บันทึกการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ครั้งที่ ๙
วันอังคารที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๐
----------------
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา
มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญลงชื่อเข้าประชุม ๘๕ คน
เมื่อสมาชิกฯ มาครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ศาสตราจารย์กระมล ทองธรรมชาติ รองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ คนที่หนึ่ง และนางยุพา อุดมศักดิ์ รองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ คนที่สอง ขึ้นบัลลังก์
ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญกล่าวเปิดประชุม และดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระการประชุม ดังนี้
ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม
๑.๑ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญซึ่งได้รับเลือกตั้งจากรัฐสภาแทนตำแหน่งที่ว่าง
ประธานฯ ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า ในคราวประชุมร่วมกันของรัฐสภาเมื่อวันพุธที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๔๐ ได้ลงมติเลือกตั้ง รองศาสตราจารย์มนตรี รูปสุวรรณ จากบัญชีรายชื่อประเภทผู้เชี่ยวชาญสาขากฎหมายมหาชน เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญแทนตำแหน่งที่ว่าง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๖) พุทธศักราช ๒๕๓๙ มาตรา ๒๑๑ ทศ
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ประธานฯ ได้เชิญ รองศาสตราจารย์มนตรี รูปสุวรรณ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้รับเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง ปฏิญาณตนก่อนเข้ารับหน้าที่ตามมติของสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ได้ให้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญทุกท่านปฏิญาณตนไปแล้ว โดยประธานฯ ได้กล่าวนำด้วยถ้อยคำดังต่อไปนี้
"ข้าพเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอปฏิญาณว่าข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่ในการร่างรัฐธรรมนูญด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญ จะไม่อยู่ในอาณัติมอบหมายหรือคิดถึงประโยชน์ของบุคคลใด หมู่ใด คณะใด โดยเฉพาะ"
๑.๒ ระยะเวลาการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญของสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ประธานฯ ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่าระยะเวลาการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญของสภาร่างรัฐธรรมนูญผ่านมาแล้ว ๙๖ วัน ณ วันประชุมนี้ สภาร่างรัฐธรรมนูญมีเวลาจัดทำร่างรัฐธรรมนูญอีก ๑๔๔ วัน
ที่ประชุมรับทราบ
ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม
ประธานฯ ได้เสนอให้ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน ๓ ครั้ง ดังนี้
๑. รายงานการประชุม ครั้งที่ ๓ วันอังคารที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๔๐
๒. รายงานการประชุม ครั้งที่ ๔ วันจันทร์ที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๔๐
๓. รายงานการประชุม ครั้งที่ ๕ วันอังคารที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐
ที่ประชุมมีมติรับรองรายงานการประชุม ๓ ครั้ง ดังกล่าวข้างต้น
ระเบียบวาระที่ ๓ พิจารณาตั้งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญแทนตำแหน่งที่ว่าง
ที่ประชุมได้มีมติตั้ง นาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่นศิริ เป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญแทนตำแหน่งที่ว่างอันเนื่องมาจาก นายทองใบ ทองเปาด์ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ประเภทผู้เชี่ยวชาญสาขากฎหมายมหาชน ได้ขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญทำให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง และเป็นผลให้พ้นจากตำแหน่งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญด้วย
ระเบียบวาระที่ ๔ ตั้งกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัด แทนตำแหน่งที่ว่าง
ที่ประชุมได้มีมติตั้งกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดแทนตำแหน่งที่ว่างในจังหวัดที่กรรมาธิการขอลาออก หรือขาดการประชุมสามครั้งติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุผลอันควรและไม่ได้แจ้งให้ประธานคณะกรรมาธิการทราบ ตามนัยแห่งข้อบังคับการประชุมของรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๓๙ ข้อ ๗๙ (๓) และ (๗) โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจังหวัดดังกล่าวเป็นผู้เสนอ และมีผู้รับรองครบถ้วน ดังนี้
๔.๑ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดชัยนาท
ตั้ง นายสนุ่น แสงเขียว และนายเอกวิช เมืองวงษ์ แทน นายเกรียงศักดิ์ สุขสว่าง และนายทินกร ปรีชพันธ์
๔.๒ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดนนทบุรี
ตั้ง นางวราภรณ์ วงศ์สง่า แทน นายกิตติชัย ปฏิภาณประเสริฐ
๔.๓ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดพะเยา
ตั้ง นายชาญณรงค์ พูนวิริยาภรณ์ แทน นายสมบูรณ์ ฟองแก้ว
๔.๔ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดเพชรบุรี
ตั้ง นายสมาน สรรพคุณ แทน นายสมปรารถน์ เสาวไพบูลย์
๔.๕ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์
ตั้ง นายกิติ จันทรเสนา แทน นายวิทวัส คงคากุล
๔.๖ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดสุรินทร์
ตั้ง ว่าที่ร้อยตรี สวัสดิ์ โพธิวัฒน์ นายธีระพงศ์ โสวภาค และนายดำรงกุล พาชื่น แทน นายเลิศชาย รัตนสูรย์ นายชัยรัตน์ มาประณีต และนายอิศรา จรัณยานนท์
๔.๗ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดสุโขทัย
ตั้ง นายสถาพร คำบุญรัตน์ และนายวิวัฒน์ ตันติยวรงค์ แทน นายอัมพร ผูกพัน และนายพูนสุข หนูศรีแก้ว
๔.๘ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดอ่างทอง
ตั้ง นายฉลอง ปิ่นทอง และนายเชิดพันธุ์ มุรธานันท์ แทน นางกัลยา จรูญกลรักษ์ และนายพงษ์เฉลียว เขมันดี
๔.๙ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดพิจิตร
ตั้ง นายณรงค์ สหเมธาพัฒน์ แทน นายวิโรจน์ อภิสิทธิ์วิทยา
๔.๑๐ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดชัยภูมิ
ตั้ง นายรังสรรค์ แก้วมณี แทน นายสมชัย กิจมีรัศมีโยธิน
๔.๑๑ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
ตั้ง นายสมพุทธ ธุระเจน แทน พันตำรวจเอก สุวิทย์ โอทอง
๔.๑๒ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดระนอง
ตั้ง นายอภิลักษณ์ นพรัตน์ และนายบุญสุข ธนัตวรานนท์ แทน นายอัมพล ลิ่มศิลา และนายสุพัฒน์ ตันกุล
๔.๑๓ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ตั้ง นายไพบูลย์ ชาญศิลป์ และนายชูชีพ คงอภิรักษ์ แทน นายอุดร โพธิ์พ่วง และนางสาวอลิศรา สายน้ำเขียว
๔.๑๔ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดหนองบัวลำภู
ตั้ง นายประมูล บุญจันทร์ แทน นายไพฑูรย์ สมบูรณ์
๔.๑๕ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดพิษณุโลก
ตั้ง นายวิเศษ วชิราศรีศิริกุล และนางสาวดวงหทัย จันทร์วังพรหม แทน นายมังกร ทองสุขดี และนายเติม แย้มเสมอ
ระเบียบวาระที่ ๕ ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัด ขึ้นใหม่แทนคณะเดิม
ที่ประชุมได้มีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดขึ้นใหม่แทนคณะเดิม จำนวน ๒ จังหวัด คือ จังหวัดน่าน และจังหวัดอุตรดิตถ์ ตามนัยแห่งข้อบังคับการประชุมของรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๓๙ ข้อ ๗๘ และ ข้อ ๗๙ (๕) ตามที่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญในจังหวัดดังกล่าวเสนอ โดยมีผู้รับรองครบถ้วน ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดน่าน ประกอบด้วย
๑. นายเพชร แก่นเมือง เป็นประธานกรรมาธิการวิสามัญฯ
๒. นายชูชาติ เหลี่ยมวานิช
๓. นายถาวร โพธิสมบัติ
๔. นางนิรมิต สิริสุขะ
๕. นายน่านนที ธีระไพรพฤกษ์
๖. นายบำรุง ศิริวัฒน์
๗. นายพูลชัย เนียมวัฒนะ
๘. นายราเชนทร์ กาบคำ
๙. นายวุฒิชัย โลหะโชติ
๑๐. ว่าที่ร้อยตรี สมเดช อภิชยกุล
๑๑. นายสมยศ ภิราญคำ
๑๒. นายสุชาติ พัฒนดิษฎางกูล
๑๓. นายสำรวย ผัดผล
๑๔. นายสำเริง ดำเนินผล
๑๕. นางหรรษา แพงสร้อย
๒. คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ ประกอบด้วย
๑. นาวาโท สุรินทร์ แสงสนิท เป็นประธานกรรมาธิการวิสามัญฯ
๒. นายกวี ศรีหงษ์
๓. นายเจริญ เพียรบุญทวี
๔. ว่าที่ร้อยตรี ทวีศักดิ์ แสงเจริญ
๕. นายประจวบ ชุ่มจันทร์จิรา
๖. นางสาวประสาน เทียนสวัสดิ์
๗. นายประสาน สิตไทย
๘. นายพรชัย อัมระนันท์
๙. นายรุ่งเรือง หรรษอุดม
๑๐. นายวิชัย เชื้อพิสุทธิ์กุล
๑๑. นายวีระ รัตนศิริกุลชัย
๑๒. นายศุภกิจ รัตนนาคะ
๑๓. นายสงบ ทิพย์นาวา
๑๔. นายสมศักดิ์ เกื้อทอง
๑๕. ผู้ช่วยศาสตราจารย์โอภาส แสงสว่าง
อนึ่ง การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ประจำจังหวัดขึ้นใหม่แทนคณะเดิมมีผลให้กรรมาธิการในคณะเดิมพ้นจากตำแหน่งตามนัยแห่งข้อบังคับการประชุมของรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๓๙ ข้อ ๗๙ (๕)
เลิกประชุมเวลา ๑๐.๑๙ นาฬิกา
(ศาสตราจารย์ไพศิษฐ์ พิพัฒนกุล)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่
เลขาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญ
สำนักงานเลขาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญ
โทร. ๒๔๔๑๘๐๘
โทรสาร ๒๔๔๑๖๒๕-๖
--คณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์สภาร่างรัฐธรรมนูญ--
ครั้งที่ ๙
วันอังคารที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๐
----------------
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา
มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญลงชื่อเข้าประชุม ๘๕ คน
เมื่อสมาชิกฯ มาครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ศาสตราจารย์กระมล ทองธรรมชาติ รองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ คนที่หนึ่ง และนางยุพา อุดมศักดิ์ รองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ คนที่สอง ขึ้นบัลลังก์
ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญกล่าวเปิดประชุม และดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระการประชุม ดังนี้
ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม
๑.๑ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญซึ่งได้รับเลือกตั้งจากรัฐสภาแทนตำแหน่งที่ว่าง
ประธานฯ ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า ในคราวประชุมร่วมกันของรัฐสภาเมื่อวันพุธที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๔๐ ได้ลงมติเลือกตั้ง รองศาสตราจารย์มนตรี รูปสุวรรณ จากบัญชีรายชื่อประเภทผู้เชี่ยวชาญสาขากฎหมายมหาชน เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญแทนตำแหน่งที่ว่าง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๖) พุทธศักราช ๒๕๓๙ มาตรา ๒๑๑ ทศ
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ประธานฯ ได้เชิญ รองศาสตราจารย์มนตรี รูปสุวรรณ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้รับเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง ปฏิญาณตนก่อนเข้ารับหน้าที่ตามมติของสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ได้ให้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญทุกท่านปฏิญาณตนไปแล้ว โดยประธานฯ ได้กล่าวนำด้วยถ้อยคำดังต่อไปนี้
"ข้าพเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอปฏิญาณว่าข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่ในการร่างรัฐธรรมนูญด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญ จะไม่อยู่ในอาณัติมอบหมายหรือคิดถึงประโยชน์ของบุคคลใด หมู่ใด คณะใด โดยเฉพาะ"
๑.๒ ระยะเวลาการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญของสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ประธานฯ ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่าระยะเวลาการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญของสภาร่างรัฐธรรมนูญผ่านมาแล้ว ๙๖ วัน ณ วันประชุมนี้ สภาร่างรัฐธรรมนูญมีเวลาจัดทำร่างรัฐธรรมนูญอีก ๑๔๔ วัน
ที่ประชุมรับทราบ
ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม
ประธานฯ ได้เสนอให้ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน ๓ ครั้ง ดังนี้
๑. รายงานการประชุม ครั้งที่ ๓ วันอังคารที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๔๐
๒. รายงานการประชุม ครั้งที่ ๔ วันจันทร์ที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๔๐
๓. รายงานการประชุม ครั้งที่ ๕ วันอังคารที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐
ที่ประชุมมีมติรับรองรายงานการประชุม ๓ ครั้ง ดังกล่าวข้างต้น
ระเบียบวาระที่ ๓ พิจารณาตั้งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญแทนตำแหน่งที่ว่าง
ที่ประชุมได้มีมติตั้ง นาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่นศิริ เป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญแทนตำแหน่งที่ว่างอันเนื่องมาจาก นายทองใบ ทองเปาด์ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ประเภทผู้เชี่ยวชาญสาขากฎหมายมหาชน ได้ขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญทำให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง และเป็นผลให้พ้นจากตำแหน่งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญด้วย
ระเบียบวาระที่ ๔ ตั้งกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัด แทนตำแหน่งที่ว่าง
ที่ประชุมได้มีมติตั้งกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดแทนตำแหน่งที่ว่างในจังหวัดที่กรรมาธิการขอลาออก หรือขาดการประชุมสามครั้งติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุผลอันควรและไม่ได้แจ้งให้ประธานคณะกรรมาธิการทราบ ตามนัยแห่งข้อบังคับการประชุมของรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๓๙ ข้อ ๗๙ (๓) และ (๗) โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจังหวัดดังกล่าวเป็นผู้เสนอ และมีผู้รับรองครบถ้วน ดังนี้
๔.๑ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดชัยนาท
ตั้ง นายสนุ่น แสงเขียว และนายเอกวิช เมืองวงษ์ แทน นายเกรียงศักดิ์ สุขสว่าง และนายทินกร ปรีชพันธ์
๔.๒ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดนนทบุรี
ตั้ง นางวราภรณ์ วงศ์สง่า แทน นายกิตติชัย ปฏิภาณประเสริฐ
๔.๓ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดพะเยา
ตั้ง นายชาญณรงค์ พูนวิริยาภรณ์ แทน นายสมบูรณ์ ฟองแก้ว
๔.๔ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดเพชรบุรี
ตั้ง นายสมาน สรรพคุณ แทน นายสมปรารถน์ เสาวไพบูลย์
๔.๕ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์
ตั้ง นายกิติ จันทรเสนา แทน นายวิทวัส คงคากุล
๔.๖ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดสุรินทร์
ตั้ง ว่าที่ร้อยตรี สวัสดิ์ โพธิวัฒน์ นายธีระพงศ์ โสวภาค และนายดำรงกุล พาชื่น แทน นายเลิศชาย รัตนสูรย์ นายชัยรัตน์ มาประณีต และนายอิศรา จรัณยานนท์
๔.๗ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดสุโขทัย
ตั้ง นายสถาพร คำบุญรัตน์ และนายวิวัฒน์ ตันติยวรงค์ แทน นายอัมพร ผูกพัน และนายพูนสุข หนูศรีแก้ว
๔.๘ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดอ่างทอง
ตั้ง นายฉลอง ปิ่นทอง และนายเชิดพันธุ์ มุรธานันท์ แทน นางกัลยา จรูญกลรักษ์ และนายพงษ์เฉลียว เขมันดี
๔.๙ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดพิจิตร
ตั้ง นายณรงค์ สหเมธาพัฒน์ แทน นายวิโรจน์ อภิสิทธิ์วิทยา
๔.๑๐ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดชัยภูมิ
ตั้ง นายรังสรรค์ แก้วมณี แทน นายสมชัย กิจมีรัศมีโยธิน
๔.๑๑ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
ตั้ง นายสมพุทธ ธุระเจน แทน พันตำรวจเอก สุวิทย์ โอทอง
๔.๑๒ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดระนอง
ตั้ง นายอภิลักษณ์ นพรัตน์ และนายบุญสุข ธนัตวรานนท์ แทน นายอัมพล ลิ่มศิลา และนายสุพัฒน์ ตันกุล
๔.๑๓ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ตั้ง นายไพบูลย์ ชาญศิลป์ และนายชูชีพ คงอภิรักษ์ แทน นายอุดร โพธิ์พ่วง และนางสาวอลิศรา สายน้ำเขียว
๔.๑๔ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดหนองบัวลำภู
ตั้ง นายประมูล บุญจันทร์ แทน นายไพฑูรย์ สมบูรณ์
๔.๑๕ กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดพิษณุโลก
ตั้ง นายวิเศษ วชิราศรีศิริกุล และนางสาวดวงหทัย จันทร์วังพรหม แทน นายมังกร ทองสุขดี และนายเติม แย้มเสมอ
ระเบียบวาระที่ ๕ ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัด ขึ้นใหม่แทนคณะเดิม
ที่ประชุมได้มีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดขึ้นใหม่แทนคณะเดิม จำนวน ๒ จังหวัด คือ จังหวัดน่าน และจังหวัดอุตรดิตถ์ ตามนัยแห่งข้อบังคับการประชุมของรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๓๙ ข้อ ๗๘ และ ข้อ ๗๙ (๕) ตามที่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญในจังหวัดดังกล่าวเสนอ โดยมีผู้รับรองครบถ้วน ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดน่าน ประกอบด้วย
๑. นายเพชร แก่นเมือง เป็นประธานกรรมาธิการวิสามัญฯ
๒. นายชูชาติ เหลี่ยมวานิช
๓. นายถาวร โพธิสมบัติ
๔. นางนิรมิต สิริสุขะ
๕. นายน่านนที ธีระไพรพฤกษ์
๖. นายบำรุง ศิริวัฒน์
๗. นายพูลชัย เนียมวัฒนะ
๘. นายราเชนทร์ กาบคำ
๙. นายวุฒิชัย โลหะโชติ
๑๐. ว่าที่ร้อยตรี สมเดช อภิชยกุล
๑๑. นายสมยศ ภิราญคำ
๑๒. นายสุชาติ พัฒนดิษฎางกูล
๑๓. นายสำรวย ผัดผล
๑๔. นายสำเริง ดำเนินผล
๑๕. นางหรรษา แพงสร้อย
๒. คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ ประกอบด้วย
๑. นาวาโท สุรินทร์ แสงสนิท เป็นประธานกรรมาธิการวิสามัญฯ
๒. นายกวี ศรีหงษ์
๓. นายเจริญ เพียรบุญทวี
๔. ว่าที่ร้อยตรี ทวีศักดิ์ แสงเจริญ
๕. นายประจวบ ชุ่มจันทร์จิรา
๖. นางสาวประสาน เทียนสวัสดิ์
๗. นายประสาน สิตไทย
๘. นายพรชัย อัมระนันท์
๙. นายรุ่งเรือง หรรษอุดม
๑๐. นายวิชัย เชื้อพิสุทธิ์กุล
๑๑. นายวีระ รัตนศิริกุลชัย
๑๒. นายศุภกิจ รัตนนาคะ
๑๓. นายสงบ ทิพย์นาวา
๑๔. นายสมศักดิ์ เกื้อทอง
๑๕. ผู้ช่วยศาสตราจารย์โอภาส แสงสว่าง
อนึ่ง การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ประจำจังหวัดขึ้นใหม่แทนคณะเดิมมีผลให้กรรมาธิการในคณะเดิมพ้นจากตำแหน่งตามนัยแห่งข้อบังคับการประชุมของรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๓๙ ข้อ ๗๙ (๕)
เลิกประชุมเวลา ๑๐.๑๙ นาฬิกา
(ศาสตราจารย์ไพศิษฐ์ พิพัฒนกุล)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่
เลขาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญ
สำนักงานเลขาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญ
โทร. ๒๔๔๑๘๐๘
โทรสาร ๒๔๔๑๖๒๕-๖
--คณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์สภาร่างรัฐธรรมนูญ--