กรุงเทพ--2 มิ.ย.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
นายวินัย สะมะอุน สมาชิกวุฒิสภา ในฐานเลขาธิการสำนักจุฬาราชมนตรี เห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญมีส่วนที่ต้องแก้ไขหลายประเด็นด้ว่ยกัน โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการนับถือศาสนา ซึ่งถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่จำเป็นต้องได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบ เนื่องจากมีบางถ้อยคำที่อาจตีความคลาดเคลื่อนได้ เริ่มตั้งแต่บทบัญญัติในมาตรา 75 "รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครองพุทธศาสนาและศาสนาอื่น..." เห็นว่าเป็นการบัญญัติที่อาจนำไปสู่ความรู้สึกเหลื่อมล้ำหรือแบ่งแยก ซึ่งเท่ากับเป็นการทำลายโครงสร้างของการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่เน้นเรื่องความเท่าเทียมกันและความเสมอภาค เพราะเป็นข้อบัญญัติที่อาจตีความได้ว่า มีการแบ่งผู้นับถือศาสนาออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มผู้นับถือศาสนาพุทธ กับกลุ่มผู้นับถือศาสนาอื่น ซึ่งมีเพียงศาสนาพุทธที่ระบุชื่อไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ จึงอาจถือได้ว่าศาสนาพุทธมีสิทธิพิเศษแตกต่างหรือเหนือกว่าศาสนาอื่น ทั้งนี้เสนอว่า น่าจะใช้คำว่า "รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครองศาสนา" แทน
ส่วนเรื่องของวัฒนธรรม ในร่างรัฐธรรมนูญมีการใช้ถ้อยคำที่หลากหลาย ทั้งคำว่า วัฒนธรรมของชาติและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น ซึ่งอาจแสดงว่า วัฒนธรรมของชาติเป็นอย่างหนึ่ง วัฒนธรรมของท้องถิ่นเป็นอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งหากแตกต่างกันย่อมหมายความว่า การอนุรักษ์หรือฟื้นฟูตามมาตรา 45 ประชาชนต้องรวมกันเป็นชุมชนจึงจะปฏิบัติได้ ประชาชนคนเดียวทำไม่ได้ และรัฐจะส่งเสริมตามมาตรา 81 ไม่ได้ เพราะเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นไม่ใช่วัฒนธรรมของชาติ นอกจากนี้ยังเห็นว่า ไม่จำเป็นต้องใช้คำว่า "วัฒนธรรมอันดี" เพราะเมื่อการกระทำนั้นไม่ดีย่อมไม่ถูกเรียกว่าวัฒนธรรม จึงเสนอว่าควรใช้คำเพียงคำเดียวว่า "วัฒนธรรม" น่าจะเพียงพอ
นอกจากนี้การที่ร่างรัฐธรรมนูญในมาตรา 29 กำหนดไว้ว่า "...ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล เพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องแหล่งกำเนิด หรือถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ..." นับเป็นเรื่องที่สวนทางกับบทบัญญัติในศาสนาอิสลาม ที่กำหนดสิทธิของชายหญิงไว้แตกต่างกัน และมีข้อห้ามแก่หญิงในบางประการ เช่น การรับมรดกชายจะได้รับมากกว่าหญิง ด้วยเหตุผลว่าชายออกจากครอบครัวในฐานะหัวหน้าครอบครัวที่ต้องเลี้ยงดูหญิง ในขณะที่หญิงออกจากครอบครัวในฐานผู้รับค่าเลี้ยงดูจากชาย และการเป็นผู้นำทางศาสนา เช่น อิหม่าม คอเต็บ บิหล่าน กอฎี ต่างก็ล้วนต้องเป็นชาย ซึ่งหากจะให้มีการเปลี่ยนสาระของกฎหมายอิสลามก็คงจะเป็นไปไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งที่กระทำสืบต่อกันมาเป็นเวลาที่ยาวนานแล้ว โดยเฉพาะใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้จึงได้เสนอทางออกว่า ในร่างรัฐธรรมนูญน่าจะใช้คำว่า "นอกจากที่ปฏิบัติตามบทบัญญัติทางศาสนา" ต่อท้ายไว้ เพื่อเป็นการขจัดต้นเหตุที่นำไปสู่ความเข้าใจผิดระหว่างรัฐกับประชาชนมุสลิม
อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากที่ได้แสดงความเห็นต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว เพื่อให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนและได้ข้อเสนออย่างครบถ้วน โดยวันที่ 4 มิถุนายน 2540 นี้จะมีการจัดทำประชาพิจารณ์ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพี่น้องชาวมุสลิมขึ้น ณ โรงแรมเฟิสท์ ราชเทวี กรุงเทพฯ เวลาประมาณ 13.00 น. โดยจะเชิญ ส.ส.ร. ที่เป็นชาวมุสลิมมาร่วมด้วย รวมทั้งมี นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธาน ส.ส.ร. นายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ และนายสมเกียรติ อ่อนวิมล ประธานคณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์เข้าร่วมฟังประชาพิจารณ์ด้วย--จบ--
นายวินัย สะมะอุน สมาชิกวุฒิสภา ในฐานเลขาธิการสำนักจุฬาราชมนตรี เห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญมีส่วนที่ต้องแก้ไขหลายประเด็นด้ว่ยกัน โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการนับถือศาสนา ซึ่งถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่จำเป็นต้องได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบ เนื่องจากมีบางถ้อยคำที่อาจตีความคลาดเคลื่อนได้ เริ่มตั้งแต่บทบัญญัติในมาตรา 75 "รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครองพุทธศาสนาและศาสนาอื่น..." เห็นว่าเป็นการบัญญัติที่อาจนำไปสู่ความรู้สึกเหลื่อมล้ำหรือแบ่งแยก ซึ่งเท่ากับเป็นการทำลายโครงสร้างของการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่เน้นเรื่องความเท่าเทียมกันและความเสมอภาค เพราะเป็นข้อบัญญัติที่อาจตีความได้ว่า มีการแบ่งผู้นับถือศาสนาออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มผู้นับถือศาสนาพุทธ กับกลุ่มผู้นับถือศาสนาอื่น ซึ่งมีเพียงศาสนาพุทธที่ระบุชื่อไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ จึงอาจถือได้ว่าศาสนาพุทธมีสิทธิพิเศษแตกต่างหรือเหนือกว่าศาสนาอื่น ทั้งนี้เสนอว่า น่าจะใช้คำว่า "รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครองศาสนา" แทน
ส่วนเรื่องของวัฒนธรรม ในร่างรัฐธรรมนูญมีการใช้ถ้อยคำที่หลากหลาย ทั้งคำว่า วัฒนธรรมของชาติและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น ซึ่งอาจแสดงว่า วัฒนธรรมของชาติเป็นอย่างหนึ่ง วัฒนธรรมของท้องถิ่นเป็นอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งหากแตกต่างกันย่อมหมายความว่า การอนุรักษ์หรือฟื้นฟูตามมาตรา 45 ประชาชนต้องรวมกันเป็นชุมชนจึงจะปฏิบัติได้ ประชาชนคนเดียวทำไม่ได้ และรัฐจะส่งเสริมตามมาตรา 81 ไม่ได้ เพราะเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นไม่ใช่วัฒนธรรมของชาติ นอกจากนี้ยังเห็นว่า ไม่จำเป็นต้องใช้คำว่า "วัฒนธรรมอันดี" เพราะเมื่อการกระทำนั้นไม่ดีย่อมไม่ถูกเรียกว่าวัฒนธรรม จึงเสนอว่าควรใช้คำเพียงคำเดียวว่า "วัฒนธรรม" น่าจะเพียงพอ
นอกจากนี้การที่ร่างรัฐธรรมนูญในมาตรา 29 กำหนดไว้ว่า "...ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล เพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องแหล่งกำเนิด หรือถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ..." นับเป็นเรื่องที่สวนทางกับบทบัญญัติในศาสนาอิสลาม ที่กำหนดสิทธิของชายหญิงไว้แตกต่างกัน และมีข้อห้ามแก่หญิงในบางประการ เช่น การรับมรดกชายจะได้รับมากกว่าหญิง ด้วยเหตุผลว่าชายออกจากครอบครัวในฐานะหัวหน้าครอบครัวที่ต้องเลี้ยงดูหญิง ในขณะที่หญิงออกจากครอบครัวในฐานผู้รับค่าเลี้ยงดูจากชาย และการเป็นผู้นำทางศาสนา เช่น อิหม่าม คอเต็บ บิหล่าน กอฎี ต่างก็ล้วนต้องเป็นชาย ซึ่งหากจะให้มีการเปลี่ยนสาระของกฎหมายอิสลามก็คงจะเป็นไปไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งที่กระทำสืบต่อกันมาเป็นเวลาที่ยาวนานแล้ว โดยเฉพาะใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้จึงได้เสนอทางออกว่า ในร่างรัฐธรรมนูญน่าจะใช้คำว่า "นอกจากที่ปฏิบัติตามบทบัญญัติทางศาสนา" ต่อท้ายไว้ เพื่อเป็นการขจัดต้นเหตุที่นำไปสู่ความเข้าใจผิดระหว่างรัฐกับประชาชนมุสลิม
อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากที่ได้แสดงความเห็นต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว เพื่อให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนและได้ข้อเสนออย่างครบถ้วน โดยวันที่ 4 มิถุนายน 2540 นี้จะมีการจัดทำประชาพิจารณ์ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพี่น้องชาวมุสลิมขึ้น ณ โรงแรมเฟิสท์ ราชเทวี กรุงเทพฯ เวลาประมาณ 13.00 น. โดยจะเชิญ ส.ส.ร. ที่เป็นชาวมุสลิมมาร่วมด้วย รวมทั้งมี นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธาน ส.ส.ร. นายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ และนายสมเกียรติ อ่อนวิมล ประธานคณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์เข้าร่วมฟังประชาพิจารณ์ด้วย--จบ--