บันทึกการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ครั้งที่ ๗
วันอังคารที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐
ณ ตึกรัฐสภา
----------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา
มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญลงชื่อเข้าประชุม ๙๘ คน
เมื่อสมาชิกฯ มาครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญศาสตราจารย์กระมล ทองธรรมชาติ รองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ คนที่หนึ่ง และนางยุพา อุดมศักดิ์ รองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ คนที่สอง ขึ้นบัลลังก์ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญกล่าวเปิดประชุม และดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระการประชุม ดังนี้
ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม
๑.๑ ระยะเวลาการจัดทำรัฐธรรมนูญของสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ประธานฯ ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่าระยะเวลาในการจัดทำรัฐธรรมนูญของสภาร่างรัฐธรรมนูญ ผ่านมาแล้ว ๕๔ วัน ณ วันประชุมนี้ สภาร่างรัฐธรรมนูญเหลือระยะเวลาในการจัดทำรัฐธรรมนูญอีก ๑๘๖ วัน
ที่ประชุมรับทราบ
๑.๒ รายงานการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและประชาพิจารณ์
ประธานฯ ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและประชาพิจารณ์ได้จัดทำรายงานการดำเนิน งานของคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและประชาพิจารณ์ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญแต่ละจังหวัด ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดใช้ประโยชน์ เพื่อเป็นแนวทางในการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน โดยได้จัดทำเอกสารขึ้น ๔ ชุด คือ
๑) แบบสำรวจความคิดเห็นของประชาชน
๒) ชุดคำถามและข้อชี้แนะในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
๓) คู่มือการรับฟังความคิดเห็นโดย สสร.จังหวัดและกรรมาธิการวิสามัญฯ ประจำจังหวัด
๔) ใบสมัครเข้าเป็นสมาชิกสมัชชาประชาธิปไตย
ที่ประชุมรับทราบ
๑.๓ การสนับสนุนการดำเนินงานของสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ประธานฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่านายโภคิน พลกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปการเมือง ได้มีหนังสือแจ้งมายังประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เรื่อง การร่วมมือสนับสนุนการดำเนินงานของสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยแจ้งว่านายกรัฐมนตรีได้มีบัญชาให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวง รัฐมนตรีว่าการทบวง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินงานของสภาร่างรัฐธรรมนูญ และได้สั่งการให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ กรุงเทพมหานคร และจังหวัดให้ความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินงานของสภาร่างรัฐธรรมนูญ ตลอดจนการอำนวยความสะดวก ทุกเรื่องตามที่ร้องขอ อาทิ บุคลากร สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ ตามความจำเป็น เป็นกรณี ๆ ไป เป็นต้น รวมทั้งให้สำนักงบประมาณเร่งรัดการพิจารณางบประมาณแก่สภาร่างรัฐธรรมนูญ และการอนุมัติเบิกจ่ายเงินตามโครงการที่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเสนอ ทั้งนี้สมาชิกสามารถนำหนังสือดังกล่าวไปติดต่อประสานงานกับส่วนราชการดังกล่าวข้างต้นเพื่อประโยชน์ต่อการดำเนินงานของสภาร่างรัฐธรรมนูญและคณะกรรมาธิการวิสามัญแต่ละจังหวัดต่อไป
ที่ประชุมรับทราบ
ระเบียบวาระที่ ๒ ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัด
๒.๑ ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดปัตตานี
ที่ประชุมได้มีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดเพิ่มเติมจากการประชุมคราวที่แล้ว คือ คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดปัตตานี โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจังหวัดปัตตานี ได้เสนอรายชื่อกรรมาธิการ และมีผู้รับรองครบถ้วน ดังนี้
คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดปัตตานี
๑. นายเหม สุไลมาน เป็นประธานกรรมาธิการวิสามัญฯ
๒. นายเฉลิม พัทโร
๓. นายชอบ เขี้ยวแก้ว
๔. นายประยูร ชัยสวัสดิ์
๕. พันตำรวจโท พากเพียร ศรีหะรัญ
๖. นายไพรัช วิหะกะรัตน์
๗. นายมูหะมัด เจะเอาะ
๘. นายวิทยา ยุวชิต
๙. นายวิโรจน์ จันทนิมิ
๑๐. นายแวบือราเฮง หะยีเด็ง
๑๑. นายสุขเกษม นิเต็ม
๑๒. นายอับดุลวาฮับ อับดุลวาฮับ
๑๓. นายอาทร เบญจสมัย
๑๔. นายอิสมาแอ อาลี
๑๕. นายอุษมัน บือราเฮง
๒.๒ ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดราชบุรีใหม่แทนคณะเดิม
ที่ประชุมได้มีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดราชบุรีใหม่แทนคณะเดิมตามที่ นายทวิช กลิ่นประทุม สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจังหวัดราชบุรี เสนอตามนัยแห่งข้อบังคับการประชุมของรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๓๙ ข้อ ๗๙ (๕) โดยมีผู้รับรองครบถ้วน
คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดราชบุรี ประกอบด้วย
๑. นายทวิช กลิ่นประทุม เป็นประธานกรรมาธิการวิสามัญฯ
๒. นายกบิล ปั้นประสงค์
๓. พันตำรวจตรี ฉลอง รัตน์บำรุง
๔. นางชุลี ณ บางช้าง
๕. นายธนิต คำศรี
๖. นายนภินทร ศรีสรรพางค์
๗. นายพินิจ สุอัคคะพงศ์
๘. นายพีระ บุญจริง
๙. นายลือชัย ศรสุวรรณ
๑๐. นายวิชัย เขมาธร
๑๑. นางสาววิยะดา ทองคำ
๑๒. นายวิวัฒน์ เจริญเชื้อ
๑๓. ผู้ช่วยศาสตราจารย์โสภณ พวงสุวรรณ
๑๔. นายอุเทน ธัชศฤงคารสกุล
๑๕. นายเอกพงศ์ ธัชศฤงคารสกุล
ระเบีบบวาระที่ ๓ ตั้งกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัด แทนตำแหน่งที่ว่าง
ที่ประชุมได้มีมติตั้งกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัด แทนตำแหน่งที่ว่างในจังหวัด ที่กรรมาธิการขอลาออก ๒ จังหวัด ดังนี้
๓.๑ คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัด นครพนม
- ตั้งนายเจริญ ชาเรืองเดช เป็นกรรมาธิการวิสามัญฯ แทนนายไพบูลย์ แสงอุไรสิทธิ์ ที่ขอลาออก
๓.๒ คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัด เชียงใหม่
- ตั้งนายไกรศร จิตธรธรรม และ นางสาวสายสมร สร้อยอินต๊ะ เป็นกรรมาธิการวิสามัญฯ แทนนายวินัย วิริยวิทยาวงศ์ และนายอัฒท์ บุณยกมล ที่ขอลาออก
ระเบียบวาระที่ ๔ พิจารณาแนวทางการดำเนินงานของสภาร่างรัฐธรรมนูญ
๔.๑ พิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
ประธานฯ ได้เชิญประธานคณะกรรมาธิการและกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญประจำที่เพื่อพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และได้เชิญประธานคณะกรรมาธิการ แถลงต่อที่ประชุมประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้แถลงต่อที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ได้เสนอรายงานของคณะกรรมาธิการให้ที่ประชุมพิจารณา โดยที่คณะกรรมาธิการได้เคยเสนอรายงานให้สภาร่าง รัฐธรรมนูญพิจารณาเกี่ยวกับขั้นตอนและระยะเวลาดำเนินงานของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญและสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งในรายงานดังกล่าว คณะกรรมาธิการได้กำหนดกรอบในการจัดทำรัฐธรรมนูญไว้๓ กรอบคือ "สิทธิ หน้าที่และการมีส่วนร่วม ของพลเมือง" "การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ" และ "สถาบันการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมือง" ที่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจะนำไปปรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน แล้วนำมาประกอบในการร่างรัฐธรรมนูญต่อไป นั้น
ในการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๕ วันอังคารที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ คณะกรรมาธิการได้เสนอประเด็นปัญหาและหลักการสำคัญเกี่ยวกับ "สิทธิ หน้าที่และการมีส่วนร่วมของพลเมือง" ให้ที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาและที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญได้เห็นชอบด้วยกับรายงานดังกล่าวแล้วคณะกรรมาธิการ จึงขอเสนอรายงานของคณะกรรมาธิการในกรอบที่ ๒ ประเด็นปัญหาและหลักการสำคัญเกี่ยวกับ "การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ" ให้ที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญพิจารณา โดยที่รายงานในกรอบที่ ๒ การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐนี้ คณะกรรมาธิการได้เสนอประเด็นปัญหาและหลักการสำคัญที่ควรนำไปบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อแก้ไขสภาพปัญหาที่ไม่พึงประสงค์จากการใช้อำนาจรัฐ ในอดีตที่ผ่านมาโดยได้กำหนดการควบคุมการใช้อำนาจรัฐให้ครบถ้วนทุกด้าน และการควบคุมแต่ละด้านมีประสิทธิภาพและเป็นอิสระจากกัน สิ่งใดที่มิได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่นในรายงานของคณะกรรมาธิการ จะคำนึงถึงหลักการที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมา หรือข้อเสนออื่น ๆ ด้วย สิ่งที่ระบุไว้ในรายงานของคณะกรรมาธิการจึงเป็นสิ่งที่เพิ่มเติมจากหลักการที่มีอยู่เดิม รายงานฉบับนี้ได้กล่าว ถึงระบบตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐที่เพิ่มเติมใหม่ ประกอบด้วย
๑. ศาลรัฐธรรมนูญ
๒. ศาลยุติธรรม
๓. ระบบการควบคุมการทุจริต
๓.๑ การแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน
๓.๒ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ป.ป.ป.) ที่เป็นอิสระ
๓.๓ ตุลาการคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
๔. การตรวจเงินแผ่นดิน
อนึ่ง ศาลปกครอง และผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา คงคำนึงถึงหลักการที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมาหรือข้อเสนออื่น ๆ ด้วย
เมื่อประธานคณะกรรมาธิการได้แถลงต่อที่ประชุมในรายละเอียดถึงภาพรวมแล้ว ประธานฯ ได้หารือที่ประชุมว่าเพื่อให้การดำเนินการประชุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สมควรกำหนดประเด็นการอภิปรายเป็นประเด็น ๆ ไป ตามรายงานของคณะกรรมาธิการ โดยจะให้คณะกรรมาธิการนำเสนอเป็นประเด็นตามลำดับในรายงานของคณะกรรมาธิการ โดยจะเริ่มการพิจารณาจากประเด็นศาลรัฐธรรมนูญเป็นต้นไปจนครบทั้ง ๔ ประเด็น ส่วนประเด็นอื่นที่ไม่ได้มีรายละเอียดปรากฏในรายงานของคณะกรรมาธิการ เมื่อที่ประชุมได้พิจารณาในประเด็นทั้ง ๔ ตามรายงานคณะกรรมาธิการเสร็จแล้ว สมาชิกจะหยิบยกประเด็นอื่นขึ้นพิจารณาอีกก็ได้ อาทิ เรื่องศาลปกครอง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เป็นต้น
ที่ประชุมเห็นชอบ
ต่อจากนั้น ประธานฯ ได้ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนำเสนอรายงานทีละประเด็นตามที่ประธานฯ ได้หารือ และคณะกรรมาธิการได้นำเสนอรายงานตามลำดับดังต่อไปนี้
๑. ศาลรัฐธรรมนูญ
๒. ศาลยุติธรรม
๓. ระบบการควบคุมการทุจริต
๓.๑ การแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน
๓.๒ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ป.ป.ป.) ที่เป็นอิสระ
๓.๓ ตุลาการคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
๔. การตรวจเงินแผ่นดิน
หลังจากที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้นำเสนอถึงสภาพปัญหาหลัก และหลักการสำคัญที่ควรบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ในประเด็นทั้ง ๔ ข้างต้นแล้ว ได้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญอภิปรายอย่างกว้างขวางตามประเด็นที่กำหนดโดยได้เสนอความเห็น ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะที่สำคัญหลายประการเมื่อการอภิปรายยุติ ที่ประชุม ได้มีมติเห็นชอบ ด้วยในหลักการตามรายงานของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในส่วนเกี่ยวกับ "การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ" ในกรอบหลักการ ส่วนหลักการอื่น ที่ไม่ได้กำหนดไว้ในเอกสารรายงานของคณะกรรมาธิการให้คำนึงถึงหลักการของรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมาและข้อเสนออื่นด้วย ทั้งนี้ให้คณะกรรมาธิการนำข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อสังเกตของสมาชิกสภาสภาร่าง รัฐธรรมนูญไปพิจารณาประกอบให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป หลังจากนั้น ได้มีสมาชิกเสนอหลักการสำคัญที่ควรนำไปกำหนดไว้ในกรอบการตรวจ สอบการใช้อำนาจรัฐ เพื่อนำไปรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วย ดังนี้
๑. นายพนัส ทัศนียานนท์ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจังหวัดตาก ได้เสนอให้สภาร่างรัฐธรรมนูญพิจารณานำหลักการของ เรื่อง "ศาลปกครอง" และ "ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา" เข้าไปรวมไว้ในกรอบเรื่องการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ในรายงานของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญด้วย เพื่อให้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญนำไปรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ดังนี้
๑) ศาลปกครอง
โดยกำหนดหลักการสำคัญของศาลปกครองไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อาทิ ให้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดตั้งศาลปกครอง วิธีพิจารณาคดีปกครอง หลักประกันความอิสระของศาลปกครอง ให้มีหน่วยงานธุรการของตนเอง และกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของตุลาการหรือผู้พิพากษาศาลปกครอง รวมทั้งวิธีการสรรหาไว้ในรัฐธรรมนูญ ตลอดจนมีบทเฉพาะกาลกำหนดระยะในการประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง เป็นต้น
๒) ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
ส่วนผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภานั้นก็ให้ถือหลักการเดียวกันกับศาลปกครอง โดยกำหนดคุณสมบัติวิธีการสรรหา การแต่งตั้งและการถอดถอน รวมทั้งกำหนดหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาไว้ในรัฐธรรมนูญด้วยเช่นกัน
เมื่อสมาชิกได้อภิปรายแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางแล้ว ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบในหลักการกับข้อเสนอดังกล่าว โดยให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนำไปรวมไว้อยู่ในกรอบการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ และนำไปปรับปรุงแก้ไขถ้อยคำ ให้รัดกุมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น รวมทั้งให้คณะกรรมาธิการนำข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อสังเกตของสมาชิกสภาร่าง รัฐธรรมนูญไปพิจารณาประกอบด้วย
๒. ศาสตราจารย์อมร รักษาสัตย์ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญประเภทผู้เชี่ยวชาญสาขารัฐศาสตร์ฯได้เสนอให้นำหลักการเกี่ยวกับ "ผู้ตรวจราชการทหารของรัฐสภา" ไปรวมไว้ในกรอบการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐด้วย
เมื่อสมาชิกได้อภิปรายอย่างกว้างขวางในประเด็นดังกล่าวข้างต้นแล้ว ที่ประชุมได้มีมติไม่เห็นชอบด้วยกับหลักการตามที่สมาชิกเสนอ
๔.๒ ตั้งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเพิ่มเติม
ประธานฯ ได้หารือที่ประชุมเกี่ยวกับการตั้งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเพิ่มเติม ซึ่งสภาร่างรัฐธรรมนูญได้เห็นชอบในหลักการที่จะให้เพิ่มกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเมื่อคราวพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๕ วันอังคารที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ เพื่อขยายการมีส่วนร่วมของสมาชิก โดยให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ นอกจากมีหน้าที่ยกร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ให้ทำหน้าที่ประสานงานการรับฟังความคิดเห็นของภาค และประสานงานองค์กรอิสระ เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันในชั้นการพิจารณาและการแปรญัตติของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญและสภาร่างรัฐธรรมนูญต่อจากนั้นประธานฯ ได้หารือเพื่อให้ที่ประชุมตั้งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเพิ่มเติม จำนวน ๘ คน ตามที่สภาร่างรัฐธรรมนูญได้หารือเป็นการภายใน เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ ซึ่งได้มีสมาชิกเสนอชื่อบุคคลที่จะ เป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน ๘ คน ตามสัดส่วนที่ได้เห็นชอบร่วมกัน ดังนี้
๑) กรรมาธิการจากตัวแทนสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญภาคเหนือ จำนวน ๒ คน
๒) กรรมาธิการจากตัวแทนสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญภาคกลาง จำนวน ๑ คน
๓) กรรมาธิการจากตัวแทนสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญภาคใต้ จำนวน ๒ คน
๔) กรรมาธิการจากตัวแทนสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน ๒ คน
๕) กรรมาธิการจากตัวแทนสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่จะทำหน้าที่ผู้ประสานงานองค์กรอิสระ จำนวน ๑ คน
สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเพิ่มเติม ประกอบด้วย
๑. นายโกศล ศรีสังข์
๒. นายธงชาติ รัตนวิชา
๓. นายประชุม ทองมี
๔. นายประดัง ปรีชญางกูร
๕. นายพนัส ทัศนียานนท์
๖. ศาสตราจารย์ลิขิต ธีรเวคิน
๗. นายสุทธินันท์ จันทระ
๘. นางสุนี ไชยรส
การตั้งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมอีก ๘ คน นี้ ทำให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญมีจำนวนทั้งคณะรวม ๒๙ คน
ที่ประชุมมีมติเห็นชอบด้วย
ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องอื่น ๆ
องค์ประชุมของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
ประธานฯ ได้หารือที่ประชุมเกี่ยวกับองค์ประชุมของคณะกรรมาธิการ ซึ่งตามข้อบังคับการประชุมของรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๓๙ ข้อ ๖๗ ได้กำหนดให้การประชุมคณะกรรมาธิการต้องมีกรรมาธิการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ จึงจะเป็นองค์ประชุม แต่เนื่องจากกรรมาธิการบางท่านต้องทำหน้าที่ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดในจังหวัดของตน หรือทำหน้าที่ในคณะกรรมาธิการในคณะอื่นซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการได้ จึงขอปรึกษาที่ประชุมว่า เพื่อให้การดำเนินการพิจารณาของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ด้วยความเรียบร้อยและแล้วเสร็จตามกรอบขั้นตอนที่สภาร่างรัฐธรรมนูญได้เห็นชอบแล้ว
จึงขออนุมัติที่ประชุมให้งดใช้ข้อบังคับฯ ข้อ ๖๗ สำหรับการประชุมของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และให้องค์ประชุมของ คณะกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญมีกรรมาธิการมาประชุม ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวน กรรมาธิการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ จึงจะเป็นองค์ประชุม
ที่ประชุมมีมติเห็นชอบด้วย
เลิกประชุมเวลา ๑๙.๐๙ นาฬิกา
(ศาสตราจารย์ไพศิษฐ์ พิพัฒนกุล)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่
เลขาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญ
สำนักงานเลขาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญ
โทร. ๒๔๔๑๘๐๘
โทรสาร ๒๔๔๑๖๒๕-๖
--คณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์สภาร่างรัฐธรรมนูญ--
ครั้งที่ ๗
วันอังคารที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐
ณ ตึกรัฐสภา
----------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา
มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญลงชื่อเข้าประชุม ๙๘ คน
เมื่อสมาชิกฯ มาครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญศาสตราจารย์กระมล ทองธรรมชาติ รองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ คนที่หนึ่ง และนางยุพา อุดมศักดิ์ รองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ คนที่สอง ขึ้นบัลลังก์ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญกล่าวเปิดประชุม และดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระการประชุม ดังนี้
ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม
๑.๑ ระยะเวลาการจัดทำรัฐธรรมนูญของสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ประธานฯ ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่าระยะเวลาในการจัดทำรัฐธรรมนูญของสภาร่างรัฐธรรมนูญ ผ่านมาแล้ว ๕๔ วัน ณ วันประชุมนี้ สภาร่างรัฐธรรมนูญเหลือระยะเวลาในการจัดทำรัฐธรรมนูญอีก ๑๘๖ วัน
ที่ประชุมรับทราบ
๑.๒ รายงานการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและประชาพิจารณ์
ประธานฯ ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและประชาพิจารณ์ได้จัดทำรายงานการดำเนิน งานของคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและประชาพิจารณ์ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญแต่ละจังหวัด ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดใช้ประโยชน์ เพื่อเป็นแนวทางในการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน โดยได้จัดทำเอกสารขึ้น ๔ ชุด คือ
๑) แบบสำรวจความคิดเห็นของประชาชน
๒) ชุดคำถามและข้อชี้แนะในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
๓) คู่มือการรับฟังความคิดเห็นโดย สสร.จังหวัดและกรรมาธิการวิสามัญฯ ประจำจังหวัด
๔) ใบสมัครเข้าเป็นสมาชิกสมัชชาประชาธิปไตย
ที่ประชุมรับทราบ
๑.๓ การสนับสนุนการดำเนินงานของสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ประธานฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่านายโภคิน พลกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปการเมือง ได้มีหนังสือแจ้งมายังประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เรื่อง การร่วมมือสนับสนุนการดำเนินงานของสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยแจ้งว่านายกรัฐมนตรีได้มีบัญชาให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวง รัฐมนตรีว่าการทบวง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินงานของสภาร่างรัฐธรรมนูญ และได้สั่งการให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ กรุงเทพมหานคร และจังหวัดให้ความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินงานของสภาร่างรัฐธรรมนูญ ตลอดจนการอำนวยความสะดวก ทุกเรื่องตามที่ร้องขอ อาทิ บุคลากร สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ ตามความจำเป็น เป็นกรณี ๆ ไป เป็นต้น รวมทั้งให้สำนักงบประมาณเร่งรัดการพิจารณางบประมาณแก่สภาร่างรัฐธรรมนูญ และการอนุมัติเบิกจ่ายเงินตามโครงการที่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเสนอ ทั้งนี้สมาชิกสามารถนำหนังสือดังกล่าวไปติดต่อประสานงานกับส่วนราชการดังกล่าวข้างต้นเพื่อประโยชน์ต่อการดำเนินงานของสภาร่างรัฐธรรมนูญและคณะกรรมาธิการวิสามัญแต่ละจังหวัดต่อไป
ที่ประชุมรับทราบ
ระเบียบวาระที่ ๒ ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัด
๒.๑ ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดปัตตานี
ที่ประชุมได้มีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดเพิ่มเติมจากการประชุมคราวที่แล้ว คือ คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดปัตตานี โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจังหวัดปัตตานี ได้เสนอรายชื่อกรรมาธิการ และมีผู้รับรองครบถ้วน ดังนี้
คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดปัตตานี
๑. นายเหม สุไลมาน เป็นประธานกรรมาธิการวิสามัญฯ
๒. นายเฉลิม พัทโร
๓. นายชอบ เขี้ยวแก้ว
๔. นายประยูร ชัยสวัสดิ์
๕. พันตำรวจโท พากเพียร ศรีหะรัญ
๖. นายไพรัช วิหะกะรัตน์
๗. นายมูหะมัด เจะเอาะ
๘. นายวิทยา ยุวชิต
๙. นายวิโรจน์ จันทนิมิ
๑๐. นายแวบือราเฮง หะยีเด็ง
๑๑. นายสุขเกษม นิเต็ม
๑๒. นายอับดุลวาฮับ อับดุลวาฮับ
๑๓. นายอาทร เบญจสมัย
๑๔. นายอิสมาแอ อาลี
๑๕. นายอุษมัน บือราเฮง
๒.๒ ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดราชบุรีใหม่แทนคณะเดิม
ที่ประชุมได้มีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดราชบุรีใหม่แทนคณะเดิมตามที่ นายทวิช กลิ่นประทุม สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจังหวัดราชบุรี เสนอตามนัยแห่งข้อบังคับการประชุมของรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๓๙ ข้อ ๗๙ (๕) โดยมีผู้รับรองครบถ้วน
คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดราชบุรี ประกอบด้วย
๑. นายทวิช กลิ่นประทุม เป็นประธานกรรมาธิการวิสามัญฯ
๒. นายกบิล ปั้นประสงค์
๓. พันตำรวจตรี ฉลอง รัตน์บำรุง
๔. นางชุลี ณ บางช้าง
๕. นายธนิต คำศรี
๖. นายนภินทร ศรีสรรพางค์
๗. นายพินิจ สุอัคคะพงศ์
๘. นายพีระ บุญจริง
๙. นายลือชัย ศรสุวรรณ
๑๐. นายวิชัย เขมาธร
๑๑. นางสาววิยะดา ทองคำ
๑๒. นายวิวัฒน์ เจริญเชื้อ
๑๓. ผู้ช่วยศาสตราจารย์โสภณ พวงสุวรรณ
๑๔. นายอุเทน ธัชศฤงคารสกุล
๑๕. นายเอกพงศ์ ธัชศฤงคารสกุล
ระเบีบบวาระที่ ๓ ตั้งกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัด แทนตำแหน่งที่ว่าง
ที่ประชุมได้มีมติตั้งกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัด แทนตำแหน่งที่ว่างในจังหวัด ที่กรรมาธิการขอลาออก ๒ จังหวัด ดังนี้
๓.๑ คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัด นครพนม
- ตั้งนายเจริญ ชาเรืองเดช เป็นกรรมาธิการวิสามัญฯ แทนนายไพบูลย์ แสงอุไรสิทธิ์ ที่ขอลาออก
๓.๒ คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัด เชียงใหม่
- ตั้งนายไกรศร จิตธรธรรม และ นางสาวสายสมร สร้อยอินต๊ะ เป็นกรรมาธิการวิสามัญฯ แทนนายวินัย วิริยวิทยาวงศ์ และนายอัฒท์ บุณยกมล ที่ขอลาออก
ระเบียบวาระที่ ๔ พิจารณาแนวทางการดำเนินงานของสภาร่างรัฐธรรมนูญ
๔.๑ พิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
ประธานฯ ได้เชิญประธานคณะกรรมาธิการและกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญประจำที่เพื่อพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และได้เชิญประธานคณะกรรมาธิการ แถลงต่อที่ประชุมประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้แถลงต่อที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ได้เสนอรายงานของคณะกรรมาธิการให้ที่ประชุมพิจารณา โดยที่คณะกรรมาธิการได้เคยเสนอรายงานให้สภาร่าง รัฐธรรมนูญพิจารณาเกี่ยวกับขั้นตอนและระยะเวลาดำเนินงานของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญและสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งในรายงานดังกล่าว คณะกรรมาธิการได้กำหนดกรอบในการจัดทำรัฐธรรมนูญไว้๓ กรอบคือ "สิทธิ หน้าที่และการมีส่วนร่วม ของพลเมือง" "การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ" และ "สถาบันการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมือง" ที่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจะนำไปปรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน แล้วนำมาประกอบในการร่างรัฐธรรมนูญต่อไป นั้น
ในการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๕ วันอังคารที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ คณะกรรมาธิการได้เสนอประเด็นปัญหาและหลักการสำคัญเกี่ยวกับ "สิทธิ หน้าที่และการมีส่วนร่วมของพลเมือง" ให้ที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาและที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญได้เห็นชอบด้วยกับรายงานดังกล่าวแล้วคณะกรรมาธิการ จึงขอเสนอรายงานของคณะกรรมาธิการในกรอบที่ ๒ ประเด็นปัญหาและหลักการสำคัญเกี่ยวกับ "การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ" ให้ที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญพิจารณา โดยที่รายงานในกรอบที่ ๒ การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐนี้ คณะกรรมาธิการได้เสนอประเด็นปัญหาและหลักการสำคัญที่ควรนำไปบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อแก้ไขสภาพปัญหาที่ไม่พึงประสงค์จากการใช้อำนาจรัฐ ในอดีตที่ผ่านมาโดยได้กำหนดการควบคุมการใช้อำนาจรัฐให้ครบถ้วนทุกด้าน และการควบคุมแต่ละด้านมีประสิทธิภาพและเป็นอิสระจากกัน สิ่งใดที่มิได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่นในรายงานของคณะกรรมาธิการ จะคำนึงถึงหลักการที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมา หรือข้อเสนออื่น ๆ ด้วย สิ่งที่ระบุไว้ในรายงานของคณะกรรมาธิการจึงเป็นสิ่งที่เพิ่มเติมจากหลักการที่มีอยู่เดิม รายงานฉบับนี้ได้กล่าว ถึงระบบตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐที่เพิ่มเติมใหม่ ประกอบด้วย
๑. ศาลรัฐธรรมนูญ
๒. ศาลยุติธรรม
๓. ระบบการควบคุมการทุจริต
๓.๑ การแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน
๓.๒ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ป.ป.ป.) ที่เป็นอิสระ
๓.๓ ตุลาการคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
๔. การตรวจเงินแผ่นดิน
อนึ่ง ศาลปกครอง และผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา คงคำนึงถึงหลักการที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมาหรือข้อเสนออื่น ๆ ด้วย
เมื่อประธานคณะกรรมาธิการได้แถลงต่อที่ประชุมในรายละเอียดถึงภาพรวมแล้ว ประธานฯ ได้หารือที่ประชุมว่าเพื่อให้การดำเนินการประชุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สมควรกำหนดประเด็นการอภิปรายเป็นประเด็น ๆ ไป ตามรายงานของคณะกรรมาธิการ โดยจะให้คณะกรรมาธิการนำเสนอเป็นประเด็นตามลำดับในรายงานของคณะกรรมาธิการ โดยจะเริ่มการพิจารณาจากประเด็นศาลรัฐธรรมนูญเป็นต้นไปจนครบทั้ง ๔ ประเด็น ส่วนประเด็นอื่นที่ไม่ได้มีรายละเอียดปรากฏในรายงานของคณะกรรมาธิการ เมื่อที่ประชุมได้พิจารณาในประเด็นทั้ง ๔ ตามรายงานคณะกรรมาธิการเสร็จแล้ว สมาชิกจะหยิบยกประเด็นอื่นขึ้นพิจารณาอีกก็ได้ อาทิ เรื่องศาลปกครอง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เป็นต้น
ที่ประชุมเห็นชอบ
ต่อจากนั้น ประธานฯ ได้ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนำเสนอรายงานทีละประเด็นตามที่ประธานฯ ได้หารือ และคณะกรรมาธิการได้นำเสนอรายงานตามลำดับดังต่อไปนี้
๑. ศาลรัฐธรรมนูญ
๒. ศาลยุติธรรม
๓. ระบบการควบคุมการทุจริต
๓.๑ การแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน
๓.๒ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ป.ป.ป.) ที่เป็นอิสระ
๓.๓ ตุลาการคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
๔. การตรวจเงินแผ่นดิน
หลังจากที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้นำเสนอถึงสภาพปัญหาหลัก และหลักการสำคัญที่ควรบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ในประเด็นทั้ง ๔ ข้างต้นแล้ว ได้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญอภิปรายอย่างกว้างขวางตามประเด็นที่กำหนดโดยได้เสนอความเห็น ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะที่สำคัญหลายประการเมื่อการอภิปรายยุติ ที่ประชุม ได้มีมติเห็นชอบ ด้วยในหลักการตามรายงานของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในส่วนเกี่ยวกับ "การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ" ในกรอบหลักการ ส่วนหลักการอื่น ที่ไม่ได้กำหนดไว้ในเอกสารรายงานของคณะกรรมาธิการให้คำนึงถึงหลักการของรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมาและข้อเสนออื่นด้วย ทั้งนี้ให้คณะกรรมาธิการนำข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อสังเกตของสมาชิกสภาสภาร่าง รัฐธรรมนูญไปพิจารณาประกอบให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป หลังจากนั้น ได้มีสมาชิกเสนอหลักการสำคัญที่ควรนำไปกำหนดไว้ในกรอบการตรวจ สอบการใช้อำนาจรัฐ เพื่อนำไปรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วย ดังนี้
๑. นายพนัส ทัศนียานนท์ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจังหวัดตาก ได้เสนอให้สภาร่างรัฐธรรมนูญพิจารณานำหลักการของ เรื่อง "ศาลปกครอง" และ "ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา" เข้าไปรวมไว้ในกรอบเรื่องการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ในรายงานของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญด้วย เพื่อให้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญนำไปรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ดังนี้
๑) ศาลปกครอง
โดยกำหนดหลักการสำคัญของศาลปกครองไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อาทิ ให้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดตั้งศาลปกครอง วิธีพิจารณาคดีปกครอง หลักประกันความอิสระของศาลปกครอง ให้มีหน่วยงานธุรการของตนเอง และกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของตุลาการหรือผู้พิพากษาศาลปกครอง รวมทั้งวิธีการสรรหาไว้ในรัฐธรรมนูญ ตลอดจนมีบทเฉพาะกาลกำหนดระยะในการประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง เป็นต้น
๒) ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
ส่วนผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภานั้นก็ให้ถือหลักการเดียวกันกับศาลปกครอง โดยกำหนดคุณสมบัติวิธีการสรรหา การแต่งตั้งและการถอดถอน รวมทั้งกำหนดหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาไว้ในรัฐธรรมนูญด้วยเช่นกัน
เมื่อสมาชิกได้อภิปรายแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางแล้ว ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบในหลักการกับข้อเสนอดังกล่าว โดยให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนำไปรวมไว้อยู่ในกรอบการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ และนำไปปรับปรุงแก้ไขถ้อยคำ ให้รัดกุมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น รวมทั้งให้คณะกรรมาธิการนำข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อสังเกตของสมาชิกสภาร่าง รัฐธรรมนูญไปพิจารณาประกอบด้วย
๒. ศาสตราจารย์อมร รักษาสัตย์ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญประเภทผู้เชี่ยวชาญสาขารัฐศาสตร์ฯได้เสนอให้นำหลักการเกี่ยวกับ "ผู้ตรวจราชการทหารของรัฐสภา" ไปรวมไว้ในกรอบการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐด้วย
เมื่อสมาชิกได้อภิปรายอย่างกว้างขวางในประเด็นดังกล่าวข้างต้นแล้ว ที่ประชุมได้มีมติไม่เห็นชอบด้วยกับหลักการตามที่สมาชิกเสนอ
๔.๒ ตั้งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเพิ่มเติม
ประธานฯ ได้หารือที่ประชุมเกี่ยวกับการตั้งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเพิ่มเติม ซึ่งสภาร่างรัฐธรรมนูญได้เห็นชอบในหลักการที่จะให้เพิ่มกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเมื่อคราวพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๕ วันอังคารที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ เพื่อขยายการมีส่วนร่วมของสมาชิก โดยให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ นอกจากมีหน้าที่ยกร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ให้ทำหน้าที่ประสานงานการรับฟังความคิดเห็นของภาค และประสานงานองค์กรอิสระ เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันในชั้นการพิจารณาและการแปรญัตติของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญและสภาร่างรัฐธรรมนูญต่อจากนั้นประธานฯ ได้หารือเพื่อให้ที่ประชุมตั้งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเพิ่มเติม จำนวน ๘ คน ตามที่สภาร่างรัฐธรรมนูญได้หารือเป็นการภายใน เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ ซึ่งได้มีสมาชิกเสนอชื่อบุคคลที่จะ เป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน ๘ คน ตามสัดส่วนที่ได้เห็นชอบร่วมกัน ดังนี้
๑) กรรมาธิการจากตัวแทนสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญภาคเหนือ จำนวน ๒ คน
๒) กรรมาธิการจากตัวแทนสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญภาคกลาง จำนวน ๑ คน
๓) กรรมาธิการจากตัวแทนสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญภาคใต้ จำนวน ๒ คน
๔) กรรมาธิการจากตัวแทนสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน ๒ คน
๕) กรรมาธิการจากตัวแทนสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่จะทำหน้าที่ผู้ประสานงานองค์กรอิสระ จำนวน ๑ คน
สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเพิ่มเติม ประกอบด้วย
๑. นายโกศล ศรีสังข์
๒. นายธงชาติ รัตนวิชา
๓. นายประชุม ทองมี
๔. นายประดัง ปรีชญางกูร
๕. นายพนัส ทัศนียานนท์
๖. ศาสตราจารย์ลิขิต ธีรเวคิน
๗. นายสุทธินันท์ จันทระ
๘. นางสุนี ไชยรส
การตั้งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมอีก ๘ คน นี้ ทำให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญมีจำนวนทั้งคณะรวม ๒๙ คน
ที่ประชุมมีมติเห็นชอบด้วย
ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องอื่น ๆ
องค์ประชุมของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
ประธานฯ ได้หารือที่ประชุมเกี่ยวกับองค์ประชุมของคณะกรรมาธิการ ซึ่งตามข้อบังคับการประชุมของรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๓๙ ข้อ ๖๗ ได้กำหนดให้การประชุมคณะกรรมาธิการต้องมีกรรมาธิการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ จึงจะเป็นองค์ประชุม แต่เนื่องจากกรรมาธิการบางท่านต้องทำหน้าที่ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดในจังหวัดของตน หรือทำหน้าที่ในคณะกรรมาธิการในคณะอื่นซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการได้ จึงขอปรึกษาที่ประชุมว่า เพื่อให้การดำเนินการพิจารณาของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ด้วยความเรียบร้อยและแล้วเสร็จตามกรอบขั้นตอนที่สภาร่างรัฐธรรมนูญได้เห็นชอบแล้ว
จึงขออนุมัติที่ประชุมให้งดใช้ข้อบังคับฯ ข้อ ๖๗ สำหรับการประชุมของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และให้องค์ประชุมของ คณะกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญมีกรรมาธิการมาประชุม ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวน กรรมาธิการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ จึงจะเป็นองค์ประชุม
ที่ประชุมมีมติเห็นชอบด้วย
เลิกประชุมเวลา ๑๙.๐๙ นาฬิกา
(ศาสตราจารย์ไพศิษฐ์ พิพัฒนกุล)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่
เลขาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญ
สำนักงานเลขาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญ
โทร. ๒๔๔๑๘๐๘
โทรสาร ๒๔๔๑๖๒๕-๖
--คณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์สภาร่างรัฐธรรมนูญ--