ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (เดิม)
- มาตรา ๑๘๖ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำสนธิสัญญาสันติภาพ สนธิสัญญา
สงบศึก และสนธิสัญญาอื่น กับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศสนธิสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณา
เขตไทยหรือเขตอำนาจแห่งรัฐ หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขต ซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตาม
สนธิสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ จะต้องออกระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามสนธิสัญญา หรือมีผล
กระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างร้ายแรง ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา
ก่อนการดำเนินการเพื่อทำสนธิสัญญากับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ คณะรัฐมนตรี
ต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และต้องชี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับสนธิสัญญานั้น
เมื่อลงนามในสนธิสัญญาใดแล้ว คณะรัฐมนตรีต้องให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของ
สนธิสัญญานั้น และในกรณีที่การปฏิบัติตามสนธิสัญญาก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการ
แก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็ว เหมาะสม และเป็นธรรม
- มาตรา ๑๘๗ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษ
- มาตรา ๑๘๘ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการถอดถอนฐานันดรศักดิ์และ
เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- มาตรา ๑๘๙ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนตำแหน่ง
ปลัดกระทรวง อธิบดี และเทียบเท่า และทรงให้พ้นจากตำแหน่ง เว้นแต่กรณีที่พ้นจากตำแหน่งเพราะความตาย
- มาตรา ๑๙๐ ข้าราชการและพนักงานของรัฐซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำและมิใช่ข้า
ราชการการเมือง จะเป็นข้าราชการการเมืองหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นมิได้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
- มาตรา ๒๒๔ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ
สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่น กับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยน
แปลงอาณาเขตไทยหรือเขตอำนาจแห่งรัฐ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามสัญญา
ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา
- มาตรา ๒๒๕ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษ
- มาตรา ๒๒๖ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการถอดถอนฐานันดรศักดิ์และ
เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- มาตรา ๒๒๗ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนตำแหน่ง
ปลัดกระทรวง อธิบดี และเทียบเท่า และทรงให้พ้นจากตำแหน่ง เว้นแต่กรณีที่พ้นจากตำแหน่งเพราะความตาย
- มาตรา ๒๒๘ ข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำและมิใช่ข้าราชการการเมือง
จะเป็นข้าราชการการเมืองหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น มิได้
- มาตรา ๒๓๐ การจัดตั้งกระทรวง ทบวง กรม ขึ้นใหม่ โดยมีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตรา
ของข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้น ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ การรวมหรือการโอนกระทรวง ทบวง
กรม ที่มีผลเป็นการจัดตั้งเป็นกระทรวง ทบวง กรม ขึ้นใหม่ หรือการรวมหรือการโอนกระทรวง ทบวง กรม
ที่มิได้มีการจัดตั้งเป็นกระทรวง ทบวง กรมขึ้นใหม่ ทั้งนี้ โดยไม่มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราของข้าราชการ
หรือลูกจ้างเพิ่มขึ้น หรือการยุบกระทรวง ทบวง กรม ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาภายในสามปีนับแต่วันที่มีการ
รวมหรือการโอนกระทรวง ทบวง กรม ตามวรรคสอง จะกำหนดตำแหน่งหรืออัตราของข้าราชการหรือลูกจ้าง
เพิ่มขึ้นในกระทรวง ทบวง กรม ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ หรือในกระทรวง ทบวง กรม ที่ถูกรวมหรือโอนไป มิได้
พระราชกฤษฎีกาตามวรรคสอง ให้ระบุอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรม ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ การโอนอำนาจ
หน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งหน่วยราชการหรือเจ้าพนักงานที่มีอยู่เดิม การโอนข้าราชการและลูกจ้าง
งบประมาณรายจ่าย รวมทั้งทรัพย์สินและหนี้สิน เอาไว้ด้วย
การดำเนินการตามวรรคสองกับกระทรวง ทบวง กรม ที่มีพระราชบัญญัติจัดตั้งขึ้นแล้ว ให้ตราเป็น
พระราชกฤษฎีกา โดยให้ถือว่าพระราชกฤษฎีกาที่ตราขึ้นนั้น มีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในพระราชบัญญัติ
หรือกฎหมายที่มีผลใช้บังคับได้ดังเช่นพระราชบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย
เหตุผลที่แก้ไข
แก้ไขมาตราที่ 186
เพิ่มความในวรรคสาม และวรรคสี่ โดยกำหนดขึ้นเพื่อให้รัฐต้องให้ข้อมูลแก่ประชาชนในเรื่อง
เกี่ยวกับสนธิสัญญา และจัดให้ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นในสนธิสัญญาที่รัฐจะเข้าทำกับนานาประเทศ
หรือองค์การระหว่างประเทศ รวมทั้งรัฐต้องชี้แจงต่อรัฐสภาให้ทราบด้วยเพื่อที่รัฐจะได้นำข้อมูลมาประกอบการ
ตัดสินใจก่อนเข้าทำสนธิสัญญา ตลอดจนต้องจัดให้ประชาชนเข้าตรวจสอบและขอดูรายละเอียดของสนธิสัญญาได้
และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามสนธิสัญญาอย่างรวดเร็ว เหมาะสม และเป็นธรรมด้วยเพื่อเป็น
หลักประกันมิให้รัฐทำสนธิสัญญาที่มีผลกระทบต่อประเทศหรือทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเสียหาย
แก้ไขมาตราที่ 190
เพื่อให้ครอบคลุมถึงพนักงานของรัฐด้วย
๑. ปรับปรุงมาตรา ๒๓๐ ใหม่โดยยกเลิกรายละเอียดที่บัญญัติไว้ เนื่องจากการจัดตั้งกระทรวง
ทบวง กรม เป็นไปตามรายละเอียดที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอยู่แล้ว และการ
กำหนดให้ตราพระราชกฤษฎีกาแก้ไขพระราชบัญญัติได้ ทำให้เกิดความสับสนในการใช้บังคับกฎหมาย และไม่อาจ
กำหนดขอบเขตได้ชัดเจนว่าจะแก้ไขได้เพียงใด ๒. แนวทางปรับปรุงใหม่ในเรื่องนี้ ได้นำไป
กำหนดไว้ในแนวนโยบายแห่งรัฐ ร่างมาตรา ๗๗ เพื่อให้สามารถปรับปรุงส่วนราชการให้เหมาะสมกับการ
บริการสาธารณะตามความต้องการของสังคม โดยจะมีการกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ให้ชัดเจน แต่สามารถ
ปรับตัวตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ และในการปฏิบัติราชการนั้นต้องดำเนินการโดยมุ่งเน้นวิธีการทำงาน
ที่มีประสิทธิภาพและมีจริยธรรมควบคู่ไปกับการกำหนดรูปแบบของส่วนราชการด้วย
(ยังมีต่อ)