กรุงเทพ--27 มี.ค.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
หลังเดินทางมารายงานตัวยังรัฐสภาวันนี้ (27 มีนาคม 2540) รศ.ดร.มนตรี รูปสุวรรณ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญคนใหม่ สาขาผู้เชี่ยวชาญกฎหมายมหาชน แสดงความมั่นใจว่า จะสามารถสานต่องานที่เป็นประโยชน์ต่อการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ โดยเฉพาะการพิจารณาในประเด็นปัญหา "การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ" และ "สถาบันการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมือง" ซึ่งมีความชำนาญอยู่ และในการประชุมสภาร่าง ฯ สัปดาห์หน้า คาดว่าส่วนตัวจะได้รับเลือกให้เข้าทำงานในคณะกรรมาธิการยกร่าง ฯ ด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้จะยอมรับในประเด็นปัญหาทั้ง 3 กรอบ แต่ยังคงติดใจในหลายประเด็นด้วยกัน อาทิ ข้อเสนอที่ว่า "ส.ส.อาจไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง" เพราะเห็นว่าอาจส่งผลให้เกิดความวุ่นวายต่อระบบพรรคการเมือง โดยเฉพาะการโหวตคะแนนเสียง ซึ่ง ส.ส. อิสระอาจกลายเป็นตัวแปรทางการเมืองได้
ส่วนระบบการเลือกตั้งแบบผสมของสภาร่างรัฐธรรมนูญนั้น รศ.ดร.มนตรี ยอมรับไม่มั่นใจว่าการแบ่งเขตเลือกตั้งแบบ "เขตเดียว เบอร์เดียว" จะช่วยลดหรือเป็นการเพิ่มปัญหาการซื้อสิทธิ์ขายเสียงพร้อมเสนอน่าจะปรับสัดส่วนระหว่างส.ส. แบบแบ่งเขตเรียงเบอร์กันแบบสัดส่วน ให้เลือกอัตราส่วย 300:100 คน
นอกจากนี้ ยังไม่เห็นด้วยกับการจะให้ผู้ขึ้นดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีต้องลาออกจากการเป็น ส.ส. เพราะในที่สุดรัฐบาลอาจกลายเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อยในสภา ฯ และที่สำคัญหากรัฐมนตรีลาออกหรือถูกถอดถอน ก็จะไม่มีตำแหน่ง ส.ส.รองรับอีก เช่นเดียวกับการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกโดยตรงจากประชาชนที่ รศ.ดร.มนตรี ไม่เห็นด้วยเพราะมองว่าควรมาจากการคัดเลือกของคณะกรรมการสรรหาที่ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ หรือตัวแทนสาขาอาชีพ
ส่วนในประเด็นการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐรศ.ดร.มนตรีไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอที่ให้มีตุลาการคดีอาญา เพื่อเข้ามาพิจารณาในคดีฝ่ายบริหารทุจริตคอร์รับชั่น ซึ่งอาจมีปัญหาว่าจะทำได้จริงหรือไม่ และยังมีอีกหลายประเด็นที่ไม่เห็นด้วยแต่ท่ามกลางความคิดเห็นที่หลากหลายในการยกร่างรัฐธรรมนูญ สสร.ควรคำนึงถึงความเห็นของนักการเมืองด้วยโดยจำเป็นจะต้องหาจุดประนีประนอม เพื่อให้เกิดความลงตัวกันทุกฝ่าย--จบ--
หลังเดินทางมารายงานตัวยังรัฐสภาวันนี้ (27 มีนาคม 2540) รศ.ดร.มนตรี รูปสุวรรณ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญคนใหม่ สาขาผู้เชี่ยวชาญกฎหมายมหาชน แสดงความมั่นใจว่า จะสามารถสานต่องานที่เป็นประโยชน์ต่อการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ โดยเฉพาะการพิจารณาในประเด็นปัญหา "การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ" และ "สถาบันการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมือง" ซึ่งมีความชำนาญอยู่ และในการประชุมสภาร่าง ฯ สัปดาห์หน้า คาดว่าส่วนตัวจะได้รับเลือกให้เข้าทำงานในคณะกรรมาธิการยกร่าง ฯ ด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้จะยอมรับในประเด็นปัญหาทั้ง 3 กรอบ แต่ยังคงติดใจในหลายประเด็นด้วยกัน อาทิ ข้อเสนอที่ว่า "ส.ส.อาจไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง" เพราะเห็นว่าอาจส่งผลให้เกิดความวุ่นวายต่อระบบพรรคการเมือง โดยเฉพาะการโหวตคะแนนเสียง ซึ่ง ส.ส. อิสระอาจกลายเป็นตัวแปรทางการเมืองได้
ส่วนระบบการเลือกตั้งแบบผสมของสภาร่างรัฐธรรมนูญนั้น รศ.ดร.มนตรี ยอมรับไม่มั่นใจว่าการแบ่งเขตเลือกตั้งแบบ "เขตเดียว เบอร์เดียว" จะช่วยลดหรือเป็นการเพิ่มปัญหาการซื้อสิทธิ์ขายเสียงพร้อมเสนอน่าจะปรับสัดส่วนระหว่างส.ส. แบบแบ่งเขตเรียงเบอร์กันแบบสัดส่วน ให้เลือกอัตราส่วย 300:100 คน
นอกจากนี้ ยังไม่เห็นด้วยกับการจะให้ผู้ขึ้นดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีต้องลาออกจากการเป็น ส.ส. เพราะในที่สุดรัฐบาลอาจกลายเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อยในสภา ฯ และที่สำคัญหากรัฐมนตรีลาออกหรือถูกถอดถอน ก็จะไม่มีตำแหน่ง ส.ส.รองรับอีก เช่นเดียวกับการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกโดยตรงจากประชาชนที่ รศ.ดร.มนตรี ไม่เห็นด้วยเพราะมองว่าควรมาจากการคัดเลือกของคณะกรรมการสรรหาที่ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ หรือตัวแทนสาขาอาชีพ
ส่วนในประเด็นการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐรศ.ดร.มนตรีไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอที่ให้มีตุลาการคดีอาญา เพื่อเข้ามาพิจารณาในคดีฝ่ายบริหารทุจริตคอร์รับชั่น ซึ่งอาจมีปัญหาว่าจะทำได้จริงหรือไม่ และยังมีอีกหลายประเด็นที่ไม่เห็นด้วยแต่ท่ามกลางความคิดเห็นที่หลากหลายในการยกร่างรัฐธรรมนูญ สสร.ควรคำนึงถึงความเห็นของนักการเมืองด้วยโดยจำเป็นจะต้องหาจุดประนีประนอม เพื่อให้เกิดความลงตัวกันทุกฝ่าย--จบ--