ร่าง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
หมวด 6
รัฐสภา
ส่วนที่ 7
ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
มาตรา 196 พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีจำนวนไม่เกินสามคน ตามมติของรัฐสภาจากผู้ที่มีความรอบรู้และมีประสบการณ์ในการบริหารราชการแผ่นดิน วิสาหกิจ หรือ กิจกรรมอันเป็นประโยชน์ร่วมกันของสาธารณะซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และเป็นที่ยอมรับนับถือของประ ชาชน
ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีวาระการดำรงตำแหน่งหกปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรง แต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
การสรรหา การคัดเลือก คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาให้ เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
ให้ประธานรัฐสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
มาตรา 197 ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) พิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียนในกรณี
(ก) การไม่ปฎิบัติตามกฎหมาย หรือปฎิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของเจ้า หน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่น
(ข) การปฎิบัติหรือละเลยไม่ปฎิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐเจ้าหน้าที่ของรัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่น ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องเรียนหรือประชาชนโดยไม่เป็น ธรรม ไม่ว่าการนั้นจะเป็นการชอบหรือไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ก็ตาม
(ค) กรณีอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
(2) จัดทำรายงานพร้อมทั้งเสนอความเห็นและข้อเสนอแนะต่อรัฐสภา
มาตรา 198 ในกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเห็นว่าบทบัญญัติแห่งกฏหมาย กฏ ข้อบัง คับ หรือการกระทำใดของรัฐมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลอื่นที่มีอำนาจเพื่อพิจารณาวินิจฉัย ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ หรือกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลอื่น แล้วแต่กรณี
ให้ศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลอื่นที่มีอำนาจ แล้วแต่กรณี พิจารณาวินิจฉัยเรื่องที่ผู้ตรวจการแผ่น ดินของรัฐสภาเสนอตามวรรคหนึ่งโดยมิชักช้า
--คณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์สภาร่างรัฐธรรมนูญ--
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
หมวด 6
รัฐสภา
ส่วนที่ 7
ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
มาตรา 196 พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีจำนวนไม่เกินสามคน ตามมติของรัฐสภาจากผู้ที่มีความรอบรู้และมีประสบการณ์ในการบริหารราชการแผ่นดิน วิสาหกิจ หรือ กิจกรรมอันเป็นประโยชน์ร่วมกันของสาธารณะซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และเป็นที่ยอมรับนับถือของประ ชาชน
ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีวาระการดำรงตำแหน่งหกปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรง แต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
การสรรหา การคัดเลือก คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาให้ เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
ให้ประธานรัฐสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
มาตรา 197 ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) พิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียนในกรณี
(ก) การไม่ปฎิบัติตามกฎหมาย หรือปฎิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของเจ้า หน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่น
(ข) การปฎิบัติหรือละเลยไม่ปฎิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐเจ้าหน้าที่ของรัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่น ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องเรียนหรือประชาชนโดยไม่เป็น ธรรม ไม่ว่าการนั้นจะเป็นการชอบหรือไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ก็ตาม
(ค) กรณีอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
(2) จัดทำรายงานพร้อมทั้งเสนอความเห็นและข้อเสนอแนะต่อรัฐสภา
มาตรา 198 ในกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเห็นว่าบทบัญญัติแห่งกฏหมาย กฏ ข้อบัง คับ หรือการกระทำใดของรัฐมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลอื่นที่มีอำนาจเพื่อพิจารณาวินิจฉัย ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ หรือกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลอื่น แล้วแต่กรณี
ให้ศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลอื่นที่มีอำนาจ แล้วแต่กรณี พิจารณาวินิจฉัยเรื่องที่ผู้ตรวจการแผ่น ดินของรัฐสภาเสนอตามวรรคหนึ่งโดยมิชักช้า
--คณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์สภาร่างรัฐธรรมนูญ--