บันทึกการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ครั้งที่ ๑๒ (เป็นพิเศษ)
วันพฤหัสบดีที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๔๐
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา
มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญลงชื่อเข้าประชุม ๙๐ คน
เมื่อสมาชิกฯ มาครบองค์ประชุมแล้ว ศาสตราจารย์กระมล ทองธรรมชาติ รองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ คนที่หนึ่ง ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ และนางยุพา อุดมศักดิ์ รองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ คนที่สอง ขึ้นบัลลังก์
ประธานฯ กล่าวเปิดประชุมและดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระการประชุม ดังนี้
ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งที่ประชุม
ประธานฯ ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า ระยะเวลาในการจัด ทำรัฐธรรมนูญของสภาร่างรัฐธรรมนูญผ่านมาแล้ว ๑๓๓ วัน ณ วันประชุมนี้ สภาร่างรัฐธรรมนูญเหลือระยะเวลาในการจัดทำรัฐธรรมนูญอีก ๑๐๗ วัน
ที่ประชุมรับทราบ
ระเบียบวาระที่ ๒ พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ยกร่างเสร็จแล้ว ตามรายงานของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญต่อจากการประชุมครั้งที่ ๑๑ (เป็นพิเศษ) วันพุธที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๔๐
ประธานฯ ได้เชิญคณะกรรมาธิการเข้าประจำที่ และให้สมาชิกอภิปรายแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งการประชุมคราวที่แล้ว ครั้งที่ ๑๑ (เป็นพิเศษ) วันพุธที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๔๐ ที่ประชุมได้พิจารณาถึงหมวดที่ ๗ คณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรี และยังไม่แล้วเสร็จ การประชุมในวันนี้จะเป็น
ต่อจากนั้นนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้ดำเนินการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญตามระเบียบวาระต่อไป โดยได้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญอภิปรายแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับหลักการและสาระสำคัญของบทบัญญัติในหมวด ๗ คณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรี หมวด ๘ ศาล ซึ่งประกอบด้วย ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร หมวด ๙ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับท้องถิ่น หมวด ๑๐ การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ประกอบด้วย การแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ การถอดถอนจากตำแหน่ง และคณะตุลาการคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หมวด ๑๑ การตรวจเงินแผ่นดิน หมวด ๑๒ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และบทเฉพาะกาล โดยได้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้อภิปรายแสดงความคิดเห็นสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญในภาพรวม แต่ได้แสดงความคิดเห็นแย้งในบางประเด็น รวมทั้งได้ตั้งข้อสังเกตในหลักการและสาระสำคัญของบทบัญญัติในบางหมวด โดยเฉพาะหมวดที่ ๗ คณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรี หมวดที่ ๘ ศาล และหมวดที่ ๙ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับท้องถิ่น เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนำไปพิจารณาในขั้นคณะกรรมาธิการต่อไป
เมื่อการอภิปรายสิ้นสุดลง ประธานฯ ได้ให้สัญญาณเพื่อให้สมาชิกที่มาประชุมทราบก่อนลงมติ และแจ้งสมาชิกว่าการลงมติในวาระที่หนึ่งให้สภาร่างรัฐธรรมนูญลงมติว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยไว้พิจารณาหรือไม่ โดยการออกเสียงลงคะแนนจะใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย โดยจะให้เลขาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญอ่านรายชื่อสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญตามลำดับอักษร และให้สมาชิกออกเสียงเป็นรายคนว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญนี้ โดยสมาชิกที่เห็นควรให้รับร่างรัฐธรรมนูญให้กล่าวคำว่า "รับ" ส่วนผู้เห็นว่าไม่ควรรับร่างรัฐธรรมนูญให้กล่าวคำว่า "ไม่รับ" จากนั้นประธานฯ ได้ตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นกรรมการตรวจนับคะแนนจำนวน ๕ คน ผลการออกเสียงลงคะแนนปรากฏว่า
สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเห็นชอบที่จะให้รับร่างรัฐธรรมนูญ ๘๙ เสียง
สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญไม่เห็นชอบที่จะให้รับร่างรัฐธรรมนูญไม่มี
งดออกเสียง ๑ เสียง
การออกเสียงลงคะแนนปรากฏว่ามีคะแนนเสียงเห็นชอบที่จะให้รับร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยไว้พิจารณาไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ จึงถือว่าที่ประชุมมีมติรับร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยไว้พิจารณา
ต่อจากนั้นที่ประชุมได้มีมติตั้งคณะกรรมาธิการคณะหนึ่งขึ้นเพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช.... โดยให้กรรมาธิการคณะนี้มีจำนวน ๓๓ คน และกำหนดการแปรญัตติภายใน ๓๐ วันนับแต่วันถัดจากวันที่สภาร่างรัฐธรรมนูญรับร่างรัฐธรรมนูญไว้พิจารณา โดยมีสมาชิกรับรองคำแปรญัตติจำนวนไม่น้อยกว่า ๑๐ คนตามข้อเสนอของนายเดโช สวนานนท์ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีผู้รับรองครบถ้วน กรรมาธิการคณะนี้ประกอบด้วย
๑. ศาสตราจารย์กระมล ทองธรรมชาติ
๒. นายเกษม ศิริสัมพันธ์
๓. ผู้ช่วยศาสตราจารย์โกเมศ ขวัญเมือง
๔. ศาสตราจารย์คณิต ณ นคร
๕. นายคณิน บุญสุวรรณ
๖. นายเดโช สวนานนท์
๗. นายธงชาติ รัตนวิชา
๘. รองศาสตราจารย์ธงทอง จันทรางศุ
๙. นายธีรวัฒน์ ร่มไทรทอง
๑๐. ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ
๑๑. นายบัวพรม ธีรกัลยาณพันธุ์
๑๒. นายบุญเลิศ คชายุทธเดช
๑๓. นายประชุม ทองมี
๑๔. นายประดัง ปรีชญางกูร
๑๕. ศาสตราจารย์ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี
๑๖. นายประวิทย์ เจนวีระนนท์
๑๗. พลเอก ปัญญา สิงห์ศักดา
๑๘. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา
๑๙. นางพินทิพย์ ลีลาภรณ์
๒๐. นายพินิจ อัศวโกวิทกรณ์
๒๑. ศาสตราจารย์ลิขิต ธีรเวคิน
๒๒. นายวรพจน์ วงศ์สง่า
๒๓. นายวิศัลย์ โฆษิตานนท์
๒๔. รองศาสตราจารย์วิสุทธิ์ โพธิแท่น
๒๕. นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง
๒๖. รองศาสตราจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์
๒๗. ร้อยตรี สมนึก ชูวิเชียร
๒๘. พลตำรวจเอก สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์
๒๙. นายสามารถ แก้วมีชัย
๓๐. ศาสตราจารย์สุจิต บุญบงการ
๓๑. นายสุทธินันท์ จันทระ
๓๒. นายอานันท์ ปันยารชุน
๓๓. พันเอก (พิเศษ) อุดม ทวีวัฒน์
ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องอื่น ๆ
ตั้งกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดแทนตำแหน่งที่ว่าง
ที่ประชุมได้มีมติตั้งกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดแทนตำแหน่งที่ว่างในจังหวัดที่กรรมาธิการขอลาออกหรือขาดการประชุมสามครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลอันควร และไม่ได้แจ้งให้ประธานคณะกรรมาธิการทราบ ตามนัยแห่งข้อบังคับการประชุมของรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๓๙ ข้อ ๗๙ (๓) และ (๗) ที่นำมาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญในจังหวัดดังกล่าวเป็นผู้เสนอ และมีผู้รับรองครบถ้วนดังนี้
๓.๑ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดขอนแก่น
ตั้ง นางมยุนา ศรีสุภนันท์ นางลัดดาวัลย์ เจริญสุข และนายไพชยนต์ นรปติ แทน นายสุทัศน์ ศรีรัตนพันธ์ นายดุลภาค ประเสริฐศิลป์ และนายบุญยง แก้วฝ่ายนอก
๓.๒ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดชลบุรี
ตั้ง นายผาสุข กุลละวณิชย์ แทน ผู้ช่วยศาสตราจารย์มนตรี แย้มกสิกร
๓.๓ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดตาก
ตั้ง นายสบเกษม แหงมงาม แทน นายธรรมจักร กุศลรัตน์
๓.๔ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดนครราชสีมา
ตั้ง นายบัณฑิต ตั้งประเสริฐ นายเกษม รังสุวรรณ และนายวรชัย ยงพิทยพงศ์ แทน นายชุบ ชัยฤทธิไชย นายประมุข เดโชวิบูลย์ และนายเจริญ ปุสุรินทร์คำ
๓.๕ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดบุรีรัมย์
ตั้ง นายรังสิกร ทิมาตฤกะ และนายประจิต พัชรินทร์ศักดิ์ แทน นายนิวัติ เลื่อนไธสง และนายกมล ใสงาม
๓.๖ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดพิจิตร
ตั้ง นายสมหมาย สุภิธรรม แทน นางเตือนใจ บุรพรัตน์
๓.๗ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดพิษณุโลก
ตั้ง นายสอน ขำปลอด นางวิมาลา ชโยดม นายปรีดา แต้อารักษ์ นายวิศิษฐ์ อภิสิทธิ์วิทยา นายฌฤทธิ์ กันทะวรรณ์ นายพรเทพ โชติชัยสุวัฒน นายบัญหาร บุญมี และนายปกรณ์ สุวรรณประภา แทน นายวัฒนา ตันติภิรมย์ นายกิตติ คุณะเกษม นายพงษ์สรรพ์ สรรพานิช นายชัยรัตน์ ล่ำดี นายอภิชาติ ตั้งเบญจผล นางวิริยา น้อยวงศ์ นายวิโรจน์ จิรัฐติกาลโชติ และนายชะอุ่ม เพ็งคุ้ม
๓.๘ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม
ตั้ง นายสุพร สุวรรณโชติ แทน นายพลเทพ คงตระกูล
เลิกประชุมเวลา ๒๐.๒๙ นาฬิกา
(ศาสตราจารย์ไพศิษฐ์ พิพัฒนกุล)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่
เลขาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญ
สำนักงานเลขาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญ
โทร. ๒๔๔-๑๘๐๘
โทรสาร ๒๔๔-๑๖๒๕-๖
--คณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์สภาร่างรัฐธรรมนูญ--
ครั้งที่ ๑๒ (เป็นพิเศษ)
วันพฤหัสบดีที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๔๐
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา
มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญลงชื่อเข้าประชุม ๙๐ คน
เมื่อสมาชิกฯ มาครบองค์ประชุมแล้ว ศาสตราจารย์กระมล ทองธรรมชาติ รองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ คนที่หนึ่ง ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ และนางยุพา อุดมศักดิ์ รองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ คนที่สอง ขึ้นบัลลังก์
ประธานฯ กล่าวเปิดประชุมและดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระการประชุม ดังนี้
ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งที่ประชุม
ประธานฯ ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า ระยะเวลาในการจัด ทำรัฐธรรมนูญของสภาร่างรัฐธรรมนูญผ่านมาแล้ว ๑๓๓ วัน ณ วันประชุมนี้ สภาร่างรัฐธรรมนูญเหลือระยะเวลาในการจัดทำรัฐธรรมนูญอีก ๑๐๗ วัน
ที่ประชุมรับทราบ
ระเบียบวาระที่ ๒ พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ยกร่างเสร็จแล้ว ตามรายงานของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญต่อจากการประชุมครั้งที่ ๑๑ (เป็นพิเศษ) วันพุธที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๔๐
ประธานฯ ได้เชิญคณะกรรมาธิการเข้าประจำที่ และให้สมาชิกอภิปรายแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งการประชุมคราวที่แล้ว ครั้งที่ ๑๑ (เป็นพิเศษ) วันพุธที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๔๐ ที่ประชุมได้พิจารณาถึงหมวดที่ ๗ คณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรี และยังไม่แล้วเสร็จ การประชุมในวันนี้จะเป็น
ต่อจากนั้นนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้ดำเนินการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญตามระเบียบวาระต่อไป โดยได้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญอภิปรายแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับหลักการและสาระสำคัญของบทบัญญัติในหมวด ๗ คณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรี หมวด ๘ ศาล ซึ่งประกอบด้วย ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร หมวด ๙ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับท้องถิ่น หมวด ๑๐ การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ประกอบด้วย การแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ การถอดถอนจากตำแหน่ง และคณะตุลาการคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หมวด ๑๑ การตรวจเงินแผ่นดิน หมวด ๑๒ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และบทเฉพาะกาล โดยได้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้อภิปรายแสดงความคิดเห็นสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญในภาพรวม แต่ได้แสดงความคิดเห็นแย้งในบางประเด็น รวมทั้งได้ตั้งข้อสังเกตในหลักการและสาระสำคัญของบทบัญญัติในบางหมวด โดยเฉพาะหมวดที่ ๗ คณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรี หมวดที่ ๘ ศาล และหมวดที่ ๙ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับท้องถิ่น เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนำไปพิจารณาในขั้นคณะกรรมาธิการต่อไป
เมื่อการอภิปรายสิ้นสุดลง ประธานฯ ได้ให้สัญญาณเพื่อให้สมาชิกที่มาประชุมทราบก่อนลงมติ และแจ้งสมาชิกว่าการลงมติในวาระที่หนึ่งให้สภาร่างรัฐธรรมนูญลงมติว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยไว้พิจารณาหรือไม่ โดยการออกเสียงลงคะแนนจะใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย โดยจะให้เลขาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญอ่านรายชื่อสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญตามลำดับอักษร และให้สมาชิกออกเสียงเป็นรายคนว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญนี้ โดยสมาชิกที่เห็นควรให้รับร่างรัฐธรรมนูญให้กล่าวคำว่า "รับ" ส่วนผู้เห็นว่าไม่ควรรับร่างรัฐธรรมนูญให้กล่าวคำว่า "ไม่รับ" จากนั้นประธานฯ ได้ตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นกรรมการตรวจนับคะแนนจำนวน ๕ คน ผลการออกเสียงลงคะแนนปรากฏว่า
สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเห็นชอบที่จะให้รับร่างรัฐธรรมนูญ ๘๙ เสียง
สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญไม่เห็นชอบที่จะให้รับร่างรัฐธรรมนูญไม่มี
งดออกเสียง ๑ เสียง
การออกเสียงลงคะแนนปรากฏว่ามีคะแนนเสียงเห็นชอบที่จะให้รับร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยไว้พิจารณาไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ จึงถือว่าที่ประชุมมีมติรับร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยไว้พิจารณา
ต่อจากนั้นที่ประชุมได้มีมติตั้งคณะกรรมาธิการคณะหนึ่งขึ้นเพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช.... โดยให้กรรมาธิการคณะนี้มีจำนวน ๓๓ คน และกำหนดการแปรญัตติภายใน ๓๐ วันนับแต่วันถัดจากวันที่สภาร่างรัฐธรรมนูญรับร่างรัฐธรรมนูญไว้พิจารณา โดยมีสมาชิกรับรองคำแปรญัตติจำนวนไม่น้อยกว่า ๑๐ คนตามข้อเสนอของนายเดโช สวนานนท์ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีผู้รับรองครบถ้วน กรรมาธิการคณะนี้ประกอบด้วย
๑. ศาสตราจารย์กระมล ทองธรรมชาติ
๒. นายเกษม ศิริสัมพันธ์
๓. ผู้ช่วยศาสตราจารย์โกเมศ ขวัญเมือง
๔. ศาสตราจารย์คณิต ณ นคร
๕. นายคณิน บุญสุวรรณ
๖. นายเดโช สวนานนท์
๗. นายธงชาติ รัตนวิชา
๘. รองศาสตราจารย์ธงทอง จันทรางศุ
๙. นายธีรวัฒน์ ร่มไทรทอง
๑๐. ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ
๑๑. นายบัวพรม ธีรกัลยาณพันธุ์
๑๒. นายบุญเลิศ คชายุทธเดช
๑๓. นายประชุม ทองมี
๑๔. นายประดัง ปรีชญางกูร
๑๕. ศาสตราจารย์ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี
๑๖. นายประวิทย์ เจนวีระนนท์
๑๗. พลเอก ปัญญา สิงห์ศักดา
๑๘. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา
๑๙. นางพินทิพย์ ลีลาภรณ์
๒๐. นายพินิจ อัศวโกวิทกรณ์
๒๑. ศาสตราจารย์ลิขิต ธีรเวคิน
๒๒. นายวรพจน์ วงศ์สง่า
๒๓. นายวิศัลย์ โฆษิตานนท์
๒๔. รองศาสตราจารย์วิสุทธิ์ โพธิแท่น
๒๕. นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง
๒๖. รองศาสตราจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์
๒๗. ร้อยตรี สมนึก ชูวิเชียร
๒๘. พลตำรวจเอก สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์
๒๙. นายสามารถ แก้วมีชัย
๓๐. ศาสตราจารย์สุจิต บุญบงการ
๓๑. นายสุทธินันท์ จันทระ
๓๒. นายอานันท์ ปันยารชุน
๓๓. พันเอก (พิเศษ) อุดม ทวีวัฒน์
ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องอื่น ๆ
ตั้งกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดแทนตำแหน่งที่ว่าง
ที่ประชุมได้มีมติตั้งกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดแทนตำแหน่งที่ว่างในจังหวัดที่กรรมาธิการขอลาออกหรือขาดการประชุมสามครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลอันควร และไม่ได้แจ้งให้ประธานคณะกรรมาธิการทราบ ตามนัยแห่งข้อบังคับการประชุมของรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๓๙ ข้อ ๗๙ (๓) และ (๗) ที่นำมาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญในจังหวัดดังกล่าวเป็นผู้เสนอ และมีผู้รับรองครบถ้วนดังนี้
๓.๑ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดขอนแก่น
ตั้ง นางมยุนา ศรีสุภนันท์ นางลัดดาวัลย์ เจริญสุข และนายไพชยนต์ นรปติ แทน นายสุทัศน์ ศรีรัตนพันธ์ นายดุลภาค ประเสริฐศิลป์ และนายบุญยง แก้วฝ่ายนอก
๓.๒ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดชลบุรี
ตั้ง นายผาสุข กุลละวณิชย์ แทน ผู้ช่วยศาสตราจารย์มนตรี แย้มกสิกร
๓.๓ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดตาก
ตั้ง นายสบเกษม แหงมงาม แทน นายธรรมจักร กุศลรัตน์
๓.๔ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดนครราชสีมา
ตั้ง นายบัณฑิต ตั้งประเสริฐ นายเกษม รังสุวรรณ และนายวรชัย ยงพิทยพงศ์ แทน นายชุบ ชัยฤทธิไชย นายประมุข เดโชวิบูลย์ และนายเจริญ ปุสุรินทร์คำ
๓.๕ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดบุรีรัมย์
ตั้ง นายรังสิกร ทิมาตฤกะ และนายประจิต พัชรินทร์ศักดิ์ แทน นายนิวัติ เลื่อนไธสง และนายกมล ใสงาม
๓.๖ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดพิจิตร
ตั้ง นายสมหมาย สุภิธรรม แทน นางเตือนใจ บุรพรัตน์
๓.๗ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดพิษณุโลก
ตั้ง นายสอน ขำปลอด นางวิมาลา ชโยดม นายปรีดา แต้อารักษ์ นายวิศิษฐ์ อภิสิทธิ์วิทยา นายฌฤทธิ์ กันทะวรรณ์ นายพรเทพ โชติชัยสุวัฒน นายบัญหาร บุญมี และนายปกรณ์ สุวรรณประภา แทน นายวัฒนา ตันติภิรมย์ นายกิตติ คุณะเกษม นายพงษ์สรรพ์ สรรพานิช นายชัยรัตน์ ล่ำดี นายอภิชาติ ตั้งเบญจผล นางวิริยา น้อยวงศ์ นายวิโรจน์ จิรัฐติกาลโชติ และนายชะอุ่ม เพ็งคุ้ม
๓.๘ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม
ตั้ง นายสุพร สุวรรณโชติ แทน นายพลเทพ คงตระกูล
เลิกประชุมเวลา ๒๐.๒๙ นาฬิกา
(ศาสตราจารย์ไพศิษฐ์ พิพัฒนกุล)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่
เลขาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญ
สำนักงานเลขาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญ
โทร. ๒๔๔-๑๘๐๘
โทรสาร ๒๔๔-๑๖๒๕-๖
--คณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์สภาร่างรัฐธรรมนูญ--