กรุงเทพ--9 มิ.ย.-- ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
นายเขียน ธีระวิทย์ ส.ส.ร.ผู้เชี่ยวชาญสาขารัฐศาสตร์ ซึ่งให้ความสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด เห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญบัญญัติถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมได้อย่างครอบคลุมและเพียงพอแล้ว แต่ได้ตั้งข้อสังเกตถึงร่างฯ มาตรา 57 "สิทธิของบุคคลที่จะดำรงชีพในสภาพแวดล้อม ซึ่งจะได้ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของคนอย่างปกติ และต่อเนื่อง ย่อมได้รับความคุ้มครอง การทำให้น้ำ อากาศ แสงแดดหรือปัจจัยแห่งการดำรงชีพตามธรรมชาติอย่งอื่นเปลี่ยนแปลงไปจนกระทบต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของบุคคลจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะเป็นการกระทำโดยหน่วยงานของรัฐ ซึ่งอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อการอันเป็นสาธารณประโยชน์" แม้จะยอมรับว่าสาระโดยรวมเห็นด้วยแต่ในส่วนที่ให้อำนาจแก่รัฐนั้น เกรงว่าอาจส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้างได้ ซึ่งหากการดำเนินการของรัฐ เช่นการสร้างเขื่อนกระทบต่อผลประโยชน์ของชุมชนที่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ก็น่าจะกำหนดให้รัฐต้องชดเชยตามความเหมาะสมไว้ด้วย
ส่วนที่ทางพรรคความหวังใหม่ได้ตั้งข้อสังเกตถึงการที่ร่างรัฐธรรมนูญให้อำนาจ กับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ทำหน้าที่ควบคุมดูแลด้านสิ่งแวดล้อมได้ในที่สุดนั้น นายเขียนมองว่า เป็นไปได้ที่หากชุมชนใดมีลักษณะเป็น "นักเลงหัวโต" เมื่อเข้ามาดูแลด้านสิ่งแวดล้อมแล้วอาจสนับสนุนให้เกิดการทำลายสิ่งแวดล้อม แต่ดูจากแนวโน้มแล้ว เชื่อมั่นว่าชุมชนต่าง ๆ ส่วนใหญ่มีความรับผิดชอบต่อท้องถิ่นของตนเอง เมื่อมีความรู้สึกหวงแหนทรัพยากรในท้องถิ่น ก็ไม่น่าเป็นห่วงแต่อย่างใด จึงเห็นว่าไม่จำเป็นต้องแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญในประเด็นดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า การที่ปัญหาสิ่งแวดล้อม และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ จะสัมฤทธิ์ผล ก็ต่อเมื่อมีการผลักดันกฎหมายประกอบร่างรัฐธรรมนูญ ให้สอดคล้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่วางไว้ เพื่อให้เกิดองค์กรเข้ามาดูแลด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง--จบ--
นายเขียน ธีระวิทย์ ส.ส.ร.ผู้เชี่ยวชาญสาขารัฐศาสตร์ ซึ่งให้ความสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด เห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญบัญญัติถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมได้อย่างครอบคลุมและเพียงพอแล้ว แต่ได้ตั้งข้อสังเกตถึงร่างฯ มาตรา 57 "สิทธิของบุคคลที่จะดำรงชีพในสภาพแวดล้อม ซึ่งจะได้ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของคนอย่างปกติ และต่อเนื่อง ย่อมได้รับความคุ้มครอง การทำให้น้ำ อากาศ แสงแดดหรือปัจจัยแห่งการดำรงชีพตามธรรมชาติอย่งอื่นเปลี่ยนแปลงไปจนกระทบต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของบุคคลจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะเป็นการกระทำโดยหน่วยงานของรัฐ ซึ่งอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อการอันเป็นสาธารณประโยชน์" แม้จะยอมรับว่าสาระโดยรวมเห็นด้วยแต่ในส่วนที่ให้อำนาจแก่รัฐนั้น เกรงว่าอาจส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้างได้ ซึ่งหากการดำเนินการของรัฐ เช่นการสร้างเขื่อนกระทบต่อผลประโยชน์ของชุมชนที่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ก็น่าจะกำหนดให้รัฐต้องชดเชยตามความเหมาะสมไว้ด้วย
ส่วนที่ทางพรรคความหวังใหม่ได้ตั้งข้อสังเกตถึงการที่ร่างรัฐธรรมนูญให้อำนาจ กับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ทำหน้าที่ควบคุมดูแลด้านสิ่งแวดล้อมได้ในที่สุดนั้น นายเขียนมองว่า เป็นไปได้ที่หากชุมชนใดมีลักษณะเป็น "นักเลงหัวโต" เมื่อเข้ามาดูแลด้านสิ่งแวดล้อมแล้วอาจสนับสนุนให้เกิดการทำลายสิ่งแวดล้อม แต่ดูจากแนวโน้มแล้ว เชื่อมั่นว่าชุมชนต่าง ๆ ส่วนใหญ่มีความรับผิดชอบต่อท้องถิ่นของตนเอง เมื่อมีความรู้สึกหวงแหนทรัพยากรในท้องถิ่น ก็ไม่น่าเป็นห่วงแต่อย่างใด จึงเห็นว่าไม่จำเป็นต้องแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญในประเด็นดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า การที่ปัญหาสิ่งแวดล้อม และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ จะสัมฤทธิ์ผล ก็ต่อเมื่อมีการผลักดันกฎหมายประกอบร่างรัฐธรรมนูญ ให้สอดคล้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่วางไว้ เพื่อให้เกิดองค์กรเข้ามาดูแลด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง--จบ--