ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (เดิม)
- มาตรา ๑๐๙ ให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งในการรับสมัครบุคคลเข้ารับการ
สรรหาตามมาตรา ๑๐๘ (๑) การรับรายชื่อบุคคลที่องค์กรต่าง ๆ เสนอตามมาตรา ๑๐๘ (๒) การตรวจ
สอบคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม รวมทั้งประวัติ และความประพฤติของผู้สมัครและผู้ได้รับการเสนอชื่อและนำ
เสนอคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาเพื่อพิจารณา
- มาตรา ๑๑๐ บุคคลผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิได้รับการเสนอ
ชื่อเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา (๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์
ในวันสมัครหรือวันที่ได้รับการเสนอชื่อ (๓) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 4) มีลักษณะ
อย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา ๙๕ (๔) ในกรณีที่เป็นผู้สมัครตามมาตรา ๑๐๘ (๑)
(๕) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองหรือเคยดำรงตำแหน่งและพ้นจากการดำรง
ตำแหน่งใด ๆ ในพรรคการเมืองมาแล้วยังไม่เกินสองปีนับถึงวันสมัครหรือวันที่ได้รับการเสนอชื่อ
(๖) ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรมาแล้วไม่เกินหนึ่งปีนับถึงวันสมัครหรือวันที่ได้รับการเสนอชื่อ (๗) เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัคร
รับเลือกตั้งตามมาตรา ๙๖ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๑) (๑๒) (๑๓) หรือ (๑๔)
- มาตรา ๑๑๑ สมาชิกวุฒิสภาจะเป็นรัฐมนตรีหรือข้าราชการการเมืองอื่นมิได้บุคคลผู้เคยดำรง
ตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกภาพสิ้นสุดลงมาแล้วยังไม่เกินหนึ่งปี จะเป็นรัฐมนตรีหรือข้าราชการการเมือง
อื่นมิได้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
- มาตรา ๑๒๕ บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา
(๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
(๓) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
(๔) มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา ๑๐๗ (๕)
- มาตรา ๑๒๗ สมาชิกวุฒิสภาจะเป็นรัฐมนตรีหรือข้าราชการการเมืองอื่นมิได้ บุคคลผู้เคยดำรง
ตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกภาพสิ้นสุดลงมาแล้วยังไม่เกินหนึ่งปี เว้นแต่สมาชิกภาพสิ้นสุดลงตามมาตรา
๑๓๓ (๑) จะเป็นรัฐมนตรีหรือข้าราชการการเมืองอื่นมิได้
- มาตรา ๑๒๘ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๑๐ และมาตรา ๑๑๑ มาใช้บังคับกับการกระทำอัน
ต้องห้ามของสมาชิกวุฒิสภาด้วย โดยอนุโลม
** มาตรา ๑๒๙ ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งสมาชิก
วุฒิสภาให้เป็นไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา
เพื่อประโยชน์ในการแนะนำผู้สมัครรับเลือกตั้งโดยเท่าเทียมกัน ให้รัฐดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) จัดให้มีการปิดประกาศและติดแผ่นป้ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือกตั้ง
(๒) พิมพ์และจัดส่งเอกสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือกตั้งไปให้ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง
(๓) จัดหาสถานที่ และจัดสรรเวลาออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เพื่อแนะนำผู้สมัครรับเลือกตั้ง
(๔) กิจการอื่นที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามวรรคสอง
ให้เป็นไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา
การแนะนำผู้สมัครรับเลือกตั้งโดยผู้สมัครรับเลือกตั้งเองหรือบุคคลอื่นจะกระทำได้เฉพาะเท่าที่มีบัญญัติไว้ใน
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาเท่านั้น
เหตุผลที่แก้ไข
แก้ไขมาตราที่ 109
กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งเป็นองค์กรในการควบคุมดูแลการเลือกตั้งสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรและการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ทำหน้าที่ในการรับสมัครบุคคลเข้ารับการสรรหาและรับรายชื่อ
บุคคลที่องค์กรต่าง ๆ เสนอ เพื่อตรวจสอบเบื้องต้นก่อนเสนอคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาเพื่อทำการ
สรรหาต่อไป
แก้ไขมาตราที่ 110
เพิ่มกรณีห้ามมิให้ผู้สมัครหรือผู้ได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา
มีความข้องเกี่ยวกับพรรคการเมืองในฐานะที่เป็นหรือเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมือง โดยกรณีที่
เคยเป็นต้องพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเกินกว่าสองปีนับถึงวันรับสมัครหรือวันที่ได้รับการเสนอชื่อ เพื่อให้เกิด
ความโปร่งใสและไม่ถูกครอบงำจากพรรคการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่ของวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญนี้
แก้ไขมาตราที่ 111
เพื่อมิให้สมาชิกวุฒิสภาเข้ามาเกี่ยวข้องในฝ่ายบริหารอันเป็นการขัดกันในหลักการใช้อำนาจอธิปไตย
และกำหนดระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่สมาชิกภาพสิ้นสุดด้วย เพื่อป้องกันมิให้มีการใช้อำนาจหน้าที่ที่ฝักใฝ่ในทาง
การเมือง โดยได้รับประโยชน์ตอบแทนหลังการพ้นจากตำแหน่ง การลาออกจากสมาชิกวุฒิสภาเพื่อเข้าสู่ตำแหน่ง
ทางบริหาร
ย้ายไปบัญญัติรวมกับการห้ามกระทำการที่ขัดต่อผลประโยชน์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
** ยกเลิกเพราะใช้ระบบสรรหาแทนการเลือกตั้ง
(ยังมีต่อ)