กรุงเทพ--29 เม.ย.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
หลังเสร็จสิ้นการประชุมวันนี้ (29 เมษายน 2540) คณะทำงานของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้หารือถึงประเด็น "สภาตุลาการ" ตามข้อเสนอของนายประชุม ทองมีนั้น นายกระมล ทองธรรมชาติ ประธานคณะกรรมาธิการวิชาการ ข้อมูลและศึกษาแนวทางการร่างกฎหมายประกอบร่างรัฐธรรมนูญ ในฐานะประธาน กล่าวว่า ที่ประชุมยังไม่ได้ข้อยุติว่าในร่างรัฐธรรมนูญควรบัญญัติสภาตุลาการหรือไม่ แม้จะมีการอภิปรายอย่างกว้างขวางตลอด 2 ชั่วโมงเต็ม ทั้งนี้ที่ประชุมเห็นควรให้จัดตั้งคณะอนุกรรมาธิการฯเพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าวเป็นการเฉพาะ โดยจะประชุมและหาข้อสรุปภายในวันพรุ่งนี้ (30 เมษายน 2540) ว่าหากจะให้มีสภาตุลาการควรกำหนดโครงสร้างเป็นเช่นไร ซึ่งที่ประชุมคณะทำงานของคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ส่วนใหญ่เห็นว่าสภาตุลาการควรมีอำนาจหน้าที่เพียงเป็นผู้ประสานงานของศาลต่าง ๆ ทั้งศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ดังกล่าวของสภาตุลาการ จะไม่กระทบต่อการทำงานของคณะกรรมการตุลาการในแต่ละศาล โดยนายกระมลกล่าวว่าอาจจะเพิ่มเข้าไปแค่มาตราเดียว ซึ่งจะไม่ไปกระทบกับองค์การอิสระของศาลต่างๆ โดยที่สภาตุลาการจะเป็นองค์กรประสานงาน เพื่อช่วยดูแลให้เกิดความเป็นอิสระในการทำงานของผู้พิพากษา ไม่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล
ส่วนข้อเสนอของนายประชุม ทองมี ที่เห็นว่าประธานศาลฎีกาควรเป็นประธานสภาตุลาการนั้น นายกระมล ได้เสนออีกทางเลือกหนึ่งโดยหยิบยกรัฐธรรมนูญของเยอรมันขึ้นมาว่า ประธานสภาตุลาการน่าจะมาจาก ผู้ที่มีอาวุโสสูงสุดในบรรดาประธานศาลต่าง ๆ
ทางด้านนายประชุม ทองมี กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ย้ำถึงเป้าหมายในการบัญญัติ "สภาตุลาการ" ว่า เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพของศาล และเป็นหลักประกันถึงความเป็นอิสระในการทำงานของศาล ตลอดจนจะเป็นผู้ชี้ขาดว่าแต่ละคดีควรขึ้นกับศาลใด นอกจากนี้ตามข้อเสนอเดิม นายประชุม เห็นว่า สภาตุลาการควรบริหารงานบุคคลของศาลต่าง ๆ ด้วย ซึ่งหากการร่างรัฐธรรมนูญบัญญัติเช่นนั้น ในบางมาตราที่เคยร่างไว้อาจต้องมีการปรับเปลี่ยน
ทั้งนี้คณะอนุกรรมาธิการฯซึ่งตั้งขึ้นมา เพื่อศึกษาในประเด็นสภาตุลาการเป็นการเฉพาะ นอกจากนายประชุม ทองมี แล้วยังประกอบไปด้วย
นายอมร รักษาสัตย์ ประธานคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและประชาพิจารณ์
นายมนัส ทัศนียานนท์ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
นายธรรมนูญ ลัดพลี กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
นายปิ่นทิพย์ สุจริตกุล อธิบดีผู้พิพาษาศาลอุทธรณ์ ภาค 1
และนายบุญเขต พุ่มพิมพ์ ผู้พิพากษาศาลแขวงพระนครเหนือ
ด้านนายอมร รักษาสัตย์ ประธานคณะกรรมมาธิการรับฟังความคิดเห็นและประชาพิจารณ์ กล่าวหลังการประชุมวันนี้ (29 เมษายน 2540) ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุปว่า เนื่องจากนายประชุม ทองมี เจ้าของญัตติไม่สะดวกเข้าร่วมประชุม และขณะนี้ติดขัดเพียงการตั้งชื่อว่า ควรเป็นสภาตุลาการหรือเป็นคณะกรรมการตุลาการจึงจะเหมาะสม แต่ในส่วนของอำนาจหน้าที่นั้น เป็นได้ตกลงกันว่าควรมีหน้าที่ในการประสานงานไม่ว่าจะเป็นการเลื่อนขั้น, การปรับเงินเดือนของผู้พิพากษา ตลอดจนการโยกย้าย และส่วนตัวเห็นว่าผู้ที่จะทำหน้าที่ประธานควรให้หมุนเวียนกันดำรงตำแหน่ง โดยยึดอาวุโสเป็นหลัก
สำหรับการประชุมอนุกรรมาธิการฯ เพื่อพิจารณาเรื่อง สภาตุลาการนั้นจะนัดหารืออีกครั้งพรุ่งนี้ (30 เมษายน 2540) เวลา 16.30 น. ที่รัฐสภา และนำผลการประชุมเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในเย็นวันเดียวกัน
ล่าสุดนายกระมล ทองธรรมชาติ ประธานคณะกรรมาธิการวิชาการฯเห็นว่า เมื่อนายประชุม ทองมี เจ้าของญัตติไม่เข้าร่วมประชุมวันนี้ (29 เมษายน 2540) อาจต้องให้นายประชุมขอแปรญัตติต่อที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญเอง โดยไม่ควรนำเข้าพิจารณาในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ--จบ--
หลังเสร็จสิ้นการประชุมวันนี้ (29 เมษายน 2540) คณะทำงานของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้หารือถึงประเด็น "สภาตุลาการ" ตามข้อเสนอของนายประชุม ทองมีนั้น นายกระมล ทองธรรมชาติ ประธานคณะกรรมาธิการวิชาการ ข้อมูลและศึกษาแนวทางการร่างกฎหมายประกอบร่างรัฐธรรมนูญ ในฐานะประธาน กล่าวว่า ที่ประชุมยังไม่ได้ข้อยุติว่าในร่างรัฐธรรมนูญควรบัญญัติสภาตุลาการหรือไม่ แม้จะมีการอภิปรายอย่างกว้างขวางตลอด 2 ชั่วโมงเต็ม ทั้งนี้ที่ประชุมเห็นควรให้จัดตั้งคณะอนุกรรมาธิการฯเพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าวเป็นการเฉพาะ โดยจะประชุมและหาข้อสรุปภายในวันพรุ่งนี้ (30 เมษายน 2540) ว่าหากจะให้มีสภาตุลาการควรกำหนดโครงสร้างเป็นเช่นไร ซึ่งที่ประชุมคณะทำงานของคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ส่วนใหญ่เห็นว่าสภาตุลาการควรมีอำนาจหน้าที่เพียงเป็นผู้ประสานงานของศาลต่าง ๆ ทั้งศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ดังกล่าวของสภาตุลาการ จะไม่กระทบต่อการทำงานของคณะกรรมการตุลาการในแต่ละศาล โดยนายกระมลกล่าวว่าอาจจะเพิ่มเข้าไปแค่มาตราเดียว ซึ่งจะไม่ไปกระทบกับองค์การอิสระของศาลต่างๆ โดยที่สภาตุลาการจะเป็นองค์กรประสานงาน เพื่อช่วยดูแลให้เกิดความเป็นอิสระในการทำงานของผู้พิพากษา ไม่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล
ส่วนข้อเสนอของนายประชุม ทองมี ที่เห็นว่าประธานศาลฎีกาควรเป็นประธานสภาตุลาการนั้น นายกระมล ได้เสนออีกทางเลือกหนึ่งโดยหยิบยกรัฐธรรมนูญของเยอรมันขึ้นมาว่า ประธานสภาตุลาการน่าจะมาจาก ผู้ที่มีอาวุโสสูงสุดในบรรดาประธานศาลต่าง ๆ
ทางด้านนายประชุม ทองมี กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ย้ำถึงเป้าหมายในการบัญญัติ "สภาตุลาการ" ว่า เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพของศาล และเป็นหลักประกันถึงความเป็นอิสระในการทำงานของศาล ตลอดจนจะเป็นผู้ชี้ขาดว่าแต่ละคดีควรขึ้นกับศาลใด นอกจากนี้ตามข้อเสนอเดิม นายประชุม เห็นว่า สภาตุลาการควรบริหารงานบุคคลของศาลต่าง ๆ ด้วย ซึ่งหากการร่างรัฐธรรมนูญบัญญัติเช่นนั้น ในบางมาตราที่เคยร่างไว้อาจต้องมีการปรับเปลี่ยน
ทั้งนี้คณะอนุกรรมาธิการฯซึ่งตั้งขึ้นมา เพื่อศึกษาในประเด็นสภาตุลาการเป็นการเฉพาะ นอกจากนายประชุม ทองมี แล้วยังประกอบไปด้วย
นายอมร รักษาสัตย์ ประธานคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและประชาพิจารณ์
นายมนัส ทัศนียานนท์ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
นายธรรมนูญ ลัดพลี กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
นายปิ่นทิพย์ สุจริตกุล อธิบดีผู้พิพาษาศาลอุทธรณ์ ภาค 1
และนายบุญเขต พุ่มพิมพ์ ผู้พิพากษาศาลแขวงพระนครเหนือ
ด้านนายอมร รักษาสัตย์ ประธานคณะกรรมมาธิการรับฟังความคิดเห็นและประชาพิจารณ์ กล่าวหลังการประชุมวันนี้ (29 เมษายน 2540) ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุปว่า เนื่องจากนายประชุม ทองมี เจ้าของญัตติไม่สะดวกเข้าร่วมประชุม และขณะนี้ติดขัดเพียงการตั้งชื่อว่า ควรเป็นสภาตุลาการหรือเป็นคณะกรรมการตุลาการจึงจะเหมาะสม แต่ในส่วนของอำนาจหน้าที่นั้น เป็นได้ตกลงกันว่าควรมีหน้าที่ในการประสานงานไม่ว่าจะเป็นการเลื่อนขั้น, การปรับเงินเดือนของผู้พิพากษา ตลอดจนการโยกย้าย และส่วนตัวเห็นว่าผู้ที่จะทำหน้าที่ประธานควรให้หมุนเวียนกันดำรงตำแหน่ง โดยยึดอาวุโสเป็นหลัก
สำหรับการประชุมอนุกรรมาธิการฯ เพื่อพิจารณาเรื่อง สภาตุลาการนั้นจะนัดหารืออีกครั้งพรุ่งนี้ (30 เมษายน 2540) เวลา 16.30 น. ที่รัฐสภา และนำผลการประชุมเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในเย็นวันเดียวกัน
ล่าสุดนายกระมล ทองธรรมชาติ ประธานคณะกรรมาธิการวิชาการฯเห็นว่า เมื่อนายประชุม ทองมี เจ้าของญัตติไม่เข้าร่วมประชุมวันนี้ (29 เมษายน 2540) อาจต้องให้นายประชุมขอแปรญัตติต่อที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญเอง โดยไม่ควรนำเข้าพิจารณาในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ--จบ--