ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (เดิม)
บทเฉพาะกาล
- มาตรา ๒๘๓ ให้คณะองคมนตรีซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้
เป็นคณะองคมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
- มาตรา ๒๘๔ ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)
พุทธศักราช ๒๕๔๙ ทำหน้าที่รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้จนกว่าจะมีการ
ประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกตามมาตรา ๑๒๒ มิให้นำบทบัญญัติมาตรา ๙๑ มาตรา ๙๒ มาตรา ๙๕
มาตรา ๙๖ มาตรา ๑๐๑ มาตรา ๑๐๔ มาตรา ๑๐๖ มาตรา ๑๐๗ มาตรา ๑๐๘ มาตรา ๑๐๙ มาตรา ๑๑๐
มาตรา ๑๑๔ และ
- มาตรา ๑๑๕ มาใช้บังคับกับการดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่การปฏิบัติ
หน้าที่ของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)
พุทธศักราช ๒๕๔๙
- มาตรา ๒๘๕ ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ คงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปและสิ้นสุดลงตามระยะเวลา
ที่กำหนดในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ให้บทบัญญัติมาตรา ๓๐
วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป
- มาตรา ๒๘๖ ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรค
การเมือง และร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อเสนอต่อสภา
นิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙
- มาตรา ๒๘๗ ให้ดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและดำเนินการสรรหาสมาชิก
วุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญนี้ให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามมาตรา
๒๘๖ มีผลใช้บังคับ ในกรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติมิได้ให้ความเห็นชอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใด
ตามมาตรา ๒๘๖ ภายในระยะเวลาที่กำหนดตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช
๒๕๔๙ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดระเบียบที่จำเป็นขึ้นใช้บังคับแทนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น
เพื่อให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
และให้ดำเนินการเลือกตั้งหรือสรรหาภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ระเบียบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไปครั้งแรก ผู้สมัคร
รับเลือกตั้งต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองไม่น้อยกว่าสามสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง
- มาตรา ๒๘๘ ให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้
คงเป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ และให้พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะเมื่อคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่
ตามรัฐธรรมนูญนี้เข้ารับหน้าที่ มิให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๖๗ วรรคสอง มาตรา ๑๖๘ มาตรา ๑๗๐
และมาตรา ๑๗๘ (๔) (๗) และ (๘) มาใช้บังคับกับการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีตามวรรคหนึ่ง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
-
เหตุผลที่แก้ไข
แก้ไขมาตราที่ 283
กำหนดเพื่อรองรับองคมนตรีให้ดำรงตำแหน่งต่อเนื่อง
แก้ไขมาตราที่ 284
กำหนดเพื่อรองรับสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้งเสร็จและ
มีการประชุมรัฐสภาครั้งแรก เพื่อให้มีองค์กรนิติบัญญัติปฏิบัติหน้าที่โดยต่อเนื่อง
แก้ไขมาตราที่ 285
กำหนดเพื่อรองรับการปฏิบัติหน้าที่ของสภาร่างรัฐธรรมนูญ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
ให้คงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนเสร็จสิ้น และยังคงให้นำบทบัญญัติที่ห้ามคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญสมัครรับ
เลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภามาใช้บังคับต่อไป ตามเจตนารมณ์ของ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙
แก้ไขมาตราที่ 286
กำหนดเพื่อรองรับการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการเลือกตั้งให้เสร็จสิ้นตาม
เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙
แก้ไขมาตราที่ 287
กำหนดระยะเวลาการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการสรรหาวุฒิสภาครั้งแรกตามร่าง
รัฐธรรมนูญนี้ กำหนดระยะเวลาการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรได้กำหนดให้ในการเลือกตั้งครั้งแรกต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเป็นระยะเวลาสามสิบวันนับ
ถึงวันเลือกตั้ง เพื่อให้ผู้ประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้งสามารถเป็นสมาชิกพรรคการเมืองได้ทันเวลาก่อนการ
เลือกตั้งกำหนดข้อห้ามสำหรับการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาครั้งแรกว่า มิให้ผู้เคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาซึ่งได้รับการ
เลือกตั้งครั้งแรกและครบวาระไปแล้วได้รับการสรรหาอีก เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ที่ห้ามมิให้สมาชิกวุฒิสภาดำรงตำแหน่งติดต่อกันโดยต้องเว้นไปหนึ่งวาระ
ซึ่งตรงกับหลักการตามรัฐธรรมนูญนี้ และผู้เคยดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกวุฒิสภาได้ทราบเงื่อนไขนี้ ตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ อยู่แล้ว แต่สำหรับผู้เคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาซึ่งได้รับ
เลือกตั้งครั้งหลังสุดนั้นยังมิได้มีการเข้าปฏิบัติหน้าที่และมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
๒๕๔๐ ไปก่อน จึงยกเว้นให้สามารถได้รับการสรรหาตามรัฐธรรมนูญนี้ได้ โดยถือว่ายังมิได้ปฏิบัติหน้าที่ตามวาระ
การดำรงตำแหน่งเดิม
แก้ไขมาตราที่ 288
กำหนดเพื่อรองรับให้คณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่ามีคณะรัฐมนตรีใหม่ เพื่อให้มีการใช้
อำนาจบริหารอย่างต่อเนื่อง
(ยังมีต่อ)