กรุงเทพ--1 เม.ย.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
คณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร จัดสัมมนา "การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ" โดยมีสมาชิกของทั้ง 2 ฝ่ายเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง
นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ชี้แจงถึงเจตนารมณ์ของสภาร่างฯ ต่อการวางกรอบประเด็นปัญหา และหลักการสำคัญ ว่าได้คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นหลัก ขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐได้อย่างชัดเจน ควบคู่กับการวางกลไกการเข้าสู่อำนาจทางการเมือง โดยที่นักการเมืองจะรอดพ้นจากการครอบงำโดยกลุ่มนายทุน อย่างไรก็ตามยืนยันว่าในขั้นตอนการยกร่างรัฐธรรมนูญ สภาร่างฯ จะรับฟังความคิดเห็นของประชาชนจากทุกแนวทางพร้อมทั้งศึกษาถึงผลดีและผลเสียในรัฐธรรมนูญของนานาประเทศ เพื่อประกอบการร่างรัฐธรรมนูญโดยจะไม่ยึดติดกับกรอบประเด็นปัญหาที่วางไว้เบื้องต้น
ด้านนายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงความจำเป็นในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า เกิดจากประชาชนจำนวนไม่น้อย รวมถึงสมาชิกรัฐสภารู้สึกอึดอัดใจกับที่มาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ประกอบกับศรัทธาของประชาชนที่มีต่อระบอบประชาธิปไตยหมดไป ซึ่งอาจเกิดจากปัญหาการซื้อเสียง นักการเมืองโกงกิน และทุจริต ทั้งนี้ทิศทางของการร่างรัฐธรรมนูญก็คือต้องพยายามแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่อาจไม่สมบูรณ์ 100% ดีเลิศ 100% เพราะ ส.ส.ร. ไม่ใช่ผู้วิเศษ ในทางกลับกันเป้าหมายในการร่างรัฐธรรมนูญก็ไม่ใช่เพื่อท้าทายรัฐสภา หรือมุ่งหวังกำจัดบุคคลหนึ่งบุคคลใดหรือทำลาย ส.ส. และวุฒิสมาชิกบางคน แต่หัวใจของการร่างรัฐธรรมนูญ คือ การค้นอำนาจส่วนหนึ่งที่เคยอยู่ในมือของผู้ใช้อำนาจรัฐคืนสู่ประชาชน เพราะที่ผ่านมารัฐบาลมีอำนาจล้นฟ้า และใช้อำนาจไปในทางมิชอบ ใช้อำนาจเกินขอบเขตโดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ของราษฎร
"ส.ส.ร. ไม่โง่พอที่จะเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ให้เลวกว่าของเก่า รัฐสภาก็คงจะไม่โง่พอที่จะไม่รับรัฐธรรมนูญที่ไม่เลวกว่าของเก่า"
นายวิชัย ตันสิริ ส.ส. เขต 4 พรรคประชาธิปัตย์ ไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้ง นายกรัฐมนตรีโดยตรงจากประชาชนและการให้ผู้ที่จะเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีจะต้องลาออกจากการเป็นส.ส.ก่อน
นายประเทือง วิจารณ์ปรีชา ส.ส.จังหวัดสิงห์บุรี พรรคชาติไทย ไม่เห็นด้วย หากจะระบุให้รัฐมนตรีต้องลาออกจากการเป็น ส.ส.เช่นกัน โดยเห็นว่าสภาร่างฯ ต้องหาคำตอบให้ชัดเจนว่า เมื่อรัฐมนตรีลาออกจากการเป็น ส.ส.แล้วจะไม่เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ นอกจากนี้ สภาร่างฯ มีหลักประกันที่จะสร้างความมั่นใจได้อย่างไร ว่าระบบการเลือกตั้ง จะสามารถป้องกันการซื้อสิทธิขายเสียงได้
ส่วนนายตรีพล เจาะจิต ส.ส.จังหวัดนครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์เห็นด้วยที่จะให้มีการตัดงบพัฒนาจังหวัดของ ส.ส.ออกไป เพราะ ส.ส.ทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ แต่ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทำหน้าที่ดังกล่าวแทน โดยผู้ว่าฯ ควรมาจากการเลือกตั้งจากประชาชน นอกจากนี้ ยังเห็นว่าควรเพิ่มอำนาจให้กับคณะกรรมาธิการฯ เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาลได้อย่างเต็มที่ โดยก่อนที่รัฐมนตรีจะเข้ารับตำแหน่งต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมาธิการก่อน
จากนั้นนายอานันท์ ปันยารชุน ได้ชี้แจงข้อซักถามของบรรดา ส.ส. โดยเห็นว่าข้อเสนอต่าง ๆ ดังกล่าวถือเป็นข้อเตือนสติที่ดี อย่างไรก็ตาม อยากให้เสนอความเห็นอยู่บนพื้นฐานของการไตร่ตรองในร่างรัฐธรรมนูญทั้งกระบวนการ ด้วยการพิจารณาจากภาพรวมทั้งหมด โดยไม่เพียงหยิบยกขึ้นมาวิจารณ์ เพียงเฉพาะบางประเด็น เพราะทุกกรอบประเด็นปัญหาต้องมีความสัมพันธ์กัน
และในช่วงบ่ายของการสัมมนา บรรดาตัวแทนจากหลายพรรคการเมือง ได้ร่วมกันแสดงความเห็นถึง "ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในทรรศนะของพรรคการเมือง"
นายปองพล อดิเรกสาร เลขาธิการพรรคชาติไทย ระบุพรรคชาติไทยจะยังไม่กำหนดท่าทีที่ชัดเจนต่อร่างรัฐธรรมนูญ จนกว่าจะถึงวันที่ 30 เมษายน 2540 แต่โดยภาพรวม เห็นว่าในการยกร่างรัฐธรรมนูญ สภาร่างฯ จำเป็นจะต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพราะรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะต้องใช้บังคับไปอีกนานนับสิบปี และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการสื่อสาร กำลังเข้าสู่ยุคการสื่อสารแบบไร้พรหมแดน ซึ่งโอกาสรับรู้ข่าวสารของประชาชนจะกว้างขวางขึ้น และจะเชื่อมโยงให้บทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอาจต้องเปลี่ยนแปลงไป
นายสุเมธ พรหมพันธ์ห่าว เลขาธิการพรรคเสรีธรรม กล่าวว่า พรรคเสรีธรรมให้ความสนใจประเด็นปัญหาและหลักการสำคัญ ๆ ทั้ง 3 กรอบ โดยเฉพาะ "สถาบันการเมือง และความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมือง" ทั้งนี้เห็นว่า ไม่ว่าที่มาของวุฒิสมาชิกจะเป็นไปในรูปแบบใดก็ตาม แต่วุฒิสมาชิกควรสังกัดพรรคการเมือง เพราะหน้าที่ในการกลั่นกรองกฎหมาย เป็นเรื่องทางการเมือง
ส่วนนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ เห็นด้วยกับกรอบประเด็นปัญหาโดยส่วนใหญ่ เช่นการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ด้วยการกำหนดให้สภาท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้ง แต่ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ควรให้ผู้บริหารท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งด้วยเช่นกัน ส่วนในประเด็นการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ พรรคประชาธิปัตย์ เห็นด้วยที่ให้มีการเลือกตั้งศาลปกครอง รัฐสภาตลอดจนให้มีตุลาการคดีอาญา สำหรับผู้มีตำแหน่งทางการเมือง แต่เห็นว่าในส่วนของศาลตุลาการรัฐธรรมนูญ ควรเปิดกว้างให้มีการปรับเปลี่ยนหมุนเวียนกันในทุก 3 ปี และควรเพิ่มอำนาจให้การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญครอบคลุมถึง คำสั่ง และการกระทำของบุคคล ซึ่งขัดกับรัฐธรรมนูญด้วย
สำหรับกรอบ "สถาบันการเมือง และความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมือง" แม้จะเห็นด้วยกับข้อเสนอให้ประชาชนจำนวน 150,000 คนสามารถเข้าชื่อ ถอดถอนข้าราชการทางการเมืองได้ แต่กลับไม่เห็นด้วยหากจะนำมาใช้สำหรับการถอดถอน ส.ส. เพราะอาจเกิดการกลั่นแกล้งกันทางการเมือง นอกจากนี้ยังไม่เห็นด้วยที่ห้าม นายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภา เมื่อถูกยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ เพราะเกิดปัญหาคุณภาพระหว่างฝ่ายบริหาร และนิติบัญญัติ โดย ส.ส. อาจยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจอย่างไม่มีเหตุผล ขณะที่นายกรัฐมนตรีกลับไม่อาจประกาศยุบสภาได้ เท่ากับปิดทางออกทางการเมือง
นอกจากนี้กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ยังไม่เห็นด้วยที่กำหนดว่า ส.ส. ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง รวมทั้งไม่บังคับให้พรรคการเมืองต้องส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเกณฑ์ เพราะอาจเกิดปัญหา "เบี้ยหัวแตก" คือเกิดกลุ่มการเมืองย่อย ที่อาจส่งผลต่อเสถียรภาพทางการเมือง
ทางด้านว่าที่ร้อยตรีไพโรจน์ สุวรรณฉวี ตัวแทนจากพรรคความหวังใหม่ยืนยันว่าพรรคความหวังใหม่จะให้อิสระกับสภาร่างฯ อย่างเต็มที่ โดยจะไม่เข้าไปก้าวก่ายหรือแสดงความเห็นในเชิงชี้นำการทำงานของ ส.ส.ร.
ส่วนนายประวิทย์ รัตนเพียร ตัวแทนจากพรรคชาติพัฒนามองว่าการแบ่งเขตการเลือกตั้ง ส.ส. เขตละคนนั้น อาจส่งผลในทางลบ ทำให้การซื้อสิทธิ์ขายเสียงรุนแรงยิ่งขึ้นกว่าเดิม และการเลือกตั้ง ส.ส. จากบัญชีรายชื่อพรรคการเมืองก็อาจเปิดโอกาสให้กลุ่มนายทุนของพรรคการเมืองเข้ามามีตำแหน่งทางการเมือง นอกจากนี้ในส่วนของวุฒิสมาชิกหากยังคงมีบทบาทเป็นเพียงสภาพี่เลี้ยงก็อาจไม่จำเป็นต้องมีอีกต่อไป
ช่วงท้ายของการสัมมนา นายอานันท์ ปันยารชุน เน้นย้ำถึงการร่างรัฐธรรมนูญว่าเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการปฏิรูปการเมือง แต่ไม่อาจเยียวยาในทุกปัญหาได้ ซึ่งในโอกาสต่อไปจำเป็นต้องปฏิรูประบบราชการ ปฏิรูประบบการศึกษา และปฏิรูปตุลาการตามมา--จบ--
คณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร จัดสัมมนา "การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ" โดยมีสมาชิกของทั้ง 2 ฝ่ายเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง
นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ชี้แจงถึงเจตนารมณ์ของสภาร่างฯ ต่อการวางกรอบประเด็นปัญหา และหลักการสำคัญ ว่าได้คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นหลัก ขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐได้อย่างชัดเจน ควบคู่กับการวางกลไกการเข้าสู่อำนาจทางการเมือง โดยที่นักการเมืองจะรอดพ้นจากการครอบงำโดยกลุ่มนายทุน อย่างไรก็ตามยืนยันว่าในขั้นตอนการยกร่างรัฐธรรมนูญ สภาร่างฯ จะรับฟังความคิดเห็นของประชาชนจากทุกแนวทางพร้อมทั้งศึกษาถึงผลดีและผลเสียในรัฐธรรมนูญของนานาประเทศ เพื่อประกอบการร่างรัฐธรรมนูญโดยจะไม่ยึดติดกับกรอบประเด็นปัญหาที่วางไว้เบื้องต้น
ด้านนายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงความจำเป็นในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า เกิดจากประชาชนจำนวนไม่น้อย รวมถึงสมาชิกรัฐสภารู้สึกอึดอัดใจกับที่มาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ประกอบกับศรัทธาของประชาชนที่มีต่อระบอบประชาธิปไตยหมดไป ซึ่งอาจเกิดจากปัญหาการซื้อเสียง นักการเมืองโกงกิน และทุจริต ทั้งนี้ทิศทางของการร่างรัฐธรรมนูญก็คือต้องพยายามแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่อาจไม่สมบูรณ์ 100% ดีเลิศ 100% เพราะ ส.ส.ร. ไม่ใช่ผู้วิเศษ ในทางกลับกันเป้าหมายในการร่างรัฐธรรมนูญก็ไม่ใช่เพื่อท้าทายรัฐสภา หรือมุ่งหวังกำจัดบุคคลหนึ่งบุคคลใดหรือทำลาย ส.ส. และวุฒิสมาชิกบางคน แต่หัวใจของการร่างรัฐธรรมนูญ คือ การค้นอำนาจส่วนหนึ่งที่เคยอยู่ในมือของผู้ใช้อำนาจรัฐคืนสู่ประชาชน เพราะที่ผ่านมารัฐบาลมีอำนาจล้นฟ้า และใช้อำนาจไปในทางมิชอบ ใช้อำนาจเกินขอบเขตโดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ของราษฎร
"ส.ส.ร. ไม่โง่พอที่จะเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ให้เลวกว่าของเก่า รัฐสภาก็คงจะไม่โง่พอที่จะไม่รับรัฐธรรมนูญที่ไม่เลวกว่าของเก่า"
นายวิชัย ตันสิริ ส.ส. เขต 4 พรรคประชาธิปัตย์ ไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้ง นายกรัฐมนตรีโดยตรงจากประชาชนและการให้ผู้ที่จะเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีจะต้องลาออกจากการเป็นส.ส.ก่อน
นายประเทือง วิจารณ์ปรีชา ส.ส.จังหวัดสิงห์บุรี พรรคชาติไทย ไม่เห็นด้วย หากจะระบุให้รัฐมนตรีต้องลาออกจากการเป็น ส.ส.เช่นกัน โดยเห็นว่าสภาร่างฯ ต้องหาคำตอบให้ชัดเจนว่า เมื่อรัฐมนตรีลาออกจากการเป็น ส.ส.แล้วจะไม่เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ นอกจากนี้ สภาร่างฯ มีหลักประกันที่จะสร้างความมั่นใจได้อย่างไร ว่าระบบการเลือกตั้ง จะสามารถป้องกันการซื้อสิทธิขายเสียงได้
ส่วนนายตรีพล เจาะจิต ส.ส.จังหวัดนครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์เห็นด้วยที่จะให้มีการตัดงบพัฒนาจังหวัดของ ส.ส.ออกไป เพราะ ส.ส.ทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ แต่ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทำหน้าที่ดังกล่าวแทน โดยผู้ว่าฯ ควรมาจากการเลือกตั้งจากประชาชน นอกจากนี้ ยังเห็นว่าควรเพิ่มอำนาจให้กับคณะกรรมาธิการฯ เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาลได้อย่างเต็มที่ โดยก่อนที่รัฐมนตรีจะเข้ารับตำแหน่งต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมาธิการก่อน
จากนั้นนายอานันท์ ปันยารชุน ได้ชี้แจงข้อซักถามของบรรดา ส.ส. โดยเห็นว่าข้อเสนอต่าง ๆ ดังกล่าวถือเป็นข้อเตือนสติที่ดี อย่างไรก็ตาม อยากให้เสนอความเห็นอยู่บนพื้นฐานของการไตร่ตรองในร่างรัฐธรรมนูญทั้งกระบวนการ ด้วยการพิจารณาจากภาพรวมทั้งหมด โดยไม่เพียงหยิบยกขึ้นมาวิจารณ์ เพียงเฉพาะบางประเด็น เพราะทุกกรอบประเด็นปัญหาต้องมีความสัมพันธ์กัน
และในช่วงบ่ายของการสัมมนา บรรดาตัวแทนจากหลายพรรคการเมือง ได้ร่วมกันแสดงความเห็นถึง "ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในทรรศนะของพรรคการเมือง"
นายปองพล อดิเรกสาร เลขาธิการพรรคชาติไทย ระบุพรรคชาติไทยจะยังไม่กำหนดท่าทีที่ชัดเจนต่อร่างรัฐธรรมนูญ จนกว่าจะถึงวันที่ 30 เมษายน 2540 แต่โดยภาพรวม เห็นว่าในการยกร่างรัฐธรรมนูญ สภาร่างฯ จำเป็นจะต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพราะรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะต้องใช้บังคับไปอีกนานนับสิบปี และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการสื่อสาร กำลังเข้าสู่ยุคการสื่อสารแบบไร้พรหมแดน ซึ่งโอกาสรับรู้ข่าวสารของประชาชนจะกว้างขวางขึ้น และจะเชื่อมโยงให้บทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอาจต้องเปลี่ยนแปลงไป
นายสุเมธ พรหมพันธ์ห่าว เลขาธิการพรรคเสรีธรรม กล่าวว่า พรรคเสรีธรรมให้ความสนใจประเด็นปัญหาและหลักการสำคัญ ๆ ทั้ง 3 กรอบ โดยเฉพาะ "สถาบันการเมือง และความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมือง" ทั้งนี้เห็นว่า ไม่ว่าที่มาของวุฒิสมาชิกจะเป็นไปในรูปแบบใดก็ตาม แต่วุฒิสมาชิกควรสังกัดพรรคการเมือง เพราะหน้าที่ในการกลั่นกรองกฎหมาย เป็นเรื่องทางการเมือง
ส่วนนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ เห็นด้วยกับกรอบประเด็นปัญหาโดยส่วนใหญ่ เช่นการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ด้วยการกำหนดให้สภาท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้ง แต่ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ควรให้ผู้บริหารท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งด้วยเช่นกัน ส่วนในประเด็นการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ พรรคประชาธิปัตย์ เห็นด้วยที่ให้มีการเลือกตั้งศาลปกครอง รัฐสภาตลอดจนให้มีตุลาการคดีอาญา สำหรับผู้มีตำแหน่งทางการเมือง แต่เห็นว่าในส่วนของศาลตุลาการรัฐธรรมนูญ ควรเปิดกว้างให้มีการปรับเปลี่ยนหมุนเวียนกันในทุก 3 ปี และควรเพิ่มอำนาจให้การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญครอบคลุมถึง คำสั่ง และการกระทำของบุคคล ซึ่งขัดกับรัฐธรรมนูญด้วย
สำหรับกรอบ "สถาบันการเมือง และความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมือง" แม้จะเห็นด้วยกับข้อเสนอให้ประชาชนจำนวน 150,000 คนสามารถเข้าชื่อ ถอดถอนข้าราชการทางการเมืองได้ แต่กลับไม่เห็นด้วยหากจะนำมาใช้สำหรับการถอดถอน ส.ส. เพราะอาจเกิดการกลั่นแกล้งกันทางการเมือง นอกจากนี้ยังไม่เห็นด้วยที่ห้าม นายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภา เมื่อถูกยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ เพราะเกิดปัญหาคุณภาพระหว่างฝ่ายบริหาร และนิติบัญญัติ โดย ส.ส. อาจยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจอย่างไม่มีเหตุผล ขณะที่นายกรัฐมนตรีกลับไม่อาจประกาศยุบสภาได้ เท่ากับปิดทางออกทางการเมือง
นอกจากนี้กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ยังไม่เห็นด้วยที่กำหนดว่า ส.ส. ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง รวมทั้งไม่บังคับให้พรรคการเมืองต้องส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเกณฑ์ เพราะอาจเกิดปัญหา "เบี้ยหัวแตก" คือเกิดกลุ่มการเมืองย่อย ที่อาจส่งผลต่อเสถียรภาพทางการเมือง
ทางด้านว่าที่ร้อยตรีไพโรจน์ สุวรรณฉวี ตัวแทนจากพรรคความหวังใหม่ยืนยันว่าพรรคความหวังใหม่จะให้อิสระกับสภาร่างฯ อย่างเต็มที่ โดยจะไม่เข้าไปก้าวก่ายหรือแสดงความเห็นในเชิงชี้นำการทำงานของ ส.ส.ร.
ส่วนนายประวิทย์ รัตนเพียร ตัวแทนจากพรรคชาติพัฒนามองว่าการแบ่งเขตการเลือกตั้ง ส.ส. เขตละคนนั้น อาจส่งผลในทางลบ ทำให้การซื้อสิทธิ์ขายเสียงรุนแรงยิ่งขึ้นกว่าเดิม และการเลือกตั้ง ส.ส. จากบัญชีรายชื่อพรรคการเมืองก็อาจเปิดโอกาสให้กลุ่มนายทุนของพรรคการเมืองเข้ามามีตำแหน่งทางการเมือง นอกจากนี้ในส่วนของวุฒิสมาชิกหากยังคงมีบทบาทเป็นเพียงสภาพี่เลี้ยงก็อาจไม่จำเป็นต้องมีอีกต่อไป
ช่วงท้ายของการสัมมนา นายอานันท์ ปันยารชุน เน้นย้ำถึงการร่างรัฐธรรมนูญว่าเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการปฏิรูปการเมือง แต่ไม่อาจเยียวยาในทุกปัญหาได้ ซึ่งในโอกาสต่อไปจำเป็นต้องปฏิรูประบบราชการ ปฏิรูประบบการศึกษา และปฏิรูปตุลาการตามมา--จบ--