เปรียบเทียบร่างรัฐธรรมนูญเดิมกับรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตราที่ 91-92

ข่าวการเมือง Tuesday June 26, 2007 13:45 —สภาร่างรัฐธรรมนูญ

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (เดิม)
ส่วนที่ ๒สภาผู้แทนราษฎร
- มาตรา ๙๑ สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวนสี่ร้อยคนในกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใด และยังมิได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง
ให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่าที่มีอยู่ในกรณีที่มีเหตุการณ์ใด ๆ ทำให้การเลือกตั้ง
ทั่วไปครั้งใดมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ถึงสี่ร้อยคน แต่มีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบห้าของจำนวน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด ให้ถือว่าสมาชิกจำนวนนั้นประกอบเป็นสภาผู้แทนราษฎร และต้องมีการเลือกตั้ง
จนครบจำนวนสี่ร้อยคนภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน และให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ได้รับเลือกตั้งเข้ามานั้นอยู่ใน
- มาตรา ๙๒ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา ๙๑ ให้ดำเนินการตามวิธีการ
ดังต่อไปนี้
(๑) ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวนสามร้อยยี่สิบคน โดย
การนำจำนวนประชาชนทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง
เฉลี่ยด้วยจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามร้อยยี่สิบคน เพื่อเป็นฐานในการคำนวณหาจำนวนสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรที่จะพึงมีในแต่ละจังหวัด แล้วให้แบ่งเขตเลือกตั้งในจังหวัดโดยให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ได้เขตเลือกตั้งละสามคน ในกรณีที่จังหวัดใดไม่อาจจัดให้เขตเลือกตั้งใดมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ได้ครบจำนวนสามคน ให้แบ่งเขตเลือกตั้งตามวิธีการที่กำหนดในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการ
เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา
(๒) ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วนจำนวนแปดสิบคน โดยให้แบ่งเป็นสี่เขต
เลือกตั้ง โดยให้แต่ละเขตเลือกตั้งมีจำนวนประชาชนที่ใกล้เคียงกันและมีพื้นที่ติดต่อกัน ในแต่ละเขตเลือกตั้งให้
มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนยี่สิบคนโดยใช้วิธีการคำนวณหาสัดส่วนจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากสัดส่วน
คะแนนตามบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้น บัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองได้จัดทำขึ้นจะมีสัดส่วนที่ได้รับ
การเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนเท่าใด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาการแบ่งเขตเลือกตั้ง
วิธีการเลือกตั้ง การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง การนับคะแนนเลือกตั้ง และวิธีคำนวณสัดส่วนในการเลือกตั้ง
ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการสรรหา
สมาชิกวุฒิสภา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
ส่วนที่ ๒สภาผู้แทนราษฎร
มาตรา ๙๘ สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวนห้าร้อยคน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจาก
การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อตามมาตรา ๙๙ จำนวนหนึ่งร้อยคน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต
เลือกตั้งตามมาตรา ๑๐๒ จำนวนสี่ร้อยคนในกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใด
และยังมิได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก
มาตรา ๙๙ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออก
เสียงลงคะแนนเลือกบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้น โดยให้เลือกบัญชีรายชื่อใดบัญชี
รายชื่อหนึ่งเพียงบัญชีเดียว และให้ถือเขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้งบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งตามวรรคหนึ่ง
และให้ยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อนวันเปิดสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต
เลือกตั้งรายชื่อของบุคคลในบัญชีรายชื่อตามวรรคหนึ่งจะต้อง
(๑) ประกอบด้วยรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งจากภูมิภาคต่าง ๆ อย่างเป็นธรรม
(๒) ไม่ซ้ำกับรายชื่อในบัญชีที่พรรคการเมืองอื่นจัดทำขึ้น และไม่ซ้ำกับรายชื่อของผู้สมัครรับเลือก
ตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งตามมาตรา ๑๐๒ และ
(๓) จัดทำรายชื่อเรียงตามลำดับหมายเลข
มาตรา ๑๐๐ บัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองใดได้คะแนนเสียงน้อยกว่า ให้ถือว่าไม่มีผู้ใดในบัญชี
นั้นได้รับเลือกตั้ง และมิให้นำคะแนนเสียงดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อหาสัดส่วนจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ตามวรรคสอง วิธีคำนวณสัดส่วนคะแนนเสียงที่บัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองแต่ละพรรคได้รับ
อันจะถือว่าบุคคลซึ่งมีรายชื่ออยู่ในบัญชีของพรรคการเมืองนั้นได้รับเลือกตั้งตามสัดส่วน
ที่คำนวณได้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการ
เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ให้ถือว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งซึ่งมีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อ
ของแต่ละพรรคการเมือง ได้รับเลือกตั้งเรียงตามลำดับจากหมายเลขต้นบัญชีลงไปตามจำนวนสัดส่วนสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรที่คำนวณได้สำหรับบัญชีรายชื่อนั้น
มาตรา ๑๐๑ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๑๙ (๑) ในกรณีที่มีเหตุใด ๆ ทำให้ระหว่างอายุของสภา
ผู้แทนราษฎร ซึ่งได้รับเลือกตั้งจากการเลือกตั้งแบบัญชีรายชื่อมีจำนวนไม่เกินหนึ่งร้อยคน ให้สมาชิกซึ่งมาจาก
การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่
มาตรา ๑๐๒ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งได้เขตละหนึ่งคนการคำนวณเกณฑ์จำนวนราษฎร
ต่อสมาชิกหนึ่งคนให้คำนวณจากจำนวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้าย
ก่อนปีที่มีการเลือกตั้งเฉลี่ยด้วยจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสี่ร้อยคน
จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี ให้นำจำนวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคนที่คำนวณ
ได้ตามวรรคสองมาเฉลี่ยจำนวนราษฎรในจังหวัดนั้น จังหวัดใดมีราษฎรไม่ถึงเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่ง
คนตามวรรคสอง ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดนั้นได้หนึ่งคน จังหวัดใดมีราษฎรเกินเกณฑ์จำนวนราษฎร
ต่อสมาชิกหนึ่งคน ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดนั้นเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนทุกจำนวนราษฎรที่ถึงเกณฑ์จำนวน
ราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคน เมื่อได้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละจังหวัดตามวรรคสามแล้ว
ถ้าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยังไม่ครบสี่ร้อยคน จังหวัดใดมีเศษที่เหลือจากการคำนวณตามวรรคสามมากที่สุด
ให้จังหวัดนั้นมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคน และให้เพิ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามวิธีการดังกล่าว
แก่จังหวัดที่มีเศษที่เหลือจากการคำนวณตามวรรคสามในลำดับรองลงมาตามลำดับจนครบจำนวนสี่ร้อยคน
เหตุผลที่แก้ไข
แก้ไขมาตราที่ 91
แก้ไขโดยปรับลดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากเดิมจำนวนห้าร้อยคนเป็นจำนวนสี่ร้อยคน
เพื่อให้การประชุมและการดำเนินการของสภาผู้แทนราษฎรมีความเหมาะสมและคล่องตัวยิ่งขึ้น โดยพิจารณา
จากภาระหน้าที่หลักในการทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ และทำให้สัดส่วนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต่อประชาชนมี
จำนวนมากพอสมควรที่จะเป็นตัวแทนของกลุ่มประชาชนในการปฏิบัติหน้าที่ด้านนิติบัญญัติที่มีผลกระทบต่อประชาชน
จำนวนมาก ในฐานะผู้แทนปวงชนชาวไทย รวมทั้งเพิ่มกรณีที่มีเหตุการณ์ใดทำให้การเลือกตั้งทั่วไปมีจำนวน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ถึงจำนวนสี่ร้อยคน ยังสามารถเรียกประชุมสภาฯ เพื่อปฏิบัติการใด ๆ ตามบทบัญญัติ
แห่งรัฐธรรมนูญนี้ได้ เพื่อให้งานด้านนิติบัญญัติสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง
แก้ไขมาตราที่ 92
ปรับปรุงวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ เป็นดังนี้
(๑) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน ๓๒๐ คน มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
ตามที่เป็นอยู่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ แต่ปรับปรุงเขตเลือกตั้งให้ใหญ่ขึ้น
โดยให้แต่ละเขตเลือกตั้งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ ๓ คน เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและยุติ
ธรรมมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการซื้อเสียงจะกระทำได้ยากยิ่งขึ้น และทำให้ผู้เลือกตั้งสามารถใช้สิทธิเลือก
บุคคลที่เห็นเหมาะสมจะให้ปฏิบัติหน้าที่ได้มากขึ้นแทนที่จะเลือกได้เพียงคนเดียว โดยคะแนนเสียงของ
ประชาชนจะมีความหมายขึ้นจากการเฉลี่ยการลงคะแนนไปตามผู้สมัครซึ่งมีได้ ๓ คนในเขตเลือกตั้ง มิใช่
แบบเดิมที่มีได้เพียงคนเดียว ที่ทำให้คะแนนเสียงของประชาชนที่เลือกผู้สมัครในลำดับที่ ๒ หายไปทั้งหมด (๒) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๘๐ คน มาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน ซึ่งจะนำมาใช้แทนแบบบัญชีรายชื่อ โดยแบ่งเขตเลือกตั้งเป็น ๔ เขตตามภูมิภาค และมีจำนวนเท่ากันเขตละ ๒๐ คน เพื่อให้มีการกระจายบุคคลตามรายชื่อที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้น ซึ่งต้องเป็นบุคลที่ประชาชนในภาคนั้นยอมรับ และใช้การคำนวณสัดส่วนคะแนนของแต่ละภาค ซึ่งจะทำให้การลงคะแนนของประชาชนมีความหมายตามการใช้สิทธิเฉลี่ยกันไปตามรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองที่ประชาชนเห็นควรให้ปฏิบัติหน้าที่ มิใช่คะแนนเสียงหายไปเพราะเหตุที่มีพรรค
การเมืองชนะการเลือกตั้งพรรคเดียว ตามคะแนนเสียงทั่วประเทศตามแบบเดิม ซึ่งโดยวิธีนี้จะทำให้
ประชาชนแต่ละกลุ่มมีตัวแทนของตนในการทำหน้าที่นิติบัญญัติอย่างทั่วถึง
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ