กรุงเทพ--18 มิ.ย.-- ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
การประชุมคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญวันนี้ (18 มิถุนายน 2540) เริ่มพิจารณาร่างฯ "บทที่ใช้แก่สภาทั้งสอง" โดยกำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาย่อยเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย และต้องปฎิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทยด้วยความซื่อสัตย์สุจริต สำหรับการลงมติของสมาชิก ประธานสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานวุฒิสภา จะต้องจัดให้มีการบันทึกการออกเสียงลงคะแนนของสมาชิกแต่ละคน และเปิดเผยบันทึกคำกล่าวไว้ในที่ที่ประชาชนอาจเข้าไปตรวจสอบได้ เว้นแต่เป็นการออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ
ส่วนเอกสิทธิ์ของสมาชิกรัฐสภา ไม่ว่าจะในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่ประชุมวุฒิสภาหรือที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ที่ให้สมาชิกสามารถกล่าวถ้อยคำใด ๆ เพื่อแถลงข้อเท็จจริง แสดงความคิดเป็นหรือออกเสียงลงคะแนน โดยตามร่างฯ ได้กำหนดให้ถือเป็นเอกสิทธิ์เด็ดขาด ไม่สามารถนำไปเป็นเหตุฟ้องร้องสมาชิกได้นั้น นายเดโช สวนานนท์ กรรมาธิการฯ เสนอว่าเอกสิทธิ์ดังกล่าวควรควบคุมไปถึงการกล่าวถ้อยคำในการประชุมระหว่างที่มีการถ่ายทอดทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ด้วย แม้จะเป็นการกล่าวถ้อยคำที่มีลักษณะเป็นความผิดทางอาญาหรือละเมิดในทางแพ่งต่อบุคคลอื่นก็ตาม เพราะหากร่างรัฐธรรมนูญไม่ให้เอกสิทธิ์คุ้มครองแก่สมาชิกในกรณีดังกล่าวไว้ด้วย ก็อาจเปิดช่องให้รัฐบาลอาศัยการถ่ายทอด เป็นเหตุบีบบังคับให้สมาชิกไม่สามารถเปิดเผยข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับบุคคลอื่นได้เลย อย่างไรก็ตามมีกรรมาธิการหลายคนเห็นว่า การให้เอกสิทธิ์แก่สมาชิกรัฐสภาควรมีขอบเขตที่จะไม่ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่นด้วย ทั้งนี้มีการเสนอทางออกว่าร่างฯ อาจให้เอกสิทธิ์แก่สมาชิกเพื่อร้องขอต่อประธานให้ระงับการถ่ายทอดสดได้ หากเป็นเรื่องที่เกรงจะไปพาดพิงต่อบุคคลอื่น จนเป็นเหตุให้ถูกฟ้องร้อง ซึ่งประเด็นดังกล่าวมีทั้งกรรมาธิการที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่ท้ายที่สุดที่ประชุมเห็นควรให้คงสาระตามร่างรัฐธรรมนูญคือไม่ควรให้เอกสิทธิ์คุ้มครองแก่สมาชิกในการกล่าวถ้อยคำลักษณะที่เป็นความผิดทางอาญาหรือละเมิดสิทธิ์ในทางแพ่งต่อบุคคลอื่นซึ่งไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีหรือสมาชิกแห่งสภานั้น ๆ ในระหว่างที่มีการถ่ายทอดทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ นอกจากนี้หากเป็นถ้อยคำที่ทำให้บุคคลอื่นได้รับความเสียหาย ประธานแห่งสภานั้นจะต้องจัดให้มีการโฆษณาคำชี้แจงตามที่บุคคลนั้นร้องขอด้วย
สำหรับสมัยประชุมของรัฐสภา ซึ่งร่างฯ กำหนดให้สมัยประชุมหนึ่ง ๆ มีระยะเวลา 120 วันนั้น ก็มีกรรมาธิการเสนอว่าน่าจะขยายเวลาเป็น 150 วัน เพื่อให้สมาชิกรัฐสภาปฎิบัติหน้าที่ในทางนิติบัญญัติได้อย่างเต็มที่ พร้อมทั้งเสนอให้ตัดข้อความในร่างฯ ที่กล่าวถึง "การปิดสมัยประชุมสามัญก่อนครบกำหนดเวลาซึ่งกระทำได้โดยความเห็นชอบต่อรัฐสภา" ออกไปด้วย ทั้งนี้มีกรรมาธิการแสดงความคิดเห็นกันอย่างหลากหลายโดยมีความเห็นที่ลงลึกในรายละเอียดด้วยว่าในแต่ละสมัยประชุม ควรกำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรจัดการประชุมจำนวนกี่วันต่อสัปดาห์ ซึ่งในปัจจุบันมีการประชุมกันเพียง 2 วันต่อสัปดาห์เท่านั้น อย่างไรก็ตามประธานกรรมาธิการฯ เห็นว่าควรเป็นเพียงข้อสังเกตุ ซึ่งไม่จำเป็นต้องบัญญัติเพิ่มเติมไว้ในร่างฯ แต่อย่างไรเช่นเดียวกับประเด็นระยะเวลาในแต่ละสมัยประชุมเห็นควรให้คงไว้ตามร่างฯ คือสมัยฯ ละ 120 วันตามเดิม
ในการพิจารณาถึงอำนาจการเสนอกฎหมาย ซึ่งตามร่างรัฐธรรมนูญกำหนดว่า พระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะเสนอได้ก็แต่โดยคณะรัฐมนตรีหรือสมาชิกสมาผู้แทนราษฎรยกเว้นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะเสนอก็ได้ ก็ต่อเมื่อมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรีนั้น บรรดากรรมาธิการฯ มีความเห็นที่หลากหลายซึ่งที่ประชุมยังสามารถหาข้อยุติได้ โดยที่นายกระมล ทองธรรมชาติ กรรมาธิการฯ ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ศึกษาเรื่องดังกล่าวรับที่จะนำกลับไปทบทวนแก้ไขปรับปรุง ให้เป็นไปตามข้อสังเกตุของกรรมาธิการ ขนาดเดียวกันก็ต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักการเดิมด้วย อย่างไรก็ตาม ในส่วนที่กำหนดให้ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 คน มีสิทธิ์เข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภาพิจารณากฎหมายได้นั้น ที่ประชุมเห็นด้วยที่จะให้คงบทบัญญัติดังกล่าวไว้
นอกจากนี้ระหว่างการประชุม นายอานันท์ ปันยารชุน ได้ขอหารือกับกรรมาธิการฯ ถึงกรอบเวลาในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมาธิการ ซึ่งเดิมกำหนดให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 มิถุนายน 2540 ขณะที่มีสาระสำคัญบางประการรอให้กลับมาพิจารณาใหม่ ประธานคณะกรรมาธิการฯ จึงได้ขอวางกรอบกว้าง ๆ ไว้ ว่าในวันพรุ่งนี้ (19 มิถุนายน 2540) คณะกรรมาธิการฯ จะเริ่มหารือถึงประเด็นคณะรัฐมนตรีและศาล โดยในประเด็นศาลจะพิจารณาต่อเนื่องไปจนถึงวันศุกร์ จากนั้นจะเริ่มพิจารณาประเด็นความสัมพันระหว่างรัฐกับท้องถิ่น เพื่อให้การพิจารณาในเรื่องการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เริ่มต้นในวันที่ 23 มิถุนายน 2540 ซึ่งจะทำให้กรอบการพิจารณาของคณะกรรมาธิการฯ ร่นระยะเวลาเข้ามาให้แล้วเสร็จในวันที่ 25 มิถุนายน 2540 เพื่อให้มีเวลาเหลือพอที่คณะกรรมาธิการจะมีโอกาสทบทวนร่างฯ ในประเด็นที่ยังคั่งค้างอยู่ให้เสร็จสมบูรณ์ ก่อนที่จะเข้าสู่ขั้นการแปรญัตติของ ส.ส.ร. ที่ไม่ได้เป็นกรรมาธิการฯ (28 มิถุนายน - 15 กรกฎาคม 2540) ต่อไป--จบ--
การประชุมคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญวันนี้ (18 มิถุนายน 2540) เริ่มพิจารณาร่างฯ "บทที่ใช้แก่สภาทั้งสอง" โดยกำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาย่อยเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย และต้องปฎิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทยด้วยความซื่อสัตย์สุจริต สำหรับการลงมติของสมาชิก ประธานสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานวุฒิสภา จะต้องจัดให้มีการบันทึกการออกเสียงลงคะแนนของสมาชิกแต่ละคน และเปิดเผยบันทึกคำกล่าวไว้ในที่ที่ประชาชนอาจเข้าไปตรวจสอบได้ เว้นแต่เป็นการออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ
ส่วนเอกสิทธิ์ของสมาชิกรัฐสภา ไม่ว่าจะในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่ประชุมวุฒิสภาหรือที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ที่ให้สมาชิกสามารถกล่าวถ้อยคำใด ๆ เพื่อแถลงข้อเท็จจริง แสดงความคิดเป็นหรือออกเสียงลงคะแนน โดยตามร่างฯ ได้กำหนดให้ถือเป็นเอกสิทธิ์เด็ดขาด ไม่สามารถนำไปเป็นเหตุฟ้องร้องสมาชิกได้นั้น นายเดโช สวนานนท์ กรรมาธิการฯ เสนอว่าเอกสิทธิ์ดังกล่าวควรควบคุมไปถึงการกล่าวถ้อยคำในการประชุมระหว่างที่มีการถ่ายทอดทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ด้วย แม้จะเป็นการกล่าวถ้อยคำที่มีลักษณะเป็นความผิดทางอาญาหรือละเมิดในทางแพ่งต่อบุคคลอื่นก็ตาม เพราะหากร่างรัฐธรรมนูญไม่ให้เอกสิทธิ์คุ้มครองแก่สมาชิกในกรณีดังกล่าวไว้ด้วย ก็อาจเปิดช่องให้รัฐบาลอาศัยการถ่ายทอด เป็นเหตุบีบบังคับให้สมาชิกไม่สามารถเปิดเผยข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับบุคคลอื่นได้เลย อย่างไรก็ตามมีกรรมาธิการหลายคนเห็นว่า การให้เอกสิทธิ์แก่สมาชิกรัฐสภาควรมีขอบเขตที่จะไม่ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่นด้วย ทั้งนี้มีการเสนอทางออกว่าร่างฯ อาจให้เอกสิทธิ์แก่สมาชิกเพื่อร้องขอต่อประธานให้ระงับการถ่ายทอดสดได้ หากเป็นเรื่องที่เกรงจะไปพาดพิงต่อบุคคลอื่น จนเป็นเหตุให้ถูกฟ้องร้อง ซึ่งประเด็นดังกล่าวมีทั้งกรรมาธิการที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่ท้ายที่สุดที่ประชุมเห็นควรให้คงสาระตามร่างรัฐธรรมนูญคือไม่ควรให้เอกสิทธิ์คุ้มครองแก่สมาชิกในการกล่าวถ้อยคำลักษณะที่เป็นความผิดทางอาญาหรือละเมิดสิทธิ์ในทางแพ่งต่อบุคคลอื่นซึ่งไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีหรือสมาชิกแห่งสภานั้น ๆ ในระหว่างที่มีการถ่ายทอดทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ นอกจากนี้หากเป็นถ้อยคำที่ทำให้บุคคลอื่นได้รับความเสียหาย ประธานแห่งสภานั้นจะต้องจัดให้มีการโฆษณาคำชี้แจงตามที่บุคคลนั้นร้องขอด้วย
สำหรับสมัยประชุมของรัฐสภา ซึ่งร่างฯ กำหนดให้สมัยประชุมหนึ่ง ๆ มีระยะเวลา 120 วันนั้น ก็มีกรรมาธิการเสนอว่าน่าจะขยายเวลาเป็น 150 วัน เพื่อให้สมาชิกรัฐสภาปฎิบัติหน้าที่ในทางนิติบัญญัติได้อย่างเต็มที่ พร้อมทั้งเสนอให้ตัดข้อความในร่างฯ ที่กล่าวถึง "การปิดสมัยประชุมสามัญก่อนครบกำหนดเวลาซึ่งกระทำได้โดยความเห็นชอบต่อรัฐสภา" ออกไปด้วย ทั้งนี้มีกรรมาธิการแสดงความคิดเห็นกันอย่างหลากหลายโดยมีความเห็นที่ลงลึกในรายละเอียดด้วยว่าในแต่ละสมัยประชุม ควรกำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรจัดการประชุมจำนวนกี่วันต่อสัปดาห์ ซึ่งในปัจจุบันมีการประชุมกันเพียง 2 วันต่อสัปดาห์เท่านั้น อย่างไรก็ตามประธานกรรมาธิการฯ เห็นว่าควรเป็นเพียงข้อสังเกตุ ซึ่งไม่จำเป็นต้องบัญญัติเพิ่มเติมไว้ในร่างฯ แต่อย่างไรเช่นเดียวกับประเด็นระยะเวลาในแต่ละสมัยประชุมเห็นควรให้คงไว้ตามร่างฯ คือสมัยฯ ละ 120 วันตามเดิม
ในการพิจารณาถึงอำนาจการเสนอกฎหมาย ซึ่งตามร่างรัฐธรรมนูญกำหนดว่า พระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะเสนอได้ก็แต่โดยคณะรัฐมนตรีหรือสมาชิกสมาผู้แทนราษฎรยกเว้นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะเสนอก็ได้ ก็ต่อเมื่อมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรีนั้น บรรดากรรมาธิการฯ มีความเห็นที่หลากหลายซึ่งที่ประชุมยังสามารถหาข้อยุติได้ โดยที่นายกระมล ทองธรรมชาติ กรรมาธิการฯ ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ศึกษาเรื่องดังกล่าวรับที่จะนำกลับไปทบทวนแก้ไขปรับปรุง ให้เป็นไปตามข้อสังเกตุของกรรมาธิการ ขนาดเดียวกันก็ต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักการเดิมด้วย อย่างไรก็ตาม ในส่วนที่กำหนดให้ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 คน มีสิทธิ์เข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภาพิจารณากฎหมายได้นั้น ที่ประชุมเห็นด้วยที่จะให้คงบทบัญญัติดังกล่าวไว้
นอกจากนี้ระหว่างการประชุม นายอานันท์ ปันยารชุน ได้ขอหารือกับกรรมาธิการฯ ถึงกรอบเวลาในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมาธิการ ซึ่งเดิมกำหนดให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 มิถุนายน 2540 ขณะที่มีสาระสำคัญบางประการรอให้กลับมาพิจารณาใหม่ ประธานคณะกรรมาธิการฯ จึงได้ขอวางกรอบกว้าง ๆ ไว้ ว่าในวันพรุ่งนี้ (19 มิถุนายน 2540) คณะกรรมาธิการฯ จะเริ่มหารือถึงประเด็นคณะรัฐมนตรีและศาล โดยในประเด็นศาลจะพิจารณาต่อเนื่องไปจนถึงวันศุกร์ จากนั้นจะเริ่มพิจารณาประเด็นความสัมพันระหว่างรัฐกับท้องถิ่น เพื่อให้การพิจารณาในเรื่องการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เริ่มต้นในวันที่ 23 มิถุนายน 2540 ซึ่งจะทำให้กรอบการพิจารณาของคณะกรรมาธิการฯ ร่นระยะเวลาเข้ามาให้แล้วเสร็จในวันที่ 25 มิถุนายน 2540 เพื่อให้มีเวลาเหลือพอที่คณะกรรมาธิการจะมีโอกาสทบทวนร่างฯ ในประเด็นที่ยังคั่งค้างอยู่ให้เสร็จสมบูรณ์ ก่อนที่จะเข้าสู่ขั้นการแปรญัตติของ ส.ส.ร. ที่ไม่ได้เป็นกรรมาธิการฯ (28 มิถุนายน - 15 กรกฎาคม 2540) ต่อไป--จบ--