กรุงเทพ--17 เม.ย.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่าจะไม่เดินทางไปพัทยาจังหวัดชลบุรี กับคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ระหว่างวันที่ 20-27 เมษายน เพราะเห็นว่ากรอบทั้ง 7 กรอบของสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ออกมา เป็นการทำงานของคนเพียง 5 คนเท่านั้น คือ นายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ นายเกษม ศิริสัมพันธ์ นายโกเมศ ขวัญเมือง รองประธานคณะกรรมาธิการฯ และนายคณิน บุญสุวรรณ โฆษกคณะกรรมาธิการฯ เมื่อกำหนดเนื้อหาอย่างไร กรรมาธิการฯ ส่วนใหญ่ก็คล้อยตาม ซึ่งตนเห็นว่า การกระทำดังกล่าวไม่ใช่การปฏิรูปการเมือง
นายสวัสดิ์ กล่าวว่า ที่ออกมาพูดยืนยันว่าไม่มีความขัดแย้งกับคณะกรรมาธิการฯ และทั้ง 5 คนมีเจตนาดีที่พยายามนำเอาหลักของประเทศมาใช้ ตนเห็นว่าสิ่งที่นำมาไม่เหมาะกับการเมืองไทย เช่น การที่เสนอให้มีการเลือกตั้งระบบสัดส่วนหรือปาร์ตี้ลิสต์ เพราะเมืองไทยยังคงมีการซื้อเสียง เพื่อให้ได้เสียงข้างมากเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งเห็นว่าการจะแก้ไขปัญหาเรื่องการซื้อเสียงควรมีการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ แต่เมื่อเสนอความเห็นไปก็ไม่มีใครเห็นด้วย
ต่อข้อถามว่าการที่ไม่ไปร่วมยกร่างรัฐธรรมนูญ จะถูกมองว่าไม่เป็นประชาธิปไตย นายสวัสดิ์ กล่าวว่า เสียงข้างมากอาจเป็นเสียงที่ไม่ถูกต้องก็ได้ คณะทำงานได้กำหนดไว้ เพราะตั้งแต่เริ่มทำงานก็เป็นเช่นนี้ตลอด ขณะนี้ กำลังพิจารณาว่าจะลาออกจากคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะหากลาออกไปเป็น ส.ส.ร. ธรรมดา จะมีโอกาสแปรญัตติในที่ประชุม ส.ส.ร. ได้แต่ถ้ายังเป็น กรรมาธิการยกร่างฯ อยู่ จะถูกมองว่ามีปัญหาความขัดแย้งภายในกรรมาธิการฯ ซึ่งตนจะตัดสินใจเรื่องนี้ เมื่อคณะกรรมาธิการฯ ยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จเรียบร้อยแล้ว--จบ--
กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่าจะไม่เดินทางไปพัทยาจังหวัดชลบุรี กับคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ระหว่างวันที่ 20-27 เมษายน เพราะเห็นว่ากรอบทั้ง 7 กรอบของสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ออกมา เป็นการทำงานของคนเพียง 5 คนเท่านั้น คือ นายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ นายเกษม ศิริสัมพันธ์ นายโกเมศ ขวัญเมือง รองประธานคณะกรรมาธิการฯ และนายคณิน บุญสุวรรณ โฆษกคณะกรรมาธิการฯ เมื่อกำหนดเนื้อหาอย่างไร กรรมาธิการฯ ส่วนใหญ่ก็คล้อยตาม ซึ่งตนเห็นว่า การกระทำดังกล่าวไม่ใช่การปฏิรูปการเมือง
นายสวัสดิ์ กล่าวว่า ที่ออกมาพูดยืนยันว่าไม่มีความขัดแย้งกับคณะกรรมาธิการฯ และทั้ง 5 คนมีเจตนาดีที่พยายามนำเอาหลักของประเทศมาใช้ ตนเห็นว่าสิ่งที่นำมาไม่เหมาะกับการเมืองไทย เช่น การที่เสนอให้มีการเลือกตั้งระบบสัดส่วนหรือปาร์ตี้ลิสต์ เพราะเมืองไทยยังคงมีการซื้อเสียง เพื่อให้ได้เสียงข้างมากเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งเห็นว่าการจะแก้ไขปัญหาเรื่องการซื้อเสียงควรมีการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ แต่เมื่อเสนอความเห็นไปก็ไม่มีใครเห็นด้วย
ต่อข้อถามว่าการที่ไม่ไปร่วมยกร่างรัฐธรรมนูญ จะถูกมองว่าไม่เป็นประชาธิปไตย นายสวัสดิ์ กล่าวว่า เสียงข้างมากอาจเป็นเสียงที่ไม่ถูกต้องก็ได้ คณะทำงานได้กำหนดไว้ เพราะตั้งแต่เริ่มทำงานก็เป็นเช่นนี้ตลอด ขณะนี้ กำลังพิจารณาว่าจะลาออกจากคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะหากลาออกไปเป็น ส.ส.ร. ธรรมดา จะมีโอกาสแปรญัตติในที่ประชุม ส.ส.ร. ได้แต่ถ้ายังเป็น กรรมาธิการยกร่างฯ อยู่ จะถูกมองว่ามีปัญหาความขัดแย้งภายในกรรมาธิการฯ ซึ่งตนจะตัดสินใจเรื่องนี้ เมื่อคณะกรรมาธิการฯ ยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จเรียบร้อยแล้ว--จบ--