กรุงเทพ--27 พ.ค.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
องค์กรประชาชนนำโดยปิยะเชษฐ์ แคล้วคลาด ตัวแทนสภาองค์กรลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย และนายประสิทธิ ค่ายกนกวงศ์ ตัวแทนสมาพันธ์ประชาธิปไตยเดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อนายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อสะท้อนความเห็นที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญซึ่งอาจเป็นประโยชน์ในการแปรญัตติของส.ส.ร.ในหลายประเด็น
- อำนาจอธิปไตยควรเป็นของปวงชนชาวไทย
- ต้องมีองค์กรมหาชนตรวจสอบรัฐ
- นายกรัฐมนตรีควรมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
- ผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้บริหารส่วนท้องถิ่นควรมาจากการเลือกตั้งของประชาชน
- ควรสร้างระบบสหกรณ์ โดยใช้เป็นเครื่องมือในการกระจายรายได้และพัฒนาเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม โดยรวมของประเทศด้วย
- ควรให้สิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งแก่ผู้ใช้แรงงาน นิสิตนักศึกษา และข้าราชการ ในท้องถิ่นที่ตนประกอบอาชีพหรือศึกษาอยู่
- ควรปฏิรูประบบราชการให้มีการกระจายอำนาจเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง
- ควรรับรองสิทธิของประชาชนในการลงประชามติไม่ไว้วางใจรัฐบาล เมื่อเกิดการบริหารประเทศที่เสียหายต่อประชาชนโดยรวม
- ควรยุบเลิกวุฒิสภา
ทางด้านนายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวหลังรับข้อเสนอจาก 1288 องค์กรประชาชนว่า การร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้เป็นการทำงานร่วมกันของส.ส.ร. ทั้ง 99 คน ย่อมต้องมีการประสานความคิด แต่ยืนยันไม่เคยทำงานเอาใจใคร แม้จะมีการตั้งข้อสังเกตว่าคณะกรรมาธิการฯ ทำงานเอาใจพรรคการเมืองก็ตาม
ขณะเดียวกันนายวรพล พรหมมิกบุตร อาจารย์ประจำศูนย์ศึกษาพัฒนาประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเดินทางมาพร้อม 1288 องค์กรประชาชน กล่าวว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ไม่ได้นำไปสู่การปฏิรูปการเมืองอย่างแท้จริง เพราะมีการจัดวางโครงสร้างให้กับพรรคการเมือง และข้าราชการประจำ โดยไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนตรวจสอบการใช้อำนาจอย่างที่ระบุไว้ ทั้งนี้เสนอว่าส.ส.ร. ควรนำความเห็นขององค์กรประชาชนผนวกเข้ากับร่างคณะกรรมาธิการฯ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถตรวจสอบรัฐได้--จบ--
องค์กรประชาชนนำโดยปิยะเชษฐ์ แคล้วคลาด ตัวแทนสภาองค์กรลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย และนายประสิทธิ ค่ายกนกวงศ์ ตัวแทนสมาพันธ์ประชาธิปไตยเดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อนายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อสะท้อนความเห็นที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญซึ่งอาจเป็นประโยชน์ในการแปรญัตติของส.ส.ร.ในหลายประเด็น
- อำนาจอธิปไตยควรเป็นของปวงชนชาวไทย
- ต้องมีองค์กรมหาชนตรวจสอบรัฐ
- นายกรัฐมนตรีควรมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
- ผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้บริหารส่วนท้องถิ่นควรมาจากการเลือกตั้งของประชาชน
- ควรสร้างระบบสหกรณ์ โดยใช้เป็นเครื่องมือในการกระจายรายได้และพัฒนาเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม โดยรวมของประเทศด้วย
- ควรให้สิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งแก่ผู้ใช้แรงงาน นิสิตนักศึกษา และข้าราชการ ในท้องถิ่นที่ตนประกอบอาชีพหรือศึกษาอยู่
- ควรปฏิรูประบบราชการให้มีการกระจายอำนาจเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง
- ควรรับรองสิทธิของประชาชนในการลงประชามติไม่ไว้วางใจรัฐบาล เมื่อเกิดการบริหารประเทศที่เสียหายต่อประชาชนโดยรวม
- ควรยุบเลิกวุฒิสภา
ทางด้านนายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวหลังรับข้อเสนอจาก 1288 องค์กรประชาชนว่า การร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้เป็นการทำงานร่วมกันของส.ส.ร. ทั้ง 99 คน ย่อมต้องมีการประสานความคิด แต่ยืนยันไม่เคยทำงานเอาใจใคร แม้จะมีการตั้งข้อสังเกตว่าคณะกรรมาธิการฯ ทำงานเอาใจพรรคการเมืองก็ตาม
ขณะเดียวกันนายวรพล พรหมมิกบุตร อาจารย์ประจำศูนย์ศึกษาพัฒนาประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเดินทางมาพร้อม 1288 องค์กรประชาชน กล่าวว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ไม่ได้นำไปสู่การปฏิรูปการเมืองอย่างแท้จริง เพราะมีการจัดวางโครงสร้างให้กับพรรคการเมือง และข้าราชการประจำ โดยไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนตรวจสอบการใช้อำนาจอย่างที่ระบุไว้ ทั้งนี้เสนอว่าส.ส.ร. ควรนำความเห็นขององค์กรประชาชนผนวกเข้ากับร่างคณะกรรมาธิการฯ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถตรวจสอบรัฐได้--จบ--