการดำรงตำ แหน่งเก้าปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้ ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่จะ เข้ารับหน้าที่
ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นเจ้าพนักงานในการยุติ ธรรมตามกฎหมาย
มาตรา 259 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและตุ ลาการศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(1) ตาย
(2) มีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์
(3) ลาออกต่อรัฐสภา
(4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 255
(5) กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 257
(6) รัฐสภามีมติให้พ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 260
(7) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ภายใต้บัง คับมาตรา 266
มาตรา 260 สมาชิกของทั้งสองสภารวมกันจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกเท่า ที่มีอยู่ของรัฐสภา ซึ่งเห็นว่าประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผู้ใดประพฤติตน หรือกระทำการในตำแหน่งหน้าที่ขัดต่อหลักกฎหมายในรัฐธรรมนูญ หรือระเบียบแบบแผนตามรัฐธรรมนูญนี้ มีสิทธิร้องขอให้รัฐสภามีมติให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่ง
มติตามวรรคหนึ่งให้ถือเอาเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ และ มติของพรรคการเมืองหรืออาณัติอื่นใดย่อมไม่ผูกพันสมาชิกรัฐสภา
มาตรา 261 ในกรณีที่ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตำ แหน่งตามวาระพร้อมกันทั้งหมด ให้เริ่มดำเนินการตามมาตรา 256 ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำ แหน่ง
ในกรณีที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 254 (1)
หรือ (2) พ้นจากตำแหน่งนอกจากกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้นำมาตรา 256 มาใช้บังคับกับการสรรหาและ การเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่างนั้น โดยอนุโลม ในกรณีนี้ให้เสนอชื่อผู้ สมควรเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 254 (1) หรือ (2) เป็นจำนวนสองเท่าของ ผู้ซึ่งพ้นจากตำแหน่งต่อประธานรัฐสภา และให้รัฐสภาลงมติเลือก ทั้งนี้ ให้ดำเนินการคัดเลือกให้แล้วเสร็จ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง
ในกรณีที่ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่งไม่ว่าทั้ง หมดหรือบางส่วนในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุ หรือถูกยุบหรืออยู่นอกสมัยประชุมของรัฐสภา ให้ดำ เนินการตามมาตรา 256 ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรกหลังการเลือกตั้งทั่ว ไป หรือนับแต่วันเปิดสมัยประชุมของรัฐสภา แล้วแต่กรณี
มาตรา 262 ร่างพระราชบัญญัติใดที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำ ร่างพระราชบัญญัติขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระประมาภิไธยตามมาตรา 91 หรือร่างพระราชบัญญัติใดที่รัฐสภาลงมติยืนยันตามมาตรา 92 ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำร่างพระราช บัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายอีกครั้งหนึ่ง
(1) หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันมีจำนวน ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติดัง กล่าวมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ให้ เสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภา แล้วแต่กรณี แล้วให้ประ ธานแห่งสภาที่ได้รับความเห็นดังกล่าว ส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้ นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า
(2) หากนายรัฐมนตรีเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ให้ส่งความเห็นเช่นว่านั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อ วินิจฉัย และแจ้งให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา ทราบโดยไม่ชักช้า
ในระหว่างที่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ให้นายกรัฐมนตรีระงับการดำเนินการเพื่อประ กาศใช้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไว้จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ร่างพระราชบัญญัตินั้นมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐ ธรรมนูญนี้ ให้ร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป
มาตรา 263 ในการที่ศาลจะใช้บทบัญญัติแห่งกฏหมายบังคับแก่คดีใดถ้าศาลเห็นเอง หรือคู่ ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 6 และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐ ธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ให้ศาลรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราว และส่งความเห็น เช่นว่านั้นตามทางการเพื่อศาลรัฐธรรมนูญจะได้พิจารณาวินิจฉัย
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าคำโต้แย้งของคู่ความตามวรรคหนึ่งไม่เป็นสาระอันควรได้รับ การวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาก็ได้
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ใช้ได้ในคดีทั้งปวง แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงคำพิพากษา ของศาลอันถึงที่สุดแล้ว
มาตรา 264 ในกรณีที่เรื่องใดไม่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ว่าเป็นอำนาจขององค์กรใดเป็นผู้ ให้ความเห็นหรือพิจารณาวินิจฉัย ให้ปฏิบัติตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระ มหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ให้ความเห็นหรือพิจารณาวินิจฉัย
ในการปฏิบัติหน้าที่ ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจเรียกเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากบุคคลใด
หรือเรียกบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำ ตลอดจนขอให้ศาล พนักงานสอบสวน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ดำ เนินการใด ๆ เพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาได้
ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่มอบหมาย
มาตรา 265 ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญว่าซ้ำ ซ้อนกัน ให้องค์การนั้นหรือประธานรัฐสภา เสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวิ นิจฉัย
มาตรา 266 องค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในการนั่งพิจารณาและในการทำคำวินิจฉัย ต้องประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่น้อยกว่าเจ็ดคน คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ถือเสียงข้าง มาก เว้นแต่จะมีบทบัญญัติเป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญนี้
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นองค์คณะทุกคนจะต้องทำคำวินิจฉัยในส่วนของตนพร้อมแถลงด้วย วาจาต่อที่ประชุมก่อนการลงมติ
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทุกคน ให้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญอย่างน้อยต้องประกอบด้วยความเป็นมาหรือคำกล่าวหา สรุปข้อ เท็จจริงที่ได้มาจากการพิจารณา เหตุผลในหารวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย และบทบัญญัติ ของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างอิง
มาตรา 267 คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐด้วย
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่วินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือร่างข้อบัง คัลการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาหรือร่างข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ใดมีข้อ ความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ให้ ร่างพระ ราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างข้อบังคับนั้นเป็นอันตกไป
มาตรา 268 วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามที่ศาลรัฐธรรมนูญกำหนด ซึ่ง ต้องกระทำโดยมติเอกฉันท์ของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญตามวรรคหนึ่ง อย่างน้อยต้องมีหลักประกันขั้นพื้นฐานเรื่อง การพิจารณาคดีโดยเปิดเผย การให้โอกาสคู่ความแสดงความเห็นของตนก่อนการวินิจฉัยคดี การให้สิทธิคู่ ความขอตรวจดูเอกสารที่เกี่ยวกับตน การเปิดโอกาสให้มีการคัดค้านตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และการให้ เหตุผลประกอบคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญด้วย
มาตรา 269 ให้มีสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญทำหน้าที่หน่วยธุรการของศาลรัฐธรรมนูญโดยมี เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
การแต่งตั้งเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญต้องได้รับความเห็นชอบของคณะตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญมีอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณและการดำเนิน การอื่น ทั้งนี้ ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
--คณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์สภาร่างรัฐธรรมนูญ--