เปรียบเทียบร่างรัฐธรรมนูญเดิมกับรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตราที่ 249-252

ข่าวการเมือง Thursday July 12, 2007 11:04 —สภาร่างรัฐธรรมนูญ

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (เดิม)
๓. สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- มาตรา ๒๔๙ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีหน้าที่ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะ
ต่อคณะรัฐมนตรีในปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติและแผนอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติต้องให้สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้ความเห็น
ก่อนพิจารณาประกาศใช้ องค์ประกอบ ที่มา อำนาจหน้าที่ และการดำเนินงานของสภาที่ปรึกษา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
หมวด ๑๒การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
ส่วนที่ ๑การตรวจสอบทรัพย์สิน
- มาตรา ๒๕๐ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองดังต่อไปนี้ มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สิน
และหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ทุกครั้งที่เข้ารับตำแหน่งหรือพ้นจากตำแหน่ง 1 นายกรัฐมนตรี (๒) รัฐมนตรี (๓) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(๔) สมาชิกวุฒิสภา (๕) ข้าราชการการเมืองอื่น (๖) ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นตามที่กฎหมาย
บัญญัติ บัญชีตามวรรคหนึ่งให้ยื่นพร้อมเอกสารประกอบซึ่งเป็นสำเนาหลักฐานที่พิสูจน์ความมีอยู่จริง
ของทรัพย์สินและหนี้สินดังกล่าว รวมทั้งสำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในรอบปีภาษีที่ผ่านมา
การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตามวรรคหนึ่ง และวรรคสอง ให้รวมถึงทรัพย์สินของผู้ดำรงตำแหน่ง
ทางการเมืองที่มอบหมายให้อยู่ในความครอบครองหรือดูแลของบุคคลอื่นไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมด้วย
- มาตรา ๒๕๑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา ๒๕๐ ให้แสดงรายการทรัพย์สิน
และหนี้สินที่มีอยู่จริงในวันที่ยื่นบัญชีดังกล่าว และต้องยื่นภายในกำหนดเวลาดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีที่เป็นการเข้า
รับตำแหน่ง ให้ยื่นภายในสามสิบวันนับแต่วันเข้ารับตำแหน่ง(๒) ในกรณีที่เป็นการพ้นจากตำแหน่ง ให้ยื่นภายใน
สามสิบวันนับแต่วันพ้นจากตำแหน่ง (๓) ในกรณีที่บุคคลตามมาตรา ๒๕๐ ซึ่งได้ยื่นบัญชีไว้แล้ว ตาย
ในระหว่างดำรงตำแหน่งหรือก่อนยื่นบัญชีหลังจากพ้นจากตำแหน่ง ให้ทายาทหรือผู้จัดการมรดก ยื่นบัญชีแสดง
รายการทรัพย์สินและหนี้สินที่มีอยู่ในวันที่ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นตาย ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้ดำรงตำแหน่งตาย
ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ซึ่งพ้นจากตำแหน่ง นอกจากต้องยื่นบัญชีตาม (๒) แล้ว ให้มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินอีก
ครั้งหนึ่งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีด้วย
- มาตรา ๒๕๒ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบของนายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาให้เปิดเผยให้สาธารณชนทราบโดยเร็วแต่ต้องไม่เกินสาม
สิบวันนับแต่วันที่ครบกำหนดต้องยื่นบัญชีดังกล่าว บัญชีของผู้ดำรงตำแหน่งอื่นจะเปิดเผยได้ต่อเมื่อการเปิดเผย
ดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาพิพากษาคดีหรือการวินิจฉัยชี้ขาด และได้รับการร้องขอจากศาลหรือผู้มี
ส่วนได้เสียหรือคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและความมี
อยู่จริงของทรัพย์สินและหนี้สินดังกล่าวโดยเร็ว
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
- มาตรา ๘๙ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามหมวดนี้ ให้รัฐจัดให้มีสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ มีหน้าที่ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและ
สังคม แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ ต้องให้สภาที่ปรึกษา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้ความเห็นก่อนพิจารณาประกาศใช้ องค์ประกอบ ที่มา อำนาจหน้าที่
และการดำเนินงานของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
- มาตรา ๒๙๑ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองดังต่อไปนี้ มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สิน
และหนี้สินของตนคู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่ง
ชาติ ทุกครั้งที่เข้ารับตำแหน่งหรือพ้นจากตำแหน่ง ๑) นายกรัฐมนตรี (๒) รัฐมนตรี (๓) สมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎร (๔) สมาชิกวุฒิสภา (๕) ข้าราชการการเมืองอื่น (๖) ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น
ตามที่กฎหมายบัญญัติ บัญชีตามวรรคหนึ่งให้ยื่นพร้อมเอกสารประกอบซึ่งเป็นสำเนาหลักฐานที่พิสูจน์
ความมีอยู่จริงของทรัพย์สินและหนี้สินดังกล่าว รวมทั้งสำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในรอบ
ปีภาษีที่ผ่านมา โดยผู้ยื่นจะต้องลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องกำกับไว้ในบัญชีและสำเนาหลักฐานที่ยื่นไว้ทุกหน้า
ด้วย
- มาตรา ๒๙๒ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา ๒๙๑ ให้แสดงรายการทรัพย์สิน
และหนี้สินที่มีอยู่จริงในวันที่ยื่นบัญชีดังกล่าว และต้องยื่นภายในกำหนดเวลาดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีที่เป็นการเข้า
รับตำแหน่ง ให้ยื่นภายในสามสิบวันนับแต่วันเข้ารับตำแหน่ง (๒) ในกรณีที่เป็นการพ้นจากตำแหน่ง ให้ยื่นภาย
ในสามสิบวันนับแต่วันพ้นจากตำแหน่ง (๓) ในกรณีที่บุคคลตามมาตรา ๒๙๑ ซึ่งได้ยื่นบัญชีไว้แล้ว
ตายในระหว่างดำรงตำแหน่งหรือก่อนยื่นบัญชีหลังจากพ้นจากตำแหน่ง ให้ทายาทหรือผู้จัดการมรดก ยื่นบัญชี
แสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่มีอยู่ในวันที่ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นตาย ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้ดำรงตำแหน่งตาย
ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ซึ่งพ้นจากตำแหน่ง นอกจากต้องยื่นบัญชีตาม (๒) แล้ว ให้มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินอีก
ครั้งหนึ่งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีด้วย
- มาตรา ๒๙๓ เมื่อได้รับบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบแล้ว
ให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติหรือกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่ง
ชาติซึ่งประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมอบหมาย ลงลายมือชื่อกำกับไว้ในบัญชีทุกหน้า
บัญชีและเอกสารประกอบตามวรรคหนึ่งของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีให้เปิดเผยให้สาธารณชนทราบโดยเร็ว
แต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ครบกำหนดต้องยื่นบัญชีดังกล่าว บัญชีของผู้ดำรงตำแหน่งอื่นห้ามมิให้เปิดเผย
แก่ผู้ใด เว้นแต่การเปิดเผยดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาพิพากษาคดีหรือการวินิจฉัยชี้ขาด และได้
รับการร้องขอจากศาลหรือคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
แห่งชาติจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
และความมีอยู่จริงของทรัพย์สินและหนี้สินดังกล่าวโดยเร็ว
เหตุผลที่แก้ไข
แก้ไขมาตราที่ 249
เพิ่มอำนาจสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในการให้ความเห็นเกี่ยวกับการตรากฎหมาย
ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเศรษฐกิจและสังคมได้ด้วย เพื่อให้การเสนอกฎหมายของคณะรัฐมนตรีในเรื่องดังกล่าวได้มี
การรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบคอบยิ่งขึ้น
แก้ไขมาตราที่ 250
เพิ่มวรรคสามเพื่อให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินที่มอบหมายให้
อยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่น เพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงโดยโอนทรัพย์สินไปไว้ที่บุคคลอื่น เพื่อไม่ต้องแสดง
ในรายการทรัพย์สิน ซึ่งหากตรวจสอบพบในภายหลังจะถือว่าเป็นการปกปิดหรือไม่แจ้งรายการทรัพย์สินให้ครบถ้วน
แก้ไขมาตราที่ 252
ตัดความในวรรคหนึ่ง เพราะเป็นเรื่องวิธีการปฏิบัติที่ไม่ต้องบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และเพิ่มการ
เปิดเผยบัญชีทรัพย์สินของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา เพื่อให้มีการตรวจสอบได้
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ