ร่าง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
หมวด 10
การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
ส่วนที่ 4
คณะตุลาการคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
มาตรา 306 ในกรณีที่นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือข้าราชการการเมืองอื่น มีกรณีถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ตามกฎหมายอื่น ให้คณะตุลาการคดีอาญา หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ตามกฎหมายอื่น ให้คณะตุลาการคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นผู้พิจารณา
บทบัญญัติในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับกรณีที่บุคคลดังกล่าวเป็นตัวการ ผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนด้วย
มาตรา 307 คณะตุลาการคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองประกอบด้วยประธานตุลาการหนึ่งคน ตุลาการประจำจำนวนสิบคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และตุลาการเฉพาะคดีจำนวนสิบคน ซึ่งได้รับเลือกจากสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาตามมาตรา 309 (1)
ประธานตุลาการ ตุลาการประจำ และตุลาการเฉพาะคดี ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 255 (1)(2)(4) และ (7)
มาตรา 308 การเลือกประธานตุลาการและตุลาการประจำ ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเลือกผู้พิพากษาศาลฎีกาจำนวนสิบเอ็ดคนนอกจากประธานศาลฎีกา เป็นตุลาการประจำ
(2) ให้ตุลาการประจำตาม (1) ประชุมกันเองเพื่อเลือกตุลาการประจำคนหนึ่งเป็นประธานตุลาการ
มาตรา 309 การเลือกและการแต่งตั้งตุลาการเฉพาะคดีให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) ในการประชุมสมัยสามัญครั้งแรกภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปทุกครั้งให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเลือกสมาชิกของสภานั้นซึ่งควรได้รับแต่งตั้งเป็นตุลาการเฉพาะคดีจำนวนสภาละห้าคน แล้วขึ้นบัญชีไว้
(2) ภายใต้บังคับมาตรา 313 วรรคสอง เมื่อมีกรณีที่ต้องพิจารณาคดีใดโดยคณะตุลาการคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้ตุลาการประจำตามมาตรา 308 ประชุมเพื่อเลือกตุลาการเฉพาะคดีจำนวนห้าคน โดยเลือกจากบัญชีตุลาการเฉพาะคดีตาม (1) เพื่อให้ร่วมพิจารณาคดี
มาตรา 310 ประธานตุลาการและตุลาการประจำ ให้ดำรงตำแหน่งไปจนกว่าจะพ้นจากตำแหน่งข้าราชการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ ตุลาการเฉพาะคดีมีวาระเท่าอายุของสภาผู้แทนราษฎร หรือจนกว่าจะมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร แล้วแต่กรณี
ในระหว่างที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบให้คณะตุลาการคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองประกอบด้วยประธานตุลาการและตุลาการประจำที่เหลืออยู่
ให้นำบทบัญญัติมาตรา 259 และมาตรา 260 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 311 ถ้าตำแหน่งประธานตุลาการ ตุลาการประจำ หรือตุลาการเฉพาะคดี ว่างลงเพราะเหตุอื่นใดนอกจากถึงคราวออกตามวาระ ให้ดำเนินการตามมาตรา 308 หรือ มาตรา 309 แล้วแต่กรณี เพื่อแต่งตั้งประธานตุลาการ ตุลาการประจำ หรือตุลาการเฉพาะคดี ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการพ้นจากตำแหน่งในกรณีของตุลาการเฉพาะคดี กำหนดวันดังกล่าวให้หมายถึงวันในสมัยประชุม
ในระหว่างที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งประธานตุลาการ ตุลาการประจำ หรือตุลาการเฉพาะคดี ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้ตุลาการที่เหลืออยู่ปฎิบัติหน้าที่ไปพลาง
มาตรา 312 ผู้เสียหายจากการกระทำตามมาตรา 306 มีสิทธิยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเพื่อให้ดำเนินการตามมาตรา 299 (2) ได้ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ให้อัยการสูงสุดทำหน้าที่เป็นโจทก์และมีอำนาจนำตัวผู้ถูกกล่าวหามาดำเนินคดีต่อไป
มาตรา 313 คณะตุลาการคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีอิสระในการไต่สวน พิจารณา และวินิจฉัยคดี
ตุลาการเฉพาะคดีซึ่งแต่งตั้งจากบุคคลที่สภาใดสภาหนึ่งเลือกไว้ จะนั่งพิจารณาคดีที่สมาชิกของสภานั้นถูกพิจารณาคดีมิได้ เว้นแต่การพิจารณาคดีตามมาตรา 298 และคดีที่นายกรัฐมนตรีถูกกล่าวหา ให้ตุลาการเฉพาะคดีทุกคนมีหน้าที่ร่วมพิจารณาและทำคำวินิจฉัย
มาตรา 314 ในการพิจารณาคดี ให้คณะตุลาการคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองยึดสำนวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นหลักในการพิจารณา และอาจไต่สวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร
ให้นำบทบัญญัติมาตรา 264 วรรคสามและวรรคสี่ มาใช้บังคับกับการปฎิบัติหน้าที่ของคณะตุลาการคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วยโดยอนุโลม
บทบัญญัติว่าด้วยเอกสิทธิ์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาตามมาตรา 168 และ มาตรา 169 มิให้นำมาใช้บังคับแก่การพิจารณาคดีของตุลาการคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
มาตรา 315 คณะตุลาการคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต้องมีตุลาการอย่างน้อยสิบคนจึงจะเป็นองค์คณะนั่งพิจารณา และการวินิจฉัยคดีให้ถือเสียงข้างมาก
ในการวินิจฉัยคดีนั้นประธานตุลาการและตุลาการทุกคนต้องทำความเห็นเป็นหนังสือ ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย
(1) ชื่อผู้ถูกกล่าวหา
(2) เรื่องที่ถูกกล่าวหา
(3) ข้อกล่าวหาและสรุปข้อเท็จจริงที่ได้จากการพิจารณา
(4) เหตุผลในการวินิจฉัยทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย
(5) บทบัญญัติของกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างอิง
(6) คำวินิจฉัยของคดี รวมทั้งการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เกี่ยวข้อง ถ้ามี
ตุลาการคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองซึ่งเป็นองค์คณะทุกคนจะต้องทำคำวินิจฉัยในส่วนของตนพร้อมแถลงด้วยวาจาต่อที่ประชุมก่อนการลงมติ
คำวินิจฉัยของคณะตุลาการคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและคำวินิจฉัยของตุลาการคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทุกคน ให้ประกาศในราชกิจจานุกเบกษา คำสั่งและคำวินิจฉัยของตุลาการคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้เป็นที่สุด
--คณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์สภาร่างรัฐธรรมนูญ--
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
หมวด 10
การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
ส่วนที่ 4
คณะตุลาการคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
มาตรา 306 ในกรณีที่นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือข้าราชการการเมืองอื่น มีกรณีถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ตามกฎหมายอื่น ให้คณะตุลาการคดีอาญา หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ตามกฎหมายอื่น ให้คณะตุลาการคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นผู้พิจารณา
บทบัญญัติในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับกรณีที่บุคคลดังกล่าวเป็นตัวการ ผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนด้วย
มาตรา 307 คณะตุลาการคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองประกอบด้วยประธานตุลาการหนึ่งคน ตุลาการประจำจำนวนสิบคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และตุลาการเฉพาะคดีจำนวนสิบคน ซึ่งได้รับเลือกจากสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาตามมาตรา 309 (1)
ประธานตุลาการ ตุลาการประจำ และตุลาการเฉพาะคดี ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 255 (1)(2)(4) และ (7)
มาตรา 308 การเลือกประธานตุลาการและตุลาการประจำ ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเลือกผู้พิพากษาศาลฎีกาจำนวนสิบเอ็ดคนนอกจากประธานศาลฎีกา เป็นตุลาการประจำ
(2) ให้ตุลาการประจำตาม (1) ประชุมกันเองเพื่อเลือกตุลาการประจำคนหนึ่งเป็นประธานตุลาการ
มาตรา 309 การเลือกและการแต่งตั้งตุลาการเฉพาะคดีให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) ในการประชุมสมัยสามัญครั้งแรกภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปทุกครั้งให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเลือกสมาชิกของสภานั้นซึ่งควรได้รับแต่งตั้งเป็นตุลาการเฉพาะคดีจำนวนสภาละห้าคน แล้วขึ้นบัญชีไว้
(2) ภายใต้บังคับมาตรา 313 วรรคสอง เมื่อมีกรณีที่ต้องพิจารณาคดีใดโดยคณะตุลาการคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้ตุลาการประจำตามมาตรา 308 ประชุมเพื่อเลือกตุลาการเฉพาะคดีจำนวนห้าคน โดยเลือกจากบัญชีตุลาการเฉพาะคดีตาม (1) เพื่อให้ร่วมพิจารณาคดี
มาตรา 310 ประธานตุลาการและตุลาการประจำ ให้ดำรงตำแหน่งไปจนกว่าจะพ้นจากตำแหน่งข้าราชการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ ตุลาการเฉพาะคดีมีวาระเท่าอายุของสภาผู้แทนราษฎร หรือจนกว่าจะมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร แล้วแต่กรณี
ในระหว่างที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบให้คณะตุลาการคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองประกอบด้วยประธานตุลาการและตุลาการประจำที่เหลืออยู่
ให้นำบทบัญญัติมาตรา 259 และมาตรา 260 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 311 ถ้าตำแหน่งประธานตุลาการ ตุลาการประจำ หรือตุลาการเฉพาะคดี ว่างลงเพราะเหตุอื่นใดนอกจากถึงคราวออกตามวาระ ให้ดำเนินการตามมาตรา 308 หรือ มาตรา 309 แล้วแต่กรณี เพื่อแต่งตั้งประธานตุลาการ ตุลาการประจำ หรือตุลาการเฉพาะคดี ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการพ้นจากตำแหน่งในกรณีของตุลาการเฉพาะคดี กำหนดวันดังกล่าวให้หมายถึงวันในสมัยประชุม
ในระหว่างที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งประธานตุลาการ ตุลาการประจำ หรือตุลาการเฉพาะคดี ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้ตุลาการที่เหลืออยู่ปฎิบัติหน้าที่ไปพลาง
มาตรา 312 ผู้เสียหายจากการกระทำตามมาตรา 306 มีสิทธิยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเพื่อให้ดำเนินการตามมาตรา 299 (2) ได้ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ให้อัยการสูงสุดทำหน้าที่เป็นโจทก์และมีอำนาจนำตัวผู้ถูกกล่าวหามาดำเนินคดีต่อไป
มาตรา 313 คณะตุลาการคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีอิสระในการไต่สวน พิจารณา และวินิจฉัยคดี
ตุลาการเฉพาะคดีซึ่งแต่งตั้งจากบุคคลที่สภาใดสภาหนึ่งเลือกไว้ จะนั่งพิจารณาคดีที่สมาชิกของสภานั้นถูกพิจารณาคดีมิได้ เว้นแต่การพิจารณาคดีตามมาตรา 298 และคดีที่นายกรัฐมนตรีถูกกล่าวหา ให้ตุลาการเฉพาะคดีทุกคนมีหน้าที่ร่วมพิจารณาและทำคำวินิจฉัย
มาตรา 314 ในการพิจารณาคดี ให้คณะตุลาการคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองยึดสำนวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นหลักในการพิจารณา และอาจไต่สวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร
ให้นำบทบัญญัติมาตรา 264 วรรคสามและวรรคสี่ มาใช้บังคับกับการปฎิบัติหน้าที่ของคณะตุลาการคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วยโดยอนุโลม
บทบัญญัติว่าด้วยเอกสิทธิ์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาตามมาตรา 168 และ มาตรา 169 มิให้นำมาใช้บังคับแก่การพิจารณาคดีของตุลาการคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
มาตรา 315 คณะตุลาการคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต้องมีตุลาการอย่างน้อยสิบคนจึงจะเป็นองค์คณะนั่งพิจารณา และการวินิจฉัยคดีให้ถือเสียงข้างมาก
ในการวินิจฉัยคดีนั้นประธานตุลาการและตุลาการทุกคนต้องทำความเห็นเป็นหนังสือ ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย
(1) ชื่อผู้ถูกกล่าวหา
(2) เรื่องที่ถูกกล่าวหา
(3) ข้อกล่าวหาและสรุปข้อเท็จจริงที่ได้จากการพิจารณา
(4) เหตุผลในการวินิจฉัยทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย
(5) บทบัญญัติของกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างอิง
(6) คำวินิจฉัยของคดี รวมทั้งการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เกี่ยวข้อง ถ้ามี
ตุลาการคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองซึ่งเป็นองค์คณะทุกคนจะต้องทำคำวินิจฉัยในส่วนของตนพร้อมแถลงด้วยวาจาต่อที่ประชุมก่อนการลงมติ
คำวินิจฉัยของคณะตุลาการคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและคำวินิจฉัยของตุลาการคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทุกคน ให้ประกาศในราชกิจจานุกเบกษา คำสั่งและคำวินิจฉัยของตุลาการคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้เป็นที่สุด
--คณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์สภาร่างรัฐธรรมนูญ--