บทเฉพาะกาล
มาตรา ๒๕๔ ให้คณะองคมนตรีซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้เป็นคณะองคมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
มาตรา ๒๕๕ ในระหว่างที่ยังไม่มีสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญนี้ ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติที่ตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ทำหน้าที่รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา หรือเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา ตามลาดับ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ และให้สิ้นสุดลงในวันก่อนวันเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรกภายหลัง การเลือกตั้งทั่วไปที่จัดขึ้นตามรัฐธรรมนูญนี้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นอกจากจะต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แล้ว ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม รวมทั้งเหตุแห่งการสิ้นสุด สมาชิกภาพตามที่บัญญัติไว้สำหรับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ตามรัฐธรรมนูญนี้ ดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) มาตรา ๙๒ ยกเว้น (๓) และ (๔)
(๒) มาตรา ๙๓ ยกเว้น (๓) (๑๒) (๑๓) (๑๔) และ (๑๕)
(๓) มาตรา ๙๖ ยกเว้น
(ก) กรณีตาม (๔) เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับมาตรา ๙๒ (๓) และ (๔)
(ข) กรณีตาม (๕) เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับมาตรา ๙๓ (๓) (๑๒) (๑๓) (๑๔) และ (๑๕) และ
(ค) กรณีตาม (๖) เฉพาะในกรณีที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติการตามหน้าที่และอำนาจตามที่กฎหมายหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
(๔) มาตรา ๑๐๓ ยกเว้น ข. ลักษณะต้องห้ามตาม (๑) เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับมาตรา ๙๓ (๓) และ (๑๕) และ ข. ลักษณะต้องห้ามตาม (๒) และ (๖)มิให้นำมาตรา ๑๐๗ มาใช้บังคับแก่การดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่ห้ามมิให้บุคคลดำรงตำแหน่งทางการเมืองมิให้นำมาใช้บังคับแก่การดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติในระหว่างที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาตามวรรคหนึ่ง ให้อำนาจของประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมาย เป็นอำนาจของประธานสภา นิติบัญญัติแห่งชาติในระหว่างที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง หากมีตำแหน่งว่างลง หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามวรรคสอง เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติแทนก็ได้เมื่อมีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกภายหลังที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภามิได้ เว้นแต่จะได้พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ
มาตรา ๒๕๖ ให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อน วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ จะเข้ารับหน้าที่ และให้นำมาตรา ๒๕๕ วรรคสาม มาใช้บังคับแก่การดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีด้วยโดยอนุโลมรัฐมนตรีตามวรรคหนึ่งนอกจากจะต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แล้ว ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้สำหรับรัฐมนตรีตามรัฐรมนูญนี้ ดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) มาตรา ๑๕๕ ยกเว้น (๖) เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับมาตรา ๙๓ (๑๒)(๑๔) และ (๑๕)
(๒) มาตรา ๑๖๕ (๓) (๔) ยกเว้นในส่วนที่เกี่ยวกับมาตรา ๑๕๕ (๖)เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับมาตรา ๙๓ (๑๒) (๑๔) และ (๑๕)การดำเนินการแต่งตั้งรัฐมนตรีในระหว่างเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๕๘ ให้นำมาตรา ๒๕๕ วรรคเจ็ด มาใช้บังคับแก่การสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาของรัฐมนตรีตามวรรคหนึ่งและวรรคสามด้วยโดยอนุโลมมาตรา ๒๕๗ ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ยังคงอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้จะเข้ารับหน้าที่ ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคณะรักษาความสงบแห่งชาติยังคงมีหน้าที่และอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๕๘ และให้ถือว่าบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและ คณะรักษาความสงบแห่งชาติยังคงมีผลใช้บังคับได้ต่อไปให้นำมาตรา ๒๕๕ วรรคเจ็ด มาใช้บังคับแก่การสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาของผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๒๕๘ ให้สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศอยู่ปฏิบัติหน้าที่เพื่อดำเนินการตามมาตรา ๒๖๙ ต่อไปให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ และเมื่อครบกำหนดเวลาดังกล่าว ให้สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศสิ้นสุดลง เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะปรับเปลี่ยนโครงสร้างหรือวิธีการทางานของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศเพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจตามมาตรา ๒๖๙ และเกิดประสิทธิภาพก็ได้ และในกรณีที่มีตำแหน่งว่างลง หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะแต่งตั้งบุคคลที่เห็นสมควรเพื่อแทนตำแหน่งที่ว่างก็ได้ให้นำมาตรา ๒๕๕ วรรคเจ็ด มาใช้บังคับแก่การสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาของสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๒๕๙ ให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่ตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๕๘ อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป เพื่อจัดทำร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นที่จำเป็นดังต่อไปนี้ให้แล้วเสร็จ และเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
(๑) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(๒) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
(๓) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(๔) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง
(๕) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
(๖) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
(๗) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน
(๘) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
(๙) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน
(๑๐) กฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง จะจัดทำขึ้นใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมก็ได้ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและต้องมุ่งหมาย ให้มีการขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบในทุกรูปแบบ และต้องทำให้แล้วเสร็จภายในแปดเดือนนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ในกรณีที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจัดทำไม่แล้วเสร็จภายในเวลาดังกล่าว ให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่งและให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญคณะใหม่เพื่อจัดทำร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เกิดประสิทธิภาพและรวดเร็ว หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะแต่งตั้งกรรมการร่างรัฐธรรมนูญตามวรรคหนึ่งเพิ่มขึ้นก็ได้ แต่รวมแล้วต้องไม่เกินสามสิบคนเมื่อได้รับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจากคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญแล้ว สภานิติบัญญัติแห่งชาติต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในเวลาหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับในกรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับใดไม่แล้วเสร็จภายในเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับนั้นตามที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญเสนอและให้นำมาตรา ๑๒๗ มาใช้บังคับแก่การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญของสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามมาตรานี้โดยอนุโลมเมื่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายตามวรรคหนึ่ง ประกาศใช้บังคับครบทุกฉบับแล้ว ให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันพ้นจากหน้าที่เพื่อประโยชน์แห่งการขจัดส่วนได้เสีย ห้ามมิให้กรรมการร่างรัฐธรรมนูญดำรงตำแหน่งทางการเมืองภายในสองปีนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งตามวรรคห้า
มาตรา ๒๖๐ ให้ดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและจัดให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญนี้ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติตามมาตรา ๒๕๙ ทั้งหมดมีผลใช้บังคับแล้ว
มาตรา ๒๖๑ ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ยังคงอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป และเมื่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องที่จัดทำขึ้นตามมาตรา ๒๕๙ ใช้บังคับแล้ว การดำรงตำแหน่งต่อไปเพียงใดให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าว ในระหว่างเวลาที่ยังไม่มีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่จัดทำขึ้นตามมาตรา ๒๕๙ การพ้นจากตำแหน่งของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องการดำเนินการของศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอิสระ และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ให้เป็นไปตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ในระหว่างที่ยังไม่มีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ การพิจารณาและการทาคาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามข้อกำหนดของศาลรัฐธรรมนูญที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
มาตรา ๒๖๒ ให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นองค์กรตามมาตรา ๕๖ และให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติดังกล่าวให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ และเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อพิจารณาภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้
มาตรา ๒๖๓ ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีกฎหมายตามมาตรา ๖๑ วรรคสองให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ และ ดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติตามมาตรา ๖๑ ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่ วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้
มาตรา ๒๖๔ ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายตามมาตรา ๑๗๓ วรรคสาม หนังสือสัญญาอื่นที่อาจมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม หรือการค้าหรือการลงทุนของประเทศอย่างกว้างขวางตามมาตรา ๑๗๓ วรรคสอง ให้หมายความถึงหนังสือสัญญาเกี่ยวกับการค้าเสรี เขตศุลกากรร่วม หรือการให้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติหรือทำให้ประเทศต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดหรือบางส่วน
มาตรา ๒๖๕ ให้ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระดำเนินการให้มีมาตรฐานทางจริยธรรมตามมาตรา ๒๑๕ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้หากดำเนินการไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ พ้นจากตำแหน่งในกรณีที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระพ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง ระยะเวลาหนึ่งปีตามวรรคหนึ่งให้นับแต่วันที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระเข้ารับหน้าที่หลังสุด
มาตรา ๒๖๖ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้เป็นไปตามมาตรา ๑๙๑ มาตรา ๑๙๓ มาตรา ๒๔๒ และมาตรา ๒๔๕ วรรคสี่และเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติภายในสองร้อยสี่สิบวันนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ในระหว่างที่ยังไม่มีการปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้เป็นไปตาม มาตรา ๒๔๕ วรรคสี่ ห้ามมิให้พนักงานอัยการดำรงตำแหน่งกรรมการในรัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐในทำนองเดียวกัน หรือดำรงตำแหน่งใดในห้างหุ้นส่วนบริษัทหรือกิจการอื่นใดที่มีวัตถุประสงค์มุ่งหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นที่ปรึกษา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดในลักษณะเดียวกัน
มาตรา ๒๖๗ ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติและคณะรัฐมนตรีร่วมกันดำเนินการและผลักดันให้มีการปฏิรูปการศึกษาของชาติให้แล้วเสร็จ เพื่อให้เป็นไปตามหน้าที่ของรัฐตามมาตรา ๕๐ วรรคสองและวรรคสาม และให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตาม มาตรา ๕๐ วรรคสี่ โดยเร็ว โดยจะต้องจัดทำแนวทางการปฏิรูปให้แล้วเสร็จและ เริ่มดำเนินการภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ในกรณีที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญเห็นสมควร จะเสนอแนะต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษาที่มีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญเพื่อประกอบการพิจารณาตามที่เห็นสมควรก็ได้
มาตรา ๒๖๘ เพื่อให้รัฐปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๙ และดำเนินการตามแนวนโยบายแห่งรัฐตามมาตรา ๖๔ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับหน้าที่ อำนาจ และภารกิจของตำรวจให้เหมาะสม และแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการตำรวจให้เกิดประสิทธิภาพ มีหลักประกันว่าข้าราชการตำรวจจะได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม ได้รับความเป็นธรรมในการแต่งตั้ง โยกย้าย และการพิจารณาบำเหน็จความชอบ เพื่อให้ข้าราชการตำรวจสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีอิสระ ไม่ตกอยู่ใต้อาณัติของบุคคลใด มีประสิทธิภาพและภาคภูมิใจในการปฏิบัติหน้าที่ของตน ทั้งนี้ ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายที่ก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ดังกล่าวให้การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจดำเนินการตามลำดับอาวุโสการจัดลำดับอาวุโสตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้มีคณะกรรมการอิสระคณะหนึ่งมีหน้าที่ปฏิรูปให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
มาตรา ๒๖๙ นอกจากการปฏิรูปตามมาตรา ๒๖๗ และมาตรา ๒๖๘ แล้ว ให้มีการปฏิรูปในเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) ............ เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในเรื่อง........
(๒) ............ เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในเรื่อง........
ฯ ฯลฯ
ทั้งนี้ ให้เป็นหน้าที่ของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศที่จะดำเนินการจัดทำข้อเสนอแนะหรือร่างกฎหมายเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไปแต่ไม่เป็นการตัดอำนาจของคณะรัฐมนตรีที่จะดำเนินการควบคู่กันไปการปฏิรูปตามมาตรานี้ ถ้าจำเป็นต้องมีกฎหมายออกใช้บังคับให้ดำเนินการจัดทำร่างกฎหมายเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ในกรณีที่อาจดำเนินการได้โดยไม่ต้องมีกฎหมายออกใช้บังคับให้เริ่มดำเนินการภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้
มาตรา ๒๗๐ บรรดาประกาศ คำสั่ง และการกระทำของคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ หรือที่จะออกใช้บังคับต่อไปตามมาตรา ๒๕๗วรรคสอง ไม่ว่าเป็นประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำที่มีผลใช้บังคับในทางรัฐธรรมนูญทางนิติบัญญัติ ทางบริหาร หรือทางตุลาการ ให้ประกาศ คำสั่ง การกระทำ ตลอดจนการปฏิบัติตามประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำนั้น เป็นประกาศ คำสั่ง การกระทำหรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้และกฎหมาย และมีผลใช้บังคับโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้ต่อไป การยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำดังกล่าวให้กระทำเป็นพระราชบัญญัติ เว้นแต่ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำที่มีลักษณะเป็นการใช้อำนาจทางบริหาร การยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมให้กระทำโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรีหรือมติคณะรัฐมนตรี แล้วแต่กรณีบรรดาการใด ๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๕๘ ว่าเป็นการชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมาย รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าวให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้และกฎหมาย
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
..............................................
นายกรัฐมนตรี