กรุงเทพ--16 พ.ค.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
นายอุดม เฟื่องฟุ้ง รองประธานศาลฎีกา ในฐานะประธานคณะกรรมการศึกษาและวิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวข้องกับศาล เพื่อประโยชน์แก่ประชาชน แถลงข่าววันนี้ (16 พ.ค. 2540) ภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปให้มีการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา 5 ชุด ดังต่อไปนี้
- คณะอนุกรรมการศึกษาและวิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญเรื่องการใช้อำนาจอธิปไตยของศาล
- คณะอนุกรรมการศึกษาและวิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ
- คณะอนุกรรมการศึกษาและวิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับศาลยุติธรรม
- คณะอนุกรรมการศึกษาและวิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับศาลปกครอง
- คณะอนุกรรมการศึกษาและวิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับคณะตุลาการคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ทั้งนี้จะมีการศึกษาวิเคราะห์ถึงการมีอำนาจชี้ขาดตัดสินในคดีต่าง ๆ ของศาล ในส่วนที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่บัญญัติเพิ่มเติมขึ้นจากเดิมว่า จะส่งผลกระทบต่อการถ่วงดุลอำนาจระหว่าง ฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และฝ่ายตุลาการหรือไม่ รวมถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อกระบวนการยุติธรรม และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
นอกจากนี้จะมีการศึกษาให้ชัดเจนถึงความจำเป็นที่ต้องมีศาลรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะความเหมาะสมในอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญและ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ รวมไปถึงการพิจารณาในศาลยุติธรรมที่ร่างรัฐธรรมนูญ กำหนดให้ศาลฎีกาพิจารณาแต่เฉพาะข้อกฎหมายเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงคดีที่เข้าสู่การพิจารณาของศาลฎีกาไม่ได้มีประเภทเดียวแต่อย่างใด นอกจากนี้คณะอนุกรรมการฯ ยังจะศึกษาถึงประเด็นที่มาของผู้พิพากษาศาลปกครอง และความเป็นเอกภาพของศาลหากให้ศาลปกครองแยกตัวเป็นอิสระ ทั้งนี้ในการศึกษาเป้าหมายในการร่างรัฐธรรมนูญในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับศาลดังกล่าว ยืนยันว่าไม่ได้ต้องการให้เกิดความขัดแย้งกับส.ส.ร. แต่เป็นการศึกษาเพื่อสรุปเป็นข้อมูลเสนอให้ ส.ส.ร.นำไปประกอบการตัดสินใจ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน
"เราในฐานะศาลถือว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ในการแสดงความคิดเห็นแล้ว ส่วนการตัดสินใจเป็นหน้าที่ของส.ส.ร. ส่วนการตัดสินใจขั้นที่ 2 คือ รัฐสภา และการตัดสินใจขั้นที่ 3 ถ้ามีขึ้น ถือ ประชาชน เราไม่ได้หวังผลว่าจะได้หรือไม่ได้อะไรในการเสนอความคิดต่อ ส.ส.ร. เราตั้งคณะอนุกรรมการฯ ขึ้นมาเพื่อให้ข้อมูลเท่านั้นว่าข้อมูลในทางปฏิบัติเป็นอย่างไร หลักการที่เคยปฏิบัติมา 100 ปีกว่า ถ้าหลักการเปลี่ยนไปผลดีผลเสียจะเป็นอย่างไร" นายอุดมกล่าว ซึ่งการศึกษาร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวของคณะอนุกรรมการฯ จะแล้วเสร็จภายในวันที่ 23 พฤษภาคม 2540 นี้ เพื่อเข้าสู่คณะกรรมการฯ ชุดใหญ่ลงมติถึงความเห็นในแต่ละประเด็นของร่างรัฐธรรมนูญ--จบ--
นายอุดม เฟื่องฟุ้ง รองประธานศาลฎีกา ในฐานะประธานคณะกรรมการศึกษาและวิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวข้องกับศาล เพื่อประโยชน์แก่ประชาชน แถลงข่าววันนี้ (16 พ.ค. 2540) ภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปให้มีการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา 5 ชุด ดังต่อไปนี้
- คณะอนุกรรมการศึกษาและวิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญเรื่องการใช้อำนาจอธิปไตยของศาล
- คณะอนุกรรมการศึกษาและวิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ
- คณะอนุกรรมการศึกษาและวิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับศาลยุติธรรม
- คณะอนุกรรมการศึกษาและวิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับศาลปกครอง
- คณะอนุกรรมการศึกษาและวิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับคณะตุลาการคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ทั้งนี้จะมีการศึกษาวิเคราะห์ถึงการมีอำนาจชี้ขาดตัดสินในคดีต่าง ๆ ของศาล ในส่วนที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่บัญญัติเพิ่มเติมขึ้นจากเดิมว่า จะส่งผลกระทบต่อการถ่วงดุลอำนาจระหว่าง ฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และฝ่ายตุลาการหรือไม่ รวมถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อกระบวนการยุติธรรม และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
นอกจากนี้จะมีการศึกษาให้ชัดเจนถึงความจำเป็นที่ต้องมีศาลรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะความเหมาะสมในอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญและ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ รวมไปถึงการพิจารณาในศาลยุติธรรมที่ร่างรัฐธรรมนูญ กำหนดให้ศาลฎีกาพิจารณาแต่เฉพาะข้อกฎหมายเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงคดีที่เข้าสู่การพิจารณาของศาลฎีกาไม่ได้มีประเภทเดียวแต่อย่างใด นอกจากนี้คณะอนุกรรมการฯ ยังจะศึกษาถึงประเด็นที่มาของผู้พิพากษาศาลปกครอง และความเป็นเอกภาพของศาลหากให้ศาลปกครองแยกตัวเป็นอิสระ ทั้งนี้ในการศึกษาเป้าหมายในการร่างรัฐธรรมนูญในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับศาลดังกล่าว ยืนยันว่าไม่ได้ต้องการให้เกิดความขัดแย้งกับส.ส.ร. แต่เป็นการศึกษาเพื่อสรุปเป็นข้อมูลเสนอให้ ส.ส.ร.นำไปประกอบการตัดสินใจ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน
"เราในฐานะศาลถือว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ในการแสดงความคิดเห็นแล้ว ส่วนการตัดสินใจเป็นหน้าที่ของส.ส.ร. ส่วนการตัดสินใจขั้นที่ 2 คือ รัฐสภา และการตัดสินใจขั้นที่ 3 ถ้ามีขึ้น ถือ ประชาชน เราไม่ได้หวังผลว่าจะได้หรือไม่ได้อะไรในการเสนอความคิดต่อ ส.ส.ร. เราตั้งคณะอนุกรรมการฯ ขึ้นมาเพื่อให้ข้อมูลเท่านั้นว่าข้อมูลในทางปฏิบัติเป็นอย่างไร หลักการที่เคยปฏิบัติมา 100 ปีกว่า ถ้าหลักการเปลี่ยนไปผลดีผลเสียจะเป็นอย่างไร" นายอุดมกล่าว ซึ่งการศึกษาร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวของคณะอนุกรรมการฯ จะแล้วเสร็จภายในวันที่ 23 พฤษภาคม 2540 นี้ เพื่อเข้าสู่คณะกรรมการฯ ชุดใหญ่ลงมติถึงความเห็นในแต่ละประเด็นของร่างรัฐธรรมนูญ--จบ--