กรุงเทพ--27 มี.ค.--ส.ส.ร.
หัวใจของการยกร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ มีส่วนสำคัญอยู่สองส่วนหลัก คือช่องทางที่ประชาชนจะส่งความต้องการของตนเองมายังสภาร่างรัฐธรรมนูญ และการแปลงความต้องการซึ่งเสนอในรูปแบบของภาษาชาวบ้านมาให้เป็นบทบัญญัติทางกฏหมาย
นายแก้วสรร อติโพธิ รองประธานกรรมาธิการประชาสัมพันธ์ กล่าวถึงช่องทางที่ประชาชนจะรวบรวมความต้องการมาสู่สภาร่างรัฐธรรมนูญว่า
"กรอบประเด็นปัญหาที่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญกำหนดออกมานั้นเป็นภาระที่สสร.จังหวัด จะต้องนำไปรับฟังความเห็นจากประชาชนในจังหวัดแล้วรวบรวมดอกไม้ที่เป็นผลสรุปแห่งแนวคิดความต้องการของจังหวัด"
"ท่านทั้งหลายที่รวมตัวเป็นกลุ่มเป็นก้อนอยู่แล้วท่านจงรวมกันเข้า แล้วกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นฯของจังหวัดท่าน มีหน้าที่เรียกแกนต่างๆ มารับฟังและระดมสมองไป ท่านไม่จำเป็นต้องระดมสมองในทุกเรื่องทุกราวรู้ไปเสียหมด ท่านสนใจขึ้นใจตรงไหนให้เสนอมาในสิ่งนั้น"
"เราไม่ได้ตั้งขึ้นมาเพื่อฟังแต่เสียงเรียกร้อง ต่อให้คนจังหวัดหนึ่งมีความต้องการ 100% แต่เราต้องการหตุผลที่ตอบได้ว่าอะไรคือปัญหามีทางเลือกกี่ทางแต่ละทางมีผลกระทบอย่างไร"
"เราให้เวลาท่านถึงสิ้นมีนาคม จากนั้นโปรดปล่อย ส.ส.ร. ของท่านออกจากจังหวัด ไปหมกตัวอยู่ที่กรุงเทพฯ เพื่อเร่งสปีดกันประมาณ 5 อาทิตย์ อาจจะต้องเช่าโรงแรม ไม่ต้องไปไหนกันที 3-4 วัน ถ้ายังทะเลาะกันอยู่ก็ต้องเอาให้มันเสร็จเพื่อที่จะจัดทำในสิ่งที่เรียกว่าร่างเบื้องต้น"
เสร็จแล้วในพฤษภาคม 2 อาทิตย์แรก จะเป็นการทำประชาพิจารณ์ทั้งประเทศ ร่างทั้งหมดจะถูกส่งมาทุกจังหวัดโดยส.ส.ร.จังหวัด ให้องค์กรประชาชนทั้งหลายเพื่อศึกษาเปิดลงทะเบียนให้แสดงความคิดเห็นติติงโต้แย้งทักท้วงเพิ่มเติมในข้อใดข้อหนึ่ง ขอสอบถามขอแก้ไขแล้วแต่ท่านเท่าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์วางแผนไว้ เราจะให้มีการถ่ายทอดสดในทุกจังหวัดอย่างน้อยก็โดยสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย"
"ตรงนั้นแหล่ะที่เรียกว่าการร่างรัฐธรรมนูญโดยประชาชนเกิดขึ้นจริง ๆ ผู้คนจะฟังและตั้งข้อสงสัยข้อสังเกต พลังตัวนี้จะเป็นพลังที่ทำให้ สสร. ไม่ทำอะไรที่ผิดพลาดออกไปเป็นพลังที่จะคุมไม่ให้ผู้ที่ต้องการเรียกร้องเกินเหตุโดยปราศจากเหตุผลจะต้องถอยออกไป เป็นพลังที่ทำให้รัฐสภาจะต้องยอมรับว่าผู้คนเขาเห็นอย่างไร"
"2 เดือนจากนั้นเป็นต้นไปจะเป็นการอภิปรายแปรญัตติในสภา แล้วเอาความคิดเห็นจากประชาพิจารณ์มาว่ากัน ซึ่งจะต้องมีการถ่ายทอดสดทางวิทยุโทรทัศน์ทุกนัด เพราะมันเป็ฯการชี้ชะตาของประเทศจริง ๆ แล้วเราหวังว่าถึงวันที่ 11 สิงหาคม ส.ส.ร. จะสามารถเอารัฐธรรมนูญที่ชอบธรรม มาวางตรงหน้ารัฐสภา ว่านี้คือเจตนารมย์ของประชาชนแล้วอะไรจะเกิดขึ้นก็ให้มันเกิด"
สำหรับส่วนของการแปลงความต้องการซึ่งเป็นภาษาชาวบ้านนั้น นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขานุการกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญกล่าวว่า
"ประชาชนมีปัญหาอะไรแล้วอยากให้แก้อะไร ก็ใช้ภาษาของชาวบ้านเสนอมา เป็นหน้าที่ที่กรรมาธิการยกร่างฯ จะต้องมาแปรระหัสนั้นออกมาเป็นกฏหมาย ยกตัวอย่างเช่นได้รับจดหมายแสดงความเห็นถึงคุณสมบัตินายกรัฐมนตรีบอกว่าจะต้องเป็นนักธรรมเอก ถ้าฟังแค่นี้อาจจะหัวเราะ แต่ความจริงไม่ใช่เราต้องเข้าใจว่าคำว่าเป็นนักธรรมเอกมันเขียนในัฐธรรมนูญอย่างนั้นไม่ได้ แต่ว่าประชาชนเขาต้องการให้นายกฯ เป็นคนมีศีลธรรม ตรงนี้เราก็ต้องหาทางทำยังไงให้คำว่าว่าศีลธรรมของเขามันแสดงออกได้"
"ผมได้รับจดหมายหลายฉบับว่าป่าถูกบุกรุกมาก คนที่รักษาป่าได้ดีที่สุดก็คือพระ เขาเลยเสนอว่าควรจะเขียนในรัฐธรรมนูญว่าให้สร้างวัดทุก ๆ 7 กิโลเมตรครึ่งเพื่อให้พระรักษาป่า ซึ่งมันก็เขียนรัฐธรรมนูญด้วยถ้อยคำตรง ๆ อย่างนั้นไม่ได้ แต่มันหมายความว่าชาวบ้านเขาต้องการการกระจายอำนาจไม่ใช่เฉพาะกรมป่าไม้เท่านั้นที่ดูแลป่าแต่เป็นเรื่องของชุมชนของพระภิกษุ แต่เราต้องหาทางเขียนในรัฐธรรมนูญแปรอันนี้ ว่ามันหมายถึงสิทธฺชุมชนท้องถิ่นในการรักษาป่า"
"มันคือการแปรสัญลักษณ์ที่เป็นความต้องการของชาวบ้านลงในโครงสร้างของรัฐธรรมนูญให้ได้แน่หล่ะภาษะพูดไม่ใช่ภาษาเดียวกัน แต่ว่าเมื่อรัฐธรรมนูญจัดองค์กรและกระบวนการที่จะแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ เราก็อธิบายให้ชาวบ้านฟังได้ว่าต่อไปท่านก็อาจจะได้รับการแก้ปัญหาอย่างนี้"
"คนที่มีหน้าที่เขียนรัฐธรรมนูญก็ทำหน้าคล้าย ๆ หมอ คือแปรคำพูดที่แสดงอาการของประชาชนออกมา โดยหาสมมติฐานของโรคแล้วก็หาวิธีแก้ไปซึ่งมันไม่ใช่การออกคำสั่งให้หายปวด แต่เป็นการให้ยาขนานต่าง ๆ ที่ช่วยให้หายปวดต่างหาก--จบ--
--คณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์ สภาร่างรัฐธรรมนูญ--
หัวใจของการยกร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ มีส่วนสำคัญอยู่สองส่วนหลัก คือช่องทางที่ประชาชนจะส่งความต้องการของตนเองมายังสภาร่างรัฐธรรมนูญ และการแปลงความต้องการซึ่งเสนอในรูปแบบของภาษาชาวบ้านมาให้เป็นบทบัญญัติทางกฏหมาย
นายแก้วสรร อติโพธิ รองประธานกรรมาธิการประชาสัมพันธ์ กล่าวถึงช่องทางที่ประชาชนจะรวบรวมความต้องการมาสู่สภาร่างรัฐธรรมนูญว่า
"กรอบประเด็นปัญหาที่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญกำหนดออกมานั้นเป็นภาระที่สสร.จังหวัด จะต้องนำไปรับฟังความเห็นจากประชาชนในจังหวัดแล้วรวบรวมดอกไม้ที่เป็นผลสรุปแห่งแนวคิดความต้องการของจังหวัด"
"ท่านทั้งหลายที่รวมตัวเป็นกลุ่มเป็นก้อนอยู่แล้วท่านจงรวมกันเข้า แล้วกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นฯของจังหวัดท่าน มีหน้าที่เรียกแกนต่างๆ มารับฟังและระดมสมองไป ท่านไม่จำเป็นต้องระดมสมองในทุกเรื่องทุกราวรู้ไปเสียหมด ท่านสนใจขึ้นใจตรงไหนให้เสนอมาในสิ่งนั้น"
"เราไม่ได้ตั้งขึ้นมาเพื่อฟังแต่เสียงเรียกร้อง ต่อให้คนจังหวัดหนึ่งมีความต้องการ 100% แต่เราต้องการหตุผลที่ตอบได้ว่าอะไรคือปัญหามีทางเลือกกี่ทางแต่ละทางมีผลกระทบอย่างไร"
"เราให้เวลาท่านถึงสิ้นมีนาคม จากนั้นโปรดปล่อย ส.ส.ร. ของท่านออกจากจังหวัด ไปหมกตัวอยู่ที่กรุงเทพฯ เพื่อเร่งสปีดกันประมาณ 5 อาทิตย์ อาจจะต้องเช่าโรงแรม ไม่ต้องไปไหนกันที 3-4 วัน ถ้ายังทะเลาะกันอยู่ก็ต้องเอาให้มันเสร็จเพื่อที่จะจัดทำในสิ่งที่เรียกว่าร่างเบื้องต้น"
เสร็จแล้วในพฤษภาคม 2 อาทิตย์แรก จะเป็นการทำประชาพิจารณ์ทั้งประเทศ ร่างทั้งหมดจะถูกส่งมาทุกจังหวัดโดยส.ส.ร.จังหวัด ให้องค์กรประชาชนทั้งหลายเพื่อศึกษาเปิดลงทะเบียนให้แสดงความคิดเห็นติติงโต้แย้งทักท้วงเพิ่มเติมในข้อใดข้อหนึ่ง ขอสอบถามขอแก้ไขแล้วแต่ท่านเท่าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์วางแผนไว้ เราจะให้มีการถ่ายทอดสดในทุกจังหวัดอย่างน้อยก็โดยสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย"
"ตรงนั้นแหล่ะที่เรียกว่าการร่างรัฐธรรมนูญโดยประชาชนเกิดขึ้นจริง ๆ ผู้คนจะฟังและตั้งข้อสงสัยข้อสังเกต พลังตัวนี้จะเป็นพลังที่ทำให้ สสร. ไม่ทำอะไรที่ผิดพลาดออกไปเป็นพลังที่จะคุมไม่ให้ผู้ที่ต้องการเรียกร้องเกินเหตุโดยปราศจากเหตุผลจะต้องถอยออกไป เป็นพลังที่ทำให้รัฐสภาจะต้องยอมรับว่าผู้คนเขาเห็นอย่างไร"
"2 เดือนจากนั้นเป็นต้นไปจะเป็นการอภิปรายแปรญัตติในสภา แล้วเอาความคิดเห็นจากประชาพิจารณ์มาว่ากัน ซึ่งจะต้องมีการถ่ายทอดสดทางวิทยุโทรทัศน์ทุกนัด เพราะมันเป็ฯการชี้ชะตาของประเทศจริง ๆ แล้วเราหวังว่าถึงวันที่ 11 สิงหาคม ส.ส.ร. จะสามารถเอารัฐธรรมนูญที่ชอบธรรม มาวางตรงหน้ารัฐสภา ว่านี้คือเจตนารมย์ของประชาชนแล้วอะไรจะเกิดขึ้นก็ให้มันเกิด"
สำหรับส่วนของการแปลงความต้องการซึ่งเป็นภาษาชาวบ้านนั้น นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขานุการกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญกล่าวว่า
"ประชาชนมีปัญหาอะไรแล้วอยากให้แก้อะไร ก็ใช้ภาษาของชาวบ้านเสนอมา เป็นหน้าที่ที่กรรมาธิการยกร่างฯ จะต้องมาแปรระหัสนั้นออกมาเป็นกฏหมาย ยกตัวอย่างเช่นได้รับจดหมายแสดงความเห็นถึงคุณสมบัตินายกรัฐมนตรีบอกว่าจะต้องเป็นนักธรรมเอก ถ้าฟังแค่นี้อาจจะหัวเราะ แต่ความจริงไม่ใช่เราต้องเข้าใจว่าคำว่าเป็นนักธรรมเอกมันเขียนในัฐธรรมนูญอย่างนั้นไม่ได้ แต่ว่าประชาชนเขาต้องการให้นายกฯ เป็นคนมีศีลธรรม ตรงนี้เราก็ต้องหาทางทำยังไงให้คำว่าว่าศีลธรรมของเขามันแสดงออกได้"
"ผมได้รับจดหมายหลายฉบับว่าป่าถูกบุกรุกมาก คนที่รักษาป่าได้ดีที่สุดก็คือพระ เขาเลยเสนอว่าควรจะเขียนในรัฐธรรมนูญว่าให้สร้างวัดทุก ๆ 7 กิโลเมตรครึ่งเพื่อให้พระรักษาป่า ซึ่งมันก็เขียนรัฐธรรมนูญด้วยถ้อยคำตรง ๆ อย่างนั้นไม่ได้ แต่มันหมายความว่าชาวบ้านเขาต้องการการกระจายอำนาจไม่ใช่เฉพาะกรมป่าไม้เท่านั้นที่ดูแลป่าแต่เป็นเรื่องของชุมชนของพระภิกษุ แต่เราต้องหาทางเขียนในรัฐธรรมนูญแปรอันนี้ ว่ามันหมายถึงสิทธฺชุมชนท้องถิ่นในการรักษาป่า"
"มันคือการแปรสัญลักษณ์ที่เป็นความต้องการของชาวบ้านลงในโครงสร้างของรัฐธรรมนูญให้ได้แน่หล่ะภาษะพูดไม่ใช่ภาษาเดียวกัน แต่ว่าเมื่อรัฐธรรมนูญจัดองค์กรและกระบวนการที่จะแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ เราก็อธิบายให้ชาวบ้านฟังได้ว่าต่อไปท่านก็อาจจะได้รับการแก้ปัญหาอย่างนี้"
"คนที่มีหน้าที่เขียนรัฐธรรมนูญก็ทำหน้าคล้าย ๆ หมอ คือแปรคำพูดที่แสดงอาการของประชาชนออกมา โดยหาสมมติฐานของโรคแล้วก็หาวิธีแก้ไปซึ่งมันไม่ใช่การออกคำสั่งให้หายปวด แต่เป็นการให้ยาขนานต่าง ๆ ที่ช่วยให้หายปวดต่างหาก--จบ--
--คณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์ สภาร่างรัฐธรรมนูญ--