กรุงเทพ--25 ก.ค.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญวันนี้ (25 ก.ค. 2540) เป็นการพิจารณาต่อจากเมื่อวาน ได้มีการนำสาระสำคัญในร่างรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของวุฒิสภาเข้าหารือ โดยนายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญกล่าววา แม้สมาชิกวุฒิสภาจะมาจากการเลือกตั้งทางตรง แต่อำนาจหน้าที่จะต้องไม่ซ้ำซ้อนกับสภาผู้แทนราษฎรโดยเฉพาะการเสนอร่างกฎหมายนั้น ถือว่าไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาแต่อย่างใด
ขณะที่นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ ย้ำว่า วุฒิสภาจะมีบทบาทในการตรวจสอบเป็นสำคัญ โดยมีอำนาจในการแต่งตั้งถอดถอนองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐตลอดจนถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ ขณะเดียวกันก็ยังคงมีบทบาทในการกลั่นกรองกฎหมายเช่นเดิม ทั้งนี้จึงจำเป็นที่จะต้องกำหนดคุณลักษณะในการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาให้ปลอดจากการครอบงำทางการเมือง โดยต้องไม่เป็นส.ส. หรือต้องพ้นจากการเป็นส.ส.มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง ไม่เป็นสมาชิกวุฒิสภา 2 สมัยติดต่อกัน ห้ามเป็นรัฐมนตรีหรือข้าราชการการเมืองภายหลังสมาชิกภาพสิ้นสุดลงเป็นเวลา 1 ปี ตลอดจนห้ามหาเสียงเลือกตั้งนอกเหนือจากที่รัฐดำเนินการให้ (แล้วแต่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญจะบัญญัติ)
และในประเด็นการห้ามสมาชิกวุฒิสภาดำรงตำแหน่ง 2 สมัยติดต่อกัน บรรดาสมาชิกได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดยเกรงว่าหากวุฒิสภาจะต้องเปลี่ยนสมาชิกทั้งหมด ในทุก ๆ สมัย (คราวละ 6 ปี) อาจขาดความต่อเนื่องในการดำเนินงาน อีกทั้งเป็นการไม่เคารพการตัดสินใจของประชาชน อย่างไรก็ตาม ภายหลังการลงมติ ปรากฎว่าเสียงส่วนใหญ่เห็นควรให้คงไว้ตามข้อเสนอของคณะกรรมาธิการฯ ที่สมาชิกวุฒิสภาไม่อาจดำรงตำแหน่ง 2 สมัยติดต่อกันได้ นอกจากนี้ในสาระสำคัญอื่นให้เป็นไปตามร่างฯ ที่คณะกรรมาธิการเสนอเข้ามาเช่นกัน
สำหรับอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาในการตรวจสอบนั้น ประกอบไปด้วยการแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการการเลือกตั้ง มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ตลอดจนมีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. สมาชิกวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด อัยการสูงสุดได้ ในกรณีที่ผู้นั้นมีพฤติกรรมร่ำรวยผิดปกติส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่หรือส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย โดยที่การเสนอขอถอดถอนนั้นเป็นสิทธิของส.ส. (จำนวน 1 ใน 4) หรือประชาชน 5 หมื่นคน เข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภาลงมติถอดถอน ส่วนสมาชิกวุฒิสภาจะมีสิทธิเข้าชื่อเพื่อร้องขอให้มีการถอดถอนได้ก็แต่เฉพาะตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาเท่านั้น--จบ--
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญวันนี้ (25 ก.ค. 2540) เป็นการพิจารณาต่อจากเมื่อวาน ได้มีการนำสาระสำคัญในร่างรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของวุฒิสภาเข้าหารือ โดยนายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญกล่าววา แม้สมาชิกวุฒิสภาจะมาจากการเลือกตั้งทางตรง แต่อำนาจหน้าที่จะต้องไม่ซ้ำซ้อนกับสภาผู้แทนราษฎรโดยเฉพาะการเสนอร่างกฎหมายนั้น ถือว่าไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาแต่อย่างใด
ขณะที่นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ ย้ำว่า วุฒิสภาจะมีบทบาทในการตรวจสอบเป็นสำคัญ โดยมีอำนาจในการแต่งตั้งถอดถอนองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐตลอดจนถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ ขณะเดียวกันก็ยังคงมีบทบาทในการกลั่นกรองกฎหมายเช่นเดิม ทั้งนี้จึงจำเป็นที่จะต้องกำหนดคุณลักษณะในการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาให้ปลอดจากการครอบงำทางการเมือง โดยต้องไม่เป็นส.ส. หรือต้องพ้นจากการเป็นส.ส.มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง ไม่เป็นสมาชิกวุฒิสภา 2 สมัยติดต่อกัน ห้ามเป็นรัฐมนตรีหรือข้าราชการการเมืองภายหลังสมาชิกภาพสิ้นสุดลงเป็นเวลา 1 ปี ตลอดจนห้ามหาเสียงเลือกตั้งนอกเหนือจากที่รัฐดำเนินการให้ (แล้วแต่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญจะบัญญัติ)
และในประเด็นการห้ามสมาชิกวุฒิสภาดำรงตำแหน่ง 2 สมัยติดต่อกัน บรรดาสมาชิกได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดยเกรงว่าหากวุฒิสภาจะต้องเปลี่ยนสมาชิกทั้งหมด ในทุก ๆ สมัย (คราวละ 6 ปี) อาจขาดความต่อเนื่องในการดำเนินงาน อีกทั้งเป็นการไม่เคารพการตัดสินใจของประชาชน อย่างไรก็ตาม ภายหลังการลงมติ ปรากฎว่าเสียงส่วนใหญ่เห็นควรให้คงไว้ตามข้อเสนอของคณะกรรมาธิการฯ ที่สมาชิกวุฒิสภาไม่อาจดำรงตำแหน่ง 2 สมัยติดต่อกันได้ นอกจากนี้ในสาระสำคัญอื่นให้เป็นไปตามร่างฯ ที่คณะกรรมาธิการเสนอเข้ามาเช่นกัน
สำหรับอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาในการตรวจสอบนั้น ประกอบไปด้วยการแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการการเลือกตั้ง มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ตลอดจนมีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. สมาชิกวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด อัยการสูงสุดได้ ในกรณีที่ผู้นั้นมีพฤติกรรมร่ำรวยผิดปกติส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่หรือส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย โดยที่การเสนอขอถอดถอนนั้นเป็นสิทธิของส.ส. (จำนวน 1 ใน 4) หรือประชาชน 5 หมื่นคน เข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภาลงมติถอดถอน ส่วนสมาชิกวุฒิสภาจะมีสิทธิเข้าชื่อเพื่อร้องขอให้มีการถอดถอนได้ก็แต่เฉพาะตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาเท่านั้น--จบ--